สูดติดยาหม่อง ระวังม่องเท่ง
ผมสังเกตว่าคนไทยเราติดการสูดดมยาหม่องกันมาก โดยเฉพาะพวก สว. ทั้งที่เป็นน้ำและเป็นหนืด เดี๋ยวนี้พัฒนามาเป็นสมุนไพรรูปแบบต่างๆ ก็ยิ่งน่าตกใจ เพราะมันทำให้ได้ใจมากกว่าเดิม
ของพวกนี้ไม่เคยมีข้อมูลว่าผลข้างเคียงระยะยาวเป็นอย่างไร
“ยา” (หม่อง) พวกนี้ต่างโฆษณาสรรพคุณกันมากหลาย ว่าแก้ได้สารพัดโรค เรียกว่า ตั้งแต่ถูกสากกะเบือตำ ยันเรือรบชน นั่นแล
แต่ผลร้ายข้างเคียงระยะยาว คงโขอยู่ เพราะโดยสามัญสำนึก ถ้าเราสูดอะไรเข้าไปรมปอดเป็นเวลานานๆ เช่น บุหรี่ ไม่น่ามีผลดี เพราะธรรมชาติเราก็เพียงต้องการอากาศบริสุทธิ์
เอ้า..หมอทั้งหลายว่างัย หรือว่าก็ “สูดติด” กันเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าวิจัยกันให้ดี แล้วเห็นว่ามันดีจริงก็ขออนุโมทนา แล้วส่งไปตีตลาดโลกให้กระเจิง เว้นแต่ว่าวันนี้นักวิจัยไทยเราหันไปวิจัยแต่เรื่องเกินสาระ (ไม่ใช่ว่าไร้สาระนะ แต่มันเกินสาระอ่ะ อิอิ)
…คนถางทาง (๑๕ มีนาคม ๒๕๕๕)
« « Prev : ที่มาของชื่อจังหวัดชัยนาท
Next : เด็กเชิงเดี่ยว..และบ่มแก๊ส อีกต่างหาก » »
8 ความคิดเห็น
หรือว่า เขาเอากาวใส่แทนน้ำยาหม่อง เลยเหมือนดมกาวไหมคะอาจารย์ อิอิ
ไม่ใช่หมอแต่อยากออกความเห็นอ่ะ…
พวกสูดๆ ยิ่งถ้าขนาดเล็กๆ ติดหนึบหนับในปอดกลายเป็นถุงลมโป่งพองมาก็มากแล้ว ไม่ดีแน่นอน
แต่ในระยะสั้นๆ จะเป็นลมเอาแอมโมเนียมาให้สูด ฟืดๆ ได้ผลมามากเหมือนกันค่ะ
แอมโมเนียกลิ่นประมาณฉี่ฉุนๆ ค่ะ
ธ่อ..ผมวิดวะแท้ๆ
แต่ชอบเดาอะไรเล่นไปเรื่อยๆ …นิสัยไม่ดี อิอิ
ยาหม่อง ไม่ใช่ยาค่ะอาจารย์ เป็นสิ่งผลิตที่เข้ามาในเมืองไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมาจากพม่า ตอนนั้นยาหม่องผลิตในพม่าโดยคนจีนคู่หนึ่ง สมัยนั้นลำบากเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมังค่ะ สมัยนั้นเรายังมีเรื่องรบทัพจับศึกไม่หยุดหย่อน เดี๋ยวต้องอพยพ จะมามัวก่อไฟต้มน้ำร้อนประคบร้อน คงลำบาก เมื่อรู้จักกับยาหม่องก็เลยลงตัวกับเหตุการณ์ ใช้ง่าย ควักคล่อง
ในทางการแพทย์ หมอไม่ได้ถือว่ายาหม่องเป็นยา ไม่หนุนให้คนไข้ใช้ แต่ก็ไม่ห้ามหากจำเป็นต้องใช้เป็นยานวดประคบร้อนค่ะ
ที่นำมาใช้สูดดมกัน เป็นเพราะความเชื่อแล้วบอกต่อ ในส่วนผสมมีสารที่สูดแล้วทำให้รู้สึกเย็นจมูก คือ อบเชยจีน และ เมนทอล
อบเชยจีน มีอันตรายถ้าใส่ลงท้อง สูดเข้าปอด ใช้ซ้ำๆนานที่ผิวหนังก็ดูดซึมได้
เมนทอล ระเหิดได้ ทีแรกที่ยังไม่ระเหิด สูดก็ไม่เป็นไร มันเป็นก๊าซที่ระคายเยื่อบุทางเดินหายใจ
เยื่อบุทางเดินหายใจ มีโครงสร้างเหมือนผิวหนังเมื่อนำไปส่องกล้องขยายดู
จินตนาการเวลาเห็นผิวหนังถลอกก็จะเห็นภาพว่า เวลาผิวหนังถลอกแล้วเกิดอะไรขึ้น ในทางเดินหายใจก็แบบเดียวกัน
สิ่งที่น้องสร้อยเล่า จึงไม่ใช่เรื่องเกินจริง
ทั้งหมดทั้งสิ้น เกิดจาก “ความเชื่อ” และ “ความรู้ไม่พอ”
อย่างนี้ช่วยยากหน่อย ด้วยกว่าจะ “รู้” คนช่วยเหนื่อยมาก จะหาคนช่วยที่ “อึด” มากๆ หายากทีเดียว เรื่องราวจึงยังเกิดไงค่ะ
แหม หมอก็ คำว่ายา นั้นมันเป็นคำสามัญของคนไทย แม้แต่ ยาตั้ง ยาฉุน ก็เรียกว่า ยา ครับ อิอิ
ยากะแร๊ตก็เรียก ยังยาใจยาจก อีกล่ะ ยาบ้า ยังมีเลย อิอิ
ผมชอบอ่านสรรพคุณยาหม่อง มันสารพัดสารเพมากจริงๆ ความจริง น่ามีการวิจัยให้มากว่าจริงไหม อาจจริงก็ได้ ถ้าจริงจะได้เอาไปขายให้รวยเละไปเลย กลัวแต่ว่าบริษัทยายักษ์ใหญ่ทุนหนาของเมกา ยุโรป มันจะเอาไปต่อยอดแล้วเอามาขายเราหยดละร้อย นะซิ่ครับ
รีบหยิบยาหม่องน้ำมาดู
ข้างๆ เขียนว่า ยาสามัญประจำบ้าน
พี่หมอเจ๊ะคะ เขาเขียนส่วนผสมว่า
Eucalyptus oil
menthol
camphor
bornrol
อบเชยจีน นั่นแหละ camphor ละน้องสร้อย
เมนทอล มีที่มาจาก สะระแหน่ หนึ่งละ และพืชอื่นๆที่ให้มิ๊นท์
น้ำมันยูคาลิปตัส ก็มาจากต้นยูคาฯ
bornrol คือ พิมเสน มีที่มาจากประเทศจีน ในรูปของเคมีสกัดสำเร็จรูปมาแล้ว ทำมาจากต้นชิงเฮา และพืชไม้หอมตระกูลตะเคียน มีอันตรายถ้าลงท้อง ทำให้น้ำลายสอ สูดดมทำให้มึนงง ระคายทางเดินหายใจ ทำให้ถุงลมเล็กในปอดบวมน้ำได้ สามารถทำให้ประสาทรับกลิ่นด้านจนแยกกลิ่นไม่ออก ไม่ได้กลิ่นไปเลยได้
สรุปว่าทั้งหมดเมื่อผสมลงไปในยาหม่อง มันก็ได้มาซึ่งขี้ผึ้งที่ผสมสารแต่งกลิ่นเหล่านี้ลงไป แล้วกลายมาเป็นสินค้าใหม่ที่เรียกว่า “ยาสมุนไพร” ตามสมัยนิยมปัจจุบันค่ะ
สูดแก้ลม ดมแก้หวัด คลายเส้น ฟกช้ำดำเขียว แมลงสัตว์กัดต่อย ผดผื่นคัน จุกเสียดแน่นเฟ้อ คลื่นเหียรอาเจียร นี่คือสรรพคุณพื้นๆ แต่เดี๋ยวนี้มีบางสูตรอ้างว่า …แก้ไซนัส แผลสด แผลน้ำร้อนลวก อัมพฤษ์อัมพาต ริดสิดวงทวารไปโน่น บางรายต่อท้ายว่า ฯลฯ (ไม่รู้ว่ารวมเบาหวาน มะเร็ง ด้วยหรือเปล่า..อิอิ)
ผมเป็นคนบ้ายาหม่อง (ทั้งชนิดน้ำและชนิดหนืด) ชอบซื้อเก็บสะสม และทาเป็นบางครั้ง บางทีใช้ทาดับกลิ่นเต่า เนื่องจากไม่ได้อาบน้ำหลายวัน (คิดว่ากลิ่นยาคงจะพอทนได้ ดีกว่าได้กลิ่นเต่าก็แล้วกันหละ)
เอ..มาทำพิพิธภัณฑ์ยาหม่องกันดีไหม ผมว่าคงมีเป็นพันยี่ห้อแน่ๆ โอทอปออกมาอีกเป็นร้อยทั่วไทย
ขมิ้นชัน ไพล เกร็ดสะระแหน่ ขมิ้นอ้อย เสลดพังพอน พญายอ คือสมุนไพรพื้นๆ ที่เป็นของผสมเพิ่ม
เพิ่งนึกได้ว่า น้ำมันยูคาลิปตัส สมันก่อนเขาเรียกกันว่า น้ำมันมวย
พอดีไปเจอบทความนี้เลยลิงค์มาให้ิ่อ่านกันด้วย http://www.doctor.or.th/node/6018 ฝากไว้ที่บันทึกนี้ด้วยคนค่ะอาจารย์