ล้างผักให้ปลอดสารทำได้แค่ไหน
ในชีวิตปัจจุบันของคนเมืองในต่างจังหวัด มีพื้นที่อยู่ไม่มากในประเทศไทยที่มีผักปลอดสารให้ซื้อหาได้ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว ต้องพึ่งพิงแหล่งปลูกผักจากที่อื่นทั้งนั้นเลย
มีเรื่องหนึ่งที่เพิ่งเข้าใจว่าผักปลอดสารได้ยังไงถ้าใช้มันทำความสะอาด จนเมื่อเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพในโรงพยาบาล ความเข้าใจที่กระจ่างก็ได้มาโดยบังเอิญ จึงขอรวบรวมนำมาบอกกัน เรื่องที่จะบอกคือวิธีล้างผักให้ปลอดสารและฤทธิ์ที่เป็นไปได้ค่ะ
น้ำสะอาด แช่ผักไว้ 5-10 นาที ลดสารได้ 27-72 %
น้ำปูนใส แช่ผักไว้ 10 นาที ล้างซ้ำด้วยน้ำ ลดสารได้ 34-52 %
ความร้อน ลดสารได้ 48-50 %
ด่างทับทิม แช่ผักไว้ 10 นาที ล้างน้ำซ้ำ ลดสารได้ 35-43% (น้ำ 4 ลิตร ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด)
น้ำไหล นาน 2 นาที ลดสารได้ 25-39 %
น้ำซาวข้าว แช่ผัก 10 นาที ล้างน้ำซ้ำ ลดสารได้ 29-38 %
น้ำส้มสายชู แช่ผัก แล้วล้างน้ำซ้ำ ลดสารได้ 29-38 % (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 4 ลิตร)
น้ำเกลือ แช่ผัก แล้วล้างน้ำซ้ำ ลดสารได้ 29-38 % ( เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 4 ลิตร)
ที่ทั้งหมดนี้ให้ผลแตกต่าง ก็เพราะฤทธิ์ของแต่ละตัวไปมีผลกับโลหะหนักที่อาจเหมือนหรือต่างกัน และมี pH ที่สามารถจัดการได้ดีที่ค่าแตกต่างกันค่ะ
« « Prev : รู้จักคลอรีนอีกหน่อย
Next : อาหารและน้ำดื่มกับโลหะหนัก » »
5 ความคิดเห็น
เพิ่งรู้นะครับ ว่าการล้างผักจำเป็นต้องใช้เวลามากๆเลย อิ
น้ำสะอาดเฉยๆ 10 นาทีลด 72%
ด่างทับทิม 10 นาที 43%
น้ำซาวข้าว 10 นาที 38%
แบบนี้จะไปใช้ด่างทับทิม และน้ำซาวข้าวให้เปลืองทำไมครับ เอาน้ำเปล่าๆ ดีกว่ากันเยอะเลย (หรือไม่ก็การวิจัยทดลองยังผิดพลาดอยู่มาก)
วันนี้ตอนโพล้เพล้ผมเพิ่งไปเก็บผักหวานป่า กถิน และ สะเดามา หนึ่งกำมือ กะว่าดึกคืนนี้ถ้าหิวจนทนไม่ไหว คงต้องเอามาต้มกิน และกะไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะไม่ล้างน้ำใดๆทั้งสิ้น เพราะว่า ฝนมันตกมาหลายวัน คงชะสะอาดดีอยู่ ยกเว้น ลมพัดผ่าน ก็ลมที่เราหายใจเข้าไปนี่แหละ
ดังนั้น ทำอาหารให้สะอาดเกินกว่าอากาศที่เราหายใจ ไม่มีประโยชน์อะไรหรอกครับ ต้องยอมรับสภาพ เช่น คนกทม. กินอาหารสเตอร์ไรส์อย่างไร ก็หายใจเอาอากาศพิษเข้าไปเหมือนเดิม เข้าไปปนเปื้อนกระแสเลือด ก็ตายไว้เท่ากันเหมือนเดิม อิอิ (แถมเปลืองเงินค่าทำสะอาดอาหาร เอามาไว้เช่าเมรุวัดดีกว่า )
#1 วิธีล้างผักที่เผยแพร่กันอยู่นั้น เป็นผลงานวิจัยจากทางฝ่ายเกษตรเขาให้ความรู้มาค่ะ พ่อครู มุมมองการล้างผักก็เป็นมุมหนึ่งที่จะช่วยให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่ทางเกษตรให้ความสำคัญ หนึ่งในนั้นก็ไม่พ้นยาฆ่าแมลงนั่นแหละค่ะ
#2 เห็นด้วยเต็มร้อยเลยค่ะอาจารย์เรื่องเลือกทำอย่างหนึ่งให้ดี ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น หากว่ายังมีอีกอย่างหนึ่งถ่วงให้หนักข้างกว่า ดังตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาเรื่องอาหารสะอาดกับอากาศเป็นพิษ
ตรงนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดาโลกในมุมของ “ได้อย่าง เสียอย่าง หรือ ได้อย่างหนึ่ง เสียอีกหลายอย่าง” แล้วเมื่อมันมาบรรจบกันที่บั้นปลายมันแปะเอี่ย ตายเหมือนกัน
แต่ความตายไม่มีใครกำหนดวันให้ตัวเองได้ ดังนั้นคนจึงเลือกได้ที่จะกระทำ และไม่กระทำอะไรให้กับตัวเอง ในระหว่างเวลาที่ยังไม่ตาย
ถ้าเรื่องนั้นเจ้าตัวว่าดีก็ทำไป ไม่ดีไม่ทำก็เป็นสิทธิของเจ้าตัวอยู่นัั่นเอง
ผลการตรวจสอบที่นำมาเผยแพร่นี้ก็มีมุมให้มองได้หลายมุม ในมุมของความเชื่อ ก็เป็นเรื่องเตือนสติว่า “น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด สำหรับสิ่งมีชีวิต” ในแง่ล้างพิษ ศาสตร์ในเรื่องของวารีบำบัดจึงปรากฏขึ้นในโลก มาเป็นทางเลือกให้คนใช้เป็นเครื่องมือ (ความรู้) สำหรับดูแลตัวเอง
ใครเลือกที่จะเชื่อวิทยาศาสตร์ ก็ได้มุมคิดว่า ไม่ควรเชื่อจนหมดหัวใจ ให้เผื่อใจไว้ด้วยว่า มีอะไรหมกเม็ดอยู่ได้ เพราะวิทยาศาสตร์พิสูจน์มาให้แค่เงื่อนไขเดียว
ความรู้ที่เผยแพร่นี้เป็นตัวอย่างของความรู้มุมเดียว ซึ่งยังมีเบื้องหลังอีกที่เจ้าของไม่ได้บอกออกมา ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติม
ภาษาทางด้านงานของหมอเขาเรียกว่า ผลสำรวจ หรือ ผลการเฝ้าระวังหลังจากมีการปฏิบัติกันไปแล้วตามความเชื่อว่าวิธีล้างแต่ละแบบป้องกันได้ 100%
สำรวจแล้วรู้แล้วก็นำมาบอกต่อให้ได้ทราบกันว่า “อาจจะเชื่อผิดๆ” อยู่ก็ได้ จะได้เปลี่ยนพฤติกรรมที่คุ้นชินอะไรบางอย่างของตัวเอง ถ้าต้องการผักปลอดสาร
ที่ต้องนำมาเผยแพร่เพราะคนยุคนี้เชื่อง่าย ใครบอกอะไรก็เชื่อหมด หลายความเชื่อก็บอกต่อๆกันมาตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งในสมัยนั้น ผักที่บริโภคผลิตมาคนละแบบ
วิธีล้างจึงรวบรวมวิธีโบราณทั้งหมดและที่คนยุคปัจจุบันยังใช้มาบอกตรวจดู แล้วก็พบว่า “ไม่มีอะไรได้ผล 100%” และน้ำเป็นตัวเข้าไปเกี่ยวเสมอจึงจะปลอดภัยขึ้น ซึ่งบอกว่าใช้วิธีวิทยาศาสตร์สู้ใช้วิธีธรรมดาๆไม่ได้ อย่างที่อาจารย์สรุปนั่นแหละค่ะ
ที่ยากที่สุดในยุคนี้ก็เห็นจะเป็น “น้ำสะอาด” นี่แหละค่ะ ที่ได้มาใช้นั้น มีใครบอกได้บ้างว่า “สะอาด” อย่างไร ดิน น้ำ ฟ้า อากาศ ไฟ มันเกี่ยวพันกันจนยุ่งเหยิงไปหมด ในที่หนึ่งก็ต่างจากที่หนึ่ง เมื่อไรเกี่ยวกับ ดิน น้ำ ต้นไม้ก็เกี่ยวไปด้วย
ที่ได้ลงมือจัดการน้ำเสียมาช่วงหนึ่งก็ยิ่งซึ้งเรื่อง น้ำสะอาดค่ะอาจารย์ ว่ามีความหมายที่เป็น “Norm” หรือกฎเกณฑ์อยู่และขึ้นกับปัจเจกชนด้วย เช่น ในมุมของหมอ “Norm” คือ ปลอดสารเคมีก่อโรค ปลอดเชื้อก่อโรค แต่ในมุมของวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ ปนเปื้อนสารเคมีสำคัญและธาตุสำคัญในระดับที่ยอมรับได้ ณ เวลาที่ทำการตรวจ
หมอเจ๊ครับ …ผมว่า เราต้องหาหนทางเอาตัวเราเข้าไปเป็นปัจจัยให้ธาตุสี่มันสมดุล ..เพราะเราคือ มนุษย์ที่ครองอำนาจแห่งปัญญาเอาไว้ เพียงพอที่จะแทรกแซง เป็น catalyst ให้ธาตุสี่เกิดปฏิกิริยาที่สมดุล
หากเราไม่ทำหน้าที่ ธาตุสี่มันก็คงเหวอ เว่อๆ กันไป ตามประสาของมันแหละ …ผมว่านะ
หมอเจ๊กำลังทำหน้าที่เป็นคาตะลิสต์ที่มีประสิทธิภาพมากๆ ทั้งคิด ทั้งค้น ทั้งพูด ทั้งทำ สังคมไทยคงไปโรจน์ ถ้ามีคนแบบหมอเจ๊มากๆ
ขออนุโมทนาสาธุมา ณ ที่นี้