แหล่งอาหารที่เป็นต้นแหล่งให้กรดยูริคเกิดขึ้นในร่างกาย (พิวรีน)

อ่าน: 12680

อันที่จริงตามหลักของชีวเคมีในร่างกายที่เป็นไปนั้น กรดยูริกที่สูงในเลือด มิได้มีต้นเหตุหลักมาจากอาหารที่กินเข้าไปสักเท่าไร

ได้อ้้างถึงกลุ่มอาหารที่มีพิวรีนเอาไว้แต่ยังไม่เคยบันทึกรายละเอียดรวบรวมเอาไว้ให้นำไปใช้ได้ง่ายๆ  บันทึกนี้นำมาบอกเล่ากันเลยแล้วกันค่ะ

การจัดกลุ่มอาหารว่าอะไรมีพิวรีนสูงกว่าอะไรนั้น เขาใช้หลักสัดส่วนที่วิเคราะห์พบในอาหาร 100 กรัมตามหลักสากลจัดกลุ่มไว้นะคะ หลักสากลนี้ใช้อยู่ในกลุ่มนักโภชนาการและถูกนำมาเผยแพร่ให้สาธารณะรับรู้โดยหลักเดียวกันนั่นแหละค่ะ

แหล่งต่างๆที่นำมาบอกไว้ในที่นี้ แบ่งเรียงจากมากไปน้อยนะคะ

กลุ่มที่มีพิวรีนเกินกว่า 200 มก. ใน 100 กรัม  :

แหล่งอาหารจากสัตว์ : เครื่องในไก่ ตับ กึ๋น กุ้ง แหล่งอาหารจากพืช : ถั่วเหลือง ชะอม กระถิน ถั่วแดง ถั่วเขียว

กลุ่มที่มีพิวรีนระหว่าง 120-200 มก.ใน 100 กรัม :

แหล่งอาหารจากสัตว์ : ปลาดุก ไก่่ เซ่งจี้ แหล่งอาหารจากพืช : ถั่วดำ ใบขี้เหล็ก สะตอ

แหล่งอาหารจากที่รู้ค่าว่ามีพิวรีนสูงเกิน 150 มก. (ไม่เรียงลำดับ)

แหล่งอาหารจากสัตว์ : หัวใจสัตว์ปีก ไข่ปลา ตับไก่ มันสมองวัว เครื่องในสัตวปีก ไต-ตับหมู  น้ำต้มกระดูก ยีสต์  ซุปก้อน น้ำซุปต่างๆ น้ำสกัดเนื้อ ปลาไส้ตัน ปลาเล็ก ตับอ่อน ปลาอินทรีย์  กะปิ ปลาซาดีนกระป๋อง

แหล่งอาหารจากพืช : เห็ด ถั่วเขียว

แหล่งอาหารที่รู้ค่าว่ามีพิวรีนสูงไม่เกิน 150 มก.ใน 100 กรัม (ไม่เรียงลำดับ)

แหล่งอาหารจากสัตว์ : ปลากะพงแดง ปู    แหล่งอาหารจากพืช : ข้าวโอ๊ต ผักโขม เมล็ดถั่วลันเตา

กลุ่มที่มีพิวรีนระหว่าง 50-80 มก. ใน 100 กรัม :

แหล่งอาหารจากสัตว์ : เนื้อ หมู ปลาหมึก แหล่งอาหารจากพืช : ตำลึง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี ผักบุ้ง

กลุ่มที่มีพิวรีนระหว่าง  20-50 มก. ใน 100 กรัม :

แหล่งอาหารจากพืช : หน่อไม้ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา  ต้นกระเทียม คะน้า ผักบุ้งจีน  ถั่วงอก ถั่วแขก

กลุ่มที่มีพิวรีนระหว่าง 6-20 มก. ใน 100 กรัม :

แหล่งอาหารจากพืช : ถั่วพู

กลุ่มที่มีพิวรีนระหว่าง 0-5 มก. ใน 100 กรัม (ไม่ได้เรียงค่าวิเคราะห์) :

แหล่งอาหารจากสัตว์ : นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่

แหล่งอาหารจากพืช : ธัญญพืช ผักต่างๆ ผลไม้ต่างๆ  น้ำตาล  ผลไม้เปลือกแข็ง  ไขมันจากพืช

คงต้องจำว่าในแต่ละวันไตสามารถขับทิ้งกรดยูริกไปได้มากน้อยแค่ไหนเพื่อดูแลไตเอาไว้ไม่ให้แย่ลงๆจากการเกิดผลึกยูริกนะคะ

ไตขับถ่ายกรดยูริกทิ้งได้วันละ 0.5 กรัมค่ะ

เวลาเลือกกินอาหารจากแหล่งเหล่านี้กะปริมาณดูเองให้พอดีกับการมีอาหารกินเข้าไว้เป็นหลักแรกก่อนนะคะ

ส่วนหลักอื่นจะยกไปบันทึกไว้ที่อื่นค่ะ

หมายเหตุ พิวรีน เป็นแหล่งไนโตรเจนในสิ่งมีชีวิต ใช้เป็นวัตถุดิบเคมีต้นทางสร้างพิมพ์ของ RNA และ DNA ของกรดอะมิโนในร่างกาย และใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานในระดับเซลของสิ่งมีชีวิต

« « Prev : งานเลี้ยง…กับกรดยูริก

Next : ๑๒ เซียนที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 เวลา 2:59 (เช้า)

    ชาวบ้านไม่รู้ครับ พิวรีนคืออะไร สำคัญอย่างไร แคว๊กๆ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 เวลา 7:22 (เช้า)

    เติมข้อมูลพอให้เกิดความเข้าใจไว้้แล้วนะคะ พ่อครู

  • #3 นักการหนิง ให้ความคิดเห็นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009 เวลา 15:23 (เย็น)

    พ่อคะหนิงก็ไม่รู้ว่าพิวรีน คืออะไร  รู้แต่ว่า  กินอาหารที่มีพิวรีนสูงเมื่อใด เก๊าฑ์ก็จะรุนแรงขึ้นค่ะ จะปวดข้อมากๆ บางทีศัพท์แสงทางวิชาการก็ทำให้เรางง แล้วพลอยจะไม่ยอมทำความเข้าใจค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.085628986358643 sec
Sidebar: 0.13452100753784 sec