อีกครั้งกับ เกษตรประณีต ๑ไร่

อ่าน: 9488

มีคำเรียกร้องจากหลายท่าน “สนใจเครือข่ายเกษตรปราณีต และ ขอคำแนะนำ” อาม่าหลินฮุ่ยขอบอกเลยว่าแค่คิดจะทำเกษตรประณีต อาม่าถือว่าสมัครใจที่ลงมือทำเกษตรประณีต ถ้าลงมือทำถือว่าเป็นเครือข่ายได้เลย อาม่าขอเวลาเรียบเรียง และย่อยข้อมูลให้ทุกคนทำได้ไม่จำกัดพื้นที่
คือการประยุกต์ใช้ นวัตกรรม ของปราชญ์ชาวบ้าน คือ

“เกษตรประณีต”  สามารถสร้างสังคมชนบทให้อยู่ดีมีสุข เน้นสังคมเกษตรกรรมให้เป็นสังคม น่าอยู่ น่าอาศัย สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างสังคมให้น่าอยู่

เกษตรประณีต ต้องใช้พื้นที่มากน้อยแค่ไหน จึงจะอยู่ได้ อยู่ดี มีสุข คำตอบของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอีสาน ที่ทำการศึกษาทดลองจนประสบผลที่เป็นประจักษ์ มีคำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เกษตรประณีต ๑ ไร่ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ และอาจมากกว่า จากรายได้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากเหลือกินเหลือแจก ก็เกิดแลกการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันตามความต้องการของตลาดในชุมชน

ผลการศึกษาวิจัย ๑๘ เดือนของ พ่อจันทร์ที ประทุมภา(ปราชญ์ชาวบ้าน)

เก็บข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ ดิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์  เก็บข้มูลปุ๋ยคอก เก็บข้อมูลปัจจัยนำเข้า-นำออก(รายรับรายจ่าย) เป็นข้อมูลรายจ่ายในครัวเรือน และรายรับจากการทำเกษตรแบบเดิม ก็จะเห็นรายรายรับรายจ่ายชัดเจน

พิจารณารายจ่าย -อะไรที่ต้องซื้อกินเป็นอันดับแรก แก้ด้วยการลดการซื้อด้วยการปลูกพืชผักทุกอย่างที่ซื้อ เลี้ยงสัตว์ทุกอย่างที่กิน  พูดแล้วมันง่ายนะแต่ความเป็นจริงต้องใช้เวลา และ ต้องมีน้ำ ดิน และปุ๋ย ก็ต้องใช้ความเพียร แล้วก็จดบันทึกทุกอย่างไว้ เมื่อมีน้ำเลี้ยงปลาได้ จะเป็นปลาจากธรรมชาติ(ฟรี) หรือซื้อลูกปลามาเลี้ยง เลี้ยงเป็ดไก่ หมู และ วัวควาย ก็จะได้ปุั๋ยธรรมชาติ เศษผักเศษหญ้าเป็นอาหารสัตว์ และ หมักทำปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้มีไม้ผล พืชผักพื้นบ้านและสมุนไพรกินตลอดทั้งปี  ปลูกเพิ่มตามกำลังก็จะเหลือเพื่อเอาไปแจกจ่ายและขาย เป็นพืชผักสมุนไพร  คนในชุมชนคนในครอบครัวได้กินอาหารที่มีคุณภาพปลอดสารพิษ อิ่มท้องนอนอุ่นชีวิตก็เริ่มดีขึ้น หนึ่งปีผ่านไปเหลือกินเหลือใช้ เอาไปขายในตลาดชุมชน รายได้เพิ่ม รายจ่ายแทบไม่มี กลายเป็นมีเงินเก็บ ทำการสำรวจความต้องการของตลาด แล้ววางแผนปลูกพืชผักที่เป็นที่ต้องการ เพื่อขาย เลี้ยงปลาที่ขายได้ทั้งปี ทำอาหารปลาเอง  แค่หนึ่งงานก็พอเพียงอย่าว่าแต่หนึ่งไร่ ข้อสำคัญต้องมีการวางแผน อย่างดีเพื่อให้มีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องทั้งปี ไม่ว่าการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงหมูเป็ดไก่ ส่วนวัวควายไว้ใช้งานและผลิตปุ๋ยธรรมชาติ

ไม่สูตรสำเร็จของการทำเกษตรประณีต ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิสังคม ของท้องถิ่น ให้พิจารณาว่า มีความรู้เรื่องการเกษตรที่พอเพียงหรือยัง กำจัดความไม่รู้ด้วยการเรียนรู้ แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีเรียนลัดก็มีค่ะ เรียนรู้ดูงานคุยกับปราชญ์ชาวบ้าน ดีกว่าการอบรมรมจนกรอบในห้องสี่เหลี่ยม ที่จัดในที่หรููๆ ” ไม่ลอง ไม่รู้ “ นานาจิตตัง ทำอะไรแล้วมีความสุข ใช่เลยเรามาถูกทางแล้วค่ะ

อาม่าตอบเป็นเบื้องต้นแค่นี่ก่อนส่วนเรื่องเทคนิคต่างๆ ก็คงให้ปราชญ์ชาวบ้านตอบให้เป็นกรณีๆ ไปค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 6(จุดใต้ตำตอ)

อ่าน: 2201

เพื่อความรอบคอบ Lin Hui จำเป็นเตรียมความพร้อม(รู้เขารู้เรา) ในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา  จึงค้นข้อมูลจากทำเนีบยวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดนครราชสีมา(รู้เขา) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มกราคม ๒๕๕๓ ที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก เพื่อศึกษาหาเพื่อนร่วมอุดมการ(วุฒิอาสาฯ) ที่มีประสบการณ์ ด้านเกษตรผสมผสานแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ก็พบชื่อ พ่อ จันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ที่ Lin Hui และอ.แพนด้า รู้จักเป็นอย่างดี ตลอดหนึ่งปีเต็มไม่ทราบมาก่อนว่า มีปราชญ์ชาวบ้านผู้โด่งดังระดับชาติ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรประณีตประณีต หนึ่งไร่แก้จนคนอิสานเป็นวุฒิอาสาฯ ของโคราช จุดใต้ตำตอ จริงๆ…..

Lin Hui รีบโทรศัพท์ไปขอโทษ พ่อจันทร์ที ด้วยความไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งที่ท่านคือเพชรเม็ดงามของอิสาน ที่ Lin Hui นับถือ และไปหาเมื่อ ๕ กย. ๒๕๕๓ เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการ “การขยายเครือข่ายเกษตรประณีต ๑ ไร่ สู่ ๑ ล้านครอบครัวภาคอิสาน เพื่อสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวตกรรม ๕ กันยายน ๒๕๕๓”

ท่านดีใจมาก ที่ Lin Hui ทำโครงการความมั่นคงทางอาหารให้วุฒิอาสาฯ(รู้เรา) ท่านขอพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงไปช่วย ขยายพันธุ์ข้าวฯ เพื่อความมั่นคงทางพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของภาคอิสาน ภายใต้โครงการความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ ๑๒ กพ. ๒๕๕๔ ที่จะถึง Lin Hui จะเอาพันธุ์ข้าวฯ ไปให้ พอ่จันทร์ที่ถึงบ้านค่ะ ในวันที่ไปศึกษาดูงาน “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ตำบล ตลาดไทร อำเภอ ชุมพวง จังหวัด นครราชสีมา” บ้านของพ่อจันทร์ที  ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)


ความมั่นคงทางอาหาร 4

อ่าน: 2521

หลังจากได้รับแจ้งนัดหมายให้มีการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ในบ่ายของวันที่ 27 มค. 2554 ณ.ศาลากลางจังหวัด

หลินฮุ่ยก็เตรียมงานความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับชุมชนที่หลินฮุ่ยมีส่วนรับผิดชอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(เทคโนธานี) เป็นอย่างดียิ่งตลอดมา สิ่งสำคัญอันดับแรกที่หลินฮุ่ยให้ความสำคัญ คือความมั่นคงทางด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอีสาน ที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงจากสุรินทร์ ถิ่นขึ้นชื่อด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารเคมี  นำมาขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มข้าวอินทรีย์ และกลุ่มเกษตรกรปลอดสารเคมีในชุมชน

หลังจากที่ประสานงานกับคุณจินดาผู้นำชุมชน ต.บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก  ในคราวประชุมวุฒิอาสาฯ เมื่อ 25 ธค. 2553 ให้คัดเลือกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ หรือกลุ่มปลูกข้าวปลอดสารพิษ มารับพันธุ์ข้าวไปปลูกเพื่อ ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอไว้ใช้ทำนาข้าวคุณภาพ เพื่อความั่นคงทางด้านอาหาร และเพื่อสุขภาพ สำหรับการปลูกนั้นสามารถปลูกได้ทั้งนาปรังและนาปี เพียงแต่ต้องใช้เทคนิคการปลูก วิธีแบบข้าวต้นเดี่ยว ของมทส.  เพราะจะได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์  เป็นการลดต้นทุน (นา1ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กก.) เพิ่มผลผลิตได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการฝึกอบรมวิธีปลูกข้าวต้นเดียว ตลอกจนการดูแล ฯลฯ. ทางมทส.จะเป็นผู้จัดให้ จึงเป็นความคาดหวัง ในการสร้างความั่นคงทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ที่มั่นคงและพอเพียงต่อความต้องการของชุมชน จนถึงการผลิตมากพอที่จะ สามารถขายให้กับแหล่งที่ต้องการข้าวหอมมะลิแดงเพื่อสุขภาพ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานพยาบาล และกลุ่มคนที่รักษาสุขภาพ  ซึ่งหลินฮุ่ยได้เกริ่นเรื่องนี้ให้รับทราบเป็นการภายใน ระดับหนึ่งแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวชนิดนี้ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานบริโภค

ข้าวหอมมะลิแดงกับศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวาน

ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องเสาะแสวงหาพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองที่มี ปริมาณดัชนีน้ำตาลต่ำ จากการทดสอบในระดับหลอดทดลองที่สามารถใช้ในการทำนายผลระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อเป็นการคัดกรองในระดับแรก ก่อนนำผลที่ได้ไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป

จากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับของน้ำตาลกลูโคสในช่วง เวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่ เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป

ข้าวพื้นบ้านมีสารแอนติออกซิแดนท์มากกว่าข้าวทั่วไป

แอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ในข้าวพื้นบ้านมีสารทองแดง สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ซึ่งมีความสามารถดังกล่าว การบริโภคอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว เป็นต้น

ในอดีต ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเหล่านั้นกำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงนั้นมีการปลูกน้อยมากในปัจจุบัน การตระหนักในคุณค่าของข้าวพื้นบ้านซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้กลับมางอกงามแพร่หลาย และหลากหลายยิ่งๆขึ้นไป

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นบ้านเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป
(วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล)

ชื่อพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย :มิลลิกรัม/100 กรัม)
เหล็ก
ทองแดง
เบต้าแคโรทีน
ลูทีน
วิตามินอี
ค่าเฉลี่ยข้าวทั่วไป 0.42 0.1 ไม่พบ ไม่พบ 0.03
หน่วยเขือ - นครศรีธรรมราช 1.22 0.5 0.0052 0.0144 0.7873
ก่ำเปลือกดำ - ยโสธร 0.95 0.08 0.0118 0.2401 0.1946
หอมมะลิแดง - ยโสธร 1.2 0.43 0.003 0.0091 0.3366
หอมมะลิ - ทุ่งกุลาร้องไห้ 1.02 ไม่พบ 0.0031 0.0095 0.3766
เล้าแตก - กาฬสินธุ์ 0.91 0.06 0.0049 0.0085 0.3092
หอมทุ่ง* - อุบลราชธานี 0.26 0.38 ไม่พบ ไม่พบ 0.0118
ป้องแอ๊ว* - มหาสารคาม 0.24 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 0.0089
ช่อขิง - สงขลา 0.8 ไม่พบ 0.0041 0.0103 0.1788
มันเป็ด* - อุบล 0.2 ไม่พบ ไม่พบ 0.0045 0.026
ปกาอำปึล* - สุรินทร์ 0.46 ไม่พบ ไม่พบ 0.0036 0.0226

หมายเหตุ: *ข้าวขัดขาว


แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ที่มา http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=889

จะเอาเมล็ดถั่วครกไปให้จินดาไปปลูกที่ ต.บ้านใหม่อุดม  เพื่อขยายพันธุ์ถั่วครก เป็นการเพิ่มโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ในอนาคตค่ะ

หน้าตาถั่วครกฝักสด และที่ต้มสุก ดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ

Large_bean
Large_bean4


เริ่มต้นปีใหม่ ๒๕๕๔ ด้วยความั่นคงทางอาหาร-1

อ่าน: 5187

เริ่มต้นปีใหม่ ๒๕๕๔ ก็จะคล้ายๆกับทุกปีที่ผ่านมา ปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งไปร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และร่วมถวายปัจจัย แต่ที่พิเศษ และแตกต่างจากเดิม คือความคิดริเริ่มที่จะคัดเลือกเกษตรกรของตำบลสุรนารี เข้าร่วมโครงการขยายพันธุ์ข้าวมะลิแดง และข้าวนิล เพื่อให้มีพันธุ์ข้าวพอเพียงสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีคุณภาพ ตามที่อาม่าได้รับความร่วมมือ และช่วยเหลือเป็นอย่างดี จากเทคโนธานี ในโครงการที่อาม่าตั้งใจทำ เพื่อสนองคุณแผ่นดินโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกษตรกร

อันดับแรก คือ การมีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เพียงพอ ต่อการปลูกข้าวในฤดูกาลเพาะปลูกตลอดไป นั่นคือความ มั่นคงทางพันธุ์ข้าว

อาม่าเลือกชื้อพันธุ์ข้าว หอมมะลิแดง ของจังหวัดสุรินทร์ ที่มีชื่อเสียง เป็นข้าวจากการทำเกษตรอินทร์ มาใช้เป็นแม่พันธุ์ สำหรับการนำมาปลูกขยายพันธุ์ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ปลูกข้าวชนิดนี้ใน ตำบลสุรนารี เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของอาม่า ประกอบกับรู้จักคุ้นเคยกับ นายก อบต. สุรนารี จึงได้นำเรื่องนี้หาลือกับนายก อบต.สุรนารี ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ท่านรับปากจะไปคัดเลือกเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ ของตำบลสุรีนารี ส่งให้มาพบอาม่า เพื่อร่วมโครงการฯ ค่ะ คงจะได้ทำงานร่วมกันในเร็วๆ วันนี้ค่ะ

ข้าวสารอาหารแห้งที่อาม่าจัดไปทำบุญตักบาตรค่ะ

เนื่องจากอาม่าซื้อพันธุ์ข้าวมะลิแดงมาได้ 4 กระสอบและแบ่งให้หมอหยก ครึ่งกระสอบไปช่วยปลูกขยายพันธุ์ ในพื้นที่นาเกษตรอินทรีย์ ที่อาม่าสามารถรเข้าไปติดตามและ ให้ความช่วยเหลือได้สะดวกค่ะ


โอ้ยอร่อย

อ่าน: 1705

เช้านี้เดินดูรอบบ้าน ทันใดได้ยินเสียงเพื่อนบ้าน ที่ส่งเสียงที่มีอาการดีใจที่จะบอกอะไรสักอย่าง จึงตั้งใจฟัง เธอเล่าให้ฟังว่าถั่วที่ฝากปลูก ตอนนี้ติดฝักเยอะแยะหนูต้มกินไปหลายรอบแล้ว คอยประเดี๋ยวนะคะ หนูจะเก็บให้พี่ค่ะ จากนั้นสักครู่เธอก็เก็บถั่วครกที่น้องโสธรส่งเมล็ดมาให้ตั้งแต่ 12 มค.2553 เมื่อต้นปีนี้เอง

เลยบอกเพื่อนบ้านว่าให้ปล่อยให้ฝักแก่ส่วนหนึ่ง เพราะจะขอเมล็ดนำไปแจกเกษตรกร ในชุมชน ที่อาม่าเข้าไปช่วยดูแลร่วมกับ สศช. วุฒิอาสาฯ และเทคโนธานี(มทส.) เพราะเป็นโปรตีนที่ปลูกกินเองได้ตามความต้องการ และปลูกง่ายให้ผลผลิตเร็ว สามารถขยายผลผลิตได้ตามความต้องการค่ะ


อาม่ารีบถ่ายภาพฝักดิบ จากนั้นไปต้มใส่เกลือให้มีรสปะแร่มๆ สักเล็กน้อย ต้มไม่นานค่ะ ประมาณ 7 นาที ก็ได้กินแล้ว

โอ้ยอร่อย หวานค่ะ ถ้าเป็นช่วงกินเจ อย่างวันนี้ บอกได้เลยว่าสุดยอดค่ะ เป็นถั่วที่อาม่าคิดว่ามีอนาคตค่ะ คงนำไปให้กลุ่มเกษตรประณีต 1ไร่ ช่วยกันขยายผลต่อค่ะ



Main: 0.19454598426819 sec
Sidebar: 0.11180210113525 sec