ฟอสฟอรัสกับสุขภาพ

อ่าน: 5448

มีเรื่องอยู่หลายๆอย่างที่ร่างกายคนเราเกี่ยวข้องกับคำว่า “สมดุล” และเมื่อไรที่สมดุลเกิดเรื่องร้ายๆก็ไม่เกิดกับร่างกาย  ฟอสเฟตเกิจากธาตุฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสสำคัญยังไงกับคนรู้ไว้หน่อยดีมั๊ย

สมดุลของฟอสฟอรัสในตัวคนไม่ได้เป็นปัจจัยเดี่ยว หากแต่ผูกพันอยู่อย่างแนบแน่นกับธาตุแคลเซียม

เมื่อไรธาตุ 2 ตัวนี้สมดุลต่อกัน เมื่อนั้นเกลือแร่ต่างๆที่อยู่ในร่างกายจะทำหน้าที่ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

สมดุลที่ 2 ธาตุผูกพันอยู่นั้น จะเป็นไปในทิศเดียวกันเรื่องปริมาณ เมื่อไรธาตุหนึ่งมีปริมาณสูง อีกธาตุก็สูงด้วย และเป็นอย่างนี้ในสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย

หน้าที่ของฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็คือ เป็นส่วนสำคัญทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกและฟันเป็นไปอย่างปกติ  เป็นเกลือแร่สำคัญในกระดูก

อัตราส่วนฟอสฟอรัสต่อแคลเซียมอยู่ที่ 1:2 ประมาณ 85 % ของ ฟอสฟอรัส ในร่างกายคนอยู่ในกระดูกและฟันในรูปของ แคลเซียมฟอสเฟต (Calcium phosphate) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ ผลึกนี้จะเสริมสร้างความแข็งแรงและความแข็งแกร่งแก่กระดูกและฟัน

ฟอสฟอรัสควบคุมการทำงานของไตด้วย และยังช่วยป้องกันการสะสมที่มากเกินไปของกรดและด่างในเลือด และคงสมดุลกรดและด่างในเลือดให้มากไปทางด่าง (pH 7.39 -7.41)

วิตามิน บี ต่าง ๆ จะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องมีฟอสฟอรัสช่วย วิตามิน บีสอง และบีสาม จะย่อยไม่ได้ถ้าปราศจากฟอสฟอรัส

การเผาผลาญ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนในร่างกาย มีฟอสฟอรัสเป็นส่วนสำคัญในสารพลังงานที่ชื่อว่า ATP ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวประสานของเอนไซม์และมีอยู่ในทุกๆเซลล์

ฟอสฟอรัสเป็นส่วนที่จำเป็นของนิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein) ซึ่งรับผิดชอบในการแบ่งตัวของเซลล์และถ่ายทอดลักษณะของพ่อแม่ไปยังลูก

ฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิด องค์ประกอบในเยื่อเซลล์และไลโปโปรตีนซึ่งช่วยในการขนส่งไขมันและกรดไขมัน มีความสำคัญสำหรับการเจริญเติบโต การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเก็บและการให้พลังงานออกมา และช่วยในการสร้างพลังของเซลล์ในร่างกายทั้งหมด

เกี่ยวข้องอยู่กับการส่งแรงกระตุ้นของประสาท ช่วยในการส่งสัญญาณของตัวกระตุ้นประสาท และ ช่วยรักษาสุขภาพระบบประสาทให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการคลายตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อของหัวใจด้วย และช่วยในการส่งสารผ่านผนังเซลล์

การดูดซึมของอาหารจากลำไส้เข้าสู่ร่างกาย การส่งเสริมการขับฮอร์โมนออกจากต่อมล้วนต้องมีฟอสฟอรัสเป็นตัวช่วย

ถ้าร่างกายได้รับธาตุนี้ไม่พอเพียง ก็จะอ่อนเพลีย ไม่มีความอยากรับประทานอาหาร  การเจริญเติบโตช้าลง กระดูกและฟันมีคุณภาพไม่ดี  ประสาทส่วนกลางผิดปกติ เช่น รู้สึกหงุดหงิด กล้ามเนื้อไม่มีแรง ชา รู้สึกเหมือนเข็มแทง  พูดผิดปกติจับต้นชนปลายไม่ถูก ความคิดสับสน กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลัง

ระบบการทำงานของร่างกายไม่ปกติ เช่น ครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำหนองไหล (Pyorrhea)

เป็นโรคของกระดูกและข้อ เช่น ปวดกระดูก เจ็บขัด ๆ ตามข้อต่าง ๆ ข้ออักเสบ (Arthritis) กระดูกอ่อน (Rickets) และฟันผุ

อาการที่รุนแรงมาก คือ ชักไม่รู้สึกตัว และระบบหายใจล้มเหลว

ถ้าร่างกายได้รับมากไปก็มีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น เข้าร่างกายมากเกินความต้องการ โดยมีปริมาณแคลเซียมปกติหรือต่ำกว่าปกติ จะทำให้ภาวะ Hyperparathyroidism แล้วต่อมาทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมไปจากกระดูก และเกิดภาวะแคลเซียมต่ำ

การบริโภคอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงและแคลเซียมต่ำเป็นเวลานาน จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนที่ควบคุมแคลเซียม ทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก และนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

พฤติกรรมส่วนตัวที่สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงในกรณีอย่างนี้ได้ก็ คือ นิสัยบริโภคเครื่องดื่มที่มีกรดมดผสมอยู่ แทนน้ำ หรือ นม

โดยทั่วไป อัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัสในอาหารที่จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสียเกลือแร่จากกระดูก คือ 1 : 1

ในอาหารเกือบทุกชนิดที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง มักจะมีฟอสฟอรัสสูงด้วย และถือว่าโชคดีที่อาหารแทบทุกชนิดมีธาตุตัวนี้อยู่ จึงเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่อาหารจะเป็นต้นเหตุทำให้คนขาดธาตุนี้  และก็ง่ายอย่างยิ่งที่จะรับธาตุนี้เข้าไปสู่ร่างกายเกินพอจากอาหาร

« « Prev : สิ่งมีชีวิตที่ก่อโรคทางเดินอาหารให้คนได้อีกกลุ่มหนึ่ง

Next : รู้จักความต้องการฟอสฟอรัสของร่างกายไว้หน่อย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ฟอสฟอรัสกับสุขภาพ"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.023154973983765 sec
Sidebar: 0.071882963180542 sec