น้ำส้มควันไม้กับน้ำส้มสายชู

อ่าน: 5825

คุยกันเรื่องนโยบายงานสาธารณสุขในยุคที่เปลี่ยนเจ้านายคนใหม่ ซึ่งยังเดาใจไม่ออกว่าจะเอายังไงต่อกับสุขภาพของเกษตรกรที่ดำเนินมาร่วมปี  ลงเอยกันว่าถึงนายใหม่ไม่เอาด้วย ก็จะยังจับงานนี้สานต่อ ใช้แนวหมู่บ้านสีเขียวเป็นความหวังเดินไปข้างหน้า นำร่องในพื้นที่ที่มีงบของสสส.อยู่แล้ว บูรณาการลงในพื้นที่ ถ้าคนพื้นที่เอาด้วย

คุยกันถึงการเกษตรปลอดสารพิษ แล้วภาพน้ำส้มควันไม้ที่น้องโสทรเคยให้มาใช้ก็แวบเข้ามา น้ำกับดินเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเกษตร  ปลอดสารพิษกับการไม่ใช้ยาฆ่าแมลงนั้นไปด้วยกัน วันนี้เกษตรกรยังมีการใช้ยาฆ่าแมลง อาจจะไปเสนอทางเลือกให้ใช้น้ำส้มควันไม้แทนได้

แต่น้ำส้มควันไม้มีสารอะไรอยู่ มีผลต่อสุขภาพอย่างไรหรือเปล่า  แม้ว่าทางเกษตรจะเชิญชวนให้มีการใช้แล้วก็เหอะ ก็ต้องรู้ก่อนไปเสนอให้ใช้

น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวที่ควบแน่นจากไอน้ำที่ระเหยอยู่ในกระบวนการเผาไม้ในสภาพอับอากาศ  ไม้อะไรก็เผาแล้วให้น้ำส้มควันไม้ได้

จะได้น้ำส้มมากน้อยก็อยู่ที่ความสดแห้งของไม้  ไม้สดตัดมาใหม่ๆแล้วเผาจะนานกว่าไม้ที่ตัดมาทิ้งไว้หลายวันก่อนเผา

เพิ่งรู้ว่าที่เรียกว่า “น้ำส้ม” เป็นเพราะว่าตัวสารหลัก คือ กรดน้ำส้ม สารอื่นยังมีน้ำมัน และน้ำมันดิน  ตัวหลังนี้เป็นสารก่อมะเร็ง

เกษตรกรจึงปล่อยให้ตะกอนในของเหลวตกแยกจากน้ำก่อนนำมาใช้  ระยะเวลาที่ปล่อยให้ตกตะกอนนี้นานราว 3 เดือน ของเหลวที่แยกได้จะมีสีน้ำตาลแดง ดมแล้วได้กลิ่นควันปนเปรี้ยวๆ

เกษตรกรใช้น้ำส้มควันไม้ผ่านวิธีพ่นเป็นละอองฝอย คลุกดิน ผสมน้ำรดตรงๆ

ถ้าใช้เลี้ยงสัตว์ด้วยก็จะคลุกลงในอาหารสัตว์  ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อรา จัดการไส้เดือนฝอย ไล่แมลง เช่น มด ตะขาบ แมงป่อง ปลวก

ใช้แล้วฤทธิ์ของปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นจึงเสมือนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนให้พืช  ความถี่ของการใช้ 15-20 วันต่อรอบ

ความเข้มข้นที่ใช้ น้ำ 1 ส่วน น้ำส้มควันไม้ 300 - 1000 ส่วน แล้วแต่จุดประสงค์การใช้งาน

มีการใช้เป็นสารดับกลิ่นขยะ ห้องน้ำ  รักษาแผลสด น้ำร้อนลวก ไฟลวก น้ำกัดเท้า และเชื้อราที่ผิวหนังด้วย

น้ำมันดินที่แยกออกมาเขาใช้รดไม้ป้องกันปลวก/มดทำลาย

ที่มีฤทธิ์หลากหลายก็เพราะสารเคมีตัวสำคัญที่ละลายอยู่ ได้แก่  กรดน้ำส้ม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซี่ยม  ฟอร์มาลดีไฮด์ เมธานอล น้ำมันดิน เอธิล เอ็น วาลอเรต ฟีนอล

กรดอะซิติก  ฟอร์มาลดีไฮด์ และเมธานอลที่ปนอยู่ทำให้มีฤทธิ์ทำลายสิ่งมีชีวิตได้

องค์ประกอบที่เป็นกรดจะมีอยู่ราว 3% สารอินทรีย์ 12%  ที่เหลือเป็น น้ำ pH 3  ความถ่วงจำเพาะ 1.012-1.024

รายละเอียดของส่วนประกอบอื่นๆพอจะรู้ได้จากน้ำส้มควันไม้ไผ่ ดังนี้

น้ำ 80 %  กรด 32% ฟีนอล 40%  แอลดีไฮด์ 3% แอลโคน (Alkone) 5% แอลกอฮอล์ 5% แอสเตอร์ 4%  และอื่นๆ 5%

กรดน้ำส้มแรงพอๆกับโค๊ก เทียบกับกรดตัวอื่นพอเห็นภาพความแรงได้ (ตัวเลขในวงเล็บข้างล่าง คือค่า pH)

กรดจากแบตเตอรี (0.5)      กรดในกระเพาะอาหาร (1.5 - 2.0)

มะนาว (2.4)   โค๊ก (2.5)    น้ำส้มสายชู (2.9)

ส้ม หรือ แอปเปิล (3.5)       เบียร์ (4.5)

ฝนกรด (< 5.0)

กาแฟ (5)       ชา (5.5)      นม (6.5)

น้ำบริสุทธิ์ (7)

น้ำลายมนุษย์ (6.5 - 7.4)   เลือด (7.34 - 7.45)    น้ำทะเล (8)

สบู่ล้างมือ (9.0 - 10.0)      แอมโมเนีย (ยาสามัญประจำบ้าน) (11.5)

น้ำยาปรับผ้านุ่ม (12.5)        โซดาไฟ (13.5)

ถ้าแยกน้ำมันดินออก ก็ปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง ปลอดภัยกว่าใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมีตรงๆ  แต่ยังไงจะใช้ก็สมควรป้องกันการจับต้องตรงๆอยู่ดี

« « Prev : อาหารและน้ำดื่มกับโลหะหนัก

Next : ทำอะไรอยู่บ้างกับอาหารปลอดภัย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "น้ำส้มควันไม้กับน้ำส้มสายชู"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.04718804359436 sec
Sidebar: 0.095739841461182 sec