เมื่อข้าพเจ้า (วิศวกรเครื่องกล) โต้นักวิชาเกรียนไทยในประเด็นการค้าเสรี
(ตัดมาจากข่าวในแนวหน้า ออนไลน์) 26 ตค. 2549
ดร.นิพนธ์ พวศกร นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ กล่าวถึงเรื่องความขัดแย้งในธุรกิจค้าปลีก และแนวคิดของกระทรวงพาณิชย์ที่จะออกกฎหมายมาควบคุมการขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ว่า ประเด็นที่จะต้องพิจารณาครอบคลุมหลายๆ ด้าน เพราะขณะนี้เหมือนกับว่าจะเน้นในมุมมองของกฎหมายที่ต้องการการออกกฎหมายสักฉบับเพื่อห้ามไม่ให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาได้โดยอิสระ โดยยกประเด็นผลกระทบร้านค้าของชำขนาดเล็กมาเป็นประเด็นหลัก ซึ่งตนเห็นว่าเรื่องนี้อย่าเอาเรื่องความชาตินิยมมาใช้กันมากจนลืมมองความเป็นไปของโลก และระบบการค้าเสรีในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสภาพที่เป็นรัฐบาลเฉพาะกาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรที่จะออกกฎหมายอะไรที่ยังมีประเด็นถกเถียงกันมาก มีผลกระทบต่อหลายฝ่าย และยังหาทางออกได้ไม่ชัดเจน ทำให้ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเร่งพิจารณาในเรื่องการออกกฎหมายกันมากขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการรับฟังข้อมูลความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่ายเลย ทั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาเรื่องธุรกิจค้าปลีกนี้ ควรจะยึดแนวทางสมานฉันท์ อย่าเอาแต่ฟังความข้างเดียวหรือใช้อารมณ์ในเรื่องของชาตินิยม การอ้างอิงตัวเลขที่ไม่รู้ว่าเป็นข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน
….คนเราถ้าไม่ชาตินิยมแล้วจะนิยมอะไรไม่ทราบครับ นิยมต่างชาติให้เขามาครอบครองประเทศเราหรือฯ พวกฝรั่งนั้นเขาชาติยมกว่าเราเยอะ แล้วมาหลอกเราว่าชาตินิยมไม่ได้ เพื่อให้เราหลงคารม ผมฟังธงมานานแล้วว่า ใครที่ไม่ชาตินิยมก็ไม่มีทางที่จะรักตัวเอง ครอบครับ และไม่มีทางรักคนอื่นได้เลย การจะรักคนอื่นได้นั้น ต้องรักตัวเองเสียก่อน ท่านนักวิชาการท่านอย่าตะแบงทำเป็นเสรีนิยมเลยครับ มันไม่โก้นักหรอก ในสายตาของคนที่เขารู้ทัน
ด้าน ดร.พัชรี สิโรรส อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ต้องมองที่ประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก ส่วนความขัดแย้งของผู้ค้านั้น ต้องแยกก่อนว่า ใครบ้างที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับกรณีนี้ และใช้แนวทางสมานฉันท์เข้าแก้ปัญหา คือ หาทางประนีประนอมให้ทุกฝ่ายมีที่ยืน ไม่ใช่ใช้วิธีออกกฎหมายมาบังคับฝ่ายเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งที่ไม่รู้จบ โดยเฉพาะรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ควรรีบร้อนออกกฎหมาย หรือกฎอะไรมาบังคับภาคธุรกิจที่เป็นที่ทราบดีว่า ทุกเรื่องมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องตามธรรมชาติของการประกอบธุรกิจ
…บังคับภาคธุรกิจ? อ้อ…ท่านต้องการให้ออกกฎหมายมาเพื่อทำลายภาคธุรกิจไทยอย่างนั้นหรือ อืมม์ อย่างนี้ควรบัญญัติว่าเป็นระบบ อชาตินิยม แห่งแรกและแห่งเดียวในโลก
ขณะที่ นายปริญญา ธรรมวัฒนะ เจ้าของตลาดสดยิ่งเจริญ กล่าวว่า แม้ว่าจะมีธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ แต่เชื่อว่าโชห่วยที่มีการพัฒนาและปรับปรุงตัวเองจะไม่มีวันเจ๊ง เหมือนที่ตลาดสดยิ่งเจริญที่มีการรองรับการแข่งขันนี้มาตลอด และปัจจุบันผู้ค้ารายย่อยก็สามารถสู้กับธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ได้ ด้วยการรวมตัวกันในการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต ซึ่งวิธีนี้จะเป็นแนวทางที่ดีกว่า การออกกฎหมายมาบังคับ เพราะหากต่างฝ่ายต่างมุ่งแต่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว ความขัดแย้งก็จะไม่รู้จบ
…แหมท่านครับ กำลังวางแผนเปิดร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ กำลังจะไปร่วมทุนกะเขาหรือเปล่าครับ เพราะที่ท่านพูดมานี้มองไม่เห็นเลยว่าท่านจะได้ประโยชน์อะไรกะเขาด้วย เพราะถ้าห้ามค้าปลีกข้ามชาติ ยังไงคนก็จะมาซื้อของในตลาดของท่านมากขึ้นอยู่แล้ว แต่ทำไมทำทีว่าไม่มีผลกระทบ อืมม์…หรือว่าท่านคือพระโพธิสัตว์ที่เห็นใจคนรวยคนจนเท่าเทียมกันหมด ถ้างั้นข้าน้อย ขออภัยที่ก้าวล่วงท่าน
« « Prev : ประชาธิปไตย (ทำไมฝรั่งเจริญกว่าไทยตอนที่ ?+1)
Next : คณิตคิดลับระดับปอสี่ » »
5 ความคิดเห็น
ผมชวนชาวบ้านปลูกยูคาฯทั่วประเทศ
20 ปี มาแล้ว ราคาไม่เคยขึ้น
ถ้าขายทั้งดุ้น ตันละ 700 บาท
ถ้าเอามาเข้าเครื่องสับ เป็นชิ้นไม้สับ ขายได้ตันละ 4,000-4,500 บาท
ถ้าปีกกล้าขาแข็งรวมกันส่งออกได้ก็มีเพิ่มราคาขึ้นอีก
ในการสับต้องปอกเปลือกออก เปลือกที่ว่านี่แหละผมอยากได้
มาทำปุ๋ยบำรุงดิน มาหมักทำแก๊ส มาทำเป็นแผ่นไม้วีเนียร์ ฯลฯ
ถ้าเราไม่สับเอง เราก็จะไม่ได้เปลือกไม้ที่ว่านี้
เรื่องนี้น่าจะเริ่มได้
ถ้าของบวิจัยเรื่องการพัมนาอาชีพชุมชน
โยชุมชนมีส่วนร่วม และได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
เพิ่มราคาจากของเดิม50-100%
วิธิทำ ประดิษฐ์เครื่องสับกิ่งไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-8 นิ้ว
1 จานใบมีดกว้างประมาณ 1-1.50 เมตร
2 เครื่องปอกเปลือก
3 สายพานส่งไม้ ส่งชิฟ
ทั้ง3รายการถ้าทำเอง ราคา 1 ล้าน ถ้าซื้อราคา 3.5 ล้าน
ผมมี ไฟฟ้า3เฟส โครงหลังคาวางเครื่องจักร
เอาเครื่องมาตั้งก็สับๆๆๆๆ แล้วโทรบอกบริษัทรับซื้อชิฟมารับ
ชาวบ้านก็ตัดไม้มาขาย รายได้ดีกว่าเท่าตัว
เมื่อเห็นประโยชน์โดยตรง
เราจะชักชวนทำอาชีพปลูกสร้างสวนป่าได้กว้างขวงและหลากหลายวิธี
เป็นโครงการเล็กๆทื่อๆ แต่ส่งผลทันที
ได้มวลชน ได้ช่วยคน ได้เรื่องทีจะทำต่อใหม่ๆ
ถ้ามีงบวิจัยมาช่วย 2 ล้าน งานลุยกระเจิง
และจะส่งผลถึงการตอบคำถามเรื่องอาชีพชาวบ้าน สังคม สิ่งแวดล้อม
วันหลังจะชวนอาจารย์คุยเครื่อง การผลิตเครื่องสับไม้ สับๆๆๆๆๆ
ต่อไปจะได้ใช้เยอะมาก
ชิมิ ชิมิ
การค้าที่ยักษ์มาเปิดร้านสะดวกซื้อ ร้านขายปลีกแข่งกับคนในท้องที่นั้น เป็นการทำลายชาติอย่างมหันต์
ชาติถูกทำลาย เพราะ เด็ก จะกินอาหารตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง…พ่อแม่บางรายต้องขี่รถออกไปซื้อขนมกลางดึกเพราะลุกบอกว่าร้านยังเปิดอยู่
ชาติถูกทำลายเพราะคนไม่มีวินัยในการใช้จ่าย เดิมซื้อเข็ม 1 เล่ม ด้ายหนึ่งหลอด เพื่อเย็บสอย และใช้อย่างระมัดระวังว่าจะวางทิ้งวางหาย…ไม่มีอีกต่อไป เพราะสามารถหาซื้อได้ตลอดเวลาที่อยากใช้…และที่มากกว่านั้นคือไม่ต้องซื้อ..เสื้อขาดก็ทิ้งไปเลยเพราะหาซื้อเสื้อจากร้านยักษ์เหล่านั้นได้เกือบตลอดเวลา ขณะที่ตลาดปิดแล้ว
คนขาดความเกรงใจและเห็นใจผู้อื่น…ตั้งแต่แย่งกันจอดรถ…หยิบของมาลองมาเลือกมาชิมแล้วทิ้งเกะกะ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่พนักงานมาเก็บ…นิสัยแบบนั้นก็ติดตัวไปไหนก็ทิ้งขยะไปเกลื่อน ฯลฯ
ที่อาจารย์โต้น่ะ…เห็นด้วยนะคะ…
อย่าทำลายชาติเพียงเพราะความสะดวกของตัวเองและของคนในเมืองหลวงเลยค่ะ
เรื่องเครื่องสับไม้ยูคาราคาถูกๆ ทำได้แน่นอนครับบาท่าน
เชื่อหัวไอ้เรืองเถอะ
ส่วนตลาดไม่ถนัด แต่เผอิญมีคนรู้จักที่เขากำลังต้องการชิบไม้พอดี
ถ้าไปขอเงินเขามาทำวิจัย เชื่อว่าเขาให้แน่ๆ
แล้วค่อยคุยกันต่อครับในเรื่องนี้
ว่าแต่ว่า ไม้อะไรปลูกแล้วได้ biomass ต่อไร่มากที่สุด ผมเชื่อกลม (ล ลิง สะกดนะเนี่ย) วิชาการเกษตรไม่รู้แน่หรอก ผมไปสำรวจมาแล้ว ใจผมยังว่า ไผ่ครับ รองลงมาน่าเป็น กระถิน แล้วจึงถึงยูคา เหง้ามันสำปะหลังก็น่าสนใจครับ ให้การบ้านบาท่านอีกแล้ว
ยังไงเสียบาท่านยังติดหนี้แกงปลาใบส้มเสี้ยวผมอยู่นะครับ ..วุ๊ย..เขียนแล้วน้ำลายไหล และที่อยากลองแบบกลัวบาปนิดๆ คือ แกงเปรี้ยวเยี่ยวมดแดง ที่บาท่านเคยทำกินสมัยวัยหนุ่ม แบบที่โน้มเอารังมดลงหม้อเลยน่ะครับ
ใบส้มเสี้ยวอ่อนๆกำลังดี จะเตรียมเก็บไปให้ชิม 1 เข่ง อิอิ
คล้อยหลังจากท่านเรือง เอ๊ย ท่าน อ.ทวิช ชิ้มแกงปลาใบส้มเสี้ยวแล้ว ไอ้แห้วก็ขอต่อคิวชิมโตยเน่อคา อิอิอิ