สวัสดีในวันดีๆ ของปลายฝนต้นหนาวปี ๒๕๕๕

10697 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ ตุลาคม 19, 2012 เวลา 12:21 ในหมวดหมู่ มณฑาทองปี๕๕, เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 77871

ห่างหายจากการเขียนบันทึกในลานทับทิม มานานพอสมควร พอผ่านฝนสั่งฟ้า เข้าสู่การเปลี่ยนฤดูกาล จะเริ่มมีลมเปลี่ยนทิศ จากตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มต้นเปลี่ยนฤดูกาลอย่างชัดเจนกลางเดือนตุลาคม จากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว(แล้งและเย็น)

มณฑาทองก็ทะยอยบานต้อนรับฤดูกาล เหมือนเตืออาม่าให้ นำภาพ มณฑาทองมาฝากหมู่มิตชาวลานปัญญาค่ะ

วันเดียวบานสองดอกค่ะหอมอบอวนไปทั่วค่ะ

เลยตัดลงมาเพื่อนำไปวางหน้ารูปพ่อแม่ในห้องพระ ก่อนนำเข้าห้องพระจึงนำมาให้ได้ชื่นชมก่อนค่ะ


คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม

8891 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ พฤษภาคม 17, 2012 เวลา 16:27 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 72529

คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม  แล้วทำไม ไม่คิดต่าง ลองทำอะไรที่มันแตกต่างจากเดิมๆ บ้างได้ไหม …….

ที่ปรึกษา ฟังดูแล้วเป็นผู้ทรงภูมิปัญญา หากแต่ว่าเขาจะปรึกษาหรือไม่ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง

เอาเป็นว่า คนที่ตัวเล็กๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย สามารถยืนหยัดด้วยตัวเอง แล้วสามารถให้คำปรึกษาช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มซึ่งกันและกัน ในกลุ่มที่รวมตัวกันด้วยความรู้ความเข้าใจ ในอาชีพ ยกตัวอย่างกลุ่มเกษตรกรที่เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำนาโดยแบบที่พิมพ์นิยม แล้วเกิดความล้มเหลวจาก เป็นเจ้าของนา กลายเป็นลูกจ้างทำนาในที่นาที่เคยเป็นของตัวเอง และในที่สุดเขาไม่จ้างให้ทำนา เพราะไม่คุ้มทุน……วงจรชีวิตชาวนาไทยส่วนหนึ่งที่พบเห็นทั่วไปชีวิตลำเค็ญมาก ที่พบเห็นได้จากข่าว และสารคดี จนเป็นภาพติดลบของอาชีพชาวนา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม อนาคตชาวนาจะเป็นอย่างไร……

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบอกว่าประเทศไทยมีชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ธรรมชาติที่หลากหลาย ภูมิศาสตร์ของประเทศเรามีภูเขา มีที่ราบหุบเขา มีแม่น้ำ มีป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เรามีที่ราบสูง เรามีทะเลสองทะเลขนาบสองด้านภาคใต้ เรามีค้นทุนทางธรรมชาติสูงมาก……

แต่เราประสบปัญหา การทำลายทรัพยกรสูงจนน่ากลัว และหยุดยั้งไม่ได้เสียด้วยภาครัฐมีหน้าที่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ปัญหารุมเร้าทุกด้าน

วัตถุนิยม “มีเงินเขาเรียกน้อง มีทองเขาเรียกพี่” แต่การได้มาซึ่งความร่ำรวยไม่ใช่ปัญหา คนส่วนหนึ่งยอมรับหน้าตาเฉย “รวยเสียอย่างทำอะไรดูดีไปหมด” เป็นสำนวนที่ชินหู อนาคตของชาติลำบากแน่ ที่ถูกสื่อที่ยัดเยียดข้อมูลที่ฟุ้งเฟ้อไร้ความสำนึกมายังประชาชนถึงห้องนอนตลอด ๒๔ ชั่วโมง….ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และสร้างสรร เรื่องแผ่นดินที่ตัวเองอยู่ ไม่เคยรู้จักธรรมชาตสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ไม่รู้คุณค่า จึงไม่รู้จักพัฒาให้เกิดประโชนย์ สร้างความมั่นคงให้ชีวิตอย่างยั่งยืน

ซุนวู ” รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”  นั้นคือเคล็ดลับของความสำเร็จ การพัฒนาประเทศชาติให้ประสบความสำเร็จ นั้นต้อง รู้เรื่องของประเทศในทุกตารางนิ้ว อย่างถ่องแท้ รู้จักภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ รู้จักธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า และสิ่งมีชีวิต รวมถึงมิติของสังคมที่แตกต่าง ถ้ารู้(เขา) แล้วมาดูตัวเอง(รู้เรา)ว่ามีศักยภาพเป็นอย่างไร มีความรู้พอเพียงหรือไม่ ถ้าขาด ต้องหาคนที่มีศักยภาพทุกด้านที่สอดคล้องกับ สิ่งที่เรามีอยู่เที่ได้จาก “รู้เรา” มาเติมเต็ม ช่วยกันการพัฒนาประเทศชาติอย่างพอเพียง และเหมาะสม เป็นการช่วยกัฯพัฒนาทั้งตัวเองและ ประเทศชาติได้

ถ้าตอบ “รู้เขา รู้เรา” ได้ เราก็พอมีทางพัฒนาชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนได้

เลิกเสียที่ คิดแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ……..


บริษัทเล็กๆ ของลูกศิษย์อาม่า

15119 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ พฤษภาคม 7, 2012 เวลา 12:22 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 80757

อาม่าดูแลแอดไวซีจีออ 31  เป็นรุ่นสุดท้ายตั้งแต่เรื่องการเรียน การแก้ปัญหาจนเรียนจบทุกคน เมื่อคนสุดท้ายจบ อาม่าลาออกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มารับหน้าเป็นหัวหน้าสาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกล( School of Remote Sensing) ที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อสร้างหลักสูตรรีโมทเซนซิ่ง ระดับป.โท-เอก แห่งแรกของประเทศไทย หลังจากสร้างหลักสูตรวิชารีโมทเซนวิ่งในระดับป.ตรีที่ มช.มาแล้ว ด้วยความตั้งใจเต็มที่ เพราะเป็นมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี่ ที่เปิดใหม่เป็นมหาลัยนอกระบบแห่งแรกของประเทศ โดยเฉพาะมีวิศวกรรมเกือบทุกสาขาวิชา ด้วยความหวังที่จะสร้างฐานองค์ความรู้ใหม่เป็นของประเทศ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร เป็นสองระยะ ช่วงแรกปรับฐานความรู้สามารถนำไปใช้งานประยุกต์ได้ทันที่แก้ปัญหาทรัพย์กรธรรมชาติของชาติ ระยะที่สองสร้างเทคโนโลยี่เป็นของตัวเองจากใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรที่เกี่ยวข้อง และได้สร้างห้องแลปด้านโรโมทเซนซิ่งที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น( 2536) โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทอินเตอร์กราฟอเมริกา ผ่านบริษัทอินเตอร์กราฟประเทศไทย ที่มีลูกศิษย์ และแอดไวซีทำงานอยู่ ซึ่งการทำงานช่วงแรกแรกก็จะเป็นประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รีโมทเซนซิ่งในด้านต่างๆ  และได้ร่วมโครงการ GlobeSAR ให้ความร่วมมือกับสภาวิจัยแห่งชาติ และทำงานวิจัยหลายด้าน ตลอดจนการทำงานด้านจัดงานเวิลเทคในปี 2538 และจากความร่วมือกับสภาวิจัยแห่งชาติสามารถดึงการจัดประชุมThe 16 th Asian Conference on Remote Sesin( AARS) ในปีจัดงานเวิลเทค เพราะจากผลงานส่วนหนึ่งที่ไปได้รับรางวัลฺำ Asian Association on Remote Sensing Best Speaker Award The 15 th AARS  Bangalore,Novenber 23, 1994 ประเทศอินเดีย ในการไปเสนอผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานโดยใช้ข้อมูลเรด้าในการใช้ที่ดินของภาคอิสาน อาม่าได้ข้อมูลแถวชัยภูมิ ที่ทำให้อาม่าค้นพบเมืองสามหอก ที่บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ อาม่าเป็นม้านอกสายตาค่ะ เมื่องานวิจัยเสร็จก็ตีพิมพ์ในต่างประเทศ และได้ไปเสนอผลงานทั้งที่จีน และแคนาดา อาม่าวางแผนส่งอาจารย์ไปศึกษาทางด้าน Biosphere (งานด้านป่าไม้ที่มิเนโซต้า อเมริกา) และ Atmosphere ด้านบรรยากาศ เพราะมองเห็นอนาคตเรื่อง Global Worming ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากรับนักศึกษารุ่นแรกไปแล้ว ขาดแคลนอาจารย์ ก็พยามยามดึงสมองไหลกลับจากอเมริกามาช่วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงลาออกไปช่วยงานโครงการอรนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และเป็นอาจารย์พิเศษคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แอดไวซี่รุ่นนี้ก็ยังคงติดตามไปช่วยงาน และเยี่นมเยียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งปี 2547 กลับมาอยู่โคราช เพราะลูกๆ ต้องไปทำงานที่กรุงเทพ ตลอดเวลาที่อยู่โคราชก็ช่วยเหลือเกษตรกร และชาวนาให้กลับมาสู่ความเป็นจริงของการเกษตรที่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ลูกๆ และลูกศิษย์กลุ่มนี้ให้การสนับสนุน ช่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตลอด ในขณะเดียวกันอาม่าก็สนับสนุนให้การช่วยเหลือทำงานของลูกศิษย์ตามกำลังและความสามารถ และในที่สุดแอดไวซีของอาม่าคู่นี้


ก็สามารถตั้งบริษัทเล็กๆ ได้ ด้วยความร่วมมือสามัคคีของครอบครัว และความช่วยเหลือจากรุ่นพี่ๆ จีออ จึงมีวันนี้ค่ะเพิ่งจะเริ่มก้าวย่างก็ต้องดูแลให้กำลังใจ แต่อาม่าขอบอกได้เลยว่าจิ๋วแต่แจ๋วค่ะ


นี่คือส่วนหนึ่งของการทำงานตัดพื้นคอนกรีต ที่บริษัทโตโยต้าที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา


จากการสู้งานขยัยขันแข็งได้รับความไว้วางใจจาก บริษัทไทยโอบายาชิ เป็นบริษัทญี่ปุนที่รับงานโครงการปรับปรุงขยายโรงงานโตโยต้าค่ะ ให้ทำงานนี้ และงานต่อๆ ไปค่ะ


ขยัย อดทน ซื่อสัตย์ จะสร้างบริษัทเล็ก ๆของแอดไวซีรุ่นลูกของอาม่าก้าวเดินอย่างมั่นคง ยืนยงตลอดไปค่ะ


กำลังใจคือหัวใจสำคัญ

อ่าน: 34881

วันนี้ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ อาม่า อ.แพ้นด้า คุณสุภชัย ปิติวุฒิ (น้องต้นกล้า) ชาวนาวันหยุดผู้มุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนวิธีวิธีปลูกข้าวทำนาดำ ด้วยวิธีแกล้งข้าว เพื่อดึงศักยภาพของต้นข้าวให้เต็มที่ ด้วยวิธีการทำนาดำ แบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว จนได้ข้อสรุปแล้วว่าได้ผลเกินคาด

เดินทาง ไปให้กำลังใจ น้องสายชล บาตรโพธิ์ บ้านวังหิน ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ. นครราชสีมา ที่เปลี่ยนวิธีทำนาหว่าน มาเป็นนาดำ ด้วยวิธีเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว และไม่ใช้ยาฆ่ายา

ในขณะที่ทั้งทำนา และปลูกผัก งานหนักเอาการมีแค่สองแรงแข็งขันคือคูชีวิต น้องตี๋ นา หกไร่ สวนผักหลายไร่ ซึ่งใช้เวลาในการดูแลแปลงผัก ปลอดสารพิษ และแปลงนาพร้อมๆกัน

ทำให้ดูแลแปลงนาไม่ทั่วถึงในการแถกหญ้า(ใช้โรตารี่วีดเดอร์)  เพราะหญ้าที่โตเร็วจนแถกหญ้าไม่ไหว แต่การแกล้งข้าวด้วยวิธีเปียกสลับแห้งทำให้ต้นข้าวแข็งแรง พื้นนาแห้งหน้าดินแตกดี เดินลงนาได้สบาย ต้นข้าวแข็งแรง ไม่มีโรค และไม่เพลี๊ยและแมลงรบกวน การแตกกอดีมาก แต่สภาพดินดีมาก ไม่ต้องใส่ปุ๋ย แสดงว่ามีปุ๋ยธรรมชาติในดินเพียงพอ ข้าวเจริญเติบโตดี ถึงแม้ต้องแย่งอาหารกับหญ้า

เมื่อคุณสุภชัยลงไปสำรวจดูพื้นดินในแปลงนา ก็พอใจกับผลการแกล้งข้าว พื้นนาแตกสวยงามส่งผลให้ออกซิเจนลงไปถึงรากข้าว นอกจากนั้นพบขุ่ยใส้เดือนพรวนดินให้อีกด้วย เหนือแปลงนา มีฝูงแมลงปอมาคอยพิทักษ์แปลงนาให้ด้วยเป็นสัญาณที่ดีว่า ว่าน้ำบริเวณนี้มีคุณภาพดี

สิ่งที่น่าสนใจมากคือรวงข้าวยาวกว่ารวงข้าวทั่วๆ ไป  ได้เจอสิ่งดีๆ ที่ไม่คาดคิด

ปัญหาเรื่องหญ้า และหอยเชอร์รี่นั้น เป็นเพราะการเตรียมดินไม่ดี ทำให้น้องสายชล และน้องตี๋ ได้เรียนรู้และเข้าใจ การที่เน้นหนักเน้นหนาให้เตรียมดินดี จะไม่มีปัญหายุ่งยากสู้กับหญ้าและหอยเชอร์รี่

การให้กำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง พวกเราจึงต้องไปให้กำลังใจถึงแปลงนานา นอกเหนือจากการให้กำลังใจผ่านโทรศัพท์ และชี้ให้เห็นข้อดีที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจและได้เรียนรู้ศักยภาพของต้นข้าว เห็นข้อแตกต่างของต้นข้าว ที่สมบูรณ์แข็งแรงออกรวงสวยงามและรวงยาว ในบริเวณที่สามารถกำจัดหญ้ออกไปได้ค่ะ การเรียนรู้คราวนี้จะทำให้การทำนาปี ในฤดูกาลที่ถึงนี้ ดีขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ เพราะมีบทเรียนแล้วค่ะ สำหรับแปลงผักทำได้ดีมาก และได้ผลผลิตเป็นกอบเป็นกำ และเป็นรายได้หลัก เนื่องจากมีการเตรียมแปลงผัก และระบบน้ำดีมาก ประกอบกับความชำนาญในการปลูกผักมายาวนาน แต่ทั้งคู่ไม่ย่อท้อในการทำนาแบบใหม่ และตั้งใจทำนาดำ อย่างมีความมั่นอกมั่นใจ โดยใช้วิธีทำนดำ นววัตกรรมร่วมสมัยใช้วิธีการเลี้ยงเป็ดในนา และเีปียกสลับแห้งกล้งข้าวและแหนแดง ค่ะ


สมุนไพร X

27219 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มีนาคม 2, 2012 เวลา 0:53 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 109712

ทำไมอาม่าเรียกสมุนไพร X เพราะไม่มีใครรู้จักชื่อสมุนไพรตัวนี้ค่ะ ประวัติของพืชสมุนไพรนี้ เท่าที่ฟังจากผู้ที่มอบสมุนไพรตัวนี้ให้อาม่า บอกว่าท่านได้มาจากทหารคนสนิทของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเก็บจากในป่าบนภูเขาเมืองกาญจนบุรี เมื่อสมัยเป็นหนุ่ม สังเกตุจากกวางป่าชอบกินสมุนไพรตัวนี้ แล้วแข็งแรงเลยเก็บมาลองมา ต้มกินบ้าง ดองเหล้ากินบ้าง ทำให้สดชื่นแข็งแรง จึงนำมาให้จอมพลฯ กินบ้างปรากฏว่า ท่านชอบจึงต้องนำมาขยายพันธุ์มาปลูกบนพื้นราบ และแจกจ่ายแบ่งปันกันในวงจำกัด ซึ่งนำไปใช้กับคนเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งได้ผลดี และควบคุมเบาหวานได้ และบำรุงตับขับพิษ บำรุงหัวใจ สิ่งที่แตกต่างจากสมุนไพรใบเขียวทั่วไป คือการนำสมุนไพรX มาต้มเป็นน้ำชาดื่ม จะเปลี่ยนเป็นสีทับทิมน่าดื่มมากค่ะ ดังภาพที่เปรียบเทียบสีน้ำชากับเนื้อทับทิมที่บ้านอาม่า และเคยเห็นเขาเอาใบมาขยี้แล้วดองเหล้าขาวก็จะกลายเป็นสีแดงเช่นกันค่ะ คนที่ให้อาม่าบอกว่าเขากินสมุนไพรตัวนี้มานานแล้ว ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคเบาหวานโรคความดันโรคหัวใจ

อาม่าได้ให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชไปศึกษา และให้ต้นสมุนไพรนักชีวิทยาไปศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ในสมุนไพรตัวนี้ เริ่มจากค้นหาชื่อวิทยาศาสตร์ก็ไม่เจอในฐานข้อมูลไทย

ในที่สุดอาม่าได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาป.โทวิศวกรรมการเกษตร มทส. ช่วยค้นให้เมื่อปีกลายก็พบในฐานข้อมูลของซิมบาบเว ซึ่งเขาเพิ่ง เขาเพิ่งจะพบพืชตัวนี้ในป่าบนภูเขาเช่นกัน เมื่อ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ นี้เองค่ะ

http://www.zimbabweflora.co.zw/speciesdata/image-display.php?species_id=154150&image_id=1

ตอไปนี้เป็นการถามตอบ สำหรับคยที่สนใจสมุนไพรX ตัวนี้เมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ค่ะ

    • Poldej Worachat ต้นนี้ชื่ออะไรและมีสรรพคุณอย่างไรครับ

    • Punnee Wara-Aswapati ให้นักวิชาการหลายท่านทั้งนักชีวะ วิทยา และนักอนุกรมวิทาน ไปตรวจสอบชื่อ แล้วค่ะไม่พบพืชตัวนี้
    • ในฐานข้อมูลไทยค่ะ จึงเรียกว่าสมุนไพร X ไปก่อนค่ะ สรรพคุณบำรุงตับ ขับพิษ บำรุงหัวใจค่ะ

    • Poldej Worachat น่าสนใจครับ ขอบคุณครับ

    • Chada Sakrungpongsakul หามากินได้ยังไงอะคะ อยากรู้ มากค่ะ ^^

    • Punnee Wara-Aswapati ท่านทูตค่ะมีคนช่วยค้นให้แล้วค่ะ เจอมีอยู่ใน Flora of Zimbabwe
      http://www.zimbabweflora.co.zw/speciesdata/image-display.php?species_id=154150&image_id=1

    • Punnee Wara-Aswapati ไม่เข้าใจคำถาม ค่ะคุณชาดา เป็นคำถามว่า “อาจารย์หามามาปลูกได้อย่างไร” ใช่ไหมค่ะ

    • Chada Sakrungpongsakul ใช่ค่ะ สนใจตรงสรรพคุณที่ว่า บำรุงตับ ขับพิษ บำรุงหัวใจน่ะค่ะ

    • Punnee Wara-Aswapati ผู้ ที่ใช้รักษาตัวเอง เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 6 ปีก่อนค่ะ ตอนอายุร้อยปีกว่าๆ ท่านเป็นทั้งเบาหวาน
    • โรคความดัน โรคหัวใจ และได้ให้มอบพืชตัวนี้ ให้คนที่สนิทชิดเชื้อไว้รักษา และป้องกันเบาหวานมานานแล้ว แต่ในวงจำกัด
    • อาจารย์ได้รับช่วงต่อมาแค่นั้นเอง รอผลวิเคราะห์สารที่มีอยู่ในสมุนไพรตัวนี้ จากนักชีวิทยา
    • ที่มารับตัวอย่างไปวิเคราะห์เกือบ 2 ปี แล้วยังไม่รายงานผลให้ทราบค่ะ
    • Chada Sakrungpongsakul อ้อ.. ถ้างั้นคงต้องรอติดตามต่อไปค่ะ..ขอบพระคุณค่ะ

    • Boonlom Cheva-isarakul น่าสนใจนะ ดอกสวย และเมื่อชงเป็นชาก็มีสีแดงด้วย แปลกดีจ้ะ พวกเภสัชเขารู้จักไหม

    • Pinit Punchuen น่าดื่มมากสีก็สวยครับ
    • Punnee Wara-Aswapati หน้าดื่มก็แย่ซี มันร้อนมากนซิบอกให้ ลวกหน้าลวกตา แล้วจะหาว่าอาม่าไม่เตือน...อิอิ
    • เป็นสมุนไพรที่ได้มา 7 ปีแล้ว ค่ะ บำรุงตับขับสารพิษ เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวานค่

    • Ping Lekwat บำรุงตับ ขับสารพิษ … คิดไม่ออกเลย สมุนไพร x ^_^

    • Punnee Wara-Aswapati ใบสดค่ะ

    • Punnee Wara-Aswapati ถึงอยากให้ทำการศึกษาวิจัย เนื่องจากยังไม่เคยมีใครศึกษา มาก่อนส่งให้
    • นักวิกรมวิทาน(Taxonomist)ตรวจดูแล้วก็ไม่พบว่ามีในฐานข้อมูล

    • Punnee Wara-Aswapati ตอนนี้ค้นเจอในฐานข้อมูลพืชของซิมบาบเวแล้ว เป็นไม้ป่าค่ะ เหมือนข้อมูลถิ่นกำเหนิดของที่เมืองไทยค่ะ



Main: 0.079108953475952 sec
Sidebar: 0.052531003952026 sec