รู้จักความต้องการฟอสฟอรัสของร่างกายไว้หน่อย
ฟอสฟอรัสเกี่ยวพันใกล้ชิดอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ความผูกพันในเชิงสมดุลกับแคลเซียมที่ส่งผลเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ทำให้จำเป็นต้องรู้ว่ามันอยู่ที่ไหนบ้างในแหล่งอาหารจากสัตว์และพืช รวมไปถึงรู้สัดส่วนมากน้อยของแคลเซียมในแหล่งอาหารนั้นๆ
เมื่อเทียบกลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์แล้ว นมจะมีฟอสฟอรัสน้อยที่สุด มีมากที่สุด คือ เนื้อสัตว์ ไข่อยู่ระหว่างผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 นี้ (เนื้อสัตว์มีฟอสฟอรัสมากกว่าแคลเซียม 15-20 เท่า ไข่มีฟอสฟอรัสมากกว่าแคลเซียม 2 เท่า)
นมมีแคลเซียมมากกว่าฟอสฟอรัส ( นมวัวมีอัตราส่วนของแคลเซียมต่อฟอสฟอรัส 1.3 : 1.0 นมแม่ มีในสัดส่วน 2.3 : 1.0 )
ผลิตภัณฑ์จากพืช จะมีฟอสฟอรัสมากกว่าแคลเซียมในระดับใกล้เคียงกับในไข่
ผลิตภัณฑ์จากพืชที่มีฟอสฟอรัสสูง คือ เมล็ดธัญพืช นัท ถั่วเมล็ดแห้ง
ใน 100 กรัมเท่ากัน เมล็ดฟักทองมีปริมาณฟอสฟอรัสสูงที่สุด (975 มก.) เมล็ดแตงโมรองลงมา (483 มก.) และเมล็ดทานตะวันมีน้อยที่สุด (632 มก.)
ปริมาณฟอสฟอรัสที่นักโภชนาการแนะนำ ให้บริโภคต่อวันสำหรับวัยต่างๆมีดังนี้
ทารก 240 - 360 มก. / วัน
เด็ก 1 - 9 ปี 800 มก. / วัน
เด็ก 10 - 19 ปี 1200 มก. / วัน
ผู้ใหญ่ 800 มก. / วัน
หญิงมีครรภ์และมารดาให้นมบุตรบริโภคเพิ่มขึ้นอีก 400 มก.
อวัยวะที่ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวฟอสฟอรัสไปใช้งานเมื่อบริโภคอาหารเข้าไป คือ ลำไส้เล็กตอนกลางและตอนปลาย
คลังเก็บฟอสฟอรัสในร่างกายอยู่ที่ กระดูกและฟัน ผู้ควบคุมไม่ให้คลังล้นเกิน คือ ไตทางระบายออกที่ไตใ้ช้ คือ ปัสสาวะ
88 % ของฟอสฟอรัสที่ดูดซึมเท่านั้นที่ร่างกายจะเก็บไว้ใช้งาน 1/3 ของปริมาณที่บริโภคจะถูกขับออกทางอุจจาระ
ลำไส้จะดูดซึมฟอสฟอรัสที่ได้จากอาหารในรูปของฟอสเฟตอิสระ 70 % ประสิทธิภาพของการดูดซึมของสารจะขึ้นกับปริมาณ ฟอสฟอรัสในอาหารและแหล่งอาหาร
Next : อะไรบ้างที่ส่งผลต่อการได้รับฟอสฟอรัสของร่างกาย » »
ความคิดเห็นสำหรับ "รู้จักความต้องการฟอสฟอรัสของร่างกายไว้หน่อย"