Sep 03
  • ส่ำสัตว์กระจัดกระจายเกลื่อน
  • บิดเบือนกระทบกระแทกโถม
  • หันซ้ายหันขวาตามแรงโน้ม
  • เร่งโหมโรมรันฟันแทงยิง
  • เกลียดเค้านักรักพวกข้าทั้งนั้น
  • ดึงดันฉันถูกดั่งผีสิง
  • พูดย้ำซ้ำซากฟังจนชิน
  • ช่วงชิงทิ้งหนีรุกเข้าไป
  • กฎหมายกฎหมู่กดกูหรือ
  • กูชื่อกลุ่มนี้มีไรไหม
  • ไม่ออก ! ไม่ออก ! จะทำไม ?
  • ออกไป ! ออกไป ! มึงออกไป !
  • ติดคุก ! ติตคุก ! ต้องติดคุก !
  • นึกสนุกกันหรือฤาไฉน
  • บ้านนี้เมืองนี้เป็นอะไร
  • ทำไม ? ทำไม ? เป็นอย่างนี้ !
Sep 02

ทางออก ทางออก ทางออก

  • เห็นมั้ย ? ทางออก
  • เห็น
  • เห็น
  • ข้าก็เห็น

ออกไปซิ ออกไปซิ ออกไปซิ !

  • ไม่ออกโว้ย !
  • ไม่ออกโว้ย !
  • ข้าก็ไม่ออกโว้ย !

ทางออก ทางออก ทางออก

  • ทางนี้ ก็เป็นทางออก
  • ทางโน้น ก็เป็นทางออก
  • ทางนั้น ก็เป็นทางออก
  • เห็นมั้ย ? เห็นมั้ย ?
  • นั่นเป็นทางออก
  • ออกไปซิ
  • ออกไปซิ
  • ออกไปซิ
  • …ไม่ออก !
  • …ไม่ออก !
  • …ไม่ออกโว้ยยย !

ไม่ออกหรือ ?

  • อืมมมมม….
  • ก็อยากจะออก…
  • แต่…
  • ไม่ออกโว้ย !
  • ไม่ออกไว้ยย !
  • ไม่ออกโว้ยยยย !
Sep 01
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดเดินขบวน
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดประท้วง
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดต่อต้าน
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดลำเอียง
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดโกงกิน
  • หยุดหนอ หยุดหนอ หยุดหนอ
  • ภาวนาว่า หยุดหนอ หยุดหนอ
  • หยุดหนอ หยุดหนอ จงภาวนา
  • บอกว่า หยุดหนอ หยุดหนอ
  • หยุด หยุด หยุด
  • แม้ยังไม่หยุด ก็จงภาวนาว่า
  • หยุดหนอ หยุดหนอ
  • หยุดหนอ หยุดหนอ
  • หยุดหนอ หนอ
  • หนอ หนอ
  • หนอ
Aug 06
  • ไป เถิดไปที่โน้น                ที่ไหน
  • ไม่ ไม่ได้ดั่งใจ                  แห่งข้า
  • กลับ มาอย่าเลยไป            จงอยู่ ที่นี้
  • หลับ หน่อยแต่อย่าช้า         เร่งสร้าง ความเพียร
  • ไม่ เลิกแม้พลาดพลั้ง           แห่งข้า
  • ตื่น ตื่นจงตื่นมา                 เร่งเร้า
  • ฟื้น เถิดอย่ามัวช้า              รีบเร่ง ดำเนิน
  • ไม่ นิ่งเฉยเร็วเข้า               เร่งสร้าง ความดี
  • ี ความดีมั่นไว้                  จำเริญ
  • หนี ความชั่วอย่าเพลิน         จักช้ำ
  • ไม่ หยุดอยู่นานเกิน            เพราะมั่ว มัวเมา
  • พ้น ไม่พ้นตอกย้ำ              แน่แท้ บารมี
Aug 04
  • แม้ใฝ่ธรรมะ
  • จงเขียนธรรมะ
  • เพื่อตรึกธรรมะ
  • ไม่ห่างธรรมะ
  • ไม่ตรึกธรรมะ
  • ไม่เขียนธรรมะ
  • แม้ใฝ่ธรรม
  • ค่อยไกลธรรมะ
  • ไม่ใฝ่ธรรมะ
  • แต่ตรึกธรรมะ
  • เพื่อเขียนธรรมะ
  • ค่อยใกล้ธรรมะ
  • จงตรึกธรรมะ
  • จงเขียนธรรมะ
  • เพื่อใฝ่ธรรมะ
  • หนึ่งเดียวธรรมะ
Jul 25

คุยเล่นๆ กับคุณโยม..(คลิกที่นี้) ว่าน่าจะใช้ชื่อว่า Logos เมื่อคุณโยมนำไปใช้ ก็ควรจะเขียนถึงนิดหน่อย ตามที่พอจะผ่านมาบ้าง (ผู้สนใจศัพท์นี้ คลิกที่นี้)

ตั้งแต่แรกเจอศัพท์นี้ ก็สงสัยเรื่อยมา เพราะนำไปใช้หลากหลาย และในส่วนที่แปลมาเป็นภาษาไทยก็ยากที่จะเทียบเคียงได้ เช่น จิต ความรู้ คำศัพท์… บังเอิญตอนเรียนปรัชญาตะวันตกกับอาจารย์ฮันท์ (ชาวเบลเยียม) ท่านเอาบทความสั้นๆ เกี่ยวกับศัพท์นี้มาให้แปล แม้จะไม่ค่อยรู้เรื่องนัก แต่ก็พอมั่วไปได้บ้าง…

ตามที่พอจำได้ ปรัชญาเทววิทยาบอกว่า God สร้างสรรพสิ่งด้วย Logos … ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า Logos ต่างจาก God อย่างไร ? ซึ่งตามบทความบอกว่าในอดีตนั้น บางคราว Logos มีความสำคัญยิ่งกว่า God … จนกระทั้งมีผู้เปรียบเทียบว่า God นั้น เปรียบดังดวงอาทิตย์ ส่วน Logos นั้น คล้ายๆ กับแสงของดวงอาทิตย์…

ดวงอาทิตย์นั้นมีความร้อนแรงอย่างมาก เพียงแต่แสงเท่านั้น ก็ทำให้โลกสามารถเป็นไปได้ฉันใด… God ก็ฉันนั้น มีพลังอำนาจสูงสุด การสร้างโลกหรือสรรพสิ่งก็คล้ายๆ การสะท้อนออกมาของแสงจากดวงอาทิตย์เท่านั้น นั่นคือ God มีพลังยิ่งกว่า Logos …

อนึ่ง เมื่อถือเอาตามนี้ ก็อาจแปล Logos ได้ทำนองว่า..

  • Logos แปลว่า คำพูด หรือ คำศัพท์…… นั่นคือ God สร้างสรรพสิ่งด้วยคำพูด
  • Logos แปลว่า จิด เจตจำนง หรือ ความคิด….. นั่นคือ God สร้างสรรพสิ่งด้วยเจตจำนง
  • Logos แปลว่า ความรู้ หรือ ปัญญา …… นั่นคือ God สร้างสรรพสิ่งด้วยปัญญา
  • ฯลฯ

รวมความว่า Logos คือคำที่รวมเอาซึ่งพลังสร้างสรรค์ของ God ฉันใด… ผู้ใช้ชื่อนี้ก็ย่อมบ่งบอกว่าเป็นผู้มีพลังสร้างสรรค์ยิ่งยวด ฉันนั้น

Jul 24
  • เช้า เช้า เช้า ตื่น เช้า เช้า
  • ข้าว ข้าว ข้าว กิน ข้าว หรือ ยัง
  • ตื่น เช้า เช้า กิน ข้าว หรือ ยัง
  • ยัง ยัง ยัง ยัง ไม่ ตื่น ตอน เช้า
  • ตื่น ตื่น ตื่น ไฉน ไม่ ตื่น ตอน เช้า


Jul 22

สรุป

ตามที่เล่ามาทั้งหมดอาจสรุปคุณค่าการบวชได้ ๓ ประการ คือ

๑. คุณค่าสูงสุด คือ เพื่อแสวงหาสัจธรรม ดังที่ฟ้าชายสิทธัตถะทรงปริวิตกว่า ” คนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องแก่ เจ็บ และตายไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของชีวิต ควรออกบวชแสวงหาสัจธรรมคือความจริงแห่งชีวิต ทำให้การเกิดมาชาติหนึ่งไม่เป็นหมันหรือสูญเปล่า” การบวชลักษณะนี้ถือว่าเป็นคุณค่าสูงสุด

อีกนัยหนึ่ง คุณค่าสูงสุดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเพื่อนิพพานหรือเพื่อการดับทุกข์ตามหลักของพระพุทธศาสนาก็ได้ ดังมีคำขานนาคเพื่อขอบวชตอนหนึ่งว่า “สพฺพทุกฺข นิสฺสรณ นิพพาน สจฺฉิกรณตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่การการะทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์ทั้งปวง

ตามนัยคุณค่าสูงสุดนี้ แม้เราจะบวชเพียงวันเดียวหรือตลอดชีวิตก็ตาม กล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมปารมีซึ่งเป็นปารมีอย่างหนึ่งในปารมีสิบทัศ และผู้มีปารมีสิบทัศเต็มเปี่ยมแล้วเท่านั้นจึงสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ หรือเข้าถึงนิพพานซึ่งเป็นการดับทุกข์ได้ ฉะนั้น การบวชจึงเป็นการสั่งสมเนกขัมมปารมีให้ติดตัวไว้ในชาติต่อๆ ไป กล่าวได้ว่าเป็นคุณค่าสูงสุดในการบวช

ผู้เขียนขอแทรกอธิบายคำว่า เนกขัมมปารมี ย่อๆ คำนี้นิยมใช้ทับศัพท์แปลเป็นภาษาไทยให้ไพเราะได้ว่า การออกบวชเป็นเครื่องทำความปรารถนาแห่งใจให้เต็มเปี่ยม (เนกขัมมะ แปลว่า การออกบวช คำนี้บางครั้งก็ใช้แทนกันได้กับคำว่าบรรพชา… และ ปารมี แปลว่า ทำความปรารถนาแห่งใจให้เต็มเปี่ยม) บางคนอาจสงสัยถามต่อว่า “ใจปรารถนาอะไร ? ” ตามหลักพระพุทธศาสนาตอบได้ว่า “ใจปรารถนาการพ้นทุกข์”

อ่านต่อ… »

Jul 22

คุณค่าการบวชในปัจจุบัน

กล่าวได้ว่าในอดีตนั้น “การบวชเรียนตามประเพณี” คือ การบวชแล้วศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้อ่านออกเขียนได้และมีความรู้บางอย่าง ติดตัวไปใช้ชีวิตแบบชาวช้านเป็นประเพณีวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาในเมืองไทย แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้แตกแขนงออกไปเป็น “การบวชเรียน” และ “การบวชตามประเพณี” กล่าวคือมีคนกลุ่มหนึ่งตั้งใจบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนแล้วสึกออกมาใช้ชีวิต แบบชาวบ้าน ในกลุ่มนี้บางคนก็มีศรัทธาที่จะบวชต่อไปเพื่อสืบทอดพระศาสนา ขณะอีกกลุ่มหนึ่งมิได้ตั้งใจบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนแบบกลุ่มแรก บวชเพียงแต่รักษาประเพณีที่บรรพบุรุษได้กระทำมาระยะหนึ่งแล้วก็สึกออกมา เท่านั้น แต่ในกลุ่มนี้ก็ยังมีบางคน ครั้นบวชแล้วก็ไม่สมัครใจสึก สมัครใจที่จะบวชต่อไปเพื่อสืบทอดพระศาสนา และจำนวนผู้ที่ไม่ได้สึกออกไปทั้งสองฝ่ายนี้แหละ เป็นกำลังหลักสืบทอดพระศาสนามาตราบจนทุกวันนี้

ตามความเห็นของผู้เขียน ความเปลี่ยนแปลงเรื่องค่านิยมการบวชในปัจจุบันนั้นมีสาเหตุเริ่มต้นอยู่ที่ การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปเมื่อสองสามร้อยปีก่อน เล่าเรื่องย่อๆ ว่า หลังจากมีการค้นพบเครื่องจักรไอน้ำแล้วก็เริ่มการนำเครื่องจักรมาใช้แทนที่แรงงานคน เครื่องจักรผลิตสินค้าได้มากจึงก่อให้เกิดปัญหาว่าจะต้องแสวงหาตลาดเพื่อขาย สินค้า และจะต้องมีการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงาน ในยุคนั้นยาวยุโรปโดยเแฑาะอังกฤษและฝรั่งเศสจึงมีการล่าอาณานิยมไปทั่วโลก รวมทั้งแถบประเทศไทยด้วย จะเห็นได้ว่าในสมัยรัชการที่ ๔-๕ ไทยยอมเสียดินแดนหลายส่วนให้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อแรกกับเสรีภาพส่วนใหญ่ ต่อมาเมืองไทย (และชาติอื่นๆ) ซึ่งต้องการความเจริญก้าวหน้า จึงได้มีการส่งคนไปเรียนต่อยุโรปเพื่อเรียนรู้วิชาการสมัยใหม่ การศึกษาซึ่งเมื่อก่อนมีวัดเป็นแหล่งวิชาการต่างๆ ก็ค่อยๆ ทยอยออกไปจากวัดโดยการสร้างโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยตามลำดับ

อ่านต่อ… »

Jul 22

คุณค่่าการบวชในอดีต

คุณค่าการบวชในอดีตนั้นมีหลายนัย เช่น การบวชเพื่อหนีราชภัย มีเรื่องเล่าว่าโจรหรือผู้ต้องอาญาแผ่นดินในสมัยก่อนนั้น ถ้าถูกตามล่าจากตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็พยายามหลบหนีเข้าไปในโบสถ์ เพราะยึดถือว่าพื้นที่ตั้งโบสถ์นั้นพระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานไว้เป็นพุทธ บูชา ฉะนั้น เจ้าหน้าที่จึงไม่อาจเข้าไปจับผู้ใดภายในโบสถ์ได้ เพียงแต่เฝ้าอยู่รอบๆ โบสถ์เท่านั้น ถ้าผู้นั้นสมัครใจบวชก็จะพ้นจากราชภัย เนื่องจากบ้านเมืองสมัยนั้นจะให้อภัยโทษสำหรับพระสงฆ์ ปรากฎว่าบางท่านยังเกรงราชภัยอยู่ก็เลยบวชไม่สึก กลายเป็นพระเถระในสมัยต่อมา ส่วนวิชาความรู้ที่มีติดตัวมาก่อนบวชก็ถ่ายทอดผ่านทางศิษย์หรือผู้ใกล้ชิด ของท่าน มีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าการบวชเพื่อหนีราชภัยทำนองนี้ ต่อมามีผู้นิยมมากขึ้นจนยากที่บ้านเมืองหรือสังคมจะยินยอมยกโทษให้ดังเช่น แต่ก่อน คุณค่าของการบวชในประเด็นนี้จึงค่อยๆ เสื่อมสลายไป

การบวชเพื่อประสานสามัคคีหรือป้องกันความร้าวฉาน ประเด็น นี้มีเรื่องเล่าว่าบางตระกูลลูกหลานหรือญาติพี่น้องแบ่งทรัพย์สมบัติกันไม่ ลงตัว บรรดาลูกหลานเหล่านั้น บางคนจึงตัดสินใจออกบวชแล้วก็ยกทรัพย์สมบัติส่วนของตนแก่บรรดาญาติพี่น้อง เพื่อจะได้แบ่งกันลงตัวและสร้างความพอใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายได้ การบวชทำนองนี้บางครั้งก็เป็นการเปิดโอกาสให้คนอื่นได้ทำงาน เช่น ในนินทานธรรมบทก็มีหลายตอนที่จับเรื่องว่าอำมาตย์ราชปุโรหิตบางท่านเคยเป็น พระอาจารย์ถวายหนังสือพระราชกุมาร ภายหลังพระราชกุมารเสวยราชย์เป็นพระราชาแล้วก็ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์ไว้ใน ฐานนันดรเดิมและทรงปฏิบัติต่อพระอาจารย์เหมือนเดิม ฝ่ายพระอาจารย์ก็คิดว่า “ธรรมดาพระราชาหนุ่มก็ควรเหมาะสมกับอำมาตย์หนุ่ม” จึงทูลลาบวชเพื่อเปิดทางให้พระองค์ทรงสบายใจและจะได้ทรงแต่งตั้งคนอื่นทดแทน ตน หรือบางครั้งก็มีปัญหาในราชสำนักก็มีผู้ออกบวชเพื่อขจัดปัญหาเหล่านั้น กรณีเช่นนี้มีประวัติขุนหลวงหาวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการออกบวชจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการประสานสามัคคี หรือป้องกันความร้าวฉานที่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตได้

อ่านต่อ… »