สารภาพ..
อ่าน: 1454
ในปี 2505 กรมการข้าว ได้ทำการส่งเสริมการผลิตข้าว โดยตั้งกองส่งเสริมและเผยแพร่ขึ้น มีฝ่ายต่างๆหลายฝ่าย หนึ่งในนั้นคือฝ่ายปุ๋ย
ความจริงสารเคมีเข้ามาเมืองไทยนานมาแล้วประมาณปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลสั่งนำ DDT เข้ามาในเมืองไทยเพื่อทำการปราบปรามยุงตัวนำเชื้อโรคมาเลเลีย ซึ่งระบาดมาก ประชากรเจ็บป่วยล้มตายปีละมากๆ DDT จึงถูกสั่งเข้ามาแล้วนำไปพ่น ฉีดฆ่ายุงก้นปล่อง ซึ่งใช้มาหลายสิบปีต่อมา เจ้าสารเคมีตัวนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเห็บ เหา เลือด อีกด้วย ปัจจุบันเกือบไม่ได้ยินว่าที่ไหนมีตัวเลือดให้ปรากฏ
ย้อนไปปี 2503 ฝ่ายวิศวกรรมเกษตร กรมการข้าว สร้างควายเหล็กตัวแรกขึ้นมา เพื่อใช้แทนควาย ซึ่งสมัยนั้นเจตนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ราคาน้ำมันเบนซินในสมัยนั้นลิตรละ 1 บาทเท่านั้น เริ่มมีการใช้ปุ๋ยเคมี สมันนั้นข้าวก็ใช้สูตร 16-20-0 เป็นปุ๋ยนำเข้า ใส่แปลงข้าวในอัตรา 20-30 กก.ต่อไร่
การผลิตข้าวในสมัยก่อนนั้นมีโรคที่เป็นกันมากคือ บั่ว หนอนกระทู้ รัฐบาลจึงสั่งสารเคมีเข้ามาเพื่อปราบโรคบั่ว สารเคมีสมัยนั้น เช่น ไทเม็ก โฟลิดอน E605 เอนดริน และ ฯลฯ กลิ่นเหม็นมาก ฉุนแรง สมัยนั้นไม่มีปุ๋ยน้ำหมัก ชีวภาพ และน้ำส้มควันไม้แต่อย่างใด ภายหลังมาทราบว่าจีนและญี่ปุ่นรู้จักและใช้มานานถึง 700 ปีแล้ว
มาในปัจจุบันนี้ เราพบแล้วว่า สารเคมีเหล่านั้น ปุ๋ยเคมีเหล่านั้นมีส่วนสำคัญยิ่งในการทำลายระบบนิเวศแมลงที่มีประโยชน์ต่อพืชมาก เจ้าแมลงที่ตั้งใจฆ่าก็พัฒนาตัว พัฒนาสายพันธ์ของมันไปมากขึ้นด้วยทำให้ทนทานต่อสารเคมีที่เคยใช้ได้ผลมาก่อน
สมัยนี้มีทางเลือกใหม่ๆมากมายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเพื่อสุขภาพที่ดี นี่เป็นความรู้สึกที่อยากจะบอกพวกเรา….
นี่คือความในใจที่อดีตข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เคยรับผิดชอบการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีปราบศัตรูพืชและกระบวนวิธีแบบเก่าๆ อันเป็นเทคโนโลยีและนโยบายของรัฐในอดีต ท่านมาตอกย้ำแนวทางที่เรียกว่าเกษตรทางเลือก…..
ขอบพระคุณพี่…เป็นอย่างสูง
คำสารภาพนี้มีคุณค่าแก่การเดินทางเป็นอย่างยิ่งครับ..
« « Prev : ทุนชุมชน
Next : ลายเซ็น » »
4 ความคิดเห็น
เท่จริงๆ เข้าท่าค่ะ จะได้เก็บไว้บอกต่อ
น้องเบิร์ด พี่คนนี้ปัจจุบันอายุ 72 ยังแข็งแรงมาก ทำงานโครงการเดียวกับพี่ และเปลี่ยนครับ แม้ว่าท่านจะค่อนข้างติดระบบราชการ แต่ก็มีส่วนดีหลายอย่างที่ท่านเอามาใช้ประโยชนืได้ครับ
ตามความรู้ ตามยุคสมัย ที่หมุนเวียนไป สิ่งบางสิ่งในอดีตที่ว่าถูกอาจจะผิด สิ่งที่ผิดอาจจะถูกก็เป็นได้ แต่ที่สำคัญคือเมื่อรู้ว่าถูกหรือผิดแล้วต้องเปลียนแปลง และแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่ออนาคตของเราและลูกหลานครับ
ใช่ครับ อ.ภูคา นั่นคือข้อสรุปเรื่องที่บันทึกนี้ สิ่งที่สมัยก่อนคิดว่าถูกต้อง เมื่อเวลาผ่านไปกลับไม่ถูก ไม่เหมาะสมเสียแล้ว ตรงข้ามสิ่งที่ถูกต้องกลายเป็นองค์ความรู้ดั้งเดิม ที่มิใช่เทคโนโลยี่ใหม่ล้ำยุคแต่อย่างใด
น่าเป็นห่วงเด็กยุคใหม่ที่หลุดเลยเรื่องราวของอดีตไปอยู่กับสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่หมดสิ้นไปแล้ว เขาเชื่อมไม่ติดกับสาระเดิมๆ มีแต่ในบทเรียน คำบอกเล่า เท่านั้น ซึ่งมันไม่มีการสัมผัส หรือไม่มีผัสสะ อันมีคุณค่ามากกว่าเพียงผ่านสายตา