กฏหมายที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

โดย สาวตา เมื่อ 2 กุมภาพันธ 2011 เวลา 21:48 (เย็น) ในหมวดหมู่ การจัดการ, ชีวิต สุขภาพ, ดูแลสุขภาพ, สิ่งแวดล้อม, แผ่นดินไหว #
อ่าน: 2792

ถึงแม้พื้นที่ประเทศไทยอาจไม่มีแผ่นดินไหวรุนแรงนัก และเป็นพื้นที่ที่น่าจะอยู่อันดับเขตเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวต่ำ (low seismic risk zone) ถึงเขตเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวปานกลาง (intermediate seismic risk zone) ก็ยัง “ต้อง” สนใจกับเรื่องบางเรื่อง ที่ต้องจัดการเพื่อความปลอดภัยซึ่งกฏหมายกำหนดไว้

ไม่นับเรื่องกฎหมายความแข็งแรงของอาคารแล้ว ในเรื่องแผ่นดินไหวยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

เรื่องหนึ่งคือขนาดที่จอดรถส่วนบุคคล ซึ่งระบุไว้ดังนี้

ขนาดที่จอดรถนั่งส่วนบุคคล ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า
๒.๔๐ x ๕.๐๐ เมตร เมื่อจอดรถตั้งฉากกับแนวทางเดินรถ
๒.๔๐ x ๕.๕๐ เมตร เมื่อจอดรถทำมากกว่า ๓๐ องศา กับแนวทางเดินรถ
๒.๔๐ x ๖.๐๐ เมตร เมื่อจอดรถขนานกับแนวทางเดินรถหรือทำมุมน้อยกว่า ๓๐ องศา

กรณีที่จอดรถด้วยเครื่องจักรกล ขนาดที่จอดรถให้เป็นไปตามระบบเครื่องจักรกล

ตึกแถว หรือบ้านแฝด ที่มีความสูงไม่เกิน ๒ ชั้น ต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย ๑ เครื่องทุกคูหา  เครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ อย่างน้อย ๑ เครื่อง ทุกคูหา

อาคาร สาธารณะ อาคารหอพัก และอาคารที่มีความสูง ๓ ชั้นขึ้นไปต้องมีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อย่างน้อย ๑ จุด ทุกชั้นและทุกคูหา เครื่องดับเพลิงอย่างน้อย ๑ เครื่องต่อพื้นที่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน ๔๕ เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ ๑ เครื่อง

อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (ความสูงเกิน ๒๓ เมตร หรือพื้นที่มากกว่า ๑๐,๐๐๐ ตารางเมตร) จะต้องมีระบบเตือนเพลิงไหม้
และระบบดับเพลิงอย่างเต็มที่

ข้อบังคับว่าด้วยขนาดที่จอดรถนั้น มีเจตนารมย์เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการจราจร และความปลอดภัยในการเคลื่อนย้าย

ที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยาโพสต์ไว้ในอินเทอร์เน็ต  กฎหมายเหล่านี้ระบุอยู่ใ็นกฏกระทรวงมหาดไทย

« « Prev : น้ำลายกับหินปูนเกาะฟัน

Next : ลองตรวจดูซะแต่ตอนนี้เหอะ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2011 เวลา 1:24 (เช้า)

    ที่ว่าเมืองไทยไม่อยู่ในร่องอันตรายนั้น ไม่แน่นะครับ มันอาจมาเยือนได้อีก ลองอ่านพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐดูครับ…

    ศักราช ๘๘๗ ระกาศก (พ.ศ. ๒๐๖๘) น้ำน้อย ข้าวเสียสิ้นทั้งปวง อนึ่งแผ่นดินไหวทุกเมือง แล้วและเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการ
    ..

    ศักราช ๙๐๘ มะเมียศก (พ.ศ. ๒๐๘๙) เดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว

    ครั้งเถิง ณ วันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม ท้ายเมืองกำแพงเพชรในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จไปถึงเมืองแกรง แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา ….

    ..

    ศักราช ๙๕๐ ชวดศก (พ.ศ. ๒๑๓๑) ณ วันจันทร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒ แผ่นดินไหว

    ศักราช ๙๕๑ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๑๓๒) ข้าวแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึง ปิดตราพระยานารายณ์กำชับ ณ วันศุกร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๒ แผ่นดินไหว

    ++เห็นได้ว่าช่วง 70 ปีไหวไปเสีย 5 ครั้ง ดูเหมือนมีไหวใหญ่ 1 ครั้ง

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 กุมภาพันธ 2011 เวลา 8:20 (เช้า)

    ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยให้ข้อมูลเติมเต็มค่ะ ตอนที่เกิดสึนามิแล้ว ได้คุยกับเพื่อนคนหนึ่งที่พังงา เขาก็เล่าให้ฟังว่าตอนย่าของเขาเป็นเด็ก เคยพบเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นแผ่นดินไหวมาก่อน สิ่งที่เล่าก็มีว่า ตอนย่าเด็กๆ จำได้ว่าอยู่ในที่โล่งที่ไหนสักแห่ง แล้วจู่ๆก็ล้มกลิ้งไปกลิ้งมาเพราะยืนไม่อยู่ แผ่นดินมันเป็นยังไง ย่าก็เล่าไม่ถูกจำได้แค่นี้ มารุ่นเพื่อนที่เป็นหลานเจออีกครั้ง ตรงนี้เป็นอะไรที่เตือนใจอยู่ว่า ไม่ระวังตัวเอง ไม่เตรียมตัวเองให้พร้อม เมื่อมันเกิดแบบ “ไม่รู้” อย่างสึนามิอีก ก็ทำได้แค่ตั้งรับการสูญเสีย อย่างที่ได้ผ่านประสบการณ์มา

    งานป้องกันที่ทำๆกันอยู่ตอนนี้ ก็ไม่ใคร่ถูกใจการลงมือเท่าไร เพราะส่วนใหญ่ก็ตั้งรับ รอให้เกิดค่อยลงมือปฏิบัติการ ลองทำความเข้าใจธรรมชาติดู ก็เห็นช่องที่จะป้องกันความสูญเสียได้ ถ้าเข้าใจดีพอ จัดระบบเฝ้า ระบบระวัง แล้วเตือนภัยให้ทัน เตรียมความพร้อมให้ดีตั้งแต่ในขณะยังเป็นภาวะปกติอยู่นี่แหละ ความสูญเสียจะน้อยกว่าในอดีตได้มาก

    กลับไปที่เรื่องเล่าจากคุณย่าเพื่อน สำหรับแถวๆกระบี่ ถ้าจะเกิดอีกรอบโดยเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ก็คงครบรอบอีกทีอีกเกือบร้อยปีข้างหน้า แต่ด้วยภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปมากอย่างเวลานี้ เวลาตรงนี้คงร่นเข้ามาอีก


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.17975807189941 sec
Sidebar: 0.10190296173096 sec