เฮฮาศาสตร์(ห้วยขาแข้ง)๔

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 15 ธันวาคม 2013 เวลา 23:34 ในหมวดหมู่ เฮสิบห้วยขาแข้ง, เฮฮาศาสตร์ #
อ่าน: 123178

ตอนแรกผมว่าจะเขียนสี่ตอนจบ แต่นึกๆดูอีกทีเรื่องราวเขื่อนแม่วงก์มันน่าจะให้ผู้คนได้รับรู้ให้มากๆเผื่อว่าผู้คนเข้าใจจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ผืนป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เอาไว้ ผมเชื่อโดยความรู้สึกว่าคนที่อยู่กับป่าต้องรักป่าโดยเฉพาะผู้ที่ร่ำเรียนเรื่องป่ามาน่าจะรักป่ายิ่งกว่าผมที่เป็นนักกฎหมาย

ตอนที่ผมทำหน้าที่อัยการศาลสูงจังหวัดพังงา มีคดีบุกรุกแผ้วถางป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าที่เป็นต้นน้ำลำธารและมีการรอการลงโทษจำเลย ผมเขียนอุทธรณ์ว่า แม้จะมีกรมป่าไม้มานานแต่ป่าไม้ก็หายไปจากประเทศไทยเรื่อยๆ หากกระบวนการยุติธรรมไม่ช่วยรักษาป่าโดยลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจังให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ป่าไม้เมืองไทยก็จะไม่เหลือ และในที่สุดศาลอุทธรณ์ก็ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ถึงมีการเข็ดหลาบเกิดขึ้น

ผมนึกถึงภาพของ คุณประจักษ์ บัวแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ พูดให้ข้อมูลพวกเราในวันนั้น จึงทำให้พวกเรามีข้อมูลว่าพื้นที่อุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๕๘,๗๕๐ ไร่ และช่วงที่พวกเรามาเยี่ยมที่นี่มีนักดูนกมาดูนกกันมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญพรรณ ดิบแล้ง และดิบแล้งผสมเบญจพรรณ งานหลักของที่นี่ก็คือป้องกัน ทำวิจัยและบริการนักท่องเที่ยว ในส่วนงานวิจัยจะใช้กล้องไปวางดักถ่ายในป่า จึงได้ภาพมา เราได้เห็นภาพเสือโคร่งด้วย

อ.ศศิน ได้เล่าเรื่องราวให้พวกเราฟัง เช่น นักการเมืองไปหาเสียงกับชาวบ้านบอกว่าผืนป่าแห่งนี้เป็นป่าเสื่อมโทรม แต่ที่พวกเราเห็นเราก็งงว่ามันเสื่อมโทรมตรงไหน (วะ)

ความสำคัญของป่าแม่วงก์ตะวันตกเป็นอุทยานที่ไม่ใหญ่มาก ไม่มีชุมชนอยู่เลย ซึ่งมีอยู่ ๓ แห่ง คือ ป่าคลองลาน ป่าแม่วงก์ และป่าห้วยขาแข้ง และมีการกันแนวเขตที่ดิน แต่เดิมการประกาศเขตอุทยานมีกจะประกาศทับที่ชาวบ้านแต่ป่าที่ว่าไม่ได้ทับที่ชาวบ้านเลย แต่มีพื้นที่ราบที่มีชาวบ้านเข้าไปยึดถือครอบครอง

เราได้ดูงานวิจัยเสือโคร่ง เราได้ดูวีดีโอเสือที่ถ่ายไว้ได้บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ งานวิจัยประชากรเสือห้วยขาแข้งเพิ่มขึ้นมาที่แม่วงก์และคลองลาน ลองคิดดูสิครับถ้าสร้างเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้นกับเสือเหล้านั้น และเราก็จะรู้ว่าเสือตัวไหนคือตัวไหน เพราะลายเสือมันก็เหมือนลายพิมพ์นิ้วมือของคนแหละครับ คนที่ชำนาญก็จะบอกได้ว่ามันคือตัวไหน

ทราบไหมครับว่าเสือ ๑ ตัวเมื่อเขาเอาไปชำแหละแล้วตกตัวเป็นล้าน เดี๋ยวนี้จึงมีพรานล่าเสือมืออาชีพที่ว่าจ้างมาจากกัมพูชา
เขื่อนที่จะสร้าง ความจริงสร้างที่เขาชนกันก็ทำได้ แต่นักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ นำชาวบ้านจากภาคอื่นเข้ามาอยู่และอ้างว่าสร้างเขื่อนไม่ได้เพราะเขาชนกันนั้นหินผุ แต่ความจริงก็คือถ้าสร้างตรงนี้ที่ของนายทุนนักการเมืองก็จมน้ำสิครับลูกพี่ เพราะอยู่ท้ายอ่าง แล้วจะให้สร้างได้ไง และถ้าสร้างแล้วจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่

เราได้ทราบว่าหลังจากเขื่อนเชี่ยวหลานแล้วเราไม่ได้มีการสร้างเขื่อนที่มีสัตว์ป่าอีกเลยเพราะจะสร้างเขื่อนที่น้ำโจนคุณสืบก็คัดค้านและได้ผลจึงไม่ได้สร้าง การสร้างเขื่อนมันกระทบหลายเรื่อง เอาง่ายๆเห็นๆสร้างเขื่อนแต่ละที่จะมีการบุกรุกตัดไม้เกินจากตำแหน่งที่กำหนดทุกเขื่อนแหละ และการสร้างเขื่อนแม่วงก์ไม่ใช่ลำพังเพียงความเสียหายของป่า ต้นไม้ใหญ่ แต่มันเป็นที่ราบริมน้ำเพราะตรงนี้มันเป็นความอุดมสมบูรณ์

ถ้าถามว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์จะคุ้มค่ากับการลดน้ำท่วมได้มากน้อยเพียงใด
คำตอบก็คือไม่มากหรอก ข้ออ้างจะบอกว่าได้ประโยชน์ถึง ๓ จังหวัด ดูดีไหม…อิอิ แต่รู้ไหมว่าจังหวัดละกี่เปอร์เซ็นต์ การที่บอกว่าได้ประโยชน์ถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์นั้นจริงๆเป็นพื้นที่ระดับอำเภอเท่านั้น

อ.สมิทธ์ เล่าให้ฟังว่าพื้นที่แม่เรวามีพื้นที่ชุมชน ชาวบ้านมีความเห็นแตกต่างกัน บางคนก็บอกว่าสร้างเขื่อนมีน็ดี แต่บางคนบอกไม่เอา ไม่รู้ว่าเพราะอะไร

ตรงพื้นที่แม่เรวามีอิทธิพลทางการเมืองสูงมาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีอิทธิพลทางความคิดของลูกบ้าน ช่วงอายุคนที่มาอยี่เป็นคนที่อพยพมาจากภาคอิสานก็มี ซึ่งคนเหล่านี้ไม่มีรากฐานชุมชน คุณพ่อของ ส.ส.ที่เคยเป็น ส.ส.ได้สัมปทานป่าก็ตัดป่าเสียเหี้ยนเตียน คนที่อยู่จึงไม่มีความผกพันกับพื้นที่ป่า

หากภาคประชาสังคมไม่ช่วยกันเขื่อนแม่วงก์ก็จะถูกสร้างและทำให้เกิดปัญหา ปัญหาก็มีว่าหากไม่สร้างในรัฐบาลนี้ รัฐบาลใหม่ก็อาจสร้างเพราะโครงการมันเดินหน้าไปแล้ว

เวทีพิษณุโลกจะสร้างเขื่อนคลองชมพู เป็นการสร้างในอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชาวบ้านวังชมพูเขาไม่ต้องการ เวทีที่พิษณุโลกล่มเพราะชาวบ้านไม่ยอม

อ.สมิทธ์ ให้ ผัดไทย รักษ์ป่า นามแฝงในเฟสบุ้ค มาเล่าให้ฟังเรื่องราวการต่อต้านการสร้างเขื่อน เอาป้ายไปปักต่อต้าน ๔๐ ป้าย เหลือ ๔ ป้าย ถูกถอดทิ้งบ้างทำลายบ้าง แต่ผัดไทยบอกว่าเขาจะถอดก็ถอดไปผมมีหน้าที่ปักผมก็ปัก ผมไม่โกรธเขา…
ผีดไทยกับพวกจัดบวชป่า ผู้ใหญ่บ้านก็มีท่าทีสนับสนุน ออกประกาศเสียงตามสายให้วันเว้นวัน แต่พอถึงวันจริงไม่มีใครมา ไปกันสี่คนก็ทำกันสี่คน แต่พอวันรุ่งขึ้นมีคนมากันเยอะแยะ ชาวบ้านที่ไม่ต้องการเขื่อนจริงๆก็ไม่กล้าออกมา

อ.สมิทธ์ บอกว่ามีการใช้เงินแสนล้านกว่าบาททำเรื่องการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งบางจุดก็มีมาตรฐานบางจุดก็ไม่ได้มาตรฐานหากเกิดน้ำท่วมมาอีกก็จะยิ่งสร้างปัญหาเพิ่มเติม และได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่าการทำ EIA ต้องทำตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ แต่กลับทำตามสำนักนายกและต้องทำถึง ๕ ครั้ง

การแขร์ข้อมูลให้มากขึ้นจะทำให้ชาวบ้านรู้ถึงคุณค่าของป่า เครือข่ายที่ต้องสร้างในภาคประชาชนต้องทำประชาพิจารณ์เทียบเคียงคู่ไปกับรัฐบาลจึงจะมีประโยชน์

ครูบาเป็นตัวแทนของพวกเราร่วมแสดงความคิดเห็น ท่านถามว่าเรนากำลังสู้กับใคร เขาไม่ยึดกฎระเบียบ ดังนั้นการที่เราจะเอาวิชาการไปสู้อย่างเดียวคงไม่ได้ ถนนเข้ามาเขายังปล่อยให้เป็นขนมครกเพื่อให้เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาเพราะจะสร้างเขื่อน เรากำลังสู้กับวิชามารเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องทำให้สังคมเห็น

การปักป้าย(ต่อต้านการสร้างเขื่อน)ต้องปักลงในหัวใจคนไทย

เมื่อผืนป่าตะวันตกเป็นมรดกโลกก็ต้องทำให้เป็นเรื่องของโลก ต้องคิดใหม่ คิดบนโจทก์เก่าก็จะได้รับผลแบบเก่า ทำอย่างไรที่จะทำให้เป็นเรื่องของทุกคน ทำอย่างไรที่จะทำให้มรดกโลกเป็นของคนทั้งโลก

ความรู้วิชาการดีๆในไทยมีมากมายต้องเอาออกมา แต่การต่อสู้กับคนพวกนี้คงต้องเอาตีนมาสู้…ฮา

จากนั้นเราจึงไปทานอาหารเที่ยง แล้วออกเดินทางไปลานนกยูง

แล้วผมจะมาเล่าต่อ…อิอิ

Post to Twitter Post to Facebook

« « Prev : เฮฮาศาสตร์(ห้วยขาแข้ง)๓

Next : เฮฮาศาสตร์(ห้วยขาแข้ง)๕ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

20408 ความคิดเห็น