วิเคราะห์ความรู้ในตัวคน

1 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 13 กันยายน 2009 เวลา 11:25 ในหมวดหมู่ ชุมชนชนบท #
อ่าน: 4256

เป็นประเด็นที่อยากแลกเปลี่ยนกับผู้ตั้งคำถามคือคุณ ถึงดิน ในลานถึงดิน เพราะเป็นประเด็นใหญ่ที่สำคัญ โดยเฉพาะกล่าวอ้างใน “เจ้าเป็นไผ 1″ ที่ชาวเฮทยอยร่ายเรื่องราวอยู่

ความรู้ในตัวคนคืออะไร ในความเข้าใจส่วนตัวคิดว่า คือ “การมีอยู่ขององค์ความรู้ต่างๆที่คนคนนั้นสะสมตลอดช่วงอายุ”

พิจารณา ขยายความประเด็น ความรู้ในตัวคน จากการมองพัฒนาการของคนตั้งแต่เกิด ดูกรณีพิจารณาคนทั่วไปที่ผ่านกระบวนการเติมความรู้จากระบบสังคมที่มีระบบการศึกษาเป็นแกนกลางในการสร้างคน ดังนี้


ซึ่งสรุปได้ว่า ความรู้ในตัวคนนั้นมีมากมายทุกเรื่องทุกสาขา มาจากไหน

  • ก็มาจากสิ่งรอบข้างที่เราเรียกว่า ความรู้ที่เกิดจากสัญชาตญาณ เช่นเมื่อเด็กไปจับเตารีดร้อนๆ ก็รู้ว่าร้อน ต่อไปก็ไม่จับเตารีดที่เสียบไฟฟ้าแล้ว เป็นต้น
  • ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ที่พ่อแม่ ครอบครัวป้อนให้ตั้งแต่เด็กเล็ก ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญที่จะฟอร์มตัวของทัศนคติ และฐานความรู้ในเรื่องต่างๆที่จะเรียนรู้อย่างซับซ้อนในช่วงเวลาต่อมา
  • ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติเอง จากเรื่องง่ายๆ พื้นฐาน และซับซ้อนมากขึ้นตามองค์ประกอบการพัฒนาการของชีวิต
  • ตามลำดับต่างๆตามมาดังแผนผัง

แต่คนเรา พลเมืองในประเทศมิได้ผ่านกระบวนการนี้หมดทุกคนทั้งหมดทั้งสิ้น มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านวงจรดังกล่าว ตัวอย่างคือวงจรชีวิตเกษตรกร ก็จะมีวิถีการได้มีขององค์ความรู้อีกแบบหนึ่ง คือ


  • จากการเรียนรู้ในครอบครัวที่เป็นแบบพื้นฐาน
  • อาจจะเข้าระบบการศึกษาก็เพียงชั้นประถม
  • แล้วก็ออกไปประกอบอาชีพเกษตรกรเลย หรือไปขายแรงงาน
  • การเรียนรู้จึงอยู่ที่ระบบครอบครัว ระบบชุมชน ระบบสังคม ระบบงาน
  • ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการปฏิบัติจริง มีความเชื่อ ความศรัทธา กำกับ
  • หากเป็นคนงานก็มีระเบียบกำกับ

นี่คือความแตกต่างของคนในสองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มคนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในระบบการศึกษา และคนที่ไม่ผ่าน หรือผ่านแต่เพียงชั้นประถมการศึกษา ความแตกต่างนี้ คือความแตกต่างของการเรียนรู้ องค์ความรู้ และหมายถึงความรู้ที่เขาสะสมอยู่ในตัวของเขา

ความแตกต่างนี้มักจะสรุปกันว่า คนที่ผ่านระบบการศึกษาคือคนที่ Educated ส่วนคนที่ไม่ได้ผ่านหรือผ่านน้อยนั้นเป็นคนที่ Un Educated ซึ่งเป็นการสรุปที่ไม่ได้สร้างการเคารพในความแตกต่าง เพราะ เกษตรกรก็มีความรู้มากมายในเรื่องราวที่เป็นสังคมของเขา สิ่งแวดล้อมวิถีชีวิตของเขา หากเอาคนที่ผ่านระบบการศึกษาไปใช้ชีวิตแบบชาวบ้าน ก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ในทางตรงข้ามหากเอาชีวิตเกษตรกรไปอยู่ในสังคมสมัยใหม่ เขาก็ไม่เป็นสุข

ต่างกลุ่มมีการเรียนรู้ มีองค์ความรู้ ในเรื่องราวที่เป็นวิถีของเขา ดังนั้นเราสามารถสรุปเป็นภาพรวมๆได้ว่า ความรู้ในตัวคนนั้นมาจากชุดความรู้ต่างๆที่เกิดจากการเรียนรู้ของคนคนนั้นที่มีความแตกต่างกัน

ดังนั้น คนเราจึงมีความรู้ในตัวคนที่เหมือนกัน ใกล้เคียงกัน จนกระทั่งแตกต่างกัน


จากแผนผังเหล่านี้น่าที่จะอธิบายความเข้าใจในเรื่อง ความรู้ในตัวคนได้บ้างนะครับ

สิ่งที่สำคัญกว่าคือ เราจะแกะเอาความรู้ในตัวคนนั้นๆออกมาใช้ประโยชน์แก่สังคมได้อย่างไร..


กันยายนอันตราย

2 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 11 กันยายน 2009 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ ชุมชนฅนฟื้นฟู, ชุมชนชนบท #
อ่าน: 3185

ไม่ใช่กันยายนวิปโยคเพราะการเมืองการแมงร๊อก.. แต่จะเป็นกันยายนที่ชุ่มฉ่ำเหมือนปี 48 รึเปล่า


ภาพที่เห็นนั้นทั้งสองภาพเป็นสถานที่เดียวกันได้ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 คือถนนเปรมพัฒนาที่ผมใช้เดินทางเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานใน อ.ดงหลวง จ. มุกดาหาร ถูกน้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก สามวันสามคืนเมื่อ 4 ปีแล้วปีนี้ก็มีคำเตือนมาแล้วว่าจะมีฝนตกหนักอีกโดยเฉพาะในภาคอีสาน


ภาพซ้ายมือเป็นการแสดงให้เห็นว่าถนนสายนี้มีช่วงที่ใกล้ชิดกับลำห้วยบางทราย เมื่อฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของดงหลวงเป็นภูเขา จึงมีการสะสมน้ำและหลากลงลำห้วยบางทราย แต่ลำห้วยบางทรายรับปริมาณน้ำฝนที่มากมายนั้นไม่ไหวก็เอ่อล้นท่วมตลิ่งสองข้าง

ภาพแผนที่ด้านขวามือก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมเช่นกัน


ผมและทีมงานไม่สามารถขับรถผ่านเข้าพื้นที่ได้ ชาวบ้านที่อยู่ด้านในก็ไม่สามารถออกมาทำธุรกิจได้ ทางอำเภอเอาเรือท้องแบนมาบริการ ก็เป็นกรณีที่ชาวบ้านมีธุระด่วน จำเป็นจริงๆเท่านั้น

สภาพเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุก 3-5 ปี และจะเกิดใหญ่มากๆทุก 20-30 ปี แต่โชคดีที่ความลาดชันของลำห้วยบางทรายจากแหล่งต้นสายน้ำจนไหลออกที่แม่น้ำโขงนั้นมีความลาดชันมาก หรือมีความต่างระดับมาก ปริมาณน้ำที่มากและท่วมล้นขึ้นมานั้นจะแห้งงวดลงภายใน 2-4 วันเท่านั้น แต่ก็ทำความเสียหายต่อพืช และสิ่งปลูกสร้างต่างๆแน่นอน


ในปีเดียวกันนั้น โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อาคารที่เห็นในรูปซ้ายมือนั้นคืออาคารสูบน้ำมีความสูงเท่ากับตึกสามชั้น จากภาพนี้ส่วนใหญ่จะจมอยู่ใต้น้ำ เพียงแต่น้ำไม่เข้าไปข้างในเท่านั้นเอง แต่ก็เสียว กลังว่าน้ำฝนจะมากเกินกว่าการออกแบบ อาคาร

ปีนั้นปริมาณน้ำสูงขึ้นเกือบไหลเข้าด้านในอาคาร เราต้องเดือดร้อนหาถุงทรายมากองเตรียมไว้จำนวนมาก แม้ว่า หากน้ำท่วมเข้าตัวอาคารเราก็ไม่อาจกั้นได้ โชคดีที่ปริมาณน้ำไม่มากถึงระดับนั้น

หากดูแผนที่ทางขวามือเราจะเห็นลำห้วยบางทรายโค้งงอไปมาตัวอาคารสูบน้ำคือตรง A จุดขาวๆนั่นแหละ ตรง C คือถังเก็บกักน้ำ และ B คือโค้งหักศอกของลำห้วยบางทราย ที่ตั้งอาคารสูบน้ำนั้นถูกกำหนดโดยวิศวกรของโครงการตามหลักวิชาการของวิศวกร เราไม่มีความรู้ทางด้านนี้ แต่เมื่องานก่อสร้างสิ้นสุดลงและเริ่มใช้งานเราจึงพบจุดอ่อนของสถานที่ตั้งอาคาร ไม่ขอกล่าวในที่นี้

ย้อนกลับมาที่กันยายนที่กรมอุตุเตือนว่าฝนจะมาอีกรอบและจะหนักเอาการขนาดเตือนก่อนล่วงหน้า เราจึงเตือนชาวบ้านเช่นกันว่าระบบเตือนภัยของเราไม่มี อาศัยการพยากรณ์ของกรมอุตุฯที่ถือว่าเป็นกระบวนการทางศาสตร์ที่ยอมรับได้ จึงอย่านิ่งนอนใจ พึงระมัดระวัง เพราะรูปทั้งหมดที่เห็นนี้เป็นรูปเดือนกันยายน 2548 โน้น นี่ครบรอบเดือนกันยายนอีกแล้ว

อะไรที่รู้ล่วงหน้า เราก็เตรียมตัวได้ แต่มีหลายอย่างเราไม่รู้ล่วงหน้านี่ซิ ได้แต่ ร้อง อิอิ..



หลักการไม่เหมาะสมเสมอไป

8 ความคิดเห็น โดย bangsai เมื่อ 5 กันยายน 2009 เวลา 1:17 ในหมวดหมู่ ชุมชนฅนฟื้นฟู #
อ่าน: 2783

วันนี้มีการประชุมคณะที่ปรึกษาโครงการเพื่อเตรียมงาน Phase 2 ที่ประชุมกำหนดให้ผมเป็น Core team ในการยกร่างโครงการ


ในขณะเดียวกันก็จะมีการประชุมร่วมกับคณะ PSC (Project Steering Committee) ทุกสองเดือน เพื่อแจ้งความคืบหน้าโครงการให้ที่ประชุมทราบ โดยมีการเสนอว่าให้ทีมผู้เชี่ยวชาญส่วนกลางเท่านั้นที่เข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นต้องให้ผู้จัดการประจำจังหวัดเข้าร่วม

น่าจะมีสองเหตุผล คือ ไม่จำเป็นต้องยกขบวนมากันทุกคน และปล่อยให้เอาเวลาไปทำงานสนามจะมีประโยชน์กว่า โดยคิดว่าเฉพาะผู้เชี่ยวชาญส่วนกลางก็สามารถดำเนินการต่างๆได้ในที่ประชุม PSC และนี่คือหลักการ

ผมคิดว่า เหตุผลก็น่าฟัง แต่หากพิจารณาลึกลงไปแล้ว ต่อกรณีโครงการแบบนี้ ลักษณะการประชุมที่เอาผลงานมาบรรยายให้คณะกรรมการฟังนั้น ผมคิดว่าผู้บริหารเสี่ยงเกินไปที่จะเชื่อมั่นเฉพาะผู้เชี่ยวชาญส่วนกลาง เหตุผลคือ


ผู้เชี่ยวชาญส่วนกลางเป็นคนใหม่ของโครงการ และรับผิดชอบเฉพาะด้าน ส่วนผู้จัดการประจำจังหวัดและทีมงานที่จังหวัดทำงานกิจกรรมต่างๆมากับมือย่อมรู้ตื้นลึกหนาบางของงานที่ทำทั้งหมด หากในกรณีที่คณะกรรมการ PSC ซักถามรายละเอียดลึกๆ การดิ้นไปตามจินตนาการนั้นเสี่ยงต่อความผิดพลาด แต่หากผู้ทำกิจกรรมเป็นผู้ตอบย่อมมีเหตุมีผล หรือมีน้ำหนักมากกว่าการใช้ตรรกเท่านั้น

ในกรณีนี้เห็นว่าผู้จัดการประจำจังหวัดที่เป็นคนเดิมสมควรเข้าร่วมการประชุมด้วย เพราะเมื่อมีคำถามเนื้อหางานเชิงลึกก็สามารถอธิบายข้อเท็จจริงได้จากประสบการณ์การทำงานจริงๆในสนาม..

ในกรณีนี้ เห็นว่าหลักการนั้นไม่เหมาะสมเสมอไป



Main: 0.53823208808899 sec
Sidebar: 0.27119612693787 sec