วัคซีน

โดย สาวตา เมื่อ 22 กุมภาพันธ 2009 เวลา 22:29 (เย็น) ในหมวดหมู่ ชีวิต สุขภาพ, วัคซีน, เบาหวาน #
อ่าน: 3272

วันก่อนพี่เหลียงถามไว้ว่า “ผมมีข้อข้องใจเรื่องนึง คือ ถ้าเราฉีดแต่วัคซีน  ฉีดกันทุกเรื่อง มันไม่มีผลต่อร่างกายหรือครับ”   แล้วฉันตอบว่า “ไม่เป็นไร ฉีดเหอะพี่ มีประโยชน์” รู้สึกว่าจะเป็นการรวบรัดเกินไป จึงขอยกมาขยายความกันซะหน่อย เพื่อให้รู้จักวัคซีนเพิ่มขึ้นหน่อยค่ะ

ระยะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดหาวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาให้ กลุ่มเป้าหมายที่กำลังสำรวจกันนั้น คือ คนที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ หรือ มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่ไม่มีข้อห้ามการให้วัคซีน หรือ ผู้สูงอายุค่ะ

โรคที่จัดว่ามีภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่ไม่ห้ามฉีดวัคซีนก็จะมีทั้งเบาหวาน มะเร็ง โรคเลือดจางเรื้อรังอะไรนี่แหละค่ะ ส่วนโรคทางเดินหายใจน่ะ โรคที่เป็นเป้าหมายสำคัญ คือ หอบหืด ไอเรื้อรังเป็นปีๆ ภูมิแพ้ที่ทำให้เป็นหวัดบ่อยๆ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับเด็กๆ สามารถให้ได้ จะได้ผลก็ต่อเมื่อให้ครบ 2 เข็มนะค่ะ วัคซีนที่กระทรวงฯหามาให้ มักจะให้เด็กไม่ทัน เพราะว่าอายุยามันหมดซะก่อนจะให้เข็มที่สองทันตามกติกาของการให้ค่ะ จึงไม่ขอกล่าวเรื่องของอายุที่เด็กจะให้ได้ไว้ในที่นี้

สำหรับผู้ใหญ่ สามารถให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ทุกอายุ วัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากการนำเชื้อไปทำให้อ่อนฤทธิ์ลง เชื้อยังไม่ตายนะค่ะ แค่อ่อนแอลงไม่สามารถทำให้เกิดป่วยแม้เชื้อจะยังมีชีวิตอยู่  การฉีดก็ให้ฉีดทุกปี ปีละเข็มเท่านั้น ที่ต้องฉีดทุกปีก็เพื่อให้ร่างกายผู้คนผลิตภูมิต้านทานออกมาต้านได้เร็ว

ทำไมกระทรวงฯต้องหาวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาให้ฉีด มันเกี่ยวเนื่องกับไข้หวัดนกค่ะ ความจริงไข้หวัดนกนะเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในคน โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคน่ะ มันแลกเปลี่ยนโครงสร้างกันระหว่างเชื้อในคนกับเชื้อในนกแล้วทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ที่ดุมากๆ คือ เป็นแล้วตายลูกเดียว จะให้วัคซีนไปป้องกันไว้ก่อนก็ยากเชียว เพราะว่าเชื้อมันแรง ผลิตแล้วใครจะกล้าไปลองฉีดคงไม่มี วัคซีนนะกว่าจะเอามาฉีดแพร่หลายได้ ต้องลองแล้วลองอีกว่าผลร้ายที่จะเกิดขึ้นนะเป็นร้ายที่ยอมรับได้ว่างั้นเหอะ แล้วผลดีก็มีซะมากกว่าจึงจะผลิตออกมาใช้กันแพร่หลาย กว่าจะได้วัคซีนมาก็เหมือนวัคซีนป้องกันเอดส์ยังไงยังงั้นแหละค่ะ

ให้วัคซีนแล้วไม่มีผลต่อร่างกายหรือ ความจริงวิธีการให้วัคซีนนะ เขาเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาตินะค่ะ จากความรู้ที่รู้ว่าคนป่วยจากโรคเพราะเชื้อโรคไง ทำให้เกิดความรู้นี้ขึ้น คนที่สะกิดใจว่าน่าจะใช้ความรู้นี้มาสร้างประโยชน์ช่วยคนก็เรียนรู้มาจากการสังเกตธรรมชาตินี่แหละค่ะ ว่าไหงในระหว่างที่คนอื่นป่วยกันแทบตาย ยังมีคนที่แข็งแรงอยู่กว่าคนอื่นนะ ทำให้มีการค้นหาว่าความต่างคืออะไร  แล้วก็ไปเจอว่า คนที่แข็งแรงไม่เป็นอะไรนะคือคนที่เคยเป็นโรคมาแล้วหรือเคยอยู่ใกล้ๆคนเป็นโรคแล้วมีอาการน้อยๆเมื่อเจอโรคอีกจึงไม่เป็นไร

ส่วนเรื่องยาตีกัน ซึ่งเป็นความกลัววัคซีนอีกด้านของผู้คนนั้น เมื่อมีการนำวัคซีนมาใช้แพร่หลายมากขึ้นหลายตัว ก็มีการรวบรวมความรู้และสังเกตเรื่องนี้เหมือนกัน มีการทำวิจัยเพื่อให้รู้ด้วยค่ะ โดยขอเลือดจากอาสาสมัครที่เคยได้วัคซีนมาแล้วมาศึกษาหาข้อมูล  ก็ไม่ได้ความรู้เรื่องทั้งหมดหรอกนะค่ะ แต่ได้ความรู้ว่า การฉีดวัคซีนก็มีข้อพึงระวังในผู้คนที่มีภูมิต้านทานไม่ดี และมีการตีกันของวัคซีนอย่างที่กลัวๆด้วยได้เหมือนกันแต่น้อย จึงมีข้อกำนหดให้มีระบบรายงานเพื่อเฝ้าระวังการแพ้วัคซีนที่เป็นสากลใช้กันทั่วโลกขึ้นมา

การตีกันของวัคซีนที่เจอ ไม่ไช่เรื่องทำให้ผู้คนแย่เรื่องยาตีกันแล้วแพ้ยาค่ะ แต่เป็นเรื่องของผลที่คาดหวังในด้านภูมิต้านทานมากกว่าที่ไม่ได้ประสิทธิผลอย่างที่คาดไว้  ซึ่งเรื่องนี้แปลความยากเหมือนกัน เพราะว่าเรื่องของประสิทธิผลของยามันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก เช่น อุณหภูมิของวัคซีนขณะเก็บ ขณะฉีด วิธีฉีด ตำแหน่งที่ฉีด ฯลฯ สารพันรายละเอียดเลยแหละ และเท่าที่ค้นหาความรู้กันมาหากมีอะไรที่วัคซีนจะให้ผลร้ายกับผู้คน วัคซีนนั้นๆก็จะถูกสั่งงดใช้ไป ใครขืนแหลมเอาออกมาใช้ ผิดกฎหมายละเมิดแน่นอนค่ะ และคนที่เคยแพ้วัคซีนนะ มักจะแพ้ส่วนผสมอื่นไม่ได้แพ้ตัวเชื้อที่ผสมอยู่ค่ะ ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าไม่ใช่จากตัวเชื้อ ตอบว่ารู้จากอาการที่มารักษาค่ะว่าเป็นอาการของโรคที่เชื้อทำให้เกิดรึเปล่าค่ะ

วิธีให้วัคซีนที่มีนัดๆๆๆ เป็นระยะๆ รวมทั้งแบ่งตำแหน่งการฉีดอะไรทำนองนี้ เป็นความรู้มาจากการศึกษาในคนรุ่นแรกๆที่กล้าหาญเข้ามารับวัคซีนว่า หากฉีดได้อย่างที่กำหนด ประสิทธิผลของวัคซีนจะดีที่สุด เหมาะที่สุดกับการป้องกันโรค ซึ่งมีมุมมองหลายเรื่อง เช่น ป้องกันได้ตามฤดูกาลที่ธรรมชาติของโรคจะระบาดหรือเกิดขึ้น ภูมิต้านทานที่ก่อเกิดไวพอที่จะออกมาสู้เชื้อโรคเมื่อหลีกเชื้อโรคไม่พ้น หลักๆกใช้สองประการนี้พิจารณากำหนดเกณฑ์ฉีด

ส่วนตำแหน่งฉีดพิจารณาจากส่วนผสมของวัคซีนมากกว่ามุมอื่นๆ วิธีฉีดพิจารณาจากส่วนผสมของเชื้อในวัคซีนค่ะ ส่วนผสมของเชื้อในวัคซีนนอกจากมีเชื้อที่อ่อนแออยู่ในส่วนผสมนะ บางชนิดไม่มีตัวเชื้อแต่มีโปรตีนของเชื้ออยู่ก็มี ซึ่งสองประเภทนี้มีข้อกำหนดด้านวิชาหมอกำหนดให้ฉีดด้วยความลึกที่ต่างกันค่ะ

วันก่อนแนะนำอ้ายเปลี่ยนเรื่องฉีดวัคซีนไว้ วันนี้ขอยกมาบอกหน่อยเพื่อทำความรู้จักเพิ่มค่ะ วัคซีนที่มีเชื้ออ่อนแอเป็นส่วนผสมก็มี วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ค่ะ ส่วนที่มีโปรตีนของเชื้อผสมอยู่ ไม่มีตัวเชื้อ ก็มีวัคซีนป้องกันบาดทะยักค่ะ

วัคซีนป้องกันวัณโรค  เริ่มฉีดแต่ผู้คนเกิดมาวันแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันเด็กอ่อนติดวัณโรคจากผู้ใหญ่แล้วทำให้เด็กพิการทางสมองหรือตายได้ การได้รับการฉีดแต่อายุน้อย ทำให้ร่างกายตอบโต้เชื้อโรคที่ได้พบปะเมื่อเป็นผู้ใหญ่ได้เร็วขึ้นในระดับที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน แต่ไม่ได้หมายความว่า ได้วัคซีนชนิดแล้วจะประกันได้ว่าไม่ติดโรคอีก ยังติดได้อยู่ค่ะ หากว่าผู้ใหญ่คนนั้นร่างกายอ่อนแอ

วัคซีนตับอักเสบบี  เด็กๆรุ่นแรกๆที่เดี๋ยวนี้กลายเป้นผู้ใหญ่อายุเกิน 30 ปีแล้ว น้อยคนที่จะเคยได้ฉีดนะค่ะ แต่เด็กแรกเกิดเดี๋ยวนี้ได้รับการฉีดแต่แรกเกิดแล้วค่ะ ตามมาด้วยอีก 3 เข็มตามกำหนดการที่นัดไปฉีด ถ้าไปตามหมอนัดตลอดก็คงไม่ขาดไปเลยสักเข็ม คนที่เดี่ยวนี้เป็นผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 30 ลงมา มีสิทธิฉีดไม่ครบ 3 เข็ม เพราะว่าละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการไปฉีดตามนัด หรือในบางจังหวัดหมอไม่ทำโปรแกรมไว้ให้ฉีด ซึ่งเป็นเรื่องในอดีตที่เกิดจุดอ่อนเพราะความรู้ของผู้คน ซึ่งไม่ควรว่ากันแล้วเพราะว่ามันผ่านมาแล้ว ฉีดไม่ครบ 3 เข็มจะเป็นไรไหม ขอตอบว่าไม่เป็นไร เพียงแต่ภูมิต้านทานโรคขึ้นไม่ดีแค่นั้นค่ะ หากรู้ว่าฉีดไม่ครบ ไปตรวจดูภูมิต้านทานได้ค่ะ ถ้าไม่ขึ้น ฉีดใหม่ได้

เพราะว่าวัคซีนนี้ฉีดได้ทุกอายุ 3 เข็มเท่ากัน เพียงแต่ขนาดยาในผู้ใหญ่นะใช้สองเท่าของเด็ก

ที่แนะนำให้ฉีดและเอามาให้ฉีดกับเด็กทุกคนก็เป็นเรื่องป้องกันไม่ให้เยาวชนของชาติเป็นมะเร็งตับไว้ให้ทางหนึ่งแหละค่ะที่เป็นเหตุผลสำคัญ

วัคซีนอีสุกอีใส เด็กฉีดเข็มเดียว ผู้ใหญ่ฉีดสองเข็ม เดี่ยวนี้วัคซีนนี้ยังไม่ถูกใช้เป็นวัคซีนหลักที่รัฐใช้งบประมาณดูแลผู้คน เพราะว่าเทียบเคียงกับสุขภาพในภาพรวมแล้ว มีโรคอื่นที่สำคัญกว่าในเรื่องของอันตราย

วัคซีนป้องกันบาดทะยัก  ฉีดในแม่ตั้งครรภ์เพื่อป้องกันลูกที่เกิดมาไม่ให้เป็นบาดทะยักตั้งกะวันที่เกิดมา เพราะว่าในอดีตเด็กไทยตายจากการตัดสายสะดือแล้วติดเชื้อตัวนี้เยอะมาก โดยเฉพาะตามป่าตามเขา ตามชนบทและตามเขตเมืองที่ขาดความรู้ก็ยังมีอยู่  ณุ้ว่าเด็กเป็นนำมาให้หมอรักษา ไม่ตายก็คางเหลืองค่ะ คางเหลืองทั้งเด็ก ญาติ และหมอเลยค่ะ ก็เลยต้องป้องกันให้ เดี๋ยวนี้โรคนี้หาทำยายากเอ๊ย หามาให้เรียนยากแล้ว หมดหมอรุ่นฉีนแล้วอ่ะ หมอรุ่นหลังๆน่าจะรักษาไม่เป็นซะแล้วค่ะ

เจ้าวัคซีนบาดทะยักนี่ นอกจากฉีดในแม่ตั้งครรภ์แล้ว ในอายุทั่วๆไปก็ฉีดด้วยเวลาเกิดแผล เนื้อฉีกขาด หรือโดนสัตว์กัด ฉีดกัน 3 เข็มถ้าเคยฉีดเข็มสุดท้ายตอนเด็กๆแล้วนานเกิน 10 ปีหรือแผลสกปรก รุ่งริ่งมากๆ  เข็มสุดท้ายนะเด็กรุ่นต่ำกว่า 30 นะเขาฉีดกันตอนป.6 ส่วนคนที่อายุ 30 ยังแจ๋วขึ้นไปนะค้นประวัติกันเอาเอง ใครที่ไม่อยากถ

« « Prev : รู้ไว้ใช่ว่ากับออกซิเจนทางการแพทย์

Next : ชวนมาอ่านกันหน่อย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "วัคซีน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.04142689704895 sec
Sidebar: 0.24705910682678 sec