ความมั่นคงทางอาหาร 10 (ดีปลากั้ง)

อ่าน: 2710

อาม่าเป็นเครื่อข่าย ของกลุ่มผู้ก่อการดี ครือข่ายการเกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีตฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง

เป้าหมายผู้ก่อการดี คือ ร่วมมือร่วมใจใฝ่รู้ ไม่จำกัดความรู้ ไม่จำกัดเพศ และวัย ล้วนมีใจที่มีความเพียรเป็นที่ตั้ง มีสติ มีธรรมนำชีวิต เป็นหลักของการดำเนินชีวิต ของเครื่อข่าย ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน สร้างนวตกรรมทางการเกษตร ที่ผสมผสาน ทดลองทดสอบในพื้นที่อีสาน ดินแดนที่ทุกคนว่าแห้งแล้ง จนได้นวกรรมที่ใหม่ที่ปฏิบัติ แล้วเห็นผล ตือ เกษตรประณีต ๑ไร่ สามารถนำมาขยายผล ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ของแต่ละภูมิภาค ให้เหมาะกับพื้นที่ และวิถีชีวิต สามารถแก้จนเกษตร คนอีสานได้ แค่นั้นเอง

เริ่มต้นด้วยการ ออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ออมความรู้ ออมน้ำใจ แล้วแบ่งปั้นความรู้ กันด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และลงมือทำอย่างมีความเพียร  หากเกิดปัญหาที่แก้ได้เองก็ช่วยกันเองได้ แต่ถ้าต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีี เราก็สร้างเครือข่ายกัยสถาบันการศึกษา ในจังหวัดนั้น เพื่อขอความช่วยเหลือ ปราชญ์ชาวบ้านเองก็ช่วยขยายองค์ความรู้ร่วมกับสถาบันกาศึกษานั้นๆ  แบบร่วมด้วยช่วยกัน เป็นขบวนการก่อการดี  เครือข่ายเราได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก ฝ่ายปรับแปลงถ่ายทอดเทตโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ. นครราชสีมา

เมื่อออมน้ำพอเพียงแล้วก็ สามารถออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ เพื่อสร้างความั่นคงทางด้านอาหารครบทุกหมวดหมู่ ออมไม้ใช้สอย ออมไม้มีค่าเป็นทรัพย์ ให้ลูกหลานและออมพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับบริโภคในรูปของอาหาร และเยียวยาตัวเองในรูปของสมุนไพรที่เป็นองค์ความรู้ของการเยียวยาตัวเอง ตามแนวทางวิถึชีวิตที่บรรพบุรุษสั่งสมมา ในที่สุดก็เกิด องค์ความรู้ใหม่ จากการผสมผสานร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน ทำการศึกษาทดลองจนบังเกิดผลประจักษ์อย่างชัดเจน จากระบบระเบียบการศึกษาวิจัย มีการสังเกตุุ จดบันทึก รวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  ศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิชาการ อย่างเป็นระบบ จนปราชญ์ชาวบ้านกลายเป็นนักวิจัยที่สอดคล้องกับที่ตรงกับความต้อง จนมีความรู้ความเข้าใจที่พอเพียง เพื่อทำ การเกษตรพอเพียง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี    จ. นครราชสีมา

สิ่งที่อาม่าได้มาเต็มๆ ในการไปศึกษดูงานร่วมกับกลุ่มที่ ๒ คือสมุนไพรสองตัวค่ะ

ตัวแรกคือ ดีปลากั้ง จึงไปค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติมต่อยอดจาก http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=1687.0 ซึ่งอาม่าใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และอ้างอิงได้อย่างใจค่ะ เป็นกูรูทางต้นไม้ ฝีมืถ่ายภาพขั้นเทพค่ะ ขอนำมาให้ชมเป็นแค่น้ำจิ้ม เพื่อกระตุกต่อมอยากรู้ค่ะ

อาม่าเองก็จะเก็บภาพมาเช่นกันแค่เป็นหลักฐานว่าได้เจอสมุนไพร ตัวนี้ที่บ้านพ่อจันทร์ที ประทุมภา เพื่อไปค้นคว้าศึกษาต่อไปค่ะ


ความั่นคงทางอาหาร 9 (รู้เขาให้มาก รู้เรามากแล้ว)

อ่าน: 2990

ความเพียร คือ ปุ๋ยแห่งความสำเร็จ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี    จ. นครราชสีมา

๑๑ กพ. ลงทะเบียน  แล้วรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน อาม่าและหมียักษ์ไปตรงเวลา แต่ วุฒิอาสาฯ ท่านมาก่อนค่ะ เราก็กินกันแค่สองคนที่โต๊ะอาหารโต๊ะใหญ่ เป็นอาหารจานเดี่ยวที่ทำไว้เสร็จแล้วพร้อมยกเสิร์ฟทันทีค่ะ

๑๒ กพ. ศึกษาดูงาน แบ่งเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ศึกษาดูงาน โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส อ.เมือง จ. นครราชสีมา และโครงการชุมชนจัดการตนเองตามวิถีพอเพียง หมู่ที่ ๒ บ้านใหม่อุดม ต. บ้านใหม่ อ. หนองบุญมาก จ. นครราชสีมา อ.แพนด้าอยู่กลุ่มที่ ๑ สมความตั้งใจ

กลุ่มที่ ๒ ศึกษาดูงาน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมพวง นายจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง หมู่ ๖ ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา อาม่าถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนี้ ตรงกับความต้องการที่จะเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงไปให้ ไม่ต้องขับรถไปเอง….โชคดีจริงๆ

ไปทีไรนอกจากอิ่มท้องด้วยของกินที่รู้ใจกัน ยังอิ่มความรู้เสมอค่ะ ได้รู้จักสมุนไพรเพิ่มอีกสองต้นค่ะ ดังภาพข้างบน

เป็นที่น่าเสียดายแท้ๆ ที่วุฒิอาสาฯภาคอิสาน ส่วนใหญ่ไม่รู้จักท่าน อาม่าขออนุญาต นำประวัติความเป็นมาที่ หาอ่านได้ในอินเตอร์เน็ตมากมาย มาให้อ่านเพียงน้อยนิดค่ะ เชิญเลือกอ่านได้ตามสบาย หรือจะอ่านทั้งหมดก็ไม่ว่ากัน ถ้ามันกว่านั้นก็ถามพ่อกู(เกิล)ดูเอาเถิด

http://job.haii.or.th/vtl/index.php?option=com_content&task=view&id=293&Itemid=44

http://sites.google.com/site/banrainarao/community/12_12

http://www.webfels.org/f/f74/02.htm

http://www.thaihealth.or.th/node/4353

นี่เป็นส่วนเล็กๆ น้อยที่ อาม่านำมาแนะนำให้ ท่านวุฒิอาสาฯ ทำความรู้จักท่าน

วิธีลัดที่จะทำความรู้จักท่าน อาม่าจัดมาให้ค่ะ( รู้เขารู้เราจะทำอะไรก็มีชัยไหกว่าครึ่ง)

กลับจากการศึกษาดูงาน ก็เย็นโข ต้องสร้างความมั่นคงทางอาหาร อิ่มท้องแล้วจึงประชุมกลุ่มย่อย ตามที่แบ่งเป็นสองกลุ่มข้างต้น เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการดูงาน และแนวทางประยุกต์ใช้ แล้วนำเสนอที่ประชุม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ตามสไตล์วุฒิอาสา ผู้ทรงภูมิฯ ทั้งหลายแคว้นแดนอิสาน


ความมั่นคงทางอาหาร 8 (การปรับเปลี่ยน…)

อ่าน: 2721

โครงการความมั่นคงทางอาหาร มีขั้นมีตอนของวิธีการ….ควรมีความมุ่งมั่นและอดทน ทำที่ละขั้นทีละตอน พร้อมน้อมรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้มีประสบการ์ทุกท่าน เพื่อปรับแผนให้สอดคล้องและ ทำได้ในแต่ละพื้นที่ค่ะ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบเดิมๆ …ไม่ง่าย และยากอย่างที่หลายคนคิด..ควรให้เวลา…และความเชื่อมั่นว่าทำได้ การสร้างกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำ ในการปรับเปลี่ยนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ เพื่อทำแปลงสาธิตในพื้นที่นั้น จำเป็นที่ต้องลงไปดูพื้นที่จริงว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด พร้อมให้ความเขื่อมั่น ให้คำแนะนำช่วยเหลือ… เพื่อให้บรรลุผล เป้าหมายต่อไป เกษตรกรเหล่านี้ ก็จะช่วยขยายผล…วิธีขยายพันธุ์ข้าวฯ ด้วยวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ  ต่อไป…ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และสามารถทำเองได้ทุกขั้นตอน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เกิดการเรียนรู้จริง ด้วยการลงมือทำ….

ออมดิน ออมน้ำ ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ความความรู้ ออมน้ำใจ เพื่อขยายองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนของตัวเอง  แล้วแบ่งปันปัญญาสร้างเครือข่าย สู่ชุมชนใกล้เคียง แบบค่อยเป็นค่อยไป ก้าวย่างอย่างมั่นคง…มีนักวิชาการเป็นเพื่อนคอยให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพราะจำเป็นต้องค้องพึ่งความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทางวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา ก็ได้สร้างเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน กับหน่วยงาน ที่มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำงานสอดคล้องกัน  โดยน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริ  โดยปรับแปลงเป็น “เกษตรพอเพียง” ลงไปสู่พื้นที่ให้เหมาะสม และปฏิบัติได้จริง ภายใต้โครงการ “ความมั่นคงทางอาหาร” กิจกรรมอันดับแรกที่ทำ คือให้ความรักก่อนให้ความรู้ เพื่อรู้เขารู้เรา จะทำการสิ่งใดย่อมมีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง ตรงกับหลัก เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา

อันดับแรกที่วุฒิอาสาฯ ลงมือทำ คือ ออมดิน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้น โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน เรื่องการบำรุงดิน วิธีทำปุ๋ย อินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับพื้นที่  เพื่อออมดินไว้ใช้อย่างมั่นคง เพื่อผลิตอาหาให้พอเพียง และมั่นคงในที่สุด  ซึ่งได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือ จากฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาีรี มาจัดฝึกอบรมปฏิบัติการ ในพื้นที่ของตำบล บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก เมื่อ ๙ กพ. ๒๕๕๔ และจะมีการมาฝึกอบรม อีกสามหลักสูตรสามครั้ง ตามความต้องการของคนในชุมชนแห่งนี้ค่ะ

เกษตรผสมผสานคืองานที่จะเกิดขึ้นตามมาติดๆ  เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การทำการเกษตรครบวงจรจะค่อยปรับให้เหมาะกับพื้นที่แต่ละแปลง ปลูกทุกอย่างที่ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่รอบๆ ที่นา ผลพลอยได้จากพืชและสัตว์ นอกจากมีอาหารที่เพียงแล้ว ซากพืชมูลสัตว์ ยังนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อบำรุงดินให้มีคุณภาพ และยั่งยืน นั่นคือ การออมดินที่ฉลาด และยั่งยืน และมีอาหารกินอย่างเพียงพอครบทุกหมู่และมีพลังงานใช้


ความมั่นคงทางอาหาร 6(จุดใต้ตำตอ)

อ่าน: 2221

เพื่อความรอบคอบ Lin Hui จำเป็นเตรียมความพร้อม(รู้เขารู้เรา) ในฐานะวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา  จึงค้นข้อมูลจากทำเนีบยวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดนครราชสีมา(รู้เขา) ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มกราคม ๒๕๕๓ ที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก เพื่อศึกษาหาเพื่อนร่วมอุดมการ(วุฒิอาสาฯ) ที่มีประสบการณ์ ด้านเกษตรผสมผสานแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ก็พบชื่อ พ่อ จันทร์ที ประทุมภา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ที่ Lin Hui และอ.แพนด้า รู้จักเป็นอย่างดี ตลอดหนึ่งปีเต็มไม่ทราบมาก่อนว่า มีปราชญ์ชาวบ้านผู้โด่งดังระดับชาติ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรประณีตประณีต หนึ่งไร่แก้จนคนอิสานเป็นวุฒิอาสาฯ ของโคราช จุดใต้ตำตอ จริงๆ…..

Lin Hui รีบโทรศัพท์ไปขอโทษ พ่อจันทร์ที ด้วยความไม่เคยรู้มาก่อน ทั้งที่ท่านคือเพชรเม็ดงามของอิสาน ที่ Lin Hui นับถือ และไปหาเมื่อ ๕ กย. ๒๕๕๓ เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการ “การขยายเครือข่ายเกษตรประณีต ๑ ไร่ สู่ ๑ ล้านครอบครัวภาคอิสาน เพื่อสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข ด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวตกรรม ๕ กันยายน ๒๕๕๓”

ท่านดีใจมาก ที่ Lin Hui ทำโครงการความมั่นคงทางอาหารให้วุฒิอาสาฯ(รู้เรา) ท่านขอพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงไปช่วย ขยายพันธุ์ข้าวฯ เพื่อความมั่นคงทางพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของภาคอิสาน ภายใต้โครงการความมั่นคงทางอาหาร

วันที่ ๑๒ กพ. ๒๕๕๔ ที่จะถึง Lin Hui จะเอาพันธุ์ข้าวฯ ไปให้ พอ่จันทร์ที่ถึงบ้านค่ะ ในวันที่ไปศึกษาดูงาน “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ ตำบล ตลาดไทร อำเภอ ชุมพวง จังหวัด นครราชสีมา” บ้านของพ่อจันทร์ที  ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)



Main: 0.097121000289917 sec
Sidebar: 0.15289878845215 sec