ที่ดินมูลค่า ๗,๐๐๐ ล้าน ชนะได้ไง..(๒)
คดีนี้มันอีตอนที่พยานฝ่ายโจทก์ก็มีการอ้างนายทหารจากกรมแผนที่ทหารมาทำลายน้ำหนักฝ่ายเราเหมือนกัน เขามาเบิกความพยายามจะดิสเครดิตพยานฝ่ายผม เขาเริ่มต้นจากการที่ศึกษาเรื่องการอ่านแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ มีผลการเรียนมาแสดงด้วยนะ คะแนนเต็มร้อยเขาทำได้ถึง ๙๘ แน่ะ…โอโฮ..ไม่เลวแฮะ จากนั้นก็อธิบายว่าเขาอ่านผลการแปลและตีความว่ามีร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนปี ๒๕๑๐ แถมมีการควักแว่นขยายมาดูภาพแล้วบอกด้วยว่านี่แหละตำแหน่งนี้แหละเป็นสี่เหลี่ยมเป็นบ้านคน และการอ่านแปลเนี่ยต้องไปดูสถานที่จริงด้วย ผมก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ ถามถึงการใช้แว่นขยายอ่านภาพว่ามองออกว่าเป็นอะไร ถามวนไปเรื่องโน้นเรื่องนี้แล้วมาถามว่าการอ่านภาพถ่ายทางอากาศนั้นในการวิเคราะห์อ่านแปลและตีความนั้น ต้องใช้กล้องสามมิติดูเท่านั้น และพยานไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญของศาลในด้านนี้
พอผมสืบพยานฝ่ายผมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลที่มาจากกรมที่ดินซึ่งทั้งกรมมีเพียง ๒ คนเท่านั้น และกระบวนการคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลต้องผ่านการตรวจสอบเข้มข้น น้องคนนี้ก็ผ่านมาได้ ผมก็เลยถามขั้นตอนของการเรียน ปรากฏว่าน้องเขาเกียรตินิยม ฮ่าๆ แถมไม่ใช่เรียนแค่ปริญญาตรีนะ ปริญญาโททางด้านภูมิศาสตร์อีกด้วย(ทนายโจทก์นั่งยิ้มสะบัดหัว พี่เราเอาอีกแล้ว อิอิ ทนายโจทก์ที่ว่าความรู้จักกันและรู้ฝีมือกัน) และกว่าจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาล เขาผ่านการตรวจสอบอย่างไร แล้วก็มาถามถึงการอ่านแปลและตีความที่พิพาท
น้องเขาอธิบายว่าความจริงอัยการให้เขาอ่านเพียงปี ๒๕๑๐(เพราะอัยการก็ไม่รู้ว่ามีการตรวจสอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ อิอิ) แต่เพื่อความชัดเจนถูกต้องแม่นยำเขาก็เลยอ่านปี ๒๕๑๘-๑๙ และปี ๒๕๓๘ มาให้ด้วยเพื่อยืนยันว่าตำแหน่งที่ดินไม่ผิดพลาด ผมสั่งเตรียมอุปกรณ์ฉายภาพขึ้นจอ ทดลองทำที่สำนักงานก่อนแล้วมันใช้ได้ ก็เลยขออนุญาตศาลขอให้พยานอธิบายโดยใช้แสดงภาพที่ได้จากการอ่านแปลและตรวจวิเคราะห์โดยผ่านโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาตำแหน่งที่ถูกต้องของที่ดิน น้องเขาแสดงให้ศาลเห็นการเปลี่ยนแปลงของที่พิพาทไม่ว่าจะดูจากซ้ายมาขวา จากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน จากปี๒๕๑๐ ไปปี ๒๕๑๘ ไปปี ๒๕๓๘ และทวนกลับไปกลับมาให้ศาลเห็นตำแหน่งของที่พิพาทที่ปรากฏอยู่ในจอนั้นไม่ผิดพลาดแน่นอน ผมถามย้ำเรื่องระวางแผนที่ที่ฝ่ายโจทก์ได้ขอออกโฉนดเอาไว้และได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ที่ดินทำระวางออกมาเรียบร้อย ขึ้นรูปในโฉนดเรียบร้อย รอเพียงผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามในโฉนดก็จบขั้นตอนแล้ว แต่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ยอมลงนามเพราะไม่เชื่อว่ามีการครอบครองทำประโยชน์มาก่อนปี ๒๔๙๗ ถามเรื่องการเอาแว่นขยายมาส่องดูภาพถ่ายทางอากาศที่ขยายแล้วว่าถูกต้องตามวิธีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศหรือไม่ น้องเขายืนยันว่าไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องนั้นต้องใช้ภาพที่อัดจากฟิล์มต้นฉบับสองภาพและใช้เครื่องมองภาพสามมิติแบบกระจกและแบบกระเป๋า (Mirror Stereocope และ Pocket Stereocope))อ่านเท่านั้น
ทนายจำเลยถามคำถามที่พยานเราตอบทำให้เราตกใจก็คือ ถามว่าการอ่านแปลและตีความที่พิพาท พยานไม่ได้มาดูที่พิพาทใช่ไหม พยานตอบว่าใช่ งานเข้าละสิ เพราะหลักในการแปลและตีความนอกจากดูภาพถ่ายทางอากาศและอ่านโดยกล้องสามมิติแล้ว ต้องลงมาดูพื้นที่จริง ผมก็ต้องถามติงประคับประคองไป ได้ความว่าน้องเขาไม่ลงมาดูเพราะน้องเขามาอยู่ที่ภูเก็ตตั้งแต่ยังเล็กและอยู่ในอำเภอที่เกิดเหตุ และไปเที่ยวแถวนั้นมาก่อนเพราะฉะนั้นจึงรู้พื้นที่ดี เฮ้อ..โล่งอก รอดตัวไป..อิอิ
ตัวโจทก์ในคดีนี้มีสองท่านที่รู้จักกับผม รู้จักกันมานานแล้วด้วย ตอนผมใกล้จะขึ้นตำแหน่งอัยการจังหวัดก็มาป้วนเปี้ยนแถวสำนักงานบ่อยๆ เอาขนมจีนมาเลี้ยงน้องๆเจ้าหน้าที่ของผมมั่ง ตอนแรกผมไม่รู้ว่าเขามีคดีอยู่ เขาก็ไม่ปริปาก แถมยังแสดงน้ำใจว่า “หากมีแขกไปใครมาเชิญที่บ้านผมนะครับ ผมมีบ้านพักตากอากาศอยู่ที่ชายทะเล” แต่ผมก็ไม่ได้ใช้บริการจนกระทั่งวันหนึ่งมีคณะละครกระจกเงาจะมาแสดงที่ภูเก็ต เราเคยรู้จักกันมาก่อนตอนผมไปอบรมสัมมนาเรื่องสิทธิสตรีและเด็ก เขาขอให้ผมประสานงานเรื่องที่พักก็เลยติดต่อให้ไป ผมก็นึกแปลกใจว่ามาเสนอให้เราใช้บ้านพักแต่ทำไมต้องทำหนังสือขอยืมบ้านด้วย แต่ผมก็เขียนให้ว่าผมขอยืมบ้านพักให้นักแสดงแต่ไม่เซ็นชื่อโดยเขียนชื่อแทน นึกในใจว่า เออ…เขียนก็เขียนเพราะหากคนที่เข้าพักทำความเสียหายกับบ้านเขาก็คงต้องมีคนรับผิดชอบ ซึ่งเราพาคนไปพักสมควรที่จะต้องรับผิดชอบ ผมมารู้ความจริงในภายหลังว่าบ้านหลังนี้สร้างในที่หาดทรายที่พิพาทคดีนี้ ผมก็ไม่ใช้บริการอีกเลย
ตอนสืบพยานฝ่ายโจทก์ก็มีการอ้างว่าที่ดินนี้เขาอยู่มานานมีบ้านพักใครๆก็รู้ว่าเป็นของเขา แม้แต่ข้าราชการแต่ละฝ่ายก็ยังเคยขอความอนุเคราะห์บ้านพักเขาเลยแถมอ้างเอกสารที่ผมเขียนด้วย งานเข้าแล้วครับพี่น้อง ฮ่าๆ ผมไม่ถามเรื่องนี้เพราะไม่ใช่ประเด็นของคดี แต่ถามเรื่องต้นมะพร้าวที่ผมไปดูในที่ดินและผิดสังเกต คือมะพร้าวแคระเกร็นก็มี มะพร้าวที่ลำต้นคอดก็มี แต่มะพร้าวส่วนใหญ่ตาย ผมก็ถามค้านว่าในที่ดินพยานมีการปลูกมะพร้าวมานาน มะพร้าวในสวนคอคอดไหม โจทก์คนนี้ก็ตอบว่าก็มีบ้าง ความจริงผมรู้มาก่อนแล้วว่าก่อนจะขอออกโฉนด โจทก์คนนี้แกเอาขุดเอามะพร้าวโตแล้วไปปลูก
พอถึงตอนผมสืบพยานจำเลย ผมถามพยานผมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดินว่าเคยปลูกมะพร้าวไหม เขาบอกว่าเคยปลูกแต่เอาต้นโตไปปลูกที่สำนักงานที่ดิน ผมถามว่าต้นมะพร้าวมันมีลำต้นปกติไหม พยานตอบว่าจะว่าปกติก็ปกติแต่มันก็มีลำต้นคอด เพราะเวลาไปขุดต้นมะพร้าวมาทั้งต้น รากมันจะถูกตัดขาด มะพร้าวก็จะหยุดการเจริญเติบโตไปช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นพอรากมันงอก มันก็จะเจริญเติบโตต่อ ลำต้นมะพร้าวจะเห็นว่ามีรอยคอด แกนั่งฟังคิ้วขมวด..คงนึกในใจว่าพลาดท่าเสียแล้ว..อิอิ ลองไปสังเกตดูต้นมะพร้าวนะครับ รีสอร์ทแถวไหนถ้ามะพร้าวคอคอดแบบที่ผมว่าสันนิษฐานไว้ก่อนว่าขุดเอาต้นใหญ่แล้วไปปลูก มันจะไม่เหมือนกับปลูกตั้งแต่มะพร้าวยังเล็กเพราะการเจริญเติบโตมันจะต่อเนื่องครับ (ยังจบไม่ลงครับ แฮ๋…)
« « Prev : มูลค่าที่ดิน ๗,๐๐๐ ล้าน ชนะได้ไง….
Next : ชนะได้ไง คดีที่ดินมูลค่า ๗,๐๐๐ ล้าน(๓) » »
7 ความคิดเห็น
รออ่านใจระริกๆๆ
ผมก็เขียนจนมือระริกๆ เหมือนกัน แฮ่…
อิอิ ให้มันรู้บ้างไผเป็นไผ สุดยอดค่ะ แหม คิดได้ไงเนี่ย…รอออ อ่านต่อ
น้องราณี..ว่าแต่ว่าจะให้จบเมื่อไหร่ล่ะ อิอิ
เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือหลังคายังมีขี้นก 555555555555 งานนี้มีเรื่องการวิเคราะห์ตีความภาพถ่ายทางอากาศ เป็นงานที่ถนัดเสียด้วย ชักสนุก เหนือฟ้ายังมีฟ้า แต่มาขำมากตอนที่เล่นหลักฐานจากต้นมะพร้าว นึกว่าตัวเองเป็นหลังคา ปัดโถ่เอ้ยนกมันตัวเล็กกว่า ซึ่งปกติมันบินของมันเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ก็ขี้ได้อย่างธรรมชาติ เลยฮาจุดนี้มากว่า ธรรมชาติก็คือธรรมชาติคนที่อยู่กับธรรมชาติย่อมเข้าใจธรรมชาติ อย่างธรรมดาๆ…อิอิอิ ทีมฝ่ายอัยการของเรา ดีจริงๆๆๆๆ
ฮ่าๆ อาม่า ชักมันกับผมด้วยแล้ว ตอนต่อไปเขียนโพสต์แล้วครับอาม่า ตอนโน้นก็คงจบแล้วครับ อิอิ
Your’s is the inigllteent approach to this issue.