บริษัทเล็กๆ ของลูกศิษย์อาม่า

โดย Lin Hui เมื่อ พฤษภาคม 7, 2012 เวลา 12:22 ในหมวดหมู่ เรื่องเล่าของLin Hui #
อ่าน: 84545

อาม่าดูแลแอดไวซีจีออ 31  เป็นรุ่นสุดท้ายตั้งแต่เรื่องการเรียน การแก้ปัญหาจนเรียนจบทุกคน เมื่อคนสุดท้ายจบ อาม่าลาออกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มารับหน้าเป็นหัวหน้าสาขาวิชาการรับรู้จากระยะไกล( School of Remote Sensing) ที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อสร้างหลักสูตรรีโมทเซนซิ่ง ระดับป.โท-เอก แห่งแรกของประเทศไทย หลังจากสร้างหลักสูตรวิชารีโมทเซนวิ่งในระดับป.ตรีที่ มช.มาแล้ว ด้วยความตั้งใจเต็มที่ เพราะเป็นมหาวิทยาลัย เทคโนโลยี่ ที่เปิดใหม่เป็นมหาลัยนอกระบบแห่งแรกของประเทศ โดยเฉพาะมีวิศวกรรมเกือบทุกสาขาวิชา ด้วยความหวังที่จะสร้างฐานองค์ความรู้ใหม่เป็นของประเทศ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตร เป็นสองระยะ ช่วงแรกปรับฐานความรู้สามารถนำไปใช้งานประยุกต์ได้ทันที่แก้ปัญหาทรัพย์กรธรรมชาติของชาติ ระยะที่สองสร้างเทคโนโลยี่เป็นของตัวเองจากใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรที่เกี่ยวข้อง และได้สร้างห้องแลปด้านโรโมทเซนซิ่งที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น( 2536) โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทอินเตอร์กราฟอเมริกา ผ่านบริษัทอินเตอร์กราฟประเทศไทย ที่มีลูกศิษย์ และแอดไวซีทำงานอยู่ ซึ่งการทำงานช่วงแรกแรกก็จะเป็นประยุกต์ใช้เทคโนโลยี รีโมทเซนซิ่งในด้านต่างๆ  และได้ร่วมโครงการ GlobeSAR ให้ความร่วมมือกับสภาวิจัยแห่งชาติ และทำงานวิจัยหลายด้าน ตลอดจนการทำงานด้านจัดงานเวิลเทคในปี 2538 และจากความร่วมือกับสภาวิจัยแห่งชาติสามารถดึงการจัดประชุมThe 16 th Asian Conference on Remote Sesin( AARS) ในปีจัดงานเวิลเทค เพราะจากผลงานส่วนหนึ่งที่ไปได้รับรางวัลฺำ Asian Association on Remote Sensing Best Speaker Award The 15 th AARS  Bangalore,Novenber 23, 1994 ประเทศอินเดีย ในการไปเสนอผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานโดยใช้ข้อมูลเรด้าในการใช้ที่ดินของภาคอิสาน อาม่าได้ข้อมูลแถวชัยภูมิ ที่ทำให้อาม่าค้นพบเมืองสามหอก ที่บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ อาม่าเป็นม้านอกสายตาค่ะ เมื่องานวิจัยเสร็จก็ตีพิมพ์ในต่างประเทศ และได้ไปเสนอผลงานทั้งที่จีน และแคนาดา อาม่าวางแผนส่งอาจารย์ไปศึกษาทางด้าน Biosphere (งานด้านป่าไม้ที่มิเนโซต้า อเมริกา) และ Atmosphere ด้านบรรยากาศ เพราะมองเห็นอนาคตเรื่อง Global Worming ที่ประเทศอังกฤษ หลังจากรับนักศึกษารุ่นแรกไปแล้ว ขาดแคลนอาจารย์ ก็พยามยามดึงสมองไหลกลับจากอเมริกามาช่วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงลาออกไปช่วยงานโครงการอรนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และเป็นอาจารย์พิเศษคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แอดไวซี่รุ่นนี้ก็ยังคงติดตามไปช่วยงาน และเยี่นมเยียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งปี 2547 กลับมาอยู่โคราช เพราะลูกๆ ต้องไปทำงานที่กรุงเทพ ตลอดเวลาที่อยู่โคราชก็ช่วยเหลือเกษตรกร และชาวนาให้กลับมาสู่ความเป็นจริงของการเกษตรที่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ลูกๆ และลูกศิษย์กลุ่มนี้ให้การสนับสนุน ช่วยทั้งทางตรงและทางอ้อมมาตลอด ในขณะเดียวกันอาม่าก็สนับสนุนให้การช่วยเหลือทำงานของลูกศิษย์ตามกำลังและความสามารถ และในที่สุดแอดไวซีของอาม่าคู่นี้


ก็สามารถตั้งบริษัทเล็กๆ ได้ ด้วยความร่วมมือสามัคคีของครอบครัว และความช่วยเหลือจากรุ่นพี่ๆ จีออ จึงมีวันนี้ค่ะเพิ่งจะเริ่มก้าวย่างก็ต้องดูแลให้กำลังใจ แต่อาม่าขอบอกได้เลยว่าจิ๋วแต่แจ๋วค่ะ


นี่คือส่วนหนึ่งของการทำงานตัดพื้นคอนกรีต ที่บริษัทโตโยต้าที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา


จากการสู้งานขยัยขันแข็งได้รับความไว้วางใจจาก บริษัทไทยโอบายาชิ เป็นบริษัทญี่ปุนที่รับงานโครงการปรับปรุงขยายโรงงานโตโยต้าค่ะ ให้ทำงานนี้ และงานต่อๆ ไปค่ะ


ขยัย อดทน ซื่อสัตย์ จะสร้างบริษัทเล็ก ๆของแอดไวซีรุ่นลูกของอาม่าก้าวเดินอย่างมั่นคง ยืนยงตลอดไปค่ะ

« « Prev : แปลงนาสาธิตบ้านวังหิน

Next : คิดแบบเดิมทำแบบเดิมผลก็เหมือนเดิม » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

15727 ความคิดเห็น