อย่าเผาพลาสติกเลยนะ

โดย สาวตา เมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 8:03 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการ, ชีวิต สุขภาพ, ดูแลสุขภาพ, พลังงาน, มะเร็ง, สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4601

เมื่อมีการใช้พลาสติกเป็นจำนวนมากในชีวิตประจำวัน การผลิตพลาสติกก็ยิ่งเพิ่มขึ้นทุกวันๆ  ด้วยความที่สารเคมีตัวอื่นเข้ามาเอี่ยวในกระบวนการผลิตพลาสติกซึ่งใช้ทั้งความร้อน ความดัน การทำให้แข็ง คนในโรงงานผลิตพลาสติกจึงมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่มาก

หากระบบผลิตจะด้วยกระบวนการขั้นตอนไหนก็แล้วแต่ไม่ปลอดภัยก็มีโอกาสที่คนในกระบวนการผลิตจะสัมผัสกับสารเคมีและรับเข้าไปในร่างกาย

วิธีเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีทั่วๆไปมีอยู่ ๓ ทาง คือ ผิวหนัง ปาก และ จมูก  สารเคมีจากพลาสติกก็มีทางเข้าร่างกายได้ไม่แตกต่างกัน

คุณสมบัติของพลาสติก สามารถใช้เป็นข้อสังเกตหนึ่งระวังตัวและป้องกันไม่ให้สารเคมีจากมันเข้าตัวได้ จึงควรศึกษาประเภทของมันไว้ให้คุ้น

คนทำงานในระหว่างการผลิตพลาสติก พึงระวังไอระเหย ฝุ่นที่เกิดในระหว่างการเติม ผสม จัดเก็บ ทำความสะอาด และการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากไว้

ระบบการผลิตพลาสติกใช้ระบบปิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีนี่แหละ

ระดับความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากระบบเปิดเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต มีตั้งแต่ สารเคมีรั่วไหล ระเบิด

อุณหภูมิที่ทำให้พลาสติก ให้ผลร้ายกับคนได้ มีหลายระดับ ตั้งแต่ ๓๐๐-๔๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ ไปจนถึงกว่า ๑,๖๐๐ องศาฟาเรนไฮต์ โน่นเลย

เวลาที่พลาสติกสูญเสียสภาพที่อุณหภูมิสูงๆ อาจมีสารประกอบชนิดใหม่หลายชนิดที่มีความเป็นพิษที่แตกต่างกัน ปล่อยออกมาในรูปสารประกอบเคมีหรือก๊าซก็ได้ คนที่เป็นอันตรายจากการเผาพลาสติกจึงไม่ได้มีแต่คนในโรงงานผลิตพลาสติก

พึงสังเกตตัวเองว่าอาจจะเกิดอันตรายแล้ว เมื่ออยู่ใกล้สารพลาสติกที่ำกำลังโดนความร้อนสูงๆ โดยดูที่ อาการทางระบบหายใจ ตั้งแต่ ระคายคอ มีน้ำมูก ไอ จามไปจนถึงอาการเหนื่อยง่าย หรือ หอบ  อาการทางผิวหนัง ตั้งแต่ คัน ขึ้นผื่นน้อยๆ ไปจนถึงขึ้นผื่นรุนแรงหลัง การสัมผัสไอหรือกลิ่น

ที่ใช้คำว่า “ไอ” “กลิ่น” ก็เพราะไอของสารเคมีบางตัวไม่มีกลิ่นแต่เป็นพิษสูง  และสารเคมีบางตัวที่มีกลิ่น แต่ระดับที่ส่งกลิ่นได้ก็มิใช่ระดับที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพแต่อย่างใด

เผาพลาสติกแล้วเกิดสารเคมีอะไรได้บ้าง พอตามไปดู โอ๊ะโอ๋ มีตัวร้ายๆหลายตัวเหมือนกัน  มารู้จักอันตรายที่เกิดจากการเผาพลาสติกด้วยกันเหอะ

ระคายผิวหนังและทางเดินหายใจ :

ฟอสยีน(Phosgene ( มาจาก PVC)

ไฮโดรคลอริกแอซิด (Hydrochloric acid) (มาจาก PVC และ PE )

ฟอร์มาลดีไฮด์(Formaldehyde) (มาจาก Phenolic )

ไอโซไซยาเนต(Isocyanates)  (มาจาก โพลียูริเธน)

อัลดีไฮด์ (Aldehydes) , แอมโมเนีย(Ammonia) (มาจาก โพลียูริเธน และ Phenolic)

อันตรายต่อหัวใจและสมอง : ไซยาไนด์(Cyanides) (มาจาก โพลียูริเธน และ Phenolic)

ทำให้ขาดออกซิเจน : คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide) (มาจาก PE )

ระคายทางเดินหายใจ :

ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogenoxides) (มาจากโพลียูริเธน และ Phenolic )

คาร์บอนิลฟลูออไรด์ (Carbonyl fluoride) , เปอร์ฟลูออโรไอโซบูธิลีน(Perfluoroisobutylene) , ไฮโดรฟลูออริกแอซิด(Hydrofluoric acid) (มาจากฟลูออโรโพลิเมอร์)

ก่อมะเร็ง : ไดออกซิน (Dioxin) , ฟูแรน (Furans)  (มาจาก PVC)

อันตรายต่อตับ ก่อมะเร็ง : ไวนิลคลอไรด์ (Vinyl Chloride) (มาจาก PVC)

อันตรายต่อตับและระบบประสาท : สไตรีน (Styrene)(มาจาก PS )

ก่อมะเร็ง อันตรายต่อตับและประสาท : เบนซิน(Benzene) (มาจาก PS)

การเป็นพิษจนทำให้เสียชีวิตถ้าสูดหายใจอยู่นาน ๓๐ -๖๐ นาที  ทำให้เจ้า ๔ ตัวนี้สำคัญ และควรรู้ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ได้แก่

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์   ๑,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ พีพีเอ็ม

ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด็     ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ พีพีเอ็ม

ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์   ๑๐๐-๒๔๐  พีพีเอ็ม

ก๊าซแอมโมเนีย               ๒,๕๐๐ - ๔,๕๐๐ พีพีเอ็ม

เห็นฤทธิ์พลาสติกแล้วใช่ไหมละ อย่าเผามันเลยนะ เพื่อช่วยดูแลคนในสังคมด้วยกัน

« « Prev : ปรับดุล “ไข้”

Next : ไดออกซิน มาได้ไง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2011 เวลา 8:43 (เช้า)

    อ่านเรื่องนี้ตับหด ที่สวนเพิ่งซื้อสว่านเจาะหลุมปลูกต้นไม้มา พอหมอเจ๊เขียนถึงการเผา เราก็จะแก้ไขได้สะดวกขึ้น โดยการเจาะหลุมลึกสัก 80 ซม. แล้วโกยขยะฝังกลบเป็นปุ๋ย ไม่ต้องเผา ชั้นนี้เอาแค่นี้ก่อน ถ้ามีวิธีอื่นที่ดีกว่าก็แนะนำอีกนะครับ อิ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2011 เวลา 13:41 (เย็น)

    #1 พ่อครูค่ะ ไม่แน่ใจว่าปุ๋ยที่กำลังเล่าเรื่องนั้นเป็นการฝังกลบขยะอะไร

    ประโยชน์ของการฝังกลบขยะพลาสติกอยู่ที่กันพลาสติกไม่ให้โดนแสง ซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมสลายของมันจากแสงให้ช้าลง ลดลง ยืดเวลาเกิดผลกระทบออกไป แต่น่าจะไม่ช่วยชะลอการเสื่อมของพลาสติกจากน้ำใต้ดิน

    เรื่องสำคัญที่สุดของสวนป่าคือ “น้ำ” และดินที่บริสุทธิ์

    มาตรการที่ดีกว่าน่าจะเป็น “งดการนำเข้าพลาสติกที่ไม่จำเป็นใช้เข้าไปในสวนป่า” “ถ้าจำเป็นก็เลือกใช้พลาสติกรีไซเคิลได้” และ “ลดขยะพลาสติกที่นำเข้าสวนป่า ด้วยการให้นำติดตัวผู้นำเข้ากลับไปด้วย”

    มาตรการอย่างหลังนี้ ทำได้แบบค่อยเป็นค่อยไป ผ่านหลักสูตรให้ความรู้ที่ป้าหวานเสนอความเห็นไว้แล้วค่ะ

    ส่วนการจัดการเพื่อปิดจุดอ่อน กรณีไม่อยากเลือกมาตรการอย่างหลัง ก็คงต้องค้นหามาตรการอื่นมาลองทำวิจัยไทบ้านต่อไป


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.034594774246216 sec
Sidebar: 0.06145715713501 sec