เรื่องเหม็นๆ
สำนวนและสุภาษิตไทย ที่เกี่ยวกับ “ขี้” มีมาก แต่บางอันไม่เข้าใจที่มาที่ไปจริงๆ เช่น
กำขี้ดีกว่ากำตด
…ความหมายคือการกำขี้ยังได้อะไรติดไม้ติดมือมาบ้าง ดีกว่ากำตดไม่ได้อะไรเลย….แต่ทำไมถึงเอาเปรียบกันแบบนี้ กำขี้มันเปรอะมือเหม็นหึ่ง เอาไปขายก็ไม่ได้ ไม่มีใครซื้อ มันจะดีกว่ากำตดได้อย่างไร เพราะขายไม่ได้เหมือนกันและไม่เปรอะ ไม่เปลืองน้ำล้างมือ
อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้
….ความหมายคืออย่าไปเห็นคนอื่นดีกว่าญาติมิตร (คิดว่าเป็นแบบนี้) แต่ทำไมต้องอุปมาเป็นขี้กะไส้ด้วย ไม่รู้ว่าขี้ไส้คน หรือ ขี้ไส้สัตว์ เช่น ไส้หมู ไส้วัว ที่เอาปรุงเป็นอาหาร
เข็ดขี้อ่อนขี้แก่….เข็ดอย่างมาก ไม่ทำแบบนี้อีกแล้ว…แต่ทำไมต้องอุปมากับขี้อ่อนขี้แก่ด้วย
ขี้ใหม่หมาหอม
ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน …ขี้หมูนั้นก็เหม็น(จัญไร)อยู่หรอก แต่ฝนนี่ซิ่ มันจัญไรตรงไหน
กินบนเรือนขี้รดหลังคา
ไม้สั้นอย่าไปรันขี้
นึกออกแค่นี้ ท่านใดนึกหรือคิดสำนวนขี้ๆได้เพิ่มเติมกว่านี้ก็ช่วยโพสต์บอกกันเด๊อ ยิ่งในสถานภาพการเมืองแบบนี้อาจทำให้คิดสำนวนขี้ๆได้มากขึ้น (บรรยากาศเป็นใจ :-))
« « Prev : ระบบอุปถัมป์กับสังคมและการเมืองไทย (โต้นายจักรภพ)
Next : มาร่วมประเพณีกันไหม? » »
4 ความคิดเห็น
เห้นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
อันแรก กำขี้ดีกว่ากำตด
ป้าหวานคิดว่า เป็น สำนวนอิงกฎหมาย คือ มีหลักฐานดีกว่าไม่มีหลักฐาน จับต้องได้ดีกว่าเพ้อฝัน แต่สำนวนนั้นคงถูกใจคนพูดกระมัง
อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้
ป้าหวานคิดว่า อิงความสำคัญ ความเป็นมา หรือ เนื้อแท้ เพราะสิ่งหนึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำงานหลักอยู่ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นสิ่งชั่วคราวที่ผ่านมา ผ่านไป
เข็ดขี้อ่อนขี้แก่
อันนี้น่าจะอิงสถานะ เข็ดเด็ดขาดทุกกรณี จะนับย้อนอดีตใกล้ๆ ไกลๆ หรือในอนาคต จะไม่ทำอีก
เฮ้อ..หลงมายังไงเนี่ยขี้เกียจอธิบายต่อแล้ว ไปหาอากาศบริสุทธิ์ก่อนนะคะ หายเหม็นแล้วมาใหม่ 555 เอิ้กส์ศ์ษ์ses’s
นอกจากขี้เกียจแล้วยังขี้ตลกด้วยนะป้าหวานเนี่ย
แม่ใหญ่ครับ ผมคิดเรื่องเห็นช้างขี้ขี้ตามช้างอยู่นาน ว่าคืออะไรแน่ สงสัยว่าอย่าขี้ก้อนใหญ่เท่าช้างน่ะนะครับ (ทำนองว่านกน้อยทำรังแต่พอตัว)
อ่านซ้ำแล้วต้องขอบคุณป้าหวานที่วิเคราะห์ได้เข้าเค้ามาก คิดได้ปานนี้ วิเคราะห์ว่าเป็นคน “ขี้สงสัย” พอสงสัยก็คิดไปเรื่อยหาคำตอบให้ได้ นี่แหละคือรากฐานของการพัฒนามนุษย์และสังคมชาติ