เรื่องราวบางตอนของหลุมยุบ

โดย สาวตา เมื่อ 28 กันยายน 2011 เวลา 7:31 (เช้า) ในหมวดหมู่ การจัดการ, ชีวิต สุขภาพ, สิ่งแวดล้อม, อุทกภัย, แผ่นดินไหว #
อ่าน: 2472

ประสบการณ์หลุมยุบในประเทศไทยหลังสึนามิ :  ระหว่าง ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ - ๒๓ มกราคม ๒๕๔๙

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิสูจน์สาเหตุเขาทำอะไรบ้าง :

เกิดเหตุหลุมยุบใน ๘ จังหวัด ซึ่งมี ๗ จังหวัดอยู่ในภาคใต้ ( กระบี่ พังงา ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล)  ๑ จังหวัดอยู่ในภาคเหนือ(เลย)

กรมทรัพยากรธรณีออกประกาศ แจ้งพื้นที่เสี่ยงหลุมยุบพร้อมแผนที่ และประกาศขอความร่วมมือให้ประชาชนแจ้งข่าวรอยแตกในชั้นหิน เป็นเอกสาร๔ ฉบับ

๑ มกราคม ๒๕๔๘  : แจ้งผ่านข่าวแจ้งเตือนผ่านทางอินเทอร์เน็ต สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 และสถานีวิทยุในเครือของกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุในส่วนภูมิภาค จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง กระบี่ พังงา และสตูล

๑๒ มกราคม ๒๕๔๘ : ออกประกาศเตือนภัยล่วงหน้าเขตพื้นที่เสี่ยงภัยหลุมยุบ เพิ่มเติม พื้นที่ ๔๙ จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมแผนที่และรายชื่อ จัดทำหนังสือ คู่มือแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบ และ บัญชีรายชื่อจังหวัดที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบ จำนวน ๕๐๐    เล่มให้กับจังหวัดและอำเภอที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบ

จัดส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลุมยุบทุกครั้งที่ได้รับการแจ้ง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและประชาชนในเบื้องต้น

จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๐๒ ๓๙๒๖ และ ๐ ๒๒๐๒ ๓๗๔๕ เพื่อติดตามสถานการณ์ และสนับสนุนให้ความช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดหลุมยุบสูง พร้อมสำเนาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงวิธีการดำเนินการที่ถูกต้องในการกลบหลุมยุบ พร้อมทั้งแนะนำข้อปฏิบัติในกรณีที่เกิดเหตุการณ์หลุมยุบเพิ่มเติม

ขอความร่วมมือจากจังหวัดพิจารณาระงับการขุดเจาะน้ำบาดาล เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการยุบตัวของหลุมยุบเพิ่มเติม

สำรวจโพรงใต้ดินโดยใช้การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบเพิ่มเติม หรืออยู่ใกล้เขตชุมชนทุกแห่ง ถ้าผลการตรวจสอบพบว่า มีโพรงขนาดใหญ่มากที่อาจเกิดการถล่มเป็นวงกว้างได้ ก็เสนอให้ทางจังหวัดพิจารณาระงับการใช้อาคารอย่างถาวร เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น บริเวณโรงเรียนบ้านกาแนะ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งพบโพรงถ้ำขนาดใหญ่ที่ใกล้ทรุดตัวอยู่ใต้พื้นที่อาคารเรียน

สถานการณ์หลุมยุบเป็นอย่างไรในช่วงเวลาเดียวกันในภาพรวม :

มีเหตุการณ์หลุมยุบทั้งหมด ๒๒ หลุม กรมทรัพยากรธรณีสรุปไว้ว่าสาเหตุสำคัญ เกิดจากแรงดันน้ำและอากาศภายในโพรงหรือถ้ำใต้ดินเปลี่ยนแปลง จากการสั่นไหวของเปลือกโลกและอิทธิพลของคลื่นยักษ์ ทำให้โพรงหรือถ้ำใต้ดินในพื้นที่ที่เพดานถ้ำไม่แข็งแรง และมีชั้นดินปิดทับ ไม่หนานัก เสียสมดุลและเกิดการยุบตัว

ไม่มีผู้คนเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ มีแต่สิ่งก่อสร้างเสียหาย เช่น โรงงานน้ำมันพืช โรงเรียน ร้าวเสี่ยงที่จะพังลง

เกิดเหตุในพื้นที่สวนยาง โรงงาน โรงเรียน  ถ้ำ

เหตุการณ์เกิดซ้ำติดต่อกันในช่วงเวลา ๕ - ๑๖ วัน

มีช่วงเว้นระยะห่างระหว่างเหตุการณ์แต่ละครั้งประมาณ ๘ วันในพื้นที่เกิดเหตุที่เดียวกัน

สถานการณ์ในแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร ในช่วงเวลาเดียวกัน :

๔ จังหวัดมีหลุมยุบเกิดขึ้นในเวลาตรงกัน : กระบี่ ตรัง สุราษฎร์ธานี พังงา ( ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ) ( มีเกิดที่อื่นด้วยรวมเป็น ๑๙ จุด)

๓ จังหวัดเกิดเหตุการณ์ในระหว่างสัปดาห์แรกติดต่อกัน (มีเว้นช่วง) นับจากเกิดเหตุครั้งแรก : กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช

๔ จังหวัดเกิดเหตุเพียงครั้งเดียว : พังงา สุราษฎร์ธานี พัทลุง เลย

อำเภอที่เกิดเหตุของแต่ละจังหวัด :

สุราษฎร์ธานี - กาญจนดิษฐ์ ๑ หลุม

กระบี่ - โรงงานกระบี่น้ำมันพืช อ่าวลึก ๒ หลุม

พังงา - ทับปุด ๑ หลุม

ตรัง -   เมือง ห้วยยอด  ๔ หลุม

นครศรีธรรมราช - ทุ่งใหญ่ ชะอวด ลานสะกา ๔ หลุม

พัทลุง - ศรีนครินทร์ ๑ หลุม

สตูล -  ละงู มะนัง ควนโคน และ โรงเรียนกาแนะอำเภอเมือง ๘ หลุม

เลย - เมือง ๑ หลุม

หลุมยุบในพื้นที่โรงงานน้ำมันพืช พื้นที่อำเภออ่าวลึก จ.กระบี่

« « Prev : อะไรบ้างที่ส่งผลต่อการได้รับฟอสฟอรัสของร่างกาย

Next : เรียนรู้จากหลุมยุบที่สุราษฎร์ธานี » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "เรื่องราวบางตอนของหลุมยุบ"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.013559103012085 sec
Sidebar: 0.058663845062256 sec