นำเสนอผลการปฏิบัติราชการ

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 เวลา 22:22 ในหมวดหมู่ ยุติธรรมทางเลือก, เรื่องทั่วไป, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 1999

เมื่อวานนี้ผมได้นำเสนอผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานคดีแรงงานเขต ๘(ภูเก็ต) ที่ผมสังกัดอยู่ โดยท่านอธิบดีอัยการฝ่ายคดีแรงงานเขต ๘ เป็นผู้นำทีมอันประกอบด้วยท่านรองอธิบดีฯและผม ผมเตรียมสไลด์ไว้ประมาณ ๑๗ ชิ้น แต่ได้นำเสนอจริงๆเพียง ๑๒ ชิ้น เพราะเวลาไม่พอถูกกลุ่มอื่นแย่งเวลาไปเยอะ แต่ที่น่าประทับใจก็คือ ท่านอัยการสูงสุด(ท่านชัยเกษม นิติสิริ) นั่งฟังการนำเสนอของทุกกลุ่มตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และท่านก็ชมเชยการนำเสนอของเราด้วยว่านำเสนอข้อมูลปัญหาจากการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจน ลงจากเวทีมาน้องๆก็บอกว่าผมนำเสนอได้ชัดเจน บางอย่างเป็นเรื่องที่เขาไม่รู้ อะแฮ้มๆ…

อยากให้สังคมได้รับรู้ว่า หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่นั้นรับผิดชอบงานคดีแพ่งและคดีแรงงานใน ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยมีชื่อเรียกสำนักงานว่า “สำนักงานคดีแรงงานเขต ๘(ภูเก็ต)” ในสำนักงานนี้มีสำนักงานย่อยอีกสองสำนักงานคือ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานเขต ๘ และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต ๘ ซึ่งผมอยู่ในสังกัดคดีแพ่ง
ในปี ๒๕๕๑ สำนักงานผม รับคดีแพ่งเข้ามาพิจารณา ๒๒๗ คดี ทำเสร็จทั้ง ๒๒๗ คดี = ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค ๑๐๙ คดี)

ในปี ๒๕๕๒ (ม.ค.-๒๐ พ.ค.๕๒) รับคดีแพ่งเข้ามาพิจารณา ๖๔ คดี เสร็จ ๖๔ คดี = ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค ๑๗ คดี)

ไม่มีงานค้างเลยเห็นไหมครับ คราวนี้ลองมาดูภาพรวมของทุกสำนักงานอัยการใน ๗ จังหวัดภาคใต้ตอนบน

ในปี พ.ศ.๒๕๕๑
มีคดีค้างเก่า(ยังทำไม่เสร็จ ยังไม่ได้ยื่นฟ้อง/ยื่นคำให้การ ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา) ๑๔๒ เรื่อง รับใหม่เข้ามาอีกในปีพ.ศ.๒๕๕๑ อีก ๗๗๕ เรื่อง รวม ๙๑๗ เรื่อง ทำเสร็จไป ๗๓๓ เรื่อง ค้าง ๑๘๔ เรื่อง สำนวนเสร็จไปคิดเป็นร้อยละ ๗๙.๙ สำนวนค้างส่วนใหญ่เป็นคดีผิดสัญญากู้ยืมค้ำประกันกองทุนหมู่บ้าน,ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน(คดีคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเพิ่งมีกฎหมายกำหนดให้ต้องฟ้องยังภูมิลำเนาของผู้บริโภค ดังนั้นช่วงนี้จึงต้องตามหาที่อยู่ของผู้บริโภคหลายเรื่องทำให้ล่าช้า)

ในปี พ.ศ.๒๕๕๒
มีค้างเก่า ๑๘๔ เรื่อง รับใหม่ ๑๖๕ เรื่อง รวม ๓๔๙ เรื่องเสร็จไป ๑๔๓ เรื่อง ค้าง ๒๐๖ เรื่อง สำนวนเสร็จไปคิดเป็นร้อยละ ๔๐.๙ สำนวนค้างส่วนใหญ่เป็นคดีผิดสัญญากู้ยืมค้ำประกันกองทุนหมู่บ้าน,ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน,คดี ส.ป.ก. (ซึ่งกำลังทยอยส่งฟ้องกันอยู่ภายในสองเดือนก็น่าจะลดสำนวนค้างลงได้อีกเยอะครับ)

นอกจากนี้ยังมีคดีตอบข้อหารือจากส่วนราชการต่างๆ ซึ่งไม่มีงานค้างในสำนักงานผมเลยทำเสร็จทุกคดี ครับ

คราวนี้มาดูว่า พวกผมทำงานให้กับรัฐในแต่ละปีที่ผ่านมาเป็นทุนทรัพย์เท่าไหร่ เฉพาะในเขต ๘(เจ็ดจังหวัดภาคใต้ตอนบน)
• คดีที่ยื่นฟ้อง/คำให้การ ปี ๒๕๕๐ รวมจำนวน ๔๖๗ เรื่องทุนทรัพย์ ๗๘๙,๙๐๗,๐๔๙.๐๘ บาท
• คดีที่ยื่นฟ้อง/คำให้การ ปี ๒๕๕๑ รวมจำนวน ๖๙๕ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๑๘๐,๔๕๒,๗๗๕.๓๕ บาท
• รวม ๒ ปี ๑,๑๖๒ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๙๗๐,๓๕๙,๘๒๔.๔๓ บาท ชนะ ๗๒๓ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๓๒๗,๐๓๓,๓๖๐.๑๕ บาท แพ้ ๑๓ เรื่อง ๒๐,๓๔๕,๓๒๙ บาท ประนีประนอม ๘๐ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๒,๒๘๑,๘๗๕.๓๑ บาท (การประนีประนอมก็เป็นยุติธรรมทางเลือกทางหนึ่งครับ)

• ปี๒๕๕๒(ม.ค.-มี.ค.๕๒) พิพากษาแล้ว ๕๗ เรื่อง ชนะ ๕๖ เรื่องทุนทรัพย์ ๒,๐๔๕,๘๑๕.๙๓ บาท แพ้ ๑ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๘๔๙,๕๗๑ บาท ประนีประนอม ๒๙ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๖๑๔,๒๖๕.๔๑ บาท

คราวนี้เรามาดูว่าพอศาลตัดสินไปแล้ว ฝ่ายรัฐอุทธรณ์หรือฝ่ายเอกชนเขาอุทธรณ์แต่เราก็ต้องไปสู้โดยการแก้อุทธรณ์ ผลคดีมันเป็นอย่างไร

• คดีที่ยื่นอุทธรณ์/แก้อุทธรณ์ ปี ๒๕๕๐ รวมจำนวน ๖๐ เรื่องทุนทรัพย์ ๕๖,๐๐๓,๐๕๘.๙๙ บาท
• คดีที่ยื่นอุทธรณ์/แก้อุทธรณ์ ปี ๒๕๕๑ รวมจำนวน ๘ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๔,๕๓๒,๔๘๕ บาท
• รวม ๒ ปี ๖๘ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๖๐,๕๓๕,๕๔๓.๙๙บาท พิพากษาแล้ว ๘ เรื่อง ชนะ ๖ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๑,๓๗๒,๐๙๘.๔๗ บาท แพ้ ๒ เรื่อง ๖๓๙,๐๗๓ บาท

กับผลคดีในชั้นฎีกาที่ศาลพิพากษาในปี ๒๕๕๐,๒๕๕๑

• คดีที่ยื่นฎีกา/แก้ฎีกา ปี ๒๕๕๐ รวมจำนวน ๑๔ เรื่องทุนทรัพย์ ๒,๓๗๙,๕๘๘.๐๔ บาท
• คดีที่ยื่นฎีกา/แก้ฎีกา ปี ๒๕๕๑ รวมจำนวน ๗ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๒๖,๐๓๑,๔๑๗.๓๐ บาท
• รวม ๒ ปี ๒๑ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๒๘,๔๑๑,๐๐๕.๐๔บาท พิพากษาแล้ว ๖ เรื่อง ชนะ ๖ เรื่อง ทุนทรัพย์ ๖,๑๕๒,๙๘๔ บาท แพ้ - เรื่อง

นี่เป็นเพียงส่วนย่อยของประเทศ เฉพาะเจ็ดจังหวัดภาคใต้ตอนบนเท่านั้น ถ้ารวมทั้งประเทศจะเห็นภาพได้เลยว่าพนักงานอัยการรักษาผลประโยชน์ของรัฐได้มากมายมหาศาล แต่การรายงานผลปฏิบัติการยังไม่จบเพียงแค่นี้ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องปัญหาในการปฏิบัติจากระเบียบปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดและปัญหาจากการปฏิบัติราชการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เกิดความเสียหายแต่ก็ต้องนำมาพูดกันเพื่อให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของพนักงานอัยการเป็นที่เชื่อถือตรวจสอบได้ ครับ แต่ขออนุญาตเก็บไว้เป็นเรื่องภายใน ผมหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่า “ข้อบกพร่อง” แต่ใช้คำว่า “สิ่งที่ตรวจพบและควรแก้ไข” ครับ อิอิ

Post to Twitter Post to Facebook

« « Prev : อัยการกับยุติธรรมทางเลือก๒

Next : อัยการกับยุติธรรมทางเลือก๓ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2009 เวลา 22:43

    โห  มากมายก่ายกอง

  • #2 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 เวลา 6:14

    สวัสดีครับพี่
    ปัญหาของอัยการก็คือไม่ประชาสัมพันธ์งานของตัวเองสู่สาธารณะ กับไม่รู้จักจุดที่ควรนำเสนอครับ

    ผมว่าสิ่งที่ผมนำเสนอจะทำให้ชาวบ้านเข้าใจการทำงานของอัยการมากขึ้นครับ

  • #3 Edith ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 เมษายน 2014 เวลา 23:44

    Your cranium must be prcioettng some very valuable brains.


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.29116702079773 sec
Sidebar: 0.33922386169434 sec