๗๑.ศึกษาดูงานภาคเหนือ เชียงราย-หลวงน้ำทา-สิบสองปันนา(๔)

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 13:56 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 2052

คราวนี้มาถึงบทสรุปการศึกษาดูงานภาคเหนือ เชียงราย หลวงน้ำทา และสิบสองปันนา โดยในส่วนของเชียงรายและหลวงน้ำทา ได้สรุปไปบางส่วนแล้ว ผมยังประทับใจถ้อยคำของแม่ยิงลาวที่ใช้ในการพูดอธิบายให้เราฟังเรื่องราวของสหพันธ์แม่ยิงลาว ถ้าไม่เอามาเล่าสู่กันฟังก็จะน่าเสียดาย เพราะถ้อยคำไพเราะมาก ในโอกาสที่เราได้พบกันเขาบอกว่า
“ในโอกาสอันสง่าราศีนี้”
จะกล่าวขอโทษ ก็จะพูดว่า “ขออภัยโทษ เน๊าะ” น่ารักมาก
จากเชียงราย หลวงน้ำทา ก็เหลือแต่สิบสองปันนาที่ยังจะต้องมาว่ากันในคราวนี้ ถามว่าทำไมถึงเรียกว่าสิบสองปันนา
สิบสองปันนา มีความหมายว่า “นาสิบสองพัน” หรือ “นา 12,000 ผืน” อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีน: 景洪 จิ่งหง) เป็นเมืองของชาวไทลื้อ มีคนไตกับชาวฮั่นจำนวนพอๆกัน แต่ไตมากกว่านิดหน่อย รองลงมาก็คืออาข่า นอกนั้นมีจำนวนน้อย เช่น ลาหู่ ยี ปะหล่อง แม้วหรือม้ง เย้า ไป๋ ตามเอกสารที่ได้บันทึกเมื่อปี พ.ศ. 2113 จัดแบ่งไว้ ดังนี้
๑.เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
๒.เมืองแจ เมืองมาง(ฟากตะวันตก)เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
๓.เมืองลวง เป็น 1 พันนา
๔.เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
๕.เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
๖.เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
๗.เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
๘.เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
๙.เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
๑๐.เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
๑๑.เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
๑๒.เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
รวมเป็น ๑๒ พันนา หรือ ๑๒ ปันนา เมืองสิบสองปันนาในอดีตตกเป็นเมืองที่ถูกกระทำมากที่สุด ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปลาวบ้าง พม่าบ้าง ไทยบ้าง จีนบ้าง เดิมทราบว่าจีนเข้มงวดกับวัฒนธรรมประเพณีต้องใช้ภาษาจีนเท่านั้น ห้ามการปฏิบัติทางศาสนา ฯลฯ ต่อมาได้ผ่อนปรนให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อของตนได้ ชนเผ่าต่างๆจึงได้รื้อฟื้นวัฒนธรรมของตนกลับคืนมา
ผมมองการจัดการการท่องเที่ยวของสิบสองปันนาด้วยความเป็นห่วง เพราะที่โฮมสเตย์เราหนีความจริงไม่พ้นที่ว่าเจ้าของบ้านโฮมสเตย์ต่างมองเรื่องแขกเข้าพักที่บ้านเป็นผลประโยชน์ที่ตนจะต้องได้รับ ผมนั่งมองเจ้าของบ้านออกมาโวยว่าทำไมบ้านเขามีคนเพียงเท่านี้ แถมยังทราบจากเพื่อนๆว่าบางบ้านพอเข้าบ้านก็จะมีการขายของ เชียร์ให้แขกที่มาพักซื้อของตั้งแต่เข้าบ้านจนกระทั่งก่อนจะออกจากบ้านก็ยังเสนอขายของอยู่นั่น เขาเข้าใจคำว่าโฮมสเตย์จริงๆหรือเปล่า ก็ได้แต่ปลง เพราะแทนที่เราจะไปนอนโฮมสเตย์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของเขา กลายเป็นว่าเขาพยายามเอาใจเราโดยการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เรา มีคาราโอเกะให้ด้วย ซึ่งผมเห็นว่าไม่ใช่วิถีชีวิตของเขาที่เราจะไปศึกษา
เท่านั้นยังไม่พอ เราไปเห็นการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวทุกอย่างเป็นเงินเป็นทองไปหมด วัดทางพุทธศาสนา การจะเข้าไปเที่ยวชมก็ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตู วัดที่กำลังสร้างใหม่ก็เช่นกัน ดูๆไปเหมือนเป็นการสร้างวัดเพื่อการท่องเที่ยว มิใช่สร้างวัดเพื่อทะนุบำรุงพระศาสนาเหมือนบ้านเรา ดูๆไป ทุนนิยมกำลังครอบงำสิบสองปันนาอย่างน่ากลัว วิถีชีวิตของคนพื้นถิ่นที่อยู่กินแบบพอเพียง กำลังถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว สงสัยว่าคนไตลื้อปรับตัวทันหรือเปล่า ผมเป็นห่วงญาติพี่น้องครับ…
จีนกำลังพัฒนาสิบสองปันนาให้เป็นประตูเศรษฐกิจ เพราะมีอาณาเขตติดต่อกับพม่าและลาว และกำลังจะทำสะพานเชื่อมระหว่างไทยลาวอีกจุดหนึ่ง เมื่อสำเร็จแล้วก็จะเป็นเส้นทางขนส่งทางบกยาวจากจีนถึงไทยได้เลย เสียดายที่เราไม่มีโอกาสได้เยี่ยมชมเขตนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองจิ่งหง ทราบว่ามีคนไทยเป็นผู้บริหารนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ เมืองจิ่งหงหรือเชียงรุ้งหรือเจงฮุ่ง นี้ จีนให้เป็นเขตปลอดอากรเพื่อจูงใจให้มีการลงทุนในจีน และเน้นทางด้านการขนส่งเป็นหลัก
การลงทุนในด้านอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ คือจีนกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน แปรรูปยางพารา อย่าลืมว่าผมได้เล่าให้ฟังว่าผมเห็นการปลูกยางพาราบนภูเขาทุกลูก จากชายแดนลาวมาถึงสิบสองปันนาตลอดเส้นทาง ลองคิดดูก็แล้วกันว่าเมื่อยางพาราได้ผลแล้วจีนจะมีผลผลิตเท่าใด จำเป็นหรือไม่ที่จะซื้อยางพาราจากไทย…..นอกจากนี้ยังมีหลักๆก็เป็นเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์,อุตสาหกรรมอาหาร
เส้นทางขนส่งปัจจุบันใช้ทางเรือ เพื่อลดต้นทุน ที่เราเห็นตอนมาขึ้นบกที่ท่าเชียงแสนก็คือผักและผลไม้ ระหว่างทางเราเห็นเรือที่แล่นสวนทางไปบรรทุกวัวควายไปทางจีน ระหว่างทางมีวิวสวยๆให้ชม เชื่อว่ามีการระเบิดเกาะแก่งบางตอนเพื่อให้เรือเดินได้สะดวก นี่ถ้าเป็นเขตบ้านเราก็คงถูกติฉินนินทาว่าทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เห็นใครต่อต้านจีนกันจริงจัง ทราบมาว่าจีนทำเขื่อนเสร็จไปแล้วประมาณ ๑๐ เขื่อน ก็ไม่เห็นมีใครกล้าโวยกับพี่ใหญ่อย่างจีน ต่อไปถ้าพี่ใหญ่ไม่ปล่อยน้ำลงมาโดยอ้างว่าประเทศเขาก็มีน้ำไม่พอใช้ แล้วน้องไทยน้องลาวจะใช้น้ำจากที่ไหน เหลือแต่น้ำใจก็ตายเหมือนกันนะพี่…..

ขอบคุณข้อมูล
ไกด์จากบริษัท พีดีทัวร์
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2384 18 ธ.ค. - 20 ธ.ค. 2551

« « Prev : ๗๐.ศึกษาดูงานภาคเหนือ เชียงราย-หลวงน้ำทา-สิบสองปันนา(๓)

Next : ๗๒.ปัญหาความมั่นคงของประเทศ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

12 ความคิดเห็น

  • #1 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 14:01

    http://lanpanya.com/journal/archives/2119

    สวัสดีปีใหม่ครับ DVD เฮฯ หก รวมไปกับ DVD ที่จะแจก สสสส. 1 นะครับ

  • #2 ออต ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 15:15

    อยากไปเที่ยวสิบสองพันนาจังครับ

  • #3 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 15:18

    สวัสดีครับท่าน รอกอด
    ขอบคุณมากๆเลยครับ

  • #4 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 15:19

    สวัสดีครับน้องออต
    สิบสองปันนาน่าเที่ยวมากครับ หากมีเวลาเที่ยวแบบเจาะลึกศึกษาวัฒนธรรมประเพณี แถมยังใช้ภาษาไทยมั่วๆได้บ้างพอคุยกันรู้เรื่องครับ

  • #5 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 21:04

    ภาษาลาวเค้าน่ารักจริงๆค่ะ

    ห้องคลอดเรียกห้องประสูติ
    รถชนเรียกรถตำกัน
    และถุงก๊อบแก๊บเรียกว่าถุงยาง ห้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

  • #6 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 21:39

    ผ้าเย็นเขาเรียก “ผ้าอนามัย” ครับน้องเบิร์ด 55555

  • #7 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 มกราคม 2009 เวลา 21:57

    ผมไปลาวมาก็แอบขำกลิ้งไปหลายครั้งครับ..
    ทั้งน่ารักและไม่คิดว่า เออ เขาจะเรียกอย่างนั้น  น่าจะเป็นคำเก่าของไทยเรา เพราะเราไปเอาเขามาแล้วเปลี่ยน เช่นภาษาเขมรเราก็ไปเอาเขามา  เมื่อเวลาล่วงเลยไปและเราไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับลาว  เมื่อไปเยี่ยมลาว ก็ขำอย่างที่กล่าวครับ

    ผมอ่านเรื่องราวสิบสิงปันนาที่อัยการเล่าให้ฟังแล้ว เสียดายจริงๆ   ที่พบภาพเช่นนั้น  บ้านเรายังไม่มีใครพูดให้เห็นภาพเช่นนี้เลย  และใจก็คิดอยากจะมาเที่ยวสิบสองปันนา เหมือนกัน  เพราะคาดหวังว่าจะพบสภาพเดิมๆของชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะคนข้างกายอ่านนิยายในสกุลไทยเยอะ มีเรื่องราวเกี่ยวกับบเมืองต่างๆที่อัยการกล่าว ก็ฝันว่าอยากจะมาเที่ยวสักครั้ง

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็คิดมากอยู่ครับ
    ขอบคุณครับที่ให้ภาพชัดเจนเลย

  • #8 อัยการชาวเกาะ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 มกราคม 2009 เวลา 0:42

    สวัสดีครับพี่บู้ธ
    ทุกสถานที่มีทั้งมุมดีและไม่ดี ไม่ได้หมายความว่าโฮมสเตย์ทุกหลังจะเป็นอย่างนั้นไปหมด บ้านที่มีน้ำใจเอาใจใส่ดูแลแขกโดยไม่คิดเอาเปรียบแต่คิดให้บริการก็มีครับ แต่ในภาพจุดๆหนึ่งที่ได้เห็นเป็นอย่างนั้น แตกต่างกันที่ตลาดสดที่ผมกับพ่อครูบาและเพื่อนๆไปเดินกันมา ที่ยังคงสภาพของความเป็นชนบท ขายของกันโดยความมืดต้องใช้ตะเกียงแบตเตอรี่สวมที่ศีรษะขายของกัน ราคาต่อรองกันได้ด้วยความยิ้มแย้ม ไม่เห็นการทะเลาะโต้เถียงกัน ผมยังอยากไปเที่ยวอีกครับ และเมื่อมีความเจริญพุ่งเข้าใส่ ก็คงไม่ใช่ความผิดของเขาเสียทีเดียวที่จะเห็นเงินเป็นพระเจ้า เพราะคนของพระเจ้าต้องใช้เงินครับ อิอิ
    อย่าคิดมากเลยครับพี่ หากตั้งใจไปสัมผัสความเป็นสิบสองปันนา ยังพอได้อยู่ครับ ที่เขียนบันทึกเพราะเป็นห่วงว่าพอทุนนิยมเข้าไปอีกสักหน่อยความงามของวัฒนธรรมจะจางหายไปเร็วเท่านั้น เพราะสิ่งที่เห็นมันทำให้เราคิดครับ

  • #9 ศึกษาต่อต่างประเทศ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 มกราคม 2009 เวลา 0:21

    ขอบคุณครับ

  • #10 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 กุมภาพันธ 2009 เวลา 9:46

    การต่อต้านประท้วงจีน ที่ทำการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขง  คือ คนไทยในกลุ่มรักษ์น้ำโขง นำโดย ท่าน นิวัฒน์ ร้อยแก้ว 

  • #11 PhyllisHon ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 กุมภาพันธ 2017 เวลา 11:44

    wh0cd416670 info

  • #12 Iron salvage and reclamation ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 มีนาคม 2024 เวลา 18:03

    Scrap metal reprocessing center Ferrous material pricing Scrap iron reclaiming operations

    Ferrous material shearing technology, Iron scrap processing equipment, Metal scrap market trends


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.11238408088684 sec
Sidebar: 0.061890840530396 sec