ตะคริว : ประสบการณ์ของพ่อครูสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

อ่าน: 1836

เล่าให้ฟังแล้วว่า อุณหภูมิกายเป็นผลสัมพัทธ์ของการถ่ายเทความร้อนของร่างกายออก ความปราดเปรียวว่องไวเป็นกลไกหนึ่งของการทำให้ความร้อนที่สร้างขึ้นในร่างกายกับความร้อนที่สูญเสียอยู่ในภาวะสมดุล

ร่างกายเย็นเมื่อไรก็เพิ่มความร้อนด้วยการเผาผลาญอาหาร กล้ามเนื้อทำงาน และลดการสูญเสียความร้อนด้วยการเพิ่มไขมันซึ่งทำหน้าที่เป็นฉนวนความร้อน

อุ่นหรือร้อนไป ก็ลดการสร้างความร้อนและเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกายแทน

บริเวณส่วนปลายสุดของร่างกาย เช่น ปลายมือ ปลายเท้า ใบหู ปลายจมูก คือ ตำแหน่งที่มีกลไกปรับตัวเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วอยู่

เมื่อไรเย็นไป บริเวณส่วนปลายเหล่านี้จะมีการไหลเวียนเลือดมาสู่ลดลง  ภาวะการสั่นแรงๆของมือ-เท้า เป็นกลไกหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อปรับเพิ่มความร้อนให้ร่างกาย เลือดที่อุ่นเมื่อไหลไปสู่ขาก็จะถ่ายเทความร้อนไปที่เส้นเลือดดำ (การถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นระหว่างเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ)

เมื่อพ่อครูเล่าให้ฟังว่า มีปวดขาแข็งเกร็งปวดจนนอนไม่หลับต้องนวด จึงเป็นอะไรที่ทำให้เอะใจ

สัญญาณนี้น่าจะเป็นการหดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย อันเนื่องมาจากสมดุลอุณหภูมิไม่ดีซะมากกว่า

เมื่อได้เห็นชนิดของผักที่กิน การมีกิจกรรมประจำวันของพ่อครู ก็แน่ใจว่า เหตุที่ทำให้ปวดขากลางคืนไม่ใช่การขาดแคลเซี่ยมอย่างที่หลายคนฟันธง  แต่เกิดจากปลายเท้าเย็นไป  ทำให้เส้นเลือดหดตัวมาก

เส้นเลือดที่หดตัวมากจะทำให้ปวดจนร้องโอ๊ยได้ค่ะ  ไม่ได้ขอดูขาพ่อครูให้เห็นจะจะ ก็ได้แต่ฝากให้แม่หวีช่วยดูให้หน่อย ถ้ามีเส้นเลือดขอดอยู่ด้วย ก็สรุปโป๊ะเช๊ะได้เลยว่า ที่ปวดเป็นจากอุณหภูมิปลายเท้าเย็นในยามค่ำคืน

วิธีแก้ง่ายนิดเดียว “ใส่ถุงเท้านอน”  ให้ผ้าช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากร่างกายส่วนปลาย เพิ่มความอุ่นให้

วันนี้สมดุลความร้อนในร่างกายของพ่อครู ถูก set ให้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่เคยด้วยเหตุอยู่ในภาวะจำศีล  แต่ร่างกายต้องการความร้อนมากกว่าที่ set ไว้

พุงที่ลดไปเร็ว ยืนยันว่าร่างกายต้องการความร้อนมากกว่าที่ set  จึงต้องเผาผลาญไขมันมากๆ  อาการตะคริวตอนกลางคืน ย้ำซ้ำว่า ต้องการความร้อนให้ร่างกายมากกว่านี้

วิธีเพิ่มความร้อนให้ร่างกาย ทำได้โดยเพิ่มความปราดเปรียวว่องไวให้กับร่างกาย

ในช่วงเวลาของแต่ละวันพ่อครูจะใช้เวลากับการนั่ง-เล่น-คุย-นอน  กล้ามเนื้อพ่อครูมีน้อย เลือดก็เคยติดยศเป็น “ว่าที่เบาหวาน”

คราวนี้ถ้าไปเจาะเลือดใหม่ ทุกอย่างคงจะผ่านฉลุยอยู่หรอก แต่ว่านาฬิกาชีวิตมันรวนไปแล้ว

ชวนให้ปรับนาฬิกาชีวิตอีกหน่อย   เพิ่มเวลาเคลื่อนไหว เพิ่มการขยับกล้ามเนื้อ และเพาะกล้ามให้มีมากขึ้น  ภาวะจำศีลก็จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นกว่านี้ค่ะ

« « Prev : อีกมุมหนึ่งของภาวะจำศีล

Next : เลี้ยง-เพาะกล้ามเนื้อสำคัญยังไง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตะคริว : ประสบการณ์ของพ่อครูสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.011709928512573 sec
Sidebar: 0.058803081512451 sec