เจ๊กกระโดด..ไทยกระแดะ(กินแต่ข้าวนุ่ม)
เจ๊กกระโดด
คุณแม่ผมทำนาเป็นแต่ไม่เก่งนัก เพราะท่านเกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวยพอดู มีข้า “ทาส” บริวารนับสิบ แม่เล่าว่าพอเลิกทาสแล้ว ทาสไม่ยอมไปไหนสมัครใจอยู่เป็นทาสต่อไป นี่แสดงว่าระบบทาสของเราคงไม่ใช่ระบบเลวร้ายนักหรอก และทาสนี่แหละคือเรี่ยวแรงหลักในการทำนา จนแม่ผมไม่ต้องทำมากนัก ที่ไปทำนาก็เพราะนึกสนุกเป็นส่วนใหญ่
แม่เล่าให้ฟังว่าในอดีตมีข้าวพันธุ์หนึ่งชื่อว่า “เจ๊กกระโดด” ท่านบอกว่ามันไม่อร่อย แข็งๆ เม็ดใหญ่ๆ แม้แต่พวกคนจีน (ที่คนไทยในอดีตนิยมเรียกว่าเจ๊ก) ที่ยากจน หอบเสื่อผืนหมอนใบเข้ามาอยู่ใหม่ๆ ยังกระโดดหนี (และสุดท้ายครอบครัวของคุณแม่ซึ่งเป็นไทยแท้มีพี่น้องหญิงสี่คน ก็แต่งงานกับเจ๊กหมดเลย มีทั้งไหหลำ แคะ แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ครบหมดทุกก๊กก็ว่าได้ จนทำให้ผมเป็นลูกครึ่งเจ๊กอยู่จนทุกวันนี้ )
ผมได้ฟังชื่อข้าวโลดโผนจนเผ่าพันธุ์พ่อผมเองยังกระโดดแล้วก็ทำให้อยากลองกินมาก แต่คิดว่าคงสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว เพราะตอนนี้มีข้าวเพื่อการค้าอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นเอง ทั้งที่ในอดีตเรามีข้าวหลายร้อยพันธุ์ เผอิญผมไปเจอชื่อพันธุ์ข้าวในวารสารเทคโนฯชาวบ้าน (เครือมติชน) เลยตัดเอามาฝากกันอ่านครับ:
(เป็นพันธุ์ข้าวที่สำรวจไว้เฉพาะภาคกลาง เมื่อ 40 ปีมาแล้ว)
พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้เพาะปลูก 23 พันธุ์แรก ได้แก่ พันธุ์ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี พวง (มีหลายชนิด เช่น พวงจอก พวงหางจอก พวงเงิน พวงทอง ฯลฯ) สามรวง ขาวกอเดียว ก้อนแก้ว ขาวห้าร้อย ขาวมะลิ หลวงประทาน ขาวพวง ขาวสะอาด นางเขียว นางมล ปิ่นแก้ว ขาวเมล็ดเล็ก เล็บมือนาง ก้นจุด เทวดา ห้ารวง เจ๊กเชย พวงนาค ทองมาเอง และมะลิทอง
พันธุ์ข้าวที่ชาวนานิยมใช้มากที่สุด (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์) ได้แก่ ขาวตาแห้ง ก้อนแก้ว นางมล สามรวง และขาวกอเดียว แต่หากคิดเป็นพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ขาวตาแห้ง ขาวเศรษฐี ขาวพวง สามรวง และขาวกอเดียว
ข้าวพันธุ์อื่น (นอกเหนือจาก 23 พันธุ์ ที่เอ่ยชื่อมาแล้ว) ได้แก่ ข้าวพันธุ์ก้นดำ ก้นแดง ก้นใหญ่ กอเดียว กอเดียวเบา กอเดียวหนัก เกษตร ค. เก้ารวง กาบแดง กาบเขียว กะโหลก กลางปี กระจุดหนัก ก้อนทอง กอกลาง แก่นจันทร์ เกวียนหัก กาบหมาก เกสร กำหมาก เขียวหอม เขียวเบา เขียวหนัก เขียวทุ่ง ขี้ตมขาว ขำเล็กเตี้ย เขียวเม็ดเล็ก เขียว เขาดี แขกเบา เขี้ยวงู ขอนแก่น ไข่แมงดา ขนาย เขียวนกกระลิง ไข่จิ้งหรีด ขาวกระบี่ ขาวก้นจุด ขาวกอ ขาวโกต ขาวแก้ว ขาวกีต้า ขาวกลางปีหลวง ขาวเกษตร ขาวกำจร ขาวกระโทก ขาวกด ขาวกุหลาบ ขาวขจร ขาวขี้ตบ ขาวขัดเบา ขาวโคก ขาวคัด ขาวคุด ขาวคลองสิบ ขาวงอ ขาวงาช้าง ขาวเจ็กแก้ว ขาวจำปา ขาวชีต้า ขาวดี ขาวดง ขาวตาหลั่ง ขาวตาหุย ขาวตาผุด ขาวตาเล็ก ขาวตาสี ขาวตาปาน ขาวตาอู๋ ขาวตาหง ขาวตาโม้ ขาวตาพุฒ ขาวตาเพชร ขาวตาปิ่น ขาวตายิ้ม ขาวตราสังข์ ขาวตะวันขึ้น ขาวทับทิม ขาวทดลอง ขาวทองรากชาย ขาวนางมล ขาวน้ำผึ้ง ขาวนาวา ขาวนาแขก ขาวนางเข็ม ขาวเหนียว ขาวน้ำมนต์ ขาวนางชม ขาวนวล ขาวบุญมา ขาวบางกะปิ ขาวบัวทอง ขาวนางกระ ขาวบางเขน ขาวใบศรี ขาวบางเตย ขาวประกวด ขาวป้อม ขาวประเสริฐ ขาวปากกระบอก ขาวปลาไหล ขาวปลุกเสก ขาวปอ ขาวปิ่นแก้ว ขาวปากยัง ขาวป่า ขาวเปลือกบาง ขาวปุ้น ขาวปากหม้อ ขาวป่วน ขาวฝุ่น ขาวพัฒนา ขาวพลายงาม ขาวพวงทอง ขาวพวงเบา ขาวพราหมณ์ ขาวพยอม ขาวพรต ขาวโพธิ์ ขาวเม็ดยาว ขาวแม้ว ขาวเม็ดเล็กเตี้ย ขาวเม็ดแตง ขาวมงคล ขาวมะลิหนัก ขาวมะลิเบา ขาวมะลิพวง ขาวเมืองกรุง ขาวม้าแขก ขาวยายง้อย ขาวยายแก้ว ขาวยายมูล ขาวรวงยาว ขาวไร่ ขาวรวง ขาวรวงเดียว ขาวรังสิต ขาวลาว ขาวราชวัตร ขาวโหร่ง ขาวเหลือง ขาวหลง ขาวลูกค้า ขาวหลวง ขาวละออ ขาวละยอง ขาวลอย ขาวลอยมา ขาวลอดช่อง (ไม่ใช่ลอดช่อง) ขาวเหลืองกะโหลก ขาววัด ขาวสุพรรณ ขาวสูง ขาวสมุทร ขาวสวน ขาวสายบัว ขาวสร้อยพร้าว ขาวแสวง ขาวสมยัง ขาวส่งเค็ม ขาวสะโด ขาวเสมอ ขาวใหญ่ ขาวหอมลำไย ขาวหล่ม ขาวหาง ขาวหอมทอง ขาวหินกอง ขาวหอมือเคียว (หอ-มือ-เคียว ชื่อชอบกลดี) ขาวหอม ขาวอากาศ ขาว ขาวอุทัย ขาวอัปสร และขาวอำไพ
งาช้าง เจ็ดรวง จำปาหนัก จำปา จำปาจีน จำปาทอง จำปาขาว จะนึง จำปาศักดิ์ จำปากลาง จำปาดะ จำปาเป๋ จุกมอญ เจ็กเฮง เจ็กสี เจ็กสะกิด เจ็กกวาดน้อย เจ็กกระโดด เจ้าดอก เจ้าสงวน เจ้าพาน จำวัด จ้าวน้อย จ้าวเสวย จะแดงน้อย ช่อพยอม ช่อมะม่วง ช่อมะกอก ช้างลาก ช่อฟ้า ชมเชย ชุใบหนัก ซังเหนียว ซังเหลือง ซ่อนใบ ดออีปุ่น ดอกมะลิ ดาบหัก ดอกขะนาก ดอกดู๋ ดอเซ ดอปี ดำเห็น ดำป่าสัก ตาโสม ตาแก้ว ตาอ่อง ตะเภาล่ม ตะพาบ ตาเฉื่อย ตะเภาแก้ว ตาเจียน แตงกวา ใต้ใน เถากู้ ทองรากชาย ทองรากทราย ทองจำวัด ทองตามี ทองงาม หินทอง ทูลฉลอง น้ำผึ้ง นกกะริงเบา เนินเขียว นครภัณฑ์ น้ำค้าง นาสวน นางกลอง นางหงษ์ นางอาย นางสมบุญ นางงาม บุญมา เบาสุพรรณ บางเขน บางปะกง บางโพธิทอง บางกระเบียน บางตะเคียน บางมูลนาค บางตะกุย บางญวน และบางสะแก
บ้านโนน บ้านโพด บ้านคลอง บุญตา บุญเกิด บุญมี บุนนาค เบาขาว เบื่อน้ำ ใบลด ประดู่ยืน แปดรวง ปิ่นทอง ป้อม ป่าดอง ผลมะเฟือง พวงหางจอก พวงหนัก พวงจอก พูนสรวง พันธุ์เกษตร แพลอย พวงมาลัย พวงฉลอง พระยาชม พวงเงิน พวงทอง พวงหางหมู พระยาดอน พระปฐม แพร่ พ่อใหญ่ พวงแก้ว พันเม็ด พระยาหนอง โพธิทอง พวงเงินหนัก พวงเงินเบา พิมพ์สวรรค์ พวงพยอม เฟืองเหลือง ญี่ปุ่น เมืองเลย แม่ล้างญวน (น่าจะเป็น “แม่ร้างญวน”) เม็ดเล็กเตี้ย เม็ดยาว มะลิวัลย์ มะลิกลาง มะลิซ้อน มะลิเลื้อย แม่หม้าย แม่หม้ายอกแตก เม็ดข้าว มะก้วน ยักคิ้วรวง รวงยาว รวงเดียว แรกนาขวัญ รวงใหญ่ รักซ้อน ลูกนก หล่มหนัก เล็กร้าง แหลมไผ่ แลกนาขวัญ (อาจจะเป็นพันธุ์เดียวกับ “แรกนาขวัญ” ก็ได้) ลอยสำเภา ลูกผึ้ง หลวงแจก ล้อยุ้ง แหลมในสี ลอย ล้นครก หลวงหวาย ลากชาย ลืมแกง เหลืองประทิว เหลืองใหญ่ เหลืองกลาง เหลืองทอง เหลืองอ่อน เหลืองหอม เหลืองขมิ้น เหลืองเตี้ย เหลือง เหลืองพวง เหลืองระแหง เหลืองก้นจุด เหลืองกระบ้าง เหลืองเกษตร เหลืองกอเดียว เหลืองโกฐ เหลืองข้าวรวง เหลืองควายล่า เหลืองตาบึ้ง เหลืองตาครัว เหลืองตาพลวง เหลืองทองเผา เหลืองทองย้อย เหลืองที่หนึ่ง เหลืองทราย เหลืองนาขวัญ เหลืองนวลแตง เหลืองน้ำเค็ม เหลืองบางแก้ว เหลืองเบา เหลืองบิด เหลืองปากนก เหลืองพันธุ์ทอง เหลืองพม่า เหลืองพรหม เหลืองไฟลาน เหลืองมะฟง เหลืองระแหงเบา เหลืองไร่ เหลืองหลง เหลืองหลวง เหลืองลาย เหลืองลพบุรี และเหลืองอารี
แววนกยูง สามกะพ้อ สะแกดึง สวนใหญ่ สองรวงเบา สร้อยข้าว สองทะนาน สามรวงตัด สี่รวง สร้อยดง สายบัว สีชมพู สุพรรณรวงทอง สองรวงหนัก สาวกอ เสือลาก สีนวล สองรวง สะพานหนอง ศรีอุทัย ฟ้ามือ สาล สวะลอย สร้อยขิง หอมทอง หอม หอมมะลิ หอมน้ำผึ้ง หอมละออ หางเหน นางนกยูง หางหมา หกรวง ห้ารวง หินซ้อน หอมใหญ่ หนักเหนือ ห้าเซียน หอมสวน หางจอก หมกกล้วย มังคุด มะดิน มกตาล มาลออง มิ่งขวัญ มะน้ำ ข้าวก้นจุด ข้าวกู้หนี้ ข้าวเกษตร ข้าวกลอง ข้าวกลางปีหลวง ข้าวแก้ว ข้าวขาว ข้าวขาวสะอาด ข้าวเขียว ข้าวขาวหลวง ข้าวข้อมือหัก ข้าวคัด ข้าวโค้ง ข้าวดู้ดี้ ข้าวตกหลิน ข้าวทิพย์ ข้าวที่หนึ่ง ข้าวนาเมือง ข้าวนาสวน ข้าวน้ำค้าง ข้าวนครชัยศรี ข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนวลแตง ข้าวเหนียวสาวน้อย ข้าวเหนียวซาวนึ่ง ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวทองคัด ข้าวเหนียวกาบอ้อย ข้าวเหนียวหล่ม ข้าวเหนียวกระดูกช้าง ข้าวเหนียวก้านพลู ข้าวเหนียวญี่ปุ่น ข้าวเหนียวจังหวัดเลย ข้าวเหนียวหล่มสัก ข้าวเหนียวมโนราห์ ข้าวเหนียวพันธุ์นาสวน ข้าวเหนียวกระเบียงร้อน ข้าวเหนียวดอกจาน ข้าวเหนียวกลางปี ข้าวเหนียวหัวหมาก ข้าวเหนียวปากลัด ข้าวเหนียวแดงวัว
ข้าวใบสี ข้าวเบา ข้าวเบาที่หนึ่ง ข้าวใบรอบ ข้าวบ้านนา ข้าวป้อม ข้าวพวงเบา ข้าวพวงหนัก ข้าวฟางลอย ข้าวแม้ว ข้าวเม็ดเล็ก ข้าวเมืองกาญจน์ ข้าวไร่ ข้าวรอดหนี้ ข้าวล่า ข้าวล้นยุ้ง ข้าวลอย ข้าวลอยเหลือง ข้าวลอยบุญมา ข้าวสามเดือน ข้าวสารี ข้าวสาวงาม ข้าวสี่เดือน ข้าวห้าร้อย ข้าวหางหงษ์ ข้าวหอม ข้าวหลวง ข้าวหนักเหนือ ข้าวเหลืองเตี้ย ข้าวเหลืองน้อย ข้าวเหลืองเบา และข้าวเหลือง
…..โอ้โฮ เหลือเชื่อจริงๆ ว่าบรรพบุรุษเรานิยมความหลากหลายปานนี้ แสดงว่ารสนิยมดี อ้าว…มีเจ๊กกระโดดอยู่ในรายการกะเขาด้วยนะ
แต่ทุกวันนี้หันไปทางไหนมีแต่ หอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวที่ผมไม่ค่อยชอบ เพราะนุ่มเกินไป ส่วนพ่อผมแม้เป็นเจ๊ก (ที่ส่วนใหญ่ชอบกินข้าวต้มนุ่มๆ) แต่พ่อกลับกินแต่ข้าวแข็งๆแบบไทยๆ ถ้าเป็นข้าวนุ่มเหนียวแบบหอมมะลิแล้วท่านกินไม่ได้จริงๆ
เมื่อไรร้านอาหารไทยจะมีข้าวพันธุ์ต่างๆให้เลือกกินบ้างหนอ ทุกวันนี้ไปร้านไหนๆ แม้เป็นร้านอาหารชั้นนำราคาแพงก็บังคับให้เรากินข้าวตามแต่ที่เจ้าของร้านชอบกินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
….ทวิช จิตรสมบูรณ์
« « Prev : ถึงเวลาให้มีพระผู้หญิง (ภิกษุณี) ได้แล้ว
4 ความคิดเห็น
อ่านแล้วก็อยากลอง “เจ๊กกระโดด” ดูบ้างค่ะ
หวังว่าคงหาไม่ยากในเมืองไทยเหมือนข้าวหอมมะลิเม็ดสวยไม่มีปลอมปนแบบส่งออกนะคะ
เพราะกลับไปเมื่อสองเดือนก่อน หาข้าวหอมมะลิคุณภาพเดียวกับที่ส่งออกมาขายที่ออสเตรเลียยากมากๆค่ะ
พบแต่ประเภทข้าวหอมมะลิปลอมปนหุงแล้วไม่หอมเม็ดก็ไม่สวยสั้นบ้างหักบ้าง
กินไปก็ให้อนาถใจไป ของดีๆแทนที่จะเก็บไว้กินเอง กลับส่งออกเสียหมด
พออธิบายให้ใครฟัง ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ในบ้านเราไม่มีข้าวแบบนั้นหรอก อย่าหาให้เสียเวลาเลย
แล้วเราจะเป็นครัวของโลกไปทำไม ถ้าคนข้างในยังต้องกินข้าวคุณภาพด้อยกว่าที่ส่งออก
หรือว่าเราต้องเป็นแบบชาวแอฟริกาก็ไม่ทราบได้นะคะ
ที่เวลานี้พากันปลูกข้าวส่งให้ฝรั่งหมด ส่วนคนปลูกก็พากันอดตายเป็นเรื่องปกติประจำวัน
ท่าน septimus ครับ
ข้าวไทยก็เหมือนกับอื่นๆ คือ นักวิชาการ คนชั้นสูง อยากกินแบบไหน คนทั่วไปก็พลอยอยากกินแบบนั้นไปด้วย ทั้งที่ราคาแพง และอาจไม่ค่อยมีคุณค่าทางอาหาร ..ข้าวหอมมะลินั้น ผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำ การขัดสีก็แตกหักมากกว่าข้าวอื่นๆ (ก็ยิ่งทำให้แพง) แต่ทำไงได้ มันติดตลาดแบบโลภาภิวัฒณ์ไปเสียแล้ว กู่กลับได้ยากมาก
วันนี้ผมกินแต่ข้าว “หอมดง” เป็นหลักครับ ปลูกได้ที่อ.ปักธงชัย จ.โคราช มันหอมดีมาก เม็ดใหญ่ ไม่เหนียวมากเหมือนหอมมะลิ แต่ไม่แข็งแบบ “ขาวตาแห้ง” (ที่เม็ดใหญ่ๆ แข็งๆ หุงขึ้นหม้อที่นิยมใช้ในร้านข้าวแกง)
ข้าวแดงนางรอง (อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์) ผมได้กินเมื่อเป็นพระธุดงค์ไปบิณฑ์แถวนั้น ถามดูบอกว่าเป็นเจ้าเดียวที่ปลูก คนอื่นเขาเปลี่ยนไปหอมมะลิหมดแล้ว เลยเทศน์บอกไปว่าให้อนุรักษ์ไว้น้ะโยม ข้าวแดงนี้มันแปลกมากคือแดงทั้งเมล็ด ไม่ใช่แดงเฉพาะเปลือก หอม อร่อย ความเข็งนุ่มพอดี แต่ไม่มีนักวิชาการตนไหนแสวงหาวิจัยกันบ้างเลย น่าอนิจจาจริงๆ ครับ
แหม อ่านแล้วคิดถึงอดีตที่เคยช่วยพ่อแม่ทำนาหว่านมาแล้ว นาดำก็เคยสมัยที่เริ่มเอา IR-8 เข้ามาใหม่ๆที่เริ่มใช้ NPK เนื่องจากบ้านผมมีญาติเป็นเกษตรอำเภอเลยเอานาของพ่อเป็นแปลงทดลองซะเลย ก่อนที่ระบบชลประทานจะมานั้นเราใช้ข้าวที่ท่านกล่าวมานั่นแหละประมาณ 8-10 ชนิด เพราะเป็นข้าวที่ขึ้นน้ำ ที่เรียกนาฟางลอย มือจับด้ามไถ ขี่ควายแบกข้าวปลูก เกี่ยวข้าวด้วยเคียว เก็บข้าวตก เผชิญกับงูเห่านา จนญาติเสียชีวิตไปก็หลายคน ชาวบ้านโดยเคียวคมเกี่ยวขาจนเหวะหวะก็มีต้องหามลงเรือไปให้มิชชันนารีเย็บแผลให้ สมัยนั้นไม่มีโรงพยาบาล แม้สุขศาลา
นอนดมขี้ควายกันตลอดปี เดี๋ยวนี้เอานาให้เขาทำหมดแล้ว ลูกหลานไม่มีใครทำนาสักคน หนีไปหาเงินเดือนกิน แต่ก็รับรู้รสชาดการทำนาอยู่
มีข้าวชาวอีกชนิดหนึ่งพยายามดูว่ามีชื่ออยู่หรือเปล่า มองไม่เห็น อาจจะมีก็ได้นะครับ ลายตาไปหมดแล้ว ข้าวขาวชนิดนี้ ให้รวมใหญ่ จำนวนเมล็ดมาก แต่กินไม่อร่อย ชาวนามักปลูกเอาไปผสมกับข้าวอื่น แต่ดีที่ให้ผลผลิตสูงจึงนิยมปลูกสำหรับคนที่มีหนี้สินเยอะต้องเอาข้าวไปใช้คืน เขาเรียกข้าวชนิดนี้ว่า “ข้าวขาวปลดหนี้” ครับ
ข้าวปลดหนี้นี้ อาจเป็นตัวเดียวกับเจ๊กกระโดดก็เป็นได้นะครับ