น้ำมัน…น้ำมัน…ถ้าลืมใส่ใจวิถีชีวิต…ก็ไม่ปลอดมะเร็ง

โดย สาวตา เมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 11:41 (เช้า) ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2966

เมื่อตอนน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้นยังไม่มาก สาธารณสุขชนได้ชวนให้เอกชนสนใจและมี CSR กับการจัดการส่วนผสมในน้ำมันให้ปลอดภัยจากสารตะกั่ว  ต่อเนื่องมาด้วยชวนจัดการ “อาหารสะอาด รสชาดอร่อย”  จนมาถึง “อาหารปลอดภัย”

ภายใต้กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ นางร้ายผู้ใช้ชื่อว่า “สารเคมีก่อโรค” ยังไม่ดัง ทั้งๆที่เธอมีคุณสมบัติน่าสนใจ  สาธารณสุขชนผู้ปั้นจึงเบนเข็มไปหาชื่อที่สื่อคุณสมบัติของเธอ ที่เตะตากว่ามาใช้ เพื่อชวนให้คนมาสนใจศึกษา เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเธอ  วันนี้นางร้ายตัวนี้มีชื่อใหม่ว่า  “สารเคมีก่อมะเร็ง”  นะคะ จะดังหรือดับก็ลองมารู้จักเธอด้วยกัน

กิจกรรมติดหูที่น่าจะซึมเข้าไปอยู่ในความทรงจำแล้ว คงไม่พ้นคำชวนให้รู้จักเธอจากชาวสาธารณสุขคำนี้ “หยุดใช้น้ำมันทอดซ้ำกันเถอะ”  แล้วเขาก็พูดต่อว่า “ป้องกันมะเร็ง”  ฟังแล้วท่านรู้จักเธอมากขึ้นบ้างไหม  “อ้อ” แล้วจบหรือเปล่า

คนเป็นแม่ค้าของทอดไม่ต้องพูดถึง ฟังแล้วคิดไปโน่นเลย “เขามาชวนให้คุ้มครองผู้บริโภค (ลูกค้า) ของเรา และบังคับเราไม่ให้ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ไม่เห็นใจเราเอาซะเลย”  และวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ น้ำมันทอดซ้ำยังวนเวียนอยู่ในตลาดทุกที่่ ทุกวัน แถมยังมีน้ำมันทอดซ้ำที่นำไปฟอกสีให้ใสแล้วนำกลับมาขายใหม่ด้วย

ที่จริงการเปลี่ยนวิถีการทำครัวไปสู่การ “ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ” นั้น มือหนึ่งที่ได้ประโยชน์สูงสุดกับการป้องกันมะเร็งนั้นเป็น “ผู้ลงมือทอด” คนอื่นที่มารอ มาชิม มาจัด มาช่วย มาชม มาดู มาดม นั้นเป็นมือสอง สาม สี่…….ลดหลั่นกันไปตามเวลาที่เข้ามาคลุกคลี

กิจกรรมนี้แถมการประพฤติธรรมข้อ “ไม่เบียดเบียน” ด้วย ถ้าทำ เพราะเท่ากับได้เมตตาช่วยเหลือคนไปพร้อมๆกับดูแลตัวเอง ต่างคนต่างเกื้อกูลกันในเรื่องการยังชีพโดยสุจริตผ่านวิถีผลิตอาหาร  ดีออก

การตามรอยโรคมะเร็ง ณ วันนี้สอนไว้ว่า ๑ ใน ๓ ของต้นแหล่งที่ทำให้คนเป็นมะเร็ง คือ อาหาร และอาหารที่เป็นเหตุมากที่สุด เป็นอาหารที่ทอดจากน้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมสภาพ

คำว่า “เสื่อมสภาพ” หมายถึง “มีสารโพลาร์เกิน ๒๕% เมื่อเทียบกับน้ำหนักน้ำมัน”  ด้วยเหตุว่าเมื่อคุณสมบัตินี้เกิดขึ้น น้ำมันนั้นเปลี่ยนคุณสมบัติไปมากแล้ว

นอกจากสารโพลาร์แล้ว ยังมีสารเคมีอันตรายอีกตัวออกมาละลายอยู่เงียบๆ เมื่อใช้น้ำมันทอดอาหารประเภทแป้งและเนื้อสัตว์ ชื่อว่า “PAHS พาส์”

เจ้าพาส์นี้ระเหยได้ขณะทอด  มันเกิดขึ้นทีละนิดทีละหน่อย ละลายปนอยู่ในแต่ละครั้ง ที่น้ำมันโดนความร้อนระหว่างทอดแป้งและเนื้อสัตว์  ตัวที่ระเหยมี ๒ ตัว “ฟีแนนทรีน (Phenanthrene) ” และ “เนฟทาลีน(Naphthalene) “

เจ้าตัวหลังนี้คุ้นๆมั๊ยค่ะ มันคือตัวเดียวกับ “ลูกเหม็น” ไงค่ะ

เหตุเกิดมันเป็นอย่างนี้ชาวสาธารณสุขจึงชวนเรื่อง “หลีกเลี่ยงการกินของทอด” ค่ะ

ถ้าถามว่าระหว่างน้ำมันทอดแป้งกับเนื้อสัตว์อะไรพบฟีแนนทรีนมากกว่ากัน คำตอบคือ “น้ำมันทอดเนื้อสัตว์”

ถ้าถามถึงการพบทั้ง ๒ ตัว คำตอบเปลี่ยน น้ำมันปาล์มที่ใช้ทอดปาท่องโก๋ พบมากกว่า น้ำมันทอดไก่ที่ใช้ทอดปลา

น้ำมันใหม่ๆที่เรานำมาทำอาหารที่เห็นๆ เป็นสารตัวนี้นะคะ “ไตรกลีเซอไรด์” ไม่ต้องแปลกใจกัน มันเป็นตัวเดียวกับที่พบในตัวคนไง ความบริสุทธิ์ของมันอยู่ในระดับ ๙๖-๙๘%  เราจึงใช้มันเป็นอาหารได้

เมื่อใช้แล้วมันสลายเปลี่ยนเป็นตัวอื่นๆได้มากมาย เวลาวัดคุณภาพหลังการใช้งาน จึงไปเลือกวัดที่ “ความไม่ใช่ไตรกลีเซอไรด์” ในชื่อของ “สารโพลาร์” เน้อ

เวลานี้การวัดสารโพลาร์ไม่ยากแล้ว ใครอยากรู้ไปหาชุดตรวจโพลาร์ราคาถูกไปใช้เองได้ สอบถามหน่วยราชการสาธารณสุขใกล้บ้าน โรงเรียน หรือให้ร้านขายยาใกล้บ้านซื้อหามาให้ได้เลย ในชุดตรวจมีคำแนะนำไว้พร้อมสรรพ ตรวจด้วยตัวเองได้ไม่ยากเลย

หนืด ทอดแล้วเกิดฟองเดือด ควันดำ เป็นสัญญาณบ่งว่าค่าโพลาร์สูงถึงระดับ ๔๐ แล้วนะ

มีฟองเดือดอย่างที่เห็น ก็ใช่ว่าน้ำมันนี้ปลอดอันตรายนะ

ทำอย่างนี้ ผิดศีล ๕ เพราะหลอกตัวเองไปแล้วว่าน้ำมันนี้ไม่มีอันตราย

ชุดตรวจน้ำมันทอดซ้ำที่เอกชนบริษัทหนึ่งผลิตออกจำหน่าย

« « Prev : ฟีแนนทรีน….ของแถมที่ไม่อยากได้…จัดการยังไง

Next : ผ้าอ้อมอนามัยประยุกต์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 17:15 (เย็น)

    ความรู้เหล่านี้ล้วนมาจากฝรั่ง คนไทยเราเองไม่เคย่ทำวิจัยอะไร ลอกมาจากฝรั่งทั้งดุ้น
    ผมว่า น่ามาวิจัยกันว่าน้ำมันอันหลากหลายให้ผลต่างกันอย่างไร เพราะเรามีน้ำมันมากกว่าฝรั่งร้อยเท่า แต่ฝรั่งมันทำวิจัยมากกว่าเราพันเท่า

    ว่าแต่มัน กรูดันเป็นเอง เพราะตอนนี้กำลังทดลองเตาหุงต้มจากน้ำมันทอด …ไม่ต้องเอาไปทำไบโอดีเซลให้เปลืองเงินเละเวลา

    นี่ถ้าจดสิทธิบัตรขายคงได้ท้งเงินและกล่อง แต่เรื่องแบบนีให้ฟรีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปจดให้รุ่มร่ามแบบ Alfred Nobel อะไรหรอก

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 19:16 (เย็น)

    ดูทีวี เห็นมีวิธี ทอดแบบไม่ใช้น้ำมัน ไม่ทราบรายละเอียดยังไงนะครับ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2011 เวลา 22:30 (เย็น)

    #1 เรื่องของสารเคมี เรารู้หลังฝรั่งทุกที เราก็เลยไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ตรงนี้แหละที่เราเป็นรองละคะอาจารย์ถ้าคนไทยเราที่พบมันเป็นคนแรก ไม่เห็นประโยชน์แก่สาธารณะ ปล่อยข้อมูลออกมาด้านเดียว

    คิดในใจเหมือนอาจารย์อยู่ว่า หลายเรื่องของการจัดการน้ำมันให้เป็นเชื้อเพลิง ในแง่มุมของการจัดการในระดับครัวเรือน น่าจะทำให้ง่ายกว่าไบโอดีเซลได้ อย่างนี้ต้องชวนไปลองให้ดูที่สวนป่าดูสักวัน

    #2 เหตุเกิดจากการยึดจับเกาะของธาตุภายในโครงสร้างน้ำมันที่ไม่เสถียร เมื่อเจอความร้อนก็พร้อมแลกที่เพื่อโครงสร้างใหม่ค่ะ

    มันเกิดได้โดยสูตรแบบว่า เมื่อไรที่สารอาหาร ๒ ตัวเจอกันจะเป็นเรื่องได้เลย คู่หนึ่งก็เป็น “น้ำตาลกับไขมัน” อีกคู่ก็เป็น “โปรตีนกับไขมัน” ค่ะ

    ไม่เกี่ยวกับการใช้หรือไม่ใช้น้ำมันทอดค่ะพ่อครู ถ้าสิ่งที่ทอดมีน้ำมันอยู่เองในตัวก็แปะเอี่ย มีการแลกที่กันอยู่ดี

    การป้องกันทำได้ โดยใช้ความร้อนต่ำๆ เพื่อไม่ให้เกิดควันระหว่างทอด


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.2498939037323 sec
Sidebar: 0.15657091140747 sec