อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทำด้วยฝาหม้อพิสูจน์ความผิดของวิทยาศาสตร์ในตำราที่เชื่อกันมานาน
เมื่อประมาณ 14 ปีมาแล้ว (ยังไม่มีวิกีปีเดีย) ขณะผมเดินไปโรงเรียน (ไปสอน) ตอนรุ่งเช้า ผมชอบดูใบไม้ ดูไปดูมาผมสังเกตว่าใบหญ้า และ ใบไม้ที่เตี้ยๆติดดินนั้น น้ำค้างใต้ใบมีมากกว่าบนใบ ผมเลยพิสูจน์ด้วยการทดลองง่ายๆของตนเอง คือ เอาฝาหม้อไปคลุมดินไว้ เห็นถนัดว่า ใต้ฝาหม้อมีหยดน้ำค้างมากกว่าบนฝาหม้อมาก ผมจึงสรุปเป็นทฤษฎีว่าน้ำค้างส่วนใหญ่มาจากใต้ดิน ไม่ได้มาจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ ตามที่เรียนกันมาในหนังสือวิทยาศาสตร์มัธยม …ขณะทดลองนี้หน้าหนาวนะครับ ไม่มีฝนตก
สงสัยว่ามันจะซึมขึ้นมาจากน้ำใต้ดินน่ะแหละ
ถ้าเป็นดังนั้น ผมคิดต่อไปว่า เวลาเราปลูกอะไรหน้าหนาวเราน่าจะคลุมดินไว้ด้วยอะไรสักอย่าง น่าจะเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่ซึมน้ำ เช่น พลาสติก แต่ควรมีรูหายใจด้วยสักเล็กน้อย เพื่อให้น้ำค้างมันควบแน่น แล้วไหลลงกลับสู่ดิน ก็จะช่วยลดการสูญเสียความชื้นของดินได้ ทำให้กล้าต้นอ่อนไม่ตาย และ อาจทำให้ไม่ต้องรดน้ำ หรือ รดน้อยลง
ที่ผมได้สังเกตอีกอย่างคือ ในหน้าแล้ง จะมีหญ้าขึ้นเป็นหย่อมๆ ผมก็ทดลองด้วยการเอาฝาหม้อไปครอบตรงหย่อมนั้น กับอีกใบไปครอบตรงไม่มีหญ้า ปรากฎว่า ตรงมีหญ้ามีหยดน้ำค้างเกาะใต้ฝามากกว่าตรงไม่มีหญ้านับสิบเท่า …นี่แสดงว่าตรงหย่อมหญ้านั้น เป็น “ตาน้ำ” ใต้ดิน ที่ประทุขึ้นมาพอดี อย่างนี้น่าขุดลงไปแล้วต่อท่อ กลั่นน้ำเอามากินมาดื่มก็น่าได้นะ หรือ เอามาทำระบบน้ำหยด เพื่อการเกษตรในบริเวณรอบๆ ก็อาจได้
« « Prev : ทำไมฝรั่งเจริญกว่าไทย (๒๖)
Next : โรคในอนาคตของคนไทย(ตัวใหญ่) » »
5 ความคิดเห็น
ห้องแล็ปไหนไม่มีฝาหม้อยกมือขึ้น
จ๊าบจริงๆเรื่องนี้ อิอิ
ในฐานะประชาชนเดินดินกินข้าวธรรมดาๆ ขอตั้งข้อสังเกตุการทดลองของ อ.ทวิชนะค่ะ -ทดลองตอนเช้า ในขณะที่เดินไปสอนหนังสือคือ ประมาณที่มุมเงิยพระอาทิตย์ขึ้นโด่แล้ว (ประมาณ ๑๕-๓๐ องศา)น้ำค้างระบนยอดหญ้าเหยไปเกือบหมดแล้ว โลกกำลังสะสมพลังงานจากดวงอาทิต์ที่ค่อยทวีเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มากพอที่จะทำให้ความชื้นในดินระเหยได้ จึงมีความชื้นในดิน เมื่อเอาอะไรมาคลอบไว้เท่ากับกักความชื้นไว้จึงเห็นหยดน้ำ เมื่อพระอาทิตย์ตั้งฉากกับหัวเป็นเวลาเที่ยง พอบ่ายพระอาทิตย์ก็จะค่อยต่ำลงไปทางตะวันตกประมาณบ่ายสองโมงโลกเริ่มส่งพลังงานความร้อนกลับออกไปบวกกับความร้อนจากพระอาทิตย์ที่อยังอยู่ช่วงนี้อากาศจะร้อนมากๆ จนกว่าพระอาทิตย์ตกดิน คงเหลือความร้อนที่โลกไดรับช่วงกลางวันและส่งออกไปกว่าจะหมดก็ประมาณก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นช่วงที่โลกเราเย็นที่สุดในรอบวัน
คนโบราณใช้วิธีนี้หาตาน้ำ เพื่อขุดบ่อน้ำ เขาจะใช้กะลา คว่ำบนผิวดินที่ไม่มีหญ้า หลายๆจุด ทิ้งไว้หนึ่งคืน เช้าขึ้นมาก็มาหงายกะลาเปิดดูความชื้นที่มีกะลาแต่ละใบ แล้วสามารถเลือกตำแหน่ที่จะขุดบ่อน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ แต่ชาวบ้านไม่ได้เรียนหนังสือค่ะ เขาเรียนรู้จาการสังเกตุธรรมชาติค่ะ และใช้ธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมกับวิถีชีวิตค่ะ
ช่วงที่ สสสส.๒ พาไปดูงานที่ภาคใต้ ๓ จังหวัด ได้ไปเยี่ยมและเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ในโครงการของค่ายจุฬาภรณ์
ที่นั่นก็สาธิตวิธีหาตาน้ำ คล้ายๆที่แม่ยกเล่าไว้ข้างบน แต่เขาใช้แก้วใสๆครอบแทน
ตรงไหนมีไอน้ำเยอะตรงนั้นเขาก็สอนว่าขุดบ่อน้ำตื้นๆได้เลย ขุดแล้วจะเจอตาน้ำ
โครงการที่นี่เขาเปิดให้ชาวบ้านใน ๓ จังหวัดเข้าไปเรียนรู้ได้
ฐานเรียนรู้ต่างๆที่จัดขึ้น จัดไว้สนับสนุนชาวบ้านที่สมัครเป็นชรบ. รักษาหมู่บ้าน
มีอะไรง่ายๆที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมหลายอย่างที่ ที่ค่ายนี้ทำให้ทึ่งในการไปรวบรวมมาถ่ายทอดให้ชาวบ้าน
ผมไม่ได้ทดลองตอนเช้านะครับ แต่ทดลองตอนเย็นถึงเช้า คือตอนกลางคืนนั่นเอง ตอนเช้าก็มากู้ดูน่ะครับ ที่ว่าคนโบราณไทยใช้กะลาครอบดินนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้นฉลาดมากๆ ฝรั่งยังไม่รู้จักวิธีนี้เลย แต่หันไปใช้ไม้ง่ามที่เรียกกันว่า divine rod หรือไง่เนี่ย(ซึ่งประยุคมาเป็น เครื่องหาวัตถุระเบิดราคาแพง ที่ทหารไทยไปซื้อมาใช้ จนเป็นที่ฮือฮาไม่นานมานี้)
สรุปคือผมสรุปว่าน้ำค้างที่เกาะใบไม้ ส่วนใหญ่มาจากน้ำใต้ดินนะครับ ซึ่งข้อสรุปนี้คนไทยโบราณเขาก็ยังไม่ได้สรุปนะครับ ผมยังโม้ว่าผมเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นว่าน้ำค้างใต้ใบมากกว่าด้านบนใบ อิอิ
สมันที่ผมทำงานที่ชายไทยขกัมพูชา ที่สุรินทร์ แถบ กาบเชิง สังขะ บัวเชด นัน้ชาวบ้านประสบภัยฤดูแล้งที่ขาดน้ำวิธีหาน้ำก็แบบลูกทุ่ง พ่อใหญ่พาเราเดินไปกลางทุ่ง แล้วชี้ไปกลางทุ่งแล้วถามว่า เห็นตเนไม้หล๊อมแหลมในทุ่งนั่นไหม มีต้นไหนบ้างที่ใบยังเขียวอยู่ พ่อใหญ่บอกว่านั่นแหละใต้ดินมีน้ำ
เมื่อขุดลงไปก็ได้จริงๆครับ ชาวบ้านเขาอยู่กับธรรมชาติมาชั่วชีวิตเขาสะสมภูมิปัญญาเหล่านี้ และถ่ายทอดสู่ลูกหลาย มารุ่นเรานี่แหละที่ไปเรียนในเมืองทิ้งความรู้ต่างๆอยู่ท้องทุ่งและจางหายไปตามอายุไขของพ่อเฒ่าแม่เฒ่าเหล่านั้น
น่าสนใจประเด็นทุกท่าน