ลูกขบไทยสู่สากล

โดย withwit เมื่อ 15 June 2011 เวลา 8:51 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 2198

นัทไทย

 

ผมยังไม่ทราบว่าจะตั้งศัพท์ไทยว่าอย่างไรดี ฝรั่งเรียก nut (เป็นแสลงแปลว่า บ้า ก็ได้)  ของไทยเรามันเรียก ลูก แต่พอบอกว่า ลูกไทย มันก็ไม่เข้ากัน อยากจะเสนอว่า “ลูกขบ” จะดีไหม

 

ลูกขบไทยมีหลากหลาย แต่ที่ผมชอบที่สุด คือ ลูกประ มีมากทางปักษ์ใต้ เอามาคั่วทราย อร่อยมาก

 

รองลงไปน่าจะเป็น ลูกก่อ ใต้จรดเหนือมีหมด  เป็นโอ๊คชนิดหนึ่ง ไม้เอามาเลี้ยงเห็ดหอมได้

 

เม็ดไม้แดง ก็แปลก เพิ่งรู้ว่ากินได้ อร่อยเสียด้วย

 

เม็ดกระบก  เม็ดบัว

 

เม็ดนุ่นอ่อน ใครเคยกินไหมครับ มัน หวาน ของโปรดเด็กบ้านนอกสมัยก่อน

 

เม็ดกวยจี๊ ฟักทอง ทานตะวัน

 

ถั่วต่างๆ โดยเฉพาะถั่วผี ที่หากินได้ยากขึ้นทุกวัน เห็นที่แม่ฮ่องสอนต้มขายเป็นฝักๆ สีเหลืองๆ มีขนนิดๆ

 

ที่แม่ฮ่องสอน และ บริเวณไทยใหญ่ยังมี ถั่วอะไรหนอ ลืมชื่อไปแล้ว แข็งมาก แต่ก็อร่อย และเก็บไว้ได้นานเป็นปีโดยถั่วไม่อ่อนเสียก่อน เหมือนเช่นถั่วลิงสง อ้อนึกออกแล้วขณะพิมพ์ คือ ถั่วแป๊ะหล่อ (ที่แม่สอดเม็ดใหญ่กว่าที่แม่ฮ่องสอน) ไปมฮส. ที่ไหล ซื๊อมาตุนหลายกิโลทุกที  เดี๋ยวนี้ถั่วนี้ถูกลดความนิยมลงไป หันไปหาถั่วเหลืองคั่วกันมาก คงเพราะว่ามันกินง่ายกว่า แต่สำหรับผม แป๊ะหล่อ หร่อยกว่า

 

 

หันมาดูตลาดลูกขบในไทยตอนนี้เห็นมีอยู่สามยี่ห้อหลักคือ ทองการ์เด็น โก๋แก่ และ เจดีย์คู่  ทองฯนั้นทำได้ดีที่สุด คุณภาพความอร่อยทะลุโลกไปแล้ว แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ของคนไทย เป็นธุรกิจคนจีนในมาเลย์ ตอนหลังๆ ผมเลยซื้อน้อยลง หันมากินของไทยที่ไม่ค่อยอร่อยเท่า (ปิดทองหลังพระ เสียสละเพื่อชาตินะเนี่ย)

 

ผมคิดมานานว่า ทำไมคนพวกนี้เขาไม่รู้จักทำตลาดใหม่ๆบ้างเลย นอนทับความสำเร็จในอดีตอยู่นั่นแหละ เป็นผมนะ ป่านนี้ ลูกประสุดอร่อยมาคอยอยู่ริมแผงแล้ว ไม่ต้องให้ผมไปเที่ยวตระเวนหาตามตลาดทั่วประเทศ อีกทั้งเป๊ะหล่อ ลูกระบก ไม้แดง เม็ดบัว

 

กล่าวฝ่ายรัฐบาล ก็ไม่ยอมทำวิจัยด้านนี้ พร้อมวิจัยการคตลาดทั่วโลก  ดีแต่ประชานิยมซื้อเสียงอยู่นั่นแหละ

 

ในเมืองนอก เขานิยมกินลูกขบกันมาก ที่ยืนพื้นก็มี อัลมอนด์ เพลิแคน  hazel  brazilian และ pitacchio  ยังมีที่ว่างเหลือให้เราทำการตลาดอีกมาก   ไอ้บราซิลเลี่ยนนี่ดูเผินๆ เหมือนลูกประเรา แต่ของเราหร่อยกว่า 10 เท่า

 

…คนถางทาง (๑๕ มิย. ๕๔)

 

 

 

 

 

 

« « Prev : ลดการจราจรติดขัดในกทม.ด้วยการใช้รถยนต์ร่วมกันผ่านระบบจับคู่แบบมีปสภ.

Next : ทำไมหญิงไทยสมัยนี้สวยกว่าโบราณ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 10:08 pm

    นึกไม่ออกว่า ลูกประหน้าตาเป็นยังไง เพิ่งรู้ว่าเห็ดหอมเลือกไม้ที่มันจะขึ้นนะคะนี่ เม็ดนุ่นอ่อน???? ทำยังไงก่อนกินเหรออาจารย์

    แปลกใจที่อาจารย์เรียก เม็ดเปลือกแข็งว่า ลูกขบ

    ที่เคยเรียกๆกันแถวบ้าน “ลูกขบ” คือ “ลูกตะขบ” ไม้ชนิดหนึ่งที่ลูกหอมๆนิ่มๆ บี้เนื้อออกมาแล้วคล้ายๆงาเม็ดลีบใส่เยลลี่ นี่เป็นตะขบฝรั่ง แล้วมีตะขบไทยอีกนะคะ

    อยากเห็นหน้าตาลูกเปราะขึ้นมาตะหงิดๆ อาจารย์ขึ้นรูปไว้ที่ไหนมั่งค่ะ จะตามไปดู

  • #2 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 10:45 pm

    คลิกหาในกูเกิลก็เจอครับ ลูกประ เอามาดองก็ได้ เอามาทำน้ำพริกก็ได้ ครับ แต่คั่วทรายนั้นอร่อยที่สุด เอคนใต้น่าเคยเห็นนะครับ

    ที่เรียกลูกขบเพราะมัน ของขบเคี้ยวไงครับ

  • #3 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 11:04 pm

    พวกเมล็ดเปลือกแข็งถึงแข็งมาก ตั้งแต่ถั่วดิน(ถั่วลิสง) ถั่วแป๊ะยี ถัวกาจัมปูเต๊ะ ถั่วแขกฝรั่งเรียกว่า บีน เมล็ดฟักทอง เมล็ดแตง เมล็ดทานตะวัน ฝรั่งเรียกว่า ซี๊ด เมล็ดมะม่วงหิมมะพาน ลูกก่อ เมล็ดในบ๊วย เมล็ดในเปลือกแข็งของผลไม้อีกมามายหลายชนิด ฝรั่งจะเรียกว่านัท เมล็ดในผลไม้ป่าอีกมากมายหลายชนิด ในแต่ละภูมิภาคของเราก็เรียกชื่อตามชื่อต้นไม้ เพียงแต่ใช้คำว่าเมล็ดหรือลูกนำหน้า เช่นเมล็ดกระบก หรือลูกกระบก เป็นต้น แต่ลูกประเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก ไม่รู้จักเหมือนกัน..อิอิ

  • #4 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 11:11 pm

    http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=17585.0

  • #5 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 11:17 pm

    คนใต้ถุน ไปหารูปลูกประจากคนใต้ มาให้หมอใต้ดู …อิอิhttp://www.gotoknow.org/blog/bansuanporpeang/137885

  • #6 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 15 June 2011 เวลา 11:39 pm

    เอาLink รูปมาให้ดูครับ

    http://www.gotoknow.org/blog/bansuanporpeang/137885

    ผมจัดอันดับให้เป็นลูกขบหร่อยที่ซุดในโลกา แต่คนไทยไม่เห็นคุณค่า ผมว่าอีกหน่อยฝาหรั่งมันมาเจอมันไปทำการตลาดแน่

  • #7 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 June 2011 เวลา 6:42 pm

    ขอบคุณแม่ยกค่ะ เห็นรูปแล้วร้องอ๋อว่าเห็นบ่อยๆแต่ไม่รู้จักชื่อมันนี่เอง นอกจากไม่เคยเห็นก็ไม่เคยชิมด้วยแฮะ ส่วนต้นมันนั้นเคยเห็นห่างๆ ชอบมองเวลาเห็นสีสันมันบนภูเขาแต่ไม่รู้จักชื่อ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.088420152664185 sec
Sidebar: 0.01205587387085 sec