สีน้ำตาลในพืชส่งสัญญาณถึงสารเคมีบางตัวที่มีฤทธิ์กรด

อ่าน: 2332

ฟังนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารเล่าเรื่องสีน้ำตาลของอาหารแล้วทึ่ง ไม่เคยนึกมาก่อนว่าจะมีกรดอะมิโนและน้ำตาลเข้ามาเกี่ยวกับสีๆ

เจ้าตัวที่เข้ามาเกี่ยวกับน้ำตาลและกรดอะมิโนแล้วทำให้เกิดสีน้ำตาลในอาหารนี้เป็นสารย่อยชนิดหนึ่งซึ่งลงมือทำงานเติมออกซิเจนให้กับฟีนอล

ในน้ำส้มควันไม้ยังมีสารเคมีอีกตัวที่ควรใส่ใจรู้จักมัน นั่นก็คือ “ฟีนอล” ซึ่งเป็นกรดชนิดหนึ่ง มีชื่อเคมีว่ากรดคาร์บอลิก (carbolic acid)  ผู้คนรู้จักมันมากว่า 200 ปีแล้วว่าเป็นของแข็งไม่มีสี ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีขาวขุ่น มีที่มาจากน้ำมันถ่านหิน

มีการใช้มันในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งพลาสติกบางชนิด สีย้อม ยาฆ่าเชื้อโรค สารกันหืน กลุ่มสารเคลือบผิว กาว (Synthetic Coating and Adhesive Materials) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี (เคลือบผิววัสดุให้แข็งแรง คงทน และสวยงาม) เม็ดพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์

เวชภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ขี้ผึ้ง ยาอมแก้เจ็บคอ น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ  ก็มีการใช้ฟีนอล และยังใช้ในการสกัดดีเอ็นเอหรือพลาสมิด ด้วย (อัตราส่วน ฟีนอล : คลอโรฟอร์ม : ไอโซเอมิลแอลกอฮอร์ ในอัตราส่วน 25 : 24 : 1 เพื่อสกัดโปรตีนออก)

เมื่อฟีนอลได้ออกซิเจนเติม สารตัวใหม่จะถือกำเนิดขึ้น ชื่อว่า “ควิโนน” มีรสขมและมีพิษกับแมลง ตัวมันมีการเปลี่ยนแปลงรูปต่อมาอีกเป็นโพลีเมอร์ที่มีสี เจ้าตัวหลังนี้คือสีน้ำตาลที่เห็นในน้ำส้มควันไม้ มีชื่อเรียกว่า “เมลานิิน”

เมลานินในคนก็มีเหมือนกัน อย่างนี้กลไกนี้ก็ไม่ได้เกิดเฉพาะในพืช แต่เกิดในสัตว์ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญเขาว่า สีน้ำตาลที่เห็นเป็นสัญญาณว่า “พืชกำลังเครียด”  เมื่อเครียดก็สร้างสารป้องกันตัวเองขึ้น จุลินทรีย์รุกล้ำ โดนปอกเปลือก หล่นกระแทกพื้น เหล่านี้คือภาวะคุกคามที่ทำให้พืชเครียด

สารนี้เป็นกรด บางตัวสามารถต้านเชื้อราได้ เช่น กรดแคฟเฟอิค กรดคลอโรเจนิค

แอปเปิ้ล แอบปริคอท อะโวกาโด กล้วย โกโก้ กาแฟ มะเขือยาว องุ่น ผักชี กุ้งลอบเสตอร์ มะม่วง เห็ด ลูกพีช ลูกแพร์ พลัม มันฝรั่ง กุ้ง มันเทศ ชา เป็นวัตถุดิบอาหารที่มีสารประกอบฟีนอลอยู่

ฟีนอลมีฤทธิ์กรด จึงสามารถกัดและทำให้เยื่อเมือกต่าง ๆ เช่นเยื่อบุในปาก หลอดลม หลอดอาหาร และระบบลำไส้ ระคายเคืองได้

ฟีนอลที่เข้มข้นเมื่อเปื้อนผิวหนัง จะกัดผิวหนังและซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้   แผลที่เกิดขึ้นจากฟีนอลจะมีลักษณะพองขาวปวดแสบปวดร้อนแล้วชา

ถ้าโดนกว้างหรือเผลอกลืนเข้าไปในท้องอาจถึงตายได้ จากความเป็นพิษต่อตับ ไต และกดระบบประสาทส่วนกลาง

ให้ลงมือปฐมพยาบาลขั้นต้นถ้าเกิดเปื้อนผิวหนัง  โดยล้างด้วยของเหลวที่ผสมพอลิเอทีลีนไกลคอล 350 กับเอทานอลในอัตราส่วน 2 : 1 ต่อด้วยใช้น้ำปริมาณมากๆล้าง แล้วจึงทาด้วยกลีเซอรีนอิ่มตัวด้วยโบรมีน

เมื่อไรเปื้อน ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที การล้างมีเรื่องต้องระวังการทำให้ผิวหนังที่เปื้อนขยายบริเวณกว้างขึ้น

หากเผลอกลืนเข้าไปในปาก-ท้อง อย่าทำให้อาเจียนแต่ให้รีบกินผงถ่านกัมมันต์ เพื่อไม่ให้ฤทธิ์กัดกร่อนของฟีนอลไปกัดอวัยวะภายในจนทะลุ

ขนาดของผงถ่านกัมมันต์ที่ให้กิน 20-40 กรัมผสมน้ำ 200-400 มิลลิลิตร กินแล้วอย่ารอช้า ส่งตัวไปถึงแพทย์ให้เร็ว

ฟีนอล ถือเป็นของเสียพิเศษ (Special Waste) ที่ต้องระบุชื่อและความเข้มข้นให้ชัดเจน เพื่อจัดระบบการดูแลหลังการใช้

« « Prev : ต้นตออีกกลุ่มของอุจจาระร่วงที่สัตว์นำมาให้คน คนนำมาให้คน

Next : สารลดแรงตึงผิวกับสุขภาพ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "สีน้ำตาลในพืชส่งสัญญาณถึงสารเคมีบางตัวที่มีฤทธิ์กรด"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.065597057342529 sec
Sidebar: 0.18483400344849 sec