ทำอะไรอยู่บ้างกับอาหารปลอดภัย

โดย สาวตา เมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 10:24 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2030

มีัวันหนึ่งไปกินข้าวที่ร้านอาหาร คนในครอบครัววิจารณ์เรื่องป้ายเขียวรับรองร้านอาหารปลอดภัยให้ฟัง

จึงได้โอกาสให้ข้อมูลว่างานนี้องค์กรท้องถิ่นกำกับดูแลอยู่  ขอบเขตของงานอยู่ที่ “สุ่มตรวจเพื่อเฝ้าระวัง”  วันนี้สาธารณสุขทำหน้าที่เฝ้าแทนชาวบ้านและสะท้อนผลการดำเนินงานให้ท้องถิ่นเห็นตัวเองเท่านั้นเอง

การรับรองและให้ป้าย อยู่ที่ท้องถิ่นใช้กรอบตัดสินใจอย่างไร จะแยกส่วนกับกฎหมายหรือไม่ก็เป็นเรื่องท้องถิ่นว่าได้เลย  ที่ทำอย่างนี้เพราะวันนี้งบประมาณของรัฐเรื่องนี้อยู่ในมือองค์กรท้องถิ่นแล้ว

พื้นที่ไหนที่ท้องถิ่นยังไม่ลงมือ ก็เป็นไปได้ 2 ทาง ทางหนึ่งคือยังไม่ยอมรับโอนงบประมาณ อีกทางหนึ่งคือรับงบประมาณไปแล้ว แต่ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเอง

วิธีกำกับดูแลเรื่องนี้มีเบื้องหลังของคำรับรองตามป้ายแฝงอยู่  สิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดในการดำเนินการเรื่องนี้อยู่ที่ “ไม่มีแหล่งปนเปื้อนสารสำคัญและเชื้อโรคทางเดินอาหาร” ในชุมชน

กระบวนการต่างๆจึงเป็นการตรวจสอบที่อ้างอิงหลักตามกฏหมายสิ่งแวดล้อมที่องค์กรท้องถิ่นกำกับดูแล ที่ใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์หาหลักฐานประกอบ

การผนวกการตรวจทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาสิ่งปนเปื้อนสำคัญเข้ามานั่นแหละคือวิธีการนิติวิทยาศาสตร์ที่เอ่ยถึง

กระบวนการใช้น้ำยาตรวจนั้นเป็นไปเพื่อหาสัญญาณการปนเปื้อน  คนให้บริการในร้านอาหารตั้งแต่พ่อครัว คนเสิร์ฟ  สภาพห้องครัว ภาชนะที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหาร วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุง สถานที่เก็บอาหารหลังปรุง กระบวนการเสิร์ฟ สภาพห้องกินอาหาร คือแหล่งข้อมูลสำคัญของการค้นหาหลักฐานการปนเปื้อน

การค้นหาในคนและจากภาชนะ มุ่งเป้าไปที่เชื้อก่อโรคทางเดินอาหาร ซึ่งใช้เชื้อที่พบในลำไส้เป็นตัวแทน ประกอบกับพฤติกรรมที่อาจสร้างโอกาสปนเปื้อน

ถ้าพบสัญญาณว่ามีการปนเปื้อนหรือเปิดโอกาสให้ปนเปื้อนเชื้อในกระบวนการได้ก็ให้ร้านค้าปรับปรุงแล้วตรวจซ้ำ ผ่านแล้วก็มิได้ถือว่าผ่านเลย ยังต้องใช้ข้อมูลอื่นผสมผสานด้วย

สภาพของห้องครัว สถานที่เก็บหลังปรุง สภาพของห้องอาหาร นั้นมุ่งเป้าไปที่ฝุ่นละออง และการไม่มีการปนเปื้อนซ้ำในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ประเด็นนี้เป็นอะไรที่อิหลักอิเหลื่อ จะให้ได้เลิศอย่างใจ เป็นไปได้ยาก เพราะเป็นต้นทุนที่สูง

เพื่อให้เป็นไปได้ในระดับชาวบ้าน รายละเอียดในการรับรองจึงแบ่งซอยเป็น 2 กลุ่มแทน กลุ่มหนึ่งเรียกว่า “แผงลอย”  อีกกลุ่มหนึ่ง เรียกว่า “ร้านอาหาร”  คงนึกภาพออกว่า หน้าตาของทั้งคู่ต่างกันอย่างไร

ผลที่ปรากฏจริงของการรับรองมี “หลายมาตรฐาน” ด้วยว่าดูความเป็นไปได้ของพื้นที่ด้วย โครงสร้างที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้และชาวบ้านทำได้ เป็นอะไรที่ใช้ตัดสินใจร่วมไปเสมอ  ยืดหยุ่นให้ชาวบ้านด้วยความเห็นใจในงบลงทุน เพื่อไม่ให้เป็นการทุบหม้อข้าวเขาจนหมดอาชีพไป

สารสำคัญที่ค้นหาก็เป็นสารเคมีที่เป็นโทษต่อสุขภาพที่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีง่ายๆึ 7 ตัว ส่วนจะตรวจละเอียดละออแค่ไหนก็อยู่ที่ภูมิรู้ของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนงาน

สาร 7 ตัวมี บอแรกซ์  (ใช้กันบูด ทำให้เกิดความกรอบหยุ่นเหนียว)  สารกันรา  สารไฮโดรซัลไฟด์ (ฟอกสีให้ดูสะอาด) ฟอร์มาลิน (ใช้กันเน่า)  ยาฆ่าแมลง ซาลบูตามอล (ใช้ลดไขมันในกล้ามเนื้อสัตว์)  และ สารไนเตรท

สารทั้ง 7 ตัวนี้ ถือเป็นสารพิษให้โทษแก่สุขภาพคน พิษมีทั้งระยะสั้น และพิษจากการสะสม

« « Prev : น้ำส้มควันไม้กับน้ำส้มสายชู

Next : อะไรบ้างที่ควรสงสัยว่ามีสารไนเตรทปนเปื้อน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 11:04 (เช้า)

    อย่างที่ผมเคยเขียนไว้แล้วว่า…ขนาดป้าย “อาหารอุบาทว์ รสชาติกร่อยๆ” มันยังรักษาให้สะอาดไม่ได้เลย มีหยากไย่ และไขมันจากการทอดผัดจับตรึม แล้วมันจะมาทำอาหารให้สะอาดได้อย่างไร

    ถึงวันนี้ผมได้คิดวิธีการอบแห้งแบบร้อนของจานชามที่ล้าง (น้ำไหลอีกต่างหากดังที่ผมได้คิดไว้แล้ว) ด้วยวิธีการถูกๆได้แล้ว ว่าจะลองให้นศ.วิศวะทำดู แต่คงต้องร่วมมือกับพวกอนามัยสิ่งแวดล้อมด้วย

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 17:01 (เย็น)

    วิธีของอาจารย์นำมาลองที่รพ.กระบี่ได้เลยค่ะ

  • #3 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 17:51 (เย็น)

    ดีใจจัง หมอเจ๊ แซ่เฮ คิดตรงกัน สองแรงประสาน ฝันจะได้เริ่มฟักตัวเสียที
    แนวคิดผมคือจะทำอากาศร้อนสะอาดที่ราคาแสนถูก แล้วเอาเข้าไปในตู้อบจานแบบถูกๆแต่ ปสภ. สูง (ตู้อบฝรั่งขาย 1 แสน ของเราขาย 5 พัน) อบแบบอากาศอุ่นประมาณสัก 5-60 C

    ผลคือจะแห้งเร็วกว่าปกติ 3 เท่า ลดเวลาการก่อตัวของจุลินทรีย์ แถมยังฆ่าจุลินทรีย์ด้วย (ปาณาติปาตาเวรมณ๊ ..ฆ่าจุลินทรีย์คงบ่บาปดอกนะ)

    ฝากหมอเจ๊ทำการบ้านด้วยว่า Low temp sterilization นั้นต้องการ temp และ time เท่าไร ผมหามานานก็ไม่ค่อยเจอ

    ว่าไปแล้ว ขอทุน สสส หรือ อะไรก็ได้ทำวิจัยให้เป็นกิจจะ แล้ว กระจายความรู้ออกไปทั่วทุก รพ. ร้านอาหารดีไหมครับ สะสมบุญไว้กินชาติหน้า (โลภนะเนี่ย)

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 19:00 (เย็น)

    ความร้อนที่ใช้ฆ่าเชื้อ คือ 100 องศาเซลเซียส เวลาที่รับได้สั้นที่สุด คือ 30 นาทีค่ะ

    ถ้าเครื่องนี้ผลิตเผื่อชาวบ้านแค่ล้างแล้วอบแห้งได้เลย นี่ก็โอเคแล้วค่ะ

  • #5 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กันยายน 2011 เวลา 19:21 (เย็น)

    ที่หมอว่ามานั้นผมว่ามันระดับกลางนะครับ …ความร้อน 100 คงทำไม่ได้ครับ มันจะแพงมาก
    ที่ผมต้องการคือ ความร้อน ต่ำ ระดับ 5-60 องศา แต่คงต้องใช้เวลานานมากขึ้น

    ผมเดาเอาเองว่า มันน่าจะมีกราฟ ที่พล็อตแกนตั้ง เป็น อ้ตราการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ 95% (หรือตัวเลขอะไรก็แล้วแต่พวกหมอจะตกลงกัน) ส่วนแกนนอน เป็นเวลาที่ใช้ ..และยังมีปัจจัยเป็น อภ. ที่ใช้ในการ sterlize..ดังนั้นกราฟนี้จะมีหลายๆ เส้นกราฟ ที่(เกือบ) ขนานกั้น

    ถ้าหาไม่ได้ เรามาทำวิจัยหากันก็ได้ ผมมองเห็นว่ามันไม่ยากเลย แต่ต้องมีเงินค่าจ้างแรงงาน และค่าทดสอบด้านจุลชีวะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.069154977798462 sec
Sidebar: 0.13715291023254 sec