มาชวนบริจาคฉี่ตรวจค่ะ

โดย สาวตา เมื่อ 24 มกราคม 2009 เวลา 13:25 (เย็น) ในหมวดหมู่ ชีวิต สุขภาพ, เบาหวาน #
อ่าน: 2110

ที่จะมาชวนในวันนี้ เป็นเรื่องของการตรวจฉี่กรณีพิเศษ ซึ่งจะไม่ถูกนำมาใช้ในระบบบริการทั่วๆไปด้านการแพทย์ ทราบมาว่าเหตุผลนั้นเพราะต้นทุนค่าตรวจมันแพง เท่าที่ฟังๆดูแล้วไม่ได้ติดที่ประโยชน์ของมัน หากแต่ติดที่ความคุ้มทุนที่จะนำเข้ามาเป็นการตรวจตามปกติ

เมื่อชวนก็ควรที่จะให้ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจประโยชน์ของมันก่อนค่ะ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมอง เพื่อจะได้มีส่วนร่วมต่อไปซะก็แล้วกัน

ก่อนอื่นขอเล่าก่อนว่า ความหมายของการควบคุมป้องกันโรคนะมันหมายถึง การดำเนินการใดๆก็ตามที่กระทำต่อกระบวนการเกิดโรคในแต่ระยะตั้งแต่ก่อนเกิดโรคไปจนกระทั่งโรคเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งในช่วงของระยะที่ต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเกิดโรคไปจนเกิดโรคแล้วนั้น มีหลายๆอย่างที่ก่อเกิดต่อมาเป็นบริการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ยื้อยุดไม่ให้โรคก่อปัญหากับคนจนพิการหรือเสียชีวิต

การดำเนินการที่เล่าให้ฟังนั้น มันแบ่งออกเป็น 2 ระยะกว้างๆด้วยกัน ระยะแรกนั้นเป็นช่วงของการยังไม่เป็นโรค ซึ่งระยะนี้หมายรวมไปถึงโอกาสเกิดโรคจากต่ำไปสูงรวมไว้ด้วย  ส่วนระยะหลังนั้นเป็นช่วงตั้งแต่เกิดโรคขึ้นแล้ว ซึ่งคนมักจะรู้เมื่อโรคมันปรากฎกายออกมาให้รับรู้ หรือคุณหมอค้นเจอแล้วบอก หรือบังเอิญเจอก็ได้ทั้งนั้น

การตรวจโดยทั่วไปที่ร.พ.ใช้แต่เดิมนั้น เป็นการตรวจเพื่อค้นหาหลักฐานที่จะระบุว่าคนๆนั้นเป็นโรคอะไรบ้าง เพื่อดำเนินการดูแลให้ต่อไป คนจึงกลัวหมอกัน ไม่ยอมไปตรวจ ด้วยติดประโยคในหัวไว้กับคำว่า “ไปตรวจโรค” กันไง

การตรวจอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการตรวจกันมาจนนมยานเป็นถุงกาแฟ (หมายถึงตรวจกันมานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นยาย) และเดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ คือ การตรวจประจำปี ที่เรียกกันว่า “ตรวจสุขภาพประจำปี”  ด้วยติดกับคำว่า “ตรวจโรค” คนจึงไม่ไปตรวจกันซักเท่าไร ด้วยกลัวทำใจไม่ได้ว่าตรวจแล้วเจอโรค ทำให้ไม่สบายใจ ปล่อยชีวิตตัวเองไปตามยถากรรมดีกว่า ถ้าเป้นก็ให้มันโผล่ออกมาให้รู้ แล้วค่อยว่ากันต่อไป ฤทธิ์ของความกลัวนี้น่ากลัวแท้ ทำให้คนเพลี่ยงพล้ำหมดโอกาสถอยเรื่องการห่างโรคไปได้

อันที่จริงการตรวจสุขภาพประจำปี มีเป้าหมายอยู่ที่ตรวจเพื่อค้นหาว่ามีปมอะไรที่เจ้าของได้ผูกเอาไว้เอง และปมเหล่านั้นมันถูกผูกไว้มากแค่ไหน มันอยู่ไกลหรือใกล้มากแค่ไหนที่จะช่วยทำให้สุขภาพของคนๆนั้นใจง่ายกลายสมัครเป็นสมุนของโรคทั้งหลาย หรือมันทำความสนิทสนมไว้ในเรื่องอะไร เป็นความสนิทสนมที่ยังไม่สายรึเปล่าที่จะถอนตัวออกห่างเพื่อไม่ให้ตกเป็นสมุนของโรค  การตรวจมันจะช่วยบอกว่าปมที่ควรผ่อนคลายออกไปนั้นจะเลือกผ่อนปมใดบ้าง ตัวเจ้าของนั้นจะได้ตัดสินใจ

สำหรับคนที่สุขภาพยอมเป็นสมุนของโรคแล้ว ไปพบคุณหมอ คุณหมอก็มักจะจับตรวจเลือดและฉี่ สิ่งนี้คุณหมอเขาทำไปเพื่อนำมาใช้ประเมินระดับความสนิทสนมว่ายังจะช่วยกระตุ้นให้ออกห่างได้ไหม วิธีที่คุณหมอใช้เพื่อช่วยกระตุ้นให้ออกห่างก็มักจะใช้วิธีมอบยาให้กินผนวกกับคำแนะนำ ซึ่งทำๆกันเป็นประจำอยู่แล้ว ในการกระตุ้นนั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่สะกิดให้ถอยความสนิทสนมออกมาห่างเพื่อไม่ให้เกิดความพิการและเสียชีวิต มันเป็นจุดประสงค์ที่แตกต่างจากการสะกิดให้ถอยความสนิทสนมเพื่อให้ไม่เป็นพวกเดียวกับโรคอย่างสิ้นเชิง

วิธีการที่มักจะทำกันอยู่ในการตรวจเลือดและฉี่จึงใช้ค่าที่มองไปที่มุมของการประเมินว่าโรคนั้นทำให้เกิดความพิการหรือทำร้ายคนไปลึกมากแล้วแค่ไหนแล้ว โดยเลือกการตรวจที่มีค่าใช้จ่ายที่คุ้มกับการลงทุนตามหลักของเศรษฐศาสตร์นะเอง 

ทีนี้เมื่อโลกเจริญขึ้นจนสู่ความสามารถมองเห็นในระดับนาโน ก็มีคนค้นพบใหม่ว่า การตรวจหลายอย่างที่ทำกันมาอยู่นานช้า แม้ผลมันจะบอกว่าปกติ มันก็ยังให้เวลาคุณหมอและเจ้าตัวสั้นไป สำหรับที่พอจะมีโอกาสชิ่งตัวให้ห่างความพิการที่ไม่อยากจะไปถึง  ด้วยวิธีใหม่นี้บางวิธีใช้ค่าลงทุนสูง เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักดีมานต์และซัพพลาย วิธีใหม่นี้จึงไม่เข้ามาแทนที่การตรวจเดิมๆที่มีอยู่ทั่วไป ใครที่เปิดตรวจยังรับภาระหนัก วิธีนี้จึงไม่มีใครเอามาใช้

การตรวจฉี่ที่มาชวนตรวจกันนี้ ก็เป็นเรื่องวิธีใหม่ที่กล่าวให้ฟังนี้แหละ เป็นการตรวจเพื่อประเมินว่า เจ้าของฉี่นั้นอยู่ห่างโรคไตวายที่เกิดจากการผูกปมไว้ในตัวของตนระยะแค่ไหน มีระยะพอที่จะผ่อนปมให้ระยะห่างของโรคไตวายมันไกลออกได้บ้างไหมค่ะ

เขาใช้การตรวจดูเกลือแร่ที่เรียกว่า แมกนีเซียมที่ไตมันกรองออกไปเปรียเทียบสัดส่วนกับของเสียอื่นๆที่ไตกรองออก หากว่าค่าของสัดส่วนนี้มันต่ำ เจ้าของไตคนนั้นไม่เสี่ยงกับโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายหรือไตวายค่ะ คนที่ค้นพบเขายังบอกว่า วิธีนี้บอกความเสื่อมของไตจากเบาหวานได้ไวกว่าการตรวจไมโครอัลบูมินค่ะ

การรู้ว่าเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ทำให้มีโอกาสมาใส่ใจมากขึ้นว่าเรื่องอะไรที่กำลังให้การรักษาตนมีเรื่องที่ต้องเข้มข้นกับตัวเอง เรื่องอะไรบ้างของเรื่องทั้งหมดที่ต้องให้การรักษาที่สามารถผ่อนปรนตัวเองได้ เพื่อที่จะห่างจากการมีไตวายก่อนวัยค่ะ

เหตุผลที่มันเป็นการตรวจที่ยังไม่ใคร่มีใครทำ จึงสามารถนำผลไปรายงานเป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาเล็กๆได้ ฉันจึงมาชวนว่า ใครที่สนใจจะสละฉี่ให้มาเป็นตัวอย่างในการตรวจเพื่อนำมายืนยันและแปลผลแบบงานวิจัย เพื่อนำผลมันมาพิจารณาใช้ต่อว่าคุ้มทุนแค่ไหนหากจะขยายผลใช้ต่อในระบบสาธารณสุขไทย ขอเชิญสมัครได้เลยนะค่ะ  แล้วถ้าจะกรุณาสละเลือดให้สัก 5 มิลลิลิตร เพื่อนำไปตรวจเพื่อใช้เทียบค่า ก็เป็นการดียิ่งๆขึ้นค่ะ งานนี้รับหมดไม่ว่าจะมีโรคหรือไม่มีโรคประจำตัวค่ะ 

อ้อ ลืมบอกกับทุกคนไปว่า ข้อมูลที่นำมาบอกกันนี้ มาจากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางคลินิกที่ร.พ.จุฬาลงกรณ์เขาทำไว้ค่ะ

« « Prev : เบาหวานกับการดูแลช่องปาก

Next : รู้ไว้ใช่ว่ากับออกซิเจนทางการแพทย์ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 nning ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 มกราคม 2009 เวลา 21:35 (เย็น)

    พี่ตาขา  หนูหนิงจะชวนคุณสามีไปบริจาคตรวจฉี่ด้วยค่ะ 

  • #2 ning.dss ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 มกราคม 2009 เวลา 10:56 (เช้า)

    พี่ตาขา
    หนิงกลิ้งและคุณแม่ ด้วยค่ะ
    เพราะ โรคไตวาย  นี่ ตายไวนะคะ
    ห่างไว้ดีที่ซู๊ดดดดดดดดดดดด

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 มกราคม 2009 เวลา 11:31 (เช้า)

    หนิงนักการบอกไปโตย ดีใจจังนะจ๊ะน้องจ๋า
    คุณสามีมาด้วยกันยิ่งวิเศษมากๆเลยค่ะ
    เต็มใจต้อนรับมาเลยอย่าได้รีรอ

  • #4 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 มกราคม 2009 เวลา 11:37 (เช้า)

    หนิงกลิ้งนี่พี่ตั้งจากชื่อลานของน้องค่ะ มิได้มีความหมายไปถึงเรื่องของหุ่นนะน้อง…อิอิ
    คุณแม่ของน้องดูจากหุ่น น่ามีโรคประจำตัวหนา บอกมาซักหน่อยว่าท่านมีโรคประจำตัวอะไร  พี่จะได้เตรียมความพร้อมให้โปรแกรมที่จัดให้ชาวเฮนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้นค่ะ
     


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.34711098670959 sec
Sidebar: 0.20967507362366 sec