ปฏิบัติธรรม๗…วิถีแห่งหลวงพ่อทิวา

โดย withwit เมื่อ 23 July 2011 เวลา 12:52 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 4641

แนวปฏิบัติสมาธิของหลวงพ่อทิวา มี ๔ ขั้นคือ

ขั้นฝึกสติ (ตามลม)

ขั้นสมาธิ (ดูลม)

ขั้นวิปัสสนา (เพ่งลม) 

ขั้นถอน (ลอยลม)

….คำในวงเล็บเป็นบัญญ้ติของผมเอง

 

มาดูขั้นที่ ๑ …ตามลม (คือเอาใจวิ่งตามลมหายใจไป)

-นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย 

-กำหนดลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า ผ่านจมูกเข้ามาหน้าอก ช่องท้อง ฝ่ามือ ขาที่จัดสมาท 

-กำหนดลมหายใจออก จากขาขัดสมาท มือประสาน ช่องท้อง ช่องอก ปลายจมูก 

 …ทั้งนี้เพื่อเจริญสติ ให้มั่น .(ผมเรียกว่าเป็นการวอร์มอัพ…เหมือนที่ทำก่อนเล่นกีฬา

……………………………………………………ทำไป สัก 5-10 นาทีา)

 

ขั้นที่สอง คือ ขั้นทำสมาธิ  (ที่ผมเคยอุปมาว่าคือทำจิตให้โฟกัส เหมือนเลนส์โฟกัสแสงแดด นั่นเอง)  ขั้นนี้จะไม่เอาจิตไล่ไปทั่วกาย ขึ้นลง แต่ให้เอาจิตมาจ่อเป็นจุด (หรือเป็นโฟกัส นั่นเอง) โดยเอาจิตมาจ่อไว้ที่ปลายจมูกเท่านั้น หายใจเข้ารู้ หายใจออกรู้ (รู้ที่สัมผัส )

 ………………………………………………………….ทำไป…สัก 5-10 นาที

 

ขั้นที่สาม ขั้นวิปัสสนา คือพอจิตรวมเป็นสมาธิดีแล้วจากขั้นที่สอง จิตมีกำลัง (เหมือนแสงที่โฟกัส..ผม) ก็เอาพลังนี้ไปเพ่งวิปัสสนา (คือการพิจารณาด้วยปัญญา)  ให้พิจารณาว่า ลมหายใจเข้าออกนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับกายของเรา คือเป็นธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ มาประชุมกันพร้อมอยู่ ทำให้ดูเสมือนว่าเป็นตัวตน ตัวเรา ของเรา แต่แท้จริงแล้วหาใช่ตัวตนไม่ …หายใจเข้าพิจารณา ..หายใจออกพิจารณา

 …………………………………………………………….ทำไป…ประมาณ 40-60 นาที

 

ถ้าไม่บรรลุเสียก่อน ป่านนี้ก็คงเมื่อยโขแล้วแหละ ก็ถึงขั้นออกจากวิปัสสนา แต่ก่อนออกต้องพักผ่อนสักหน่อย ด้วยการ เลิกพิจารณา โดยให้ปล่อยจิตให้ว่างๆ ไว้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก อาจทำใจ “ลอยๆ”   ..ผมอุปมาเรียกขั้นนี้ว่า  “วอร์มดาวน์”  ..เหมือนเล่นกีฬา ก็ต้องมีการวอร์มดาวน์ก่อนเลิก

……………………………………………………………………………ทำไป…สัก 5-10 นาที

 

แต่ละวันควรทำสามครั้ง เช้า กลางวัน เย็น  หรืออย่างน้อย เช้า เย็น  หรือ วันละมื้อก็ยังดี

กิเลสจะค่อยๆสึกไป ปัญญาจะค่อยๆ เบ่งบาน

สักวันหนึ่งกิเลสอาจหายไปหมด โดยไม่รู้ตัว..เป็นการบรรลุธรรมแบบค่อยเป็นค่อยไป

หรือฟลุกๆ วันหนึ่งอาจจะ “ปึ๊ง” …เป็นการบรรลุแบบเฉียบพลันกระโดดข้ามขั้นก็เป็นได้

 

พูดแล้วจะหาว่าโม้…เมื่ออายุสัก ๒๘ ผมเป็นนศ. ป.เอก อยู่ usa ไปทำงานกับนาซ่า  ผมก็ทำสมาธิแทบทุกวัน ส่วนใหญ่ตอนกลางคืน ก่อนนอน ทำไปแบบไม่มีครู ก็ต้องคิดหาวิธีเอาเอง อ่านทฤษฎีมาจากหนังสือท่านพุทธทาส (ซึ่งท่านไม่ได้สอนวิธีปฏิบัติ) แล้วเอามาสร้างวิธีปฏิบัติเอง ปรากฏว่าวิธีปฏิบัติของผม ในสองขั้นแรก แทบเหมือนกับของหลวงพ่อทิวาราวกับแกะ ส่วนขั้นที่สามวิปัสสนานั้น ต่างกัน โดยของผมใช้วิธี ลอยจิต แล้วมองลงมาให้เห็นตัวของเราเป็นธาตุสี่ เป็นอนัตตา (ก็ยังเหมือนกันในหลักการกับวิธีของหลววพ่อทิวา ต่างกันแต่ในวิธีการ)

 

ดังนี้ผมจึง อิน กับวิธีของหลวงพ่อทิวามาก แต่ตอนนี้ผมเอามาต่อยอดอีกแล้ว (ศิษย์คิดต่อยอดครู ไม่ได้คิดล้างครูนะครับ)  คือในช่วง สมาธินั้น ผมมี “วิปัสสนา” แถมเข้าไปด้วย กล่าวคือ ขณะเพ่งดูลมนั้น ให้มีการตามลมสั้นๆ คือหายใจเข้า ก็บริกรรมว่า เกิดขึ้น” พอหายใจสุดก็บริกรรมว่า ตั้งอยู่” พอหายใจออกก็บริกรรมว่า ดับไป”  ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายก็มีอยู่สามอาการนี่แหละ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  ลองปฏิบัติดูแล้ว พบว่าวิธีนี้ ทำให้เกิดสมาธิเร็วดี และแถมยังได้ปัญญาญานอ่อนๆ อีกด้วย  เป็นการนำร่องก่อนเข้าไปสู่ขั้นวิปัสสนาต่อไป

สำหรับการขัดสมาท นั้นผมไม่ได้ทำอย่างท่าน (ขาขวาทับขาซ้าย) เพราะผมเคยลองขวาทับซ้ายมานานแล้ว พบว่ามีข้อเสียคือ ฐานนั่งมันเอียงซ้าย อีกทั้งทำให้เกิดเหน็บชาจากการที่ขามันทับเส้นเลือด เส้นประสาท ผมเลยคิดค้นวิธีนั่งแบบใหม่ (แต่สมัยอายุ ๒๘)  คือ ขาทั้งสองวางราบกับพื้น โดยไม่ซ้อนกัน เช่น ขาขวาอยู่หน้าซ้าย หรือ ซ้ายอยู่หน้าขวาก็ได้ โดยเอาขาข้างหนึ่งงอเข้ามาติดขาอ่อน อีกข้างหนึ่งก็วางแปะอยู่ด้านหน้า วิธีนี้ฐานจะราบ ไม่เอียง ทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย อีกทั้งนั่งได้ทนกว่า เนื่องจากไม่ค่อยเกิดเหน็บชา

 

…คนตามธรรม (๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔)

ของดีที่สุด คือพระนิพพาน ไม่มีขาย มีแต่แจกฟรี (บทขัด..ของห่วยที่สุดมักมีราคาแพงที่สุด..เสมอ)

ดังนั้น สรุปได้ว่า คุณค่า แปรผกผันกับ มูลค่า เสมอ

« « Prev : ฝากไว้ในวันอาสาฬหบูชา…วัดสีเขียว

Next : ปฏิบัติธรรม..๘..หลวงพ่อทิวาอธิบายความ..ลมหายใจคือธาตุสี่ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 July 2011 เวลา 1:22 am

    ในภาพรวม วิธีนี้คือวิธีที่บัญญัติไว้ในพระไตรปิฏกว่า “อานาปานสติ” (สติอันเนื่องอยู่กับลมหายใจ) พพจ. ทรงสรรเสริญวิธีนี้มากที่สุด ท่านพุทธทาสเองก็นิยมวิธีนี้มากที่สุด ส่วนพระสายธรรมยุต ดูเหมือนหลวงพ่อทิวาจะเป็นท่านแรกที่นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างแยบยลมาก …สาธุ

    สำหรับผมเท่าที่ศึกษามา ข้อดีของวิธีนี้คือ จะไม่เกิดนิมิต (ภาพหลอน) จึงเหมาะสำหรับการฝึกด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีครูกำกับ (เกิดภาพหลอนขึ้นมา เป็นผี เปรต อาจกลัว หรือ บ้าไปได้)

    อีกวิธีที่ทรงสรรเสริญแบบรองลงไปคือ “กายคตาสติ” คือให้เพ่งอวัยวะต่างๆ หรือ เพ่งอิริยาบท

    ส่วนพระอาจารย์รุ่นหลังๆ ก็มีให้เพ่ง กสิน ก็มี (พระพุทธโฆษาจารย์) ..อาจทำให้เกิดอิทฤทธิ์ได้

  • #2 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 July 2011 เวลา 11:14 am

    สาธุ

    ไม่แสดงความคิดเห็น ไม่แปลว่า ไม่มีความคิดเห็น
    ไม่ขัดแย้ง ไม่แปลว่า ไม่มีข้อขัดแย้ง โดย เห็นด้วยเต็มร้อย หรือ ไม่เห็นด้วยเต็มร้อย
    เหมือนที่ ไม่เห็น ไม่แปลว่า ไม่มี
    เหมือนที่ ไม่เอา ไม่แปลว่า ไม่เคยมี

    5555 เอิ้ก เอิ้กส์ษ์ศ์ๆๆ วันนี้ ป้าหวาน โสเสี่ยงตาย ในกระทู้ คนถากถาง เอ้ย คนถางทาง เจ้าค่ะ

  • #3 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 July 2011 เวลา 12:05 pm

    ฤาษีเฝ้าถ้ำอยู่คนเดียว มันก็เปลี่ยวเหงาเศร้าซึมได้เหมือนกันนะป้าหวาน
    นานๆผ่านมาโสกันที ก็เป็นไฟให้ลุกโชติในตาได้แล้ว หึหึ

    (ไอ้คำว่าโสเนี่ย มันแปลว่าอะไรแน่ครับ โส = เสี่ยง ใช่ไหม เช่น ร้าน โสเจ้ง
    ยังมีอีกคำคือ ส่ำ เช่น สำเมีย (ไผสิบ่ย่าน) )

  • #4 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 August 2011 เวลา 3:01 am

    ดีอิหลี ขอยืมไปฝากญาติโกทั้งหลายที่กำลังศึกษาด้วยตนเอง อิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.32414507865906 sec
Sidebar: 0.079242944717407 sec