๒๗-๒๘ สค. ๕๔ ไปเยี่ยมชาวนาที่นครสวรรค์

อ่าน: 60096

อาม่าในฐานะวุฒิอาสา ธนาคารสมอง จ นครราชสีมา ทำโครงการความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกร ชาวนา ให้มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง โดยน้อมนำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการทำการเกษตรที่มั่นคง และยั่งยืน โดยปรับโครงการเกษตรประณีต ๑ ไร่ แก้จนคนอีสาน  ด้วยการออมน้ำ ออมดิน ออมพืช ออมสัตว์ ออมความรู้ พร้อมๆ กับลดรายจ่าย ผสมผสานเทคโนโลยี นวัตกรรมลงแขกดำนาแบบร่วมสมัย ที่เน้น ไม่ใช้ทรัพยากร เกินความจำเป็น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการร่วมใจ ของชาวนามืออาชีพ และชาวนาวันหยุด ในการปรับเทคนิค วางแผนระบบการทำนาที่ประหยัดน้ำ การเพาะกล้าในกะบะเพาะกล้า ที่รากแข็งแรง ใช้กับรถปักดำ การดูแลนาหลังปักดำ มีนางฟ้า(แหนแดง)ดูแลต้นข้าวในนา มีเทพธิดา(เป็ด) คอยกำจัดหอย ซอกไซ้หาแมลงตามกอข้าว ย่ำหญ้า แถมถ่ายลงแปลงนาเพิ่มปุ๋ยให้นาข้าว มีการแกล้งข้าว ด้วยการทำให้นาข้าวแห้งสลับเปียก แถกหญ้าด้วยโรตารี่วีดเดอร์นาสะอาด ต้นข้าวแข็งแรงโรคภัยไม่มี ผลผลิตจึงได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เทควิธีการต่างสามารถติดตามได้จาก

http://www.gotoknow.org/blog/supersup300/toc

ประกอบภาพจริงของการการทำนา นวัตกรรมใหม่ทุกขั้นตอน ทุกขั้นตอน ของจริงในแต่ละพื้นที่

หากแต่การทำการเกษตรโดยเฉพาะชาวนาทั่วไป มักประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากต้นทุนสูง และยังประสบภัยน้ำท่วม นาล่ม ฯลฯ  ชีวิตชาวนาแสนรันทด จึงทำให้ต้องศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล ประสานงานกับผู้รู้ผู้ปฏิบัติจริง จนเกิดเครือข่ายอาม่าหลินฮุ่ย รวมพลคนหัวใจสีเขียว ทำนาโดยไม่ใช้สารเคมี จึงได้รู้จักกับชาวนาวันหยุด และชาวนามือชีพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มกัน จนมีการศึกษาถึงแปลงนา และมือทำแปลงนาสาธิตจนประสบความสำเร็จกระจายกันอยู่เกือบทุกภูมิภาค

๒๗-๒๘ สค. ๕๔ อาม่าเดินทางไปเยี่ยมชาวนามืออาชีพที่ ต.เขาดิน อ. เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ตามคำแนะนำของน้องต้นกล้า มีท่านวุฒิอาสาฯ สมชัย อิทธิภักดิ์ ร่วมเดินทางไปด้วยค่ ะ ท่านเป็นบล็อกเกอร์ของ OKNATION ใช้ชื่อ ลุงต้าลี่ ท่านเชียนเรื่อง “เที่ยวทุ่ง ท่องเมืองนครสวรรค์” ไว้น่าอ่านมากค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร36(เพาะกล้า)

อ่าน: 32649

การทำนาดำ ด้วยเครื่องดำนา สิ่งแรกที่ต้องเตรียมก่อนคือ การเพาะกล้าในกะบะเพาะกล้า เพื่อใช้กับเครื่องปักดำ

โดยคัดเลือกพันธุ์ข้าวเป็นอันดับแรก หากจะกินเองเพื่อสุขภาพ อาม่าแนะพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของภาคอิสาน ข้าวหอมมะลิแดงค่ะ…. แต่ถ้าปลูกเพื่อขายก็เป็นข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ ค่ะ เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ ก้ต้องล้างทำความสะอาด จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ข้าวใส่ถุงตาข่ายไนล่อนแช่ในสารสมุนไพรป้องกันเชื้อราหนึ่งคืน แล้วผึ่งให้แห้งหนึ่งคืน จากนั้นก็พร้อมที่จะใช้โรยในกะบะเพาะ

เตรียมกะบะเพาะ และแกลบเผ่าป่นให้พร้อม

ทำการเอาแกลบใส่ในกะบะเพาะเมล็ด ปาดให้สม่ำเสมอ

เรียงกะบะบนโต๊ะรางวางกะบะ รดน้ำให้ชุ่มทั่วถึงทุกถาด

ขั้นตอนต่อไป เทเมล็ดพันธุ์ใส่ในเครื่องโรยเมล็ด(ถังสีฟ้า )แล้วนำถังเครื่องโรยเมล็ดมาวางให้ล้ออยู่ในบราง เพื่อเลื่อนไปตามรางไปมาสำหรับการโรยเมล็ดข้าวลงในกะบะเพาะ

ทำการโรยเมล็ดสองรอบ คือเลื่อนที่โรยเมล็ดไปข้างหน้ารอบหนึ่งถอยกลับอีกรอบ

ขั้นตอนต่อไปโรยแกลบปิดทับอีกครั้งให้สม่ำเสมอไม่ให้เห็นเมล็ดข้าว

เมื่อทำเสร็แล้ว ให้เอากะบะเพาะที่โรยเมล็ดพันธุ์ข้าวเสร็จแล้ว มาวางเรียงซ้อนกันเป็นการบ่มสองสามวัน

ไว้ในที่ร่ม จนกว่าจะเห็นการงอกเกิดขึ้น ให้นำกะบะเพาะมาเรียงไว้ ให้ได้รับแดดทั่วถึงกันเพื่อใบจะได้สังเคราะห์แสง หากแดดจัดให้ใช้แสลนคลุม รดน้ำให้ทั่วถึง กล้าข้าวจะแตกใบงอกงามเอง ไม่ต้องให้ปุ๋ย ครบสิบห้าวันสามารถนำออกจากกะบะเพื่อขนย้ายไปปักดำได้แล้ว หากต้นกล้าสูงเกินหนึ่งฟุตให้ตัด ให้ได้ความสูงหนึ่งฟุต กล้าข้าวสามารถใช้ปักดำได้จนอายุถึงหนึ่งเดือน

กล้าที่ใช้ปักดำในวันนี้ อายุสิบห้าวัน ขนมาวางไว้ใกล้ๆแปลงนา สะดวกต่อการ ขนใส่รถปักดำ

จากนั้นก็เริ่มปักดำจนเต็มนา สำหรับกล้าที่เหลือเก็บไว้ส่วนหนึ่สำหรับการซ่อม


ไม่รู้-ไม่ชี้ ดี ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ

อ่าน: 2840

เมื่อวาน ๑ มิย. ๒๕๕๔ อาม่าได้หนังสีอ เิชิญประชุมและร่วมกิจกรรมของวุฒิอาสาฯ ในโครงการตามป้ายข้างล่าง ในวันที่ ๒ มิย. ๒๕๕๔ ณ วัดอาศรมธรรมทายาท(วัดหลวงตาแชร์) บ้านมอจะบก อ.สีคิ้ว ประธานฯ ได้เชิญเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้นำสื่อมาถ่ายวีดิทัศน์กิจกรรมของวุฒิฯ ในวันนี้พร้อมทั้งขอเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย เป็นค่ารถ ค่าเบี้ยเลี้ยงและ ค่าอาหาร ค่าประชุมในการทำกิจกรรม อาม่าเพิ่งทราบจากที่ประชุมในวันนี้เอง ..งงมากๆ

และได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ตามป้ายข้างล่าง เพื่อให้มีคนมาเยอะๆ แต่ที่เห็นใจมากๆ คือ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต ๕ จ.นครราชสีมา ที่อาม่าคุ้นเคย  และโรงพยาบาลสีคิ้ว ที่มาในวันนี้ เพราะไม่ได้รับความสนใจจาก ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพราะไม่มีชาวบ้าน และเกษตรกรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงมาเลย คงมีแต่แขกที่ได้รับเชิญมาตามป้าย หนักหน่อยก็ ว.เกษตรและเทคโนโลยีสีคิ้ว ที่รับจ้างปลูกข้าวในท่อซีเมนต์วันนี้ แล้วก็ทำโดยที่ไม่มีการศึกษาการปลูกข้าวไร้สารพิษต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์ ความชัดเจนเรื่องตรวจวิเคราะห์ดิน ทั้งวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเต็มท่อซีเมนต์ การดูแลรักษาต่อไป

ปลูกข้าวไร้สารพิษในท่อซีเมนต์ด้วยเหตุผลเพราะสามารถดูแลให้ปลอดสารพิษได้สะดวก และสามารถปลูกได้แม้ไม่มีดินที่จะปลูก โดยอ้างว่าใช้วิธีปลูกในท่อซีเมนต์แบบอาม่า ที่วุฒิอาสาหลายท่านเคยมาดูที่บ้าน และเคยเข้ารับฝึกอบรมการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่อาม่าจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก และจัดฝึกอยรมอีกหลายหลักสูตรตามความต้องการของชุมชน เนื่องจากการทำงานของอาม่า คือการทำงานแบบจิตอาสา ทำแล้วมีความสุข โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการ จากเทคโนธานี มาโดยตลอด อาม่าแค่จัดหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่คุณค่าทางอาหารสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนทั่วไป คือข้าวหอมมะลิแดง ที่อาม่าศึกษาค้นคว้ามานาน และเคยไปออกรายการไทยมุง ถ้าใครติดตามงานอาม่าก็คงรู้ว่า อาม่าสนใจเรื่องข้าวมานานแล้ว เมื่อวุฒิอาสาฯ จะทำโครงการฯ ที่วัดอาศรมธรรมทายาท และอยากได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไปปลูกเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไร้สารพิษในวงบ่อซีเมนต์ อาม่าก็ให้ไป พร้อมทั้งแนะนำวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยว และการดูแล อย่างละเอียด แก่วุฒิฯ กลุ่มที่มารับพัันธุ์ข้าวและมาดูงานที่บ้านอาม่าแล้ว ไปเพาะกล้าเตรียมการเพื่อปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ ที่ไปจ้างให้วิทยาลัยเกษตรฯ ไปดำเนินการ รวมค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุปลูกข้าว และท่อซีเมนต์ เ็้ป็นเงิน หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาท โดยขอเก็บจากวุฒิอาสาฯทุกคนที่มาวันนี้ บางคนไม่ทราบมาก่อนว่าต้องสมทบทุนในครั้งนี้สร้างความอึดอัดใจให้กับหลายๆ คนมาก หลายคนบ่นบอกอาม่าว่าที่มาวันนี้ ต้องการมาพบอาม่า เพราะอยากเจอ อยากเรียนรู้เรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยว อาม่าก็บอกว่าอยากเรียนรู้ก็มาได้เสมอ บ้านอาม่าเป็นบ้านซ่อนความรู้ไว้เยอะแยะมาค้นหาได้ตลอด เหมือนเกษตรกรจากทั่วสารทิศเขามาหา มาแรกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ แหนแดง พันธุ์ข้าว สมุนไพร ผลไม้ติดไม้ติดมือกลับไปทุกคน และทุกครั้ง เพราะยิ่งให้ยิ่งมีมากค่ะ

ผู้รับผิดชอบในการสอนปลูกข้าว……ว.เกษตร ฯสีคิ้ว ท่านบอกว่าเป็นลูกชาวนาไม่เคยดำนา วันนี้จะมาสอนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว นำกล้าที่เพาะในแผงดึงออกมา แล้วบอกว่ากล้าต้องเพาะ ๒๐ วัน เมื่อเอาดินน้ำใส่ท่อ ที่เตรียมไว้แล้ว ให้้แยกต้นกล้าเป็นต้นเดี่ยว จับแล้วปักดำให้ลึกสองนิ้ว ปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมเรื่อยๆ ให้ห่างหนึ่งคืบจนเต็มท่อเป็นอันเสร็จ ดังภาพและมีการถ่ายทำวิดิทัศน์วิธีปลูกไว้เผยแพร่ต่อไป ประธานวุฒิฯ มอบหมายให้ ว.เกษตรฯ เป็นคนดูแล ได้ยินเสียงตามหลังมาว่าดูแลอย่างไร?….ไม่เสียงตอบจากเจ้าของโครงการ หลังจากนั้นภาคบ่ายมีการประชุมต่อ ทางสภาพัฒน์ ถามว่าทางวุฒิฯ มีการลงไปช่วยชาวบ้านอย่างไร ทำอย่างไร และสร้างเครือข่ายเศรษฐกิบพอเพียงอย่างไร คุณหมอเจ้าของโครงการก็ลุกขึ้นตอบ พูดเรื่องสุขภาพ ของตัวเองแล้วการดูสุขภาพตัวเองแล้วสอนให้กินข้าวกล้อง หมอเป็นมะเร็งตอนนี้ดูแลรักษาโรคมะเร็งด้วยข้าวกล้อง และพืชผักปลอดสารพิษปลูกเอง(สั่งให้คนปลูกในที่ห่างไกล) ถามอย่างตอบอย่าง คนฟังก็ต้องฟัง ในที่สุดก็จบลงปิดประชุม แล้วเดินทางกลับคุณถนอมศรี ประธานวุฒิฯ ถามว่างานวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อถามอ่าม่าก็บอกความจริง เสียงสะท้อนที่แท้จริง และการอ้างอิงวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว ที่ไม่เคยศึกษาค้นคว้า แถมอ้างอิงว่าเป็นวิธีกาแบบอาม่า อ้างผิดๆแบบนี้ อาม่าก็แย่ซิ ต่อไปใครเขาจะเชื่อถืออาม่า ถ้าประธานวุฒิอาสาฯ อยากรู้ว่าการปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ เป็นอย่างไร เวลามาส่งอาม่าก็แวะดูข้าวต้นเดี่ยวที่บ้านก็ได้ (เพราะท่านไม่ถนัดอ่านเวปบล็อก หรือใช้เฟสบุค )สำหรับเครือข่ายอาม่ามีทั่วประเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโลกไซเบอร์ตลอดอยู่แล้ว ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ มันหมดสมัยแล้ว คนสูงวัยที่เขามีคุณภาพมีเยอะค่ะ แต่มักไม่ออกนอกหน้าชอบทำงานติดทองหลังพระ เด็กรุ่นใหม่ก็มีทั้งคุณภาพและมีจิตอาสามากมาย อาม่าไม่ห่วง กลุ่มจิตอาสาของอาม่ามีเยอะ มีทั้งปราชญ์ชาวบ้านเป็นเพื่อนเป็นพวกพ้องกันทำงานช่วยเหลือกันมาตลอด มีนักวิชาการจิตอาสาสูงอีกเยอะที่อาสามาช่วยงานอาม่า ถึงเวลาเมื่อไหร่ได้ช่วยแน่ค่ะ


งานจิตอาสาในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมองจ.นครราชสีมา

อ่าน: 3045

เราครอบครัวหมีแพนด้า  แพนด้า-หลินฮุ่ย(รศ.ดร.อรรณพ - ผศ.ดร.พรรณี วราอัศวปติ) เป็นครอบครัวจิตอาสา ที่มีลูกๆ เป็นกองหนุนอย่างเข้มแข็ง และมีเพื่อนๆ หลากหลายอาชีพ เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ ร่วมอุดมการก่อการดี หลังจากเห็นการทำงานของครอบครัวของหมีแพนด้า จึงพากันมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มความรู้กันเสมอมา ขอติดตามดูการทำงานจนประทับใจ จึงเข้ามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ จนอาม่าเป็นปลื้มมากๆ แม้แต่วิศวกรที่ทำงานแล้ว วิศวกรที่กำลังศึกษาอยู่ได้มาเรียนรู้และให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกษตรในชุมชนที่อาม่าดูแลและให้ความช่วยเหลือ กลุ่มจิตอาสาของอาม่าเริ่มขยายพื้นที่องค์ความรู้ทั้งกว้างและทั้งลึก ที่อาม่าไม่สามารถทำได้ตอนที่เป็นนักวิชาการที่ยังอยู่ในระบบ-นอกระบบราชการการ แต่ทำได้อย่างมีความสุขหลังจากเกษียณแล้ว ตอนนี้เป็นนักวิชาการอิสระ มันอิสระจริงๆ …  แล้วเริ่มมีพลังบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆ

บุญเสมอ -ศีลเสมอจึงเจอกัน เป็นสิ่งที่อาม่ายึดถือมาตลอด

๓๑ พค. ๒๕๕๔ เราครอบครัวแพนด้า ในฐานะวุฒิอาสาฯ ได้ออกปฏิบัติหน้าที่ตามคำขอของผู้นำชุมชนชาว บ้านใหม่อุดม (คุณจินดา บุษสะเกศ วุฒิอาสาฯ) เพื่อเข้าร่วมช่วยฝึกอบรม สืบสานประเพณีวัฒนธรรมโบราณ ที่กำลังจะค่อยๆหายไป หากไม่ให้ความสำคัญพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญโดยพ่อครู และความรู้โบราณในการรู้จักตัวตนของตนเองผ่าน ภูมิปัญญาโบราณเรื่องพยากรณ์ ด้วยสัตตเลข ๔ และ ๙ ฐาน โดยวุฒิอาสาฯ อุทิศ ผาสุขมูล  และภาระกิจที่สำคัญอีกอย่างคือติดตามผลการกำจัดเพลี๊ยะในไร่มันำปะหลังโดยใช้สมุนไพร

งานสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม พิธีบายศรีสู่ขวัญ จัดขึ้นแบบพิธีโบราณที่เรียบง่าย เพื่อนรับขวัญท่านนายอำเภอหนองบุญมากคนใหม่ หลังจากรับขวัญท่านนายอำเภอเสร็จ ก็จะเป็นการ สอนกรรมวิธีทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพิธี เพื่อนให้คุณครู นักเรียน โรงเรียนบ้านใหม่ไทยเจริญ และชาวชุมให้เห็นความสำคัญ ได้เรียนรู้ และช่วยกันรักษาสืบสานประเพณีโบราณต่อไป ให้คงอยู่กับชุมอย่างยั่งยืน


ความมั่นคงทางอาหาร 12 (ทริปเปิลด็อกส์..)

อ่าน: 3173

วันมาฆบูชา สวดมนต์ไหว้พระ แล้วก็ทำบุญด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง

สืบเนื่องจากการสร้างเครือข่าย เกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีตปลูกข้าวต้นเดี่ยว ฯ วันนี้ถึงคิวไปเยี่ยม คุณ ไพสิษฐ์ นาคำ แห่งศูนย์เรียนรู้การเกษตรและสมุนไพรอินทรีย์   ผู้ที่ตั้งใจจะขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ให้เข้มแข็งและยั้งยืน อาม่าจึงนำเมล็ดพันธุ์ข้าวฯ มาให้ในวันมงคล เพื่อให้ความมั่นคงทางอาหารเจริญงอกงามในหัวใจเกษตรอินทรีย์ หลังจากไปดูสวนเกษตรผสมผสาน(ตัวอย่าง)ที่ ไร่สุขนิรันดร ถนนมหาวิทยาลัย ไม่ไกลจากบ้านอาม่า ก็มองเห็นวิสัยทัศน์ของคุณพิสิษฐ์ ที่ทำเกษตรอินทรีย์ ครบวงจร รวมถึงการตลาด ต่างประเทศ และมีประสบการณ์สูง ผ่านวิกฤติมามากมาย เห็นทางรอดความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีการเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ และมีออร์เดอร์พืชอยู่ในมืออยู่แล้ว จึงเห็นสอดคล้องกันว่าเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง นำพาความมั่นคงทางอาหาร เกษตรผู้ผลิตอาหารที่ปลอดภัย จะเป็นเกษตรที่พอเพียงทั้งความรู้ ทั้งความเข้าใจระบบเกษตรอินทรีย์ที่ปลอยภัยและมั่นคงทางอาหารและชีวิต อาม่าเริ่มจะมองเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์.แล้วค่ะ ต้องเพียรต่อไป…..

วันนี้ได้ยินเสียงนกกระรางหัวหัวขวาน ร้องต้อนรับ เป็นนกที่สวยมากซึ่งไม่เคยมาก่อนกลับมาหารูปในหนังสือนก จึงรู้ว่าเป็นนกกระรางหัวขวาน แต่ตัวที่เห็นหงอนที่หัวยาวกว่าปกติ และสีออกขาวๆ ปลายแต้มสีดำนิดหน่อย แต่ในหนังเป็นสีน้ำตาล กล้องมีปัญหาอีกแล้วถ่ายรูปไม่ได้ เลยจับภาพนกไม่ได้เบลอไปหมด กล้องมีเสียงร้องปี๊ปๆๆๆ แล้วค้างทำอะไรต่อไปไม่ได้ เป็นอันว่าตวรหารูปมาให้ดู จึงเข้าไปค้นในอินเตอร์เน็ต  เจอนกกระรางหัวขวาน แต่ก็สีหงอนที่หัวทั้งสั้น และสีต่างกับ ตัวที่อาม่าเจอที่มีหงอนสีออกขาวๆ  และยาวคล้ายนกกระกาตั้วของอินโดนิเซีย


จึงนำภาพมาให้ดูหน้านกกระรางหัวขวานทั่วๆไป  ขอ ขอบคณเจ้าของภาพไว้ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

เพื่อความั่นคงทางอาหารเพราะเป็นเวลาเที่ยง หมียักษ์แนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวด็อกเตอร์ ที่แถวการเคหะ จึงไปฝากความมั่นคงทางอาหารที่นั่น เจออาจารย์มทส. ที่นั่นอีกคน เลยกลายเป็นทริปเปิลด็อกส์(เตอร์)โดยไม่นัดหมาย ในวันมาฆบูชาค่ะ



Main: 0.10563802719116 sec
Sidebar: 0.064033031463623 sec