รู้จัก “นีม” มั๊ย
ในช่วงที่ได้ไปศึกษาดูงานที่อินเดีย ในวันสุดท้ายที่ทุกคนเตรียมตัวกลับบ้าน ผู้คนในคณะแต่ละคนต่างสั่งซื้อยาแพ็คเป็นห่อกลับบ้าน ยาที่สั่งซื้อกันจะเรียกว่ายาก็ได้ จะเรียกว่าสมุนไพรก็ได้ ด้วยอย่างไรมันก็เป็นยา
รายการหนึ่งในทั้งหมดที่พี่แดงใส่มาในใบสั่ง มีชื่อยาว่าอะไรจำไม่ได้ รู้แต่ว่าภายในเม็ดยาที่ผลิตมาให้ เขาบรรจุใบสะเดามาเต็มอัตรา
ในระหว่างท่องไปในถิ่นอินเดีย จะกี่เมืองกี่เมืองก็พบไม้นี้เกลื่อน ยิ่งบนเส้นทางระหว่างเมืองท่องเที่ยว ก็ได้เห็นมันขึ้นอยู่ตามริมทาง หรือไม่ก็เป็นไม้ประดับ
เมื่อตามค้นตามหาเพื่อรู้จัก ก็พบว่าเป็นต้นไม้คนละพันธุ์กับสะเดาบ้านเรา ตำราเขาบอกว่าเจ้าต้นนี้เป็นยาที่นำไปสะกัดเป็นควินินได้
ยาควินีนเดี๋ยวนี้คนไม่รู้จักยกเว้นคนที่พำนักในพื้นถิ่นที่มีมาเลเรีย สมัยก่อนควินินเป็นยาฆ่ามาเลเรียที่มีฤทธิ์มาก เดี๋ยวนี้ใช้ยานี้น้อยลงนัก
มิใช่ยาไม่ได้ผลแต่เป็นเพราะฤทธิ์ข้างเคียงที่อาจหลีกไม่พ้น ถ้าใช้เกินที่ขนาดร่างกายคนนั้นจะรับได้หรือใช้นานอย่างไม่เฝ้าและระวังฤทธิ์ด้านลบ หูบอดได้ หูที่บอดจะเสียงดับเป็นนิรันดร์
คนที่ให้จึงระวังไม่ใช้พร่ำเพรื่อ เลือกมาใช้เฉพาะกรณีที่คนไข้กินยาไม่ได้ ให้เพื่อหวังผลฆ่าเชื้อให้เร็วที่สุดเท่านั้น ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันเป็นรูปยาน้ำที่ใช้ผสมน้ำเกลือใส่เข้าร่างกายทางเส้นเลือด ยาเม็ดก็มีแต่ขมขนาดหนัก คนกินกลืนไม่ใคร่ลง
คนที่ใช้ยาตัวนี้เชี่ยวชาญอยู่ตามพื้นที่ซึ่งเป็นถิ่นที่มีมาเลเรียอยู่เป็นเจ้าถิ่น คนรุกป่าป่าหมดใช่ว่าเชื้อจะไม่มี สวนต้นไม้ที่ปลูกในถิ่นแดนเดิมยังเลี้ยงยุงได้
ถ้าจะว่าไปแล้ว “สะเดา” เป็นต้นไม้มหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้าง สะเดาไทยมีฤทธิ์ทางยาอย่างไรบ้าง ไม่เคยรู้ว่ามีคนวิจัยเพื่อรู้จักฤทธิ์มันจริงจัง เป็นอาหารคู่น้ำปลาหวานอร่อยลิ้น เป็นผลิตภัณฑ์ไล่แมลงที่เกษตรกรใช้ พืชพันธุ์ไทยชื่อนี้มีฤทธิ์ต่อคนอย่างไรบ้างจนวันนี้ไม่รู้ชัดเหมือนอินเดีย มันเป็นยังไง
คนอินเดียถือว่าไม้พันธุ์นี้เป็นต้นไม้มหัศจรรย์ เป็นสุดยอดสมุนไพรบำรุงผิวพรรณชั้นหนึ่งทีเดียว เขารู้จักใช้ประโยชน์มากว่าพันปีแล้ว ทุกส่วนของต้นมีคุณสมบัติทางยาบางประการแทบทั้งสิ้น เขาใช้ในวิชา “อายุรเวช” อินเดียมากว่าสี่พันปีแล้ว ใช้เป็นยารักษาโรค ยาฆ่าแมลง และเครื่องสำอางค์ ชื่อเรียกขานในอินเดียออกเสียงว่า ““นีม (Neem)”
ไม้ยืนต้นชนิดนี้ของอินเดียมีใบเขียวทั้งปี แต่ละต้นสูงได้มากถึง ๑๐๐ ฟุตก็มี ดอกจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิของเขา ดอกสีขาวมีขนาดเล็ก หน้าตาใบเป็นยังไงดูได้จากในภาพ
ที่จริงไม้พันธุ์นี้มีทั่วไปในเอเชียใต้ และพบได้มากในอินเดีย ศรีลังกา และพม่า ที่ไหนมีบริเวณศูนย์กลางของหมู่บ้าน พื้นที่ในอินเดียตรงนั้นก็จะมีต้นไม้นี้ปลูกไว้
บนผืนดินที่แห้งแล้ง หินเต็มไปหมดหรือเป็นดินเหนียว เจ้าต้นนี้เตบโตได้ แสดงว่าเป็นต้นไม้ที่ระบบรากแข็งแรงและลึก มันดีตรงที่เป็นพืชใช้น้ำน้อย ชอบแสงแดด เป็นประเภทไม้โตเร็วหรือช้าไม่มีบอกกล่าวไว้ รู้แต่ว่าในช่วงปีแรกๆมันโตช้า
ขยาย่พันธุ์ได้ด้วยเมล็ดหรือกิ่งตอน ระวังต้นอ่อนถ้าอากาศหนาวเย็นเพราะมันไม่อาจทนหนาวได้
ชาวอินเดียใช้กิ่งอ่อนของมันแทนแปรงสีฟัน ใช้ประโยชน์ผลมันผลิตก๊าซมีเธน เปลือกต้นมีแทนนินก็ใช้ในการย้อมสี ใช้ต้นทำเฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่ทางใต้ เส้นใยที่เปลือกใช้ฟั่นเป็นเชือก และใช้ปลูกเป็นพืชฟื้นฟูดิน
โรคที่สกัดยาจากนีมมาใช้รักษามีสารพัด ขอยกที่มีคนให้ข้อมูลเผยแพร่ไว้มาบอกต่อละกัน ได้ผลมาจากการเรียนรู้ในห้องทดลอง จึงเป็นไปได้ที่หากคนนำไปใช้จริง ผลจะไม่เป็นไปตามที่พบในห้องทดลอง จึงขอให้ใคร่ครวญหลายมุมพร้อมกันไป ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ประโยชน์ของมันอย่างที่เชื่อ
• โรคเอดส์ (AIDS ) มีรายงานจาก The National Institutes of Health ว่ายาที่ใช้ป้องกันและอาจรักษาโรคเอดส์ได้นั้นสกัดจากต้นนีม
• โรคภูมิแพ้ (Allergies) นีมช่วยยับยั้งการเกิดภูมิแพ้ เมื่อใช้รับประทานหรือเป็นยาภายนอก
• คุมกำเนิดในผู้ชาย (Birth control -men) ในอินเดียและสหรัฐอเมริกา ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากนีมช่วยลดการเจริญพันธุ์ของลิงตัวผู้โดยไม่ลดสมรรถภาพทางเพศหรือการผลิตสเปิร์ม ซึ่งได้ทำเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายเป็นครั้งแรก
• คุมกำเนิดในผู้หญิง (Birth control – women) ใช้เป็นสารหล่อลื่นในช่องคลอด น้ำมันนีมให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์
• โรคมะเร็ง/ภูมิแพ้ (Cancer/immune) สาร Polysaccharides และ limonoids ที่พบในเปลือก ใบ และเม็ลน้ำมันของต้นนีมช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน และลดเนื้องอกและมะเร็งโดยไม่มีผลข้างเคียง
• โรคเบาหวาน (Diabetes) ปริมาณยาที่รับประทานที่สกัดจากใบของต้นนีมจะช่วยลดความต้องการอินซูลินระหว่าง ๓๐%-๕๐%
• พยาธิภายนอก (External parasites) นีมยังช่วยทำลายพยาธิภายนอกอย่างรวดเร็ว ยาที่สกลัดจากนีมยังปลอดภัยกว่า และมีประสิทธิภาพเท่าๆกับยามาตรฐานทั่วไปที่รักษาหิดและเหา
• โรคหัวใจ (Heart disease) นีมช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด บรรเทาการเต้นของหัวใจที่ไม่ปกติ และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูง
• โรคเริม (Herpes) การทดลองเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศเยอรมันแสดงให้เห็นว่า สารสกัดจากนีมช่วยทำลายไวรัสโรคเริมและรักษาแผลที่เกิดจากไวรัสเริมได้อย่าง รวดเร็ว
• ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) ผลการทดสอบในสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่านีมช่วยยับยั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของไวรัสตับอักเสบชนิด B ได้
• พิษจากเชื้อรา (Fungal toxin) นีมมีผลต่อต้านเชื้อราทีุ่คุกคามมนุษย์ รวมทั้งเชื้ัอราที่เป็นสาเหตุของเชื้อราที่เท้า กลาก และโรคผิวหนังจากเชื้อรา Candida
• ยาไล่แมลง (Insect repellent) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่านีมมีฤทธิ์ในการไล่แมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าสารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้กันทั่วไปที่เรียกว่า DEET ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ถ้าใช้ในระยะเวลายาวนาน
• ยาฆ่าแมลง (Insecticide) สารที่สกัดจากนีมได้พิสูจน์จากหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา แล้วว่า สามารถใช้ประโยชน์ได้กับธัญพืชอาหารต่างๆ เพราะไม่ีเป็นพิษต่อนก สัตว์ แมลงที่มีประโยชน์ หรือมนุษย์ ช่วยป้องกันธัญพืชจากแมลงที่มารบกวนกว่า 200 ชนิด
• โรคไข้มาลาเรีย (Malaria) ส่วนผสมสำคัญในใบนีมที่เรียกว่า irodin A ช่วยต้านทานมาลาเรีย
• โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) สารที่สกัดใบนีมและน้ำมันจากเมล็ดนีมช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินได้ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการคันและปวด ขณะเดียวกันก็ช่วยลดผื่นแดงนูนให้น้อยลง
• โรคเหงือกอักเสบ (Periodontal disease) นักวิจัยจากประเทศเยอรมันได้พิสูจน์แล้วว่าสารที่สกัดจากนีมช่วยป้องกันฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้
• สบู่/แชมพู (Soap/Shampoo) สบู่น้ำมันนีมสามารถใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้
• บรรเทาแผลอักเสบ (Ulcer relief) สารสกัดจากนีมให้การป้องกัน ความอึดอัดและรักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะ
« « Prev : ดูเอาไว้ดูแลลูกหลานและตัวเองค่ะ
Next : ทำอะไรไปจึงคุมเบาหวานไม่อยู่กันบ้างนะ » »
4 ความคิดเห็น
อือ คุณค่าล้นเหลือจริงๆ
เรารู้มานานว่า Neem Tree หรือสะเดานั้นมีคุณค่าทางสมุนไพรไทยมากมาย แต่หลายอย่างก็ไม่ทราบ สะเดาจึง้ป็นหนึ่งในพืชที่้เราส่งเสริมปลูก ไม่ว่า ฟื้นฟูป่า หรือปลุกตามหัวไร่ปลายนา หรือป่าครอบครัว หรือปลูกหลังบ้าน ขึ้นง่าย โรคแมลงไม่ค่อยมี กินก็อร่อย ยังคุยกันว่าน่าที่จะคิดอ่านทำยอดสะเดาอบแห้ง เพื่อเป็น preserve อยากกินเมื่อไหร่ก็เอาไปแช่น้ำร้อน ก็จะได้สะเดาสดคืนมา คิดแต่ไม่ได้ทำ อิอิ
น้องเดาว่าสะเดามีสารตัวเดียวกับมะระขี้นกค่ะ สะเดาบ้านเราเป็นพันธุ์เฉพาะ แต่ไหงไม่มีใครคิดจะลองวิจัยเชิงการค้าดู สงสัยจริงๆ
มะละหมอเจ๊ปลูก ผลแรกที่สุกชิมแล้วนะครับ
เป็นพันธุ์ลูกกลมเนื้อนิ่มรสหวาน เหมาะกับการเอาทำผลไม้ปั่น
มะละกอปั้น ใส่น้ำแข็ง บีบมะนาวหน่อย ซดหน้าร้อนอร่อยดี
พ่อครูค่ะ แสดงว่ามะละกอพันธุ์นี้น่าจะเหมาะสำหรับใช้ผลสุกทำซอสด้วยนะคะ ไม่รู้ว่าได้เนื้อสักเท่าไรต่อผล ใช้ทำซอสได้ก็ไม่เปลืองน้ำตาลเท่าใช้มะละกอดิบนะคะ