มีความสำคัญอะไรอีกในเรื่องอาหารปลอดภัย

อ่าน: 1831

ได้เล่าให้ฟังแล้วว่า ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับคนและภาชนะ กระบวนการค้นหาทางนิติวิทยาศาสตร์ในกระบวนงานอาหารปลอดภัยเน้นไปที่การค้นหาเชื้อก่อโรค  สัญญลักษณ์พ่อครัวบนป้ายเขียวที่เห็นกันชินตามีขอบเขตอยู่อย่างไร ที่ไม่ได้เล่า คือ เรื่องอายุป้าย

เพื่อความเข้าใจที่ตรงและนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลตัวเองได้ ก็ขอเติมเรื่องราวว่า ป้ายมีอายุการรับรองอยู่รอบละ 12 เดือน วันหมดอายุดูได้ที่ส่วนล่างของป้าย

ไม่เห็นวันที่แปลได้เลยว่าหมดอายุแล้ว เห็นขี้ฝุ่นเกาะจับดำปี๋ก็เช่นกัน

กระบวนงานที่รับรองทุก 12 เดือน ก็เพื่อให้มีโอกาสกำกับผู้ค้าอาหารแทนชาวบ้าน แต่ละรอบถ้าผ่านเกณฑ์ ผู้ค้าอาหารก็จะได้รับป้ายใหม่ไปใช้ โละป้ายเก่าไป

บันทึกนี้จะขอชวนไปทำความรู้จักคำเรียกโรค เพื่อใช้ประโยชน์ในการแยกแยะต้นตอ ต้นเหตุของโรค แล้วใช้ดูแลตนเอง ดูแลคนข้างเคียงได้

“ชื่อโรค”ที่ขอชวนทำความเข้าใจให้มีคำว่า “ท้องร่วง” “อาหารเป็นพิษ”  “ลำไส้อักเสบ” เพื่อทำความเข้าใจกับคำที่พวกหมอเราใช้ว่ามีมุมต่างอะไรอยู่บ้าง

คำยอดฮิตที่มักจะได้ยินกัน คือ คำนี้ “อาหารเป็นพิษ”  เวลาที่หมอเราใช้คำนี้เรียกโรค ความหมายที่ซ่อนอยู่ในชื่อ คือ สื่อถึงเหตุก่อโรคอยู่ 2 ประเด็น ประเด็นหนึ่ง คือ ต้นตอ อีกประเด็น คือ ต้นเหตุ

ต้นตอ มีได้ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นเชื้อโรค อีกกลุ่มไม่ใช่เชื้อโรค  ต้นเหตุ มีแค่อย่างเดียว คือ “พิษ”

คำว่า “อาหารเป็นพิษ” จึงเป็นอะไรที่พวกเราใช้สื่อความว่า “พิษจากอาหารทำให้ป่วย”

ภายใต้ชื่อนี้ จะมีกลุ่มเชื้อโรคที่ทำให้ป่วย ที่มีลักษณะเหมือนกัน คือ สร้าง “สปอร์” ได้ และ สปอร์นี่แหละต้นเหตุก่อโรค

ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่เชื้อโรค มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นสารเคมี

เมื่อไรที่เราวินิจฉัย “อาหารเป็นพิษ” ในคนหนึ่งคน อัตโนมัติที่โผล่เข้ามาในหัวก็ คือ บ้านนี้ ทีมนี้ แก๊งค์นี้ ชั้นนี้ไม่น่ามีคนป่วยคนเดียว คนที่กินข้าวหม้อเดียวกัน กับข้าวชุดเดียวกันน่าจะป่วยด้วย

อาหารเป็นพิษมักจะเป็นพร้อมๆกันหลายคน “ระยะห่างระหว่างเวลากินกับเวลาเกิดอาการป่วย” คือ หลักง่ายๆที่พอจะแยกได้ว่าต้นตอเป็นกลุ่มไหน

ระยะห่างนี้ ภาษาหมอ เรียกกันว่า “ระยะฟักตัว”  ถ้ามันเท่าๆกันเป๊ะในคนมากกว่า 1 คนที่ป่วย และเกิดเร็วในครึ่งชั่วโมงแรกของการกินอาหารมื้อสุดท้ายก่อนป่วย  รู้ได้เลยว่า การป่วยหมู่นั้นเกิดจาก “พิษสารเคมี”  ส่วนจะเป็นสารอะไรก็ต้องหวนไปดูภาชนะบรรจุอาหาร กระบวนการเตรียมอาหารดิบโน่นเลย

มีโรคอีกกลุ่มที่อาหารปลอดภัยให้ความสำคัญ กลุ่มโรคที่ว่านี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคท้องเสีย หรือท้องร่วง”  ภาษาเขียนใช้คำว่า “โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน”  กลุ่มโรคหลังนี้ ต้นตอของการป่วยไม่มีเรื่องของ “สปอร์” มาเกี่ยว กลไกการทำให้เกิดโรคก็ต่างกันไปแล้วแต่ตัวเชื้อโรค

ทั้งต้นตอ ต้นเหตุ จะต่างกันอย่างไรก็ตาม  อาการป่วยที่มักเกิดและทำให้รู้ตัวว่าป่วย จะเริ่มที่อาการหนึ่งอาการใดต่อไปนี้ : คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว อาการนี้อะไรเกิดก่อนได้ทั้งนั้น ขึ้นกับกลไกการปกป้องของภูมิคุ้มกันที่บุคคลนั้นมี

สำหรับการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง คือ “เติมน้ำทดแทนที่สูญเสียจากการถ่าย เติมเกลือแร่ที่สูญเสียจากการอาเจียน” ซะก่อน

การแก้อาการคลื่นไส้ที่เกิด ยาแก้อาเจียนอาจจะยิ่งทำให้แย่ลงได้  วิธีหยุดอาการคลื่นไส้ทำได้ง่ายๆ เติมเกลือแร่ให้ตัวเองก่อนเลย เพราะต้นเหตุที่ทำให้คลื่นไส้ เกิดจากสมดุลเกลือแกงในร่างกายเปลี่ยนแปลง ต่ำลง

« « Prev : อะไรบ้างที่ควรสงสัยว่ามีสารไนเตรทปนเปื้อน

Next : รู้จักต้นตอและต้นเหตุของบางโรคที่คุ้นจนชินแล้วไว้หน่อยเหอะน่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.060433149337769 sec
Sidebar: 0.26907300949097 sec