ฟีแนนทรีน….ของแถมที่ไม่อยากได้…จัดการยังไง

อ่าน: 2603

งานประจำทำให้ไม่แปลกหูเมื่อพูดถึงจุลินทรีย์ และมีจุลินทรีย์ที่ย่อยสารเคมีแล้วให้สารชีวภาพเข้ามาทดแทน PE,PP แต่ที่แปลกก็เป็นมุมนี้ค่ะ มีจุลินทรีย์ที่สามารถลดสารพิษก่อมะเร็งอย่างฟรีแนนทรีนในอากาศได้ และจุลินทรีย์ที่ว่านี้อยู่บนใบไม้

อ.เอกวัล ลือพร้อมชัย ผู้ค้นพบจุลินทรีย์ที่ช่วยฟอกอากาศที่ปนเปื้อนฟีแนนทรีนให้สะอาดได้

มันจัดการฟีแนนทรีนได้อย่างไร มีฤทธิ์จัดการสารก่อมะเร็งตัวอื่นอย่างเช่นไดออกซินหรือเปล่า มีวงจรชีวิตอย่างไร ยังไม่รู้กัน

รู้แต่ว่าความชื้นกับความมันของผิวใบไม้ เป็นเรื่องสำคัญ ในการเลือกบ้านอยู่ของมัน

ต้นไม้ที่มันเลือกใช้เป็นบ้านกันมากที่พบแล้วคือ เข็มและโมก และเวลามันอยู่ที่บ้านหลังนี้ มันก็ไม่ได้อยู่แต่ที่ใบเท่านั้น แจ๋วม๊ยละ

รู้อย่างนี้แล้วดีใจกับบ้านและสวนสาธารณะ ที่ปลูกเข็มและโมกไว้ในบริเวณด้วย

จะดีกว่าเดิมอีกถ้าสำรวจบริเวณซะใหม่ ว่ามีบริเวณอับลม อากาศไม่ค่อยถ่ายเทอยู่มุมไหนบ้าง และมุมตรงนั้นมีโอกาสสะสมมลพิษอย่างฟีแนนทรีนอยู่ตรงไหนบ้าง พบแล้วก็ลงมือปลูกต้นไม้ ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ประดับเพิ่มเพื่อช่วยฟอกอากาศให้สะอาดขึ้นซะนะคะ

น้ำมันที่โดนความร้อนแล้วเผาผลาญไม่สมบูรณ์ คือแหล่งปล่อยฟีแนนทรีนสู่อากาศรอบตัว

แหล่งที่อยู่ใกล้ตัวคนมากๆคือ ครัว ท่อไอเสียของเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ และควันที่เกิดจากการเผาพืชที่ให้แป้งหรือน้ำตาล

ฟีแนนทรีนที่ครัวผลิตมาจาก ไอน้ำมันที่ใช้ทอดแป้งหรือเนื้อสัตว์ซ้ำหลายครั้ง

ฟีแนนทรีนที่ผ่านออกทางท่อไอเสีย มาจากการเผาผลาญน้ำมันของเครื่องยนต์

ในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันดิบ การเคลือบเนื้อไม้ด้วยสารที่มีพาส์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การแปรรูปอาหารที่ใช้แป้งหรือน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ การแปรรูปอาหารในรูปหมักดอง ย่าง หรือรมควัน หรือมีการเผาเชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อน ฟีแนนทรีนผ่านออกสู่อากาศได้ทางปล่องไฟ ท่อปล่อยของเสีย ช่องปล่อยของเสีย และท่อระบายอากาศ

ในส่วนตัว จุลินทรีย์ตัวนี้สอนให้รักต้นไม้มากขึ้น ยิ่งเมื่อแถมความรู้มาให้ว่า ต้นไม้จะเป็นทางออกของการจัดการสารพิษได้ ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างต้นไม้และจุลินทรีย์ และมีจุลินทรีย์อยู่อีกหลายชนิดในดินที่มีความสามารถจัดการกับ “พาส์” ได้ ยิ่งรักธรรมชาติมากขึ้น

มาจนถึงวันนี้ ก็มีคนไปทำความรู้จักจุลินทรีย์ตัวนี้เพิ่มขึ้นแล้ว ทำให้รู้ว่าเมื่อไรจุลินทรีย์ตัวนี้ไปอยู่ในดินเปื้อนน้ำมันเครื่อง ถ้าดินนั้นมีจุลินทรีย์ตัวอื่นปนอยู่ด้วย พวกมันจะมีจำนวนลดลง แต่ก็สามารถช่วยสลายฟีแนนทรีนเพิ่มขึ้นได้ ๑/๔ เท่า ถ้าดินนั้นมีแต่พวกมัน มันกลับสามารถเพิ่มจำนวนได้และสลายฟีแนนทรีนได้เต็มที่

มีต้นไม้อีก ๒ ต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟีแนนทรีน เป็นต้นไม้ที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารโดยตรงเชียวแหละ

“ข้าวโพด” และมะขามนี่แหละค่ะ คือ ต้นไม้ที่กำลังพูดถึง

มีคนปลูก “ข้าวโพด” บนดินที่ปนเปื้อนน้ำมันเครื่อง แล้วพบว่าถ้าดินนั้นมี “พาส์” ปน ๑๐๐ มก./กก. หลังปลูกข้าวโพด “พาส์” ในดินจะลดลงถึง ๙๐%

มีเรื่องที่ไม่รู้คือ กลไกการสลาย “พาส์” ของข้าวโพดอาศัยอะไรเป็นตัวช่วย มีจุลินทรีย์ชนิดใดมาเกี่ยวด้วยหรือเปล่า  การสลาย “พาส์” ก่อสารตกค้างอะไรที่ให้โทษไว้ในต้น ฝัก และเมล็ดข้าวโพดหรือเปล่า

ที่รู้กันแล้วก็มีแต่ข้าวโพดมีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มเบต้าแคโรทีนที่ชื่อว่า cryptoxanthin ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปอด ให้กับผู้ที่รับประทานอาหารที่อุดมด้วย crytpoxanthin เป็นประจำลงได้ร้อยละ ๒๗ และเส้นใยในข้าวโพดยังช่วยลดความเสี่ยงของโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย

ส่วนมะขาม ถ้าใช้ใบที่ร่วงหล่น ๑ ส่วนผสมกับดินที่มีน้ำมันปนเปื้อน ๙ ส่วน ผสมกันบดละเอียด ควบคุมความชื้นให้ได้ ๖๐%  เก็บในภาชนะกันอากาศเข้าและอับแสงที่อุณหภูมิ ๓๐ องศาเซลเซียส นาน ๕๖ วัน จะได้จุลินทรีย์ที่มีความสามารถสลายฟีแนนทรีนในดิน มาใช้งาน

« « Prev : รู้ได้ยังไงว่าเกิดพิษไดออกซิน

Next : น้ำมัน…น้ำมัน…ถ้าลืมใส่ใจวิถีชีวิต…ก็ไม่ปลอดมะเร็ง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

5 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 เวลา 22:41 (เย็น)

    เมืองไทยเรามีสายพันธุ์จุลินทรีย์มากกว่าฝรั่งล้านเท่า เห็นอยู่ตำตา แต่ไม่ยอมศึกษา ต้องกลายไปเป็นลูกมือฝรั่งกันไปหมด ส่วนใหญ่ถูกเขาหลอกใช้ให้เป็นเบ๊เพื่อเอาของดีๆของเราไปให้เขาแสวงหาเงินทอง …เสร็จแล้วก็เอามาภูมิใจกันว่า “ทำงานร่วมกับฝรั่ง”

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 เวลา 23:17 (เย็น)

    สุดยอดจริงๆ ความรู้นี้มหาศาล มีประโยชน์มากจริงๆครับ ที่บ้านปลูกทั้งเข็มและโมกครับ จะไปขยายให้เต็มรั้วและมุมที่เหมาะสมครับ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 เวลา 23:24 (เย็น)

    มีมะขามหนึ่งต้นหลังบ้านติดห้องนอน น่าสนใจการเพาะเจ้าจุลินทรีย์ตัวนี้ครับ

  • #4 Suree ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 8:15 (เช้า)

    ขอบคุณมากค่ะ จะกินข้าวโพดประจำ และจะไปซื้อโมก เข็ม มาปลูกค่ะ

    เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากจริงๆ ค่ะเขียนเยอะ ๆ นะค่ะ

    จะเอาไปแนะนำด้านสุขภาพด้วยค่ะ

  • #5 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 22:10 (เย็น)

    #1 เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะอาจารย์ บ้านเรามีความหลากหลายทางชีวภาพมากจริงๆ
    แต่เราช้าไปหลายก้าวเสมอ บรรดาฝรั่งที่สนใจและแฝงตัวมาในรูปต่างๆ คว้าไปจัดการก่อนเสมอ
    ที่จริงความรู้ในตัวคนที่แอบศึกษาอยู่เงียบๆก็ซ่อนอยู่มากเหมือนกัน
    แต่ทำไมไม่ใคร่ปล่อยออกมาให้สาธารณะได้ใช้บ้างก็ไม่รู้
    ส่วนใหญ่ก็รู้ๆอยู่แต่ในวงใครวงมันซะมากกว่า ไม่ใคร่ได้แลกเปลี่ยนข้ามวง

    #2 #3 พี่ค่ะ เจ้าต้นไม้ 2 ต้นนี้สอนเราให้มองต้นไม้ใหม่เลยนะคะ เรื่องของ Symbiosis พื้นๆแท้ๆเลย

    #4 อาจารย์ค่ะ ดูเหมือนเราเคยเจอตัวเป็นๆกันมาครั้งหนึ่งแล้ว
    ดีใจที่เห็นประโยชน์ค่ะ
    อ่านแล้วอย่าลืมใช้หลักกาลามสูตรนะคะ เพราะทั้งหมดเป็นความรู้มือสาม สี่ ห้า…
    ถึงแม้กรองมาแล้วก็ยังไม่ใช่ความรู้มือหนึ่งอยู่ดี
    มองบวก อย่าลืมมองลบ มองให้เห็นรอบด้านก่อนนำไปใช้นะคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.19684815406799 sec
Sidebar: 0.059280872344971 sec