ช่วยงาน KM ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

อ่าน: 2156

อาม่าและหมียักษ์ได้รับการแต่งตั้งจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ให้เป็นกรรมการตัดสินผลงานโครงการ การจัดการความรู้วิธีปฏิบัติที่ดี[Good Practice For Knowledge Management :KM ] ของมหาวิทยาลัยฯ รวม ๕ วิทยาเขต มีวิทยาเขต ขอนแก่น, สกลนคร, กาฬสินธุ์. สุรินทร์ และนครราชสีมา

เอกสารงานที่ส่งมาให้พิจารณา เป็นผลงาน KM ของแต่ละหน่วยงาน ที่มีการลงมือทำและปฏิบัติจริง ส่วนเนื้องานและวิธีการมีหลากหลายมาก  แบ่งเป็น ๗ ประเด็นความรู้ค่ะ

  • กระบวนการจัดการเรียนการสอนใช้ทักษะที่มีเทคโนโลยีเป็นฐาน [Technology Base Education - training]
  • ระบบและกลไกการสร้างความเชี่ยวชาญวิชาชีพ [Professional Oriented] ให้กับนักศึกษา
  • ระบบกลไกพัฒนานักศึกษาให้เป็นยัณฑิตนักปฏิบัติ [Hand-on]
  • การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  • การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
  • การบริการวิชาการแก่สังคมแบบมีส่วนร่วม
  • การพัฒนากระบวนการทำงานของหน่วยงานสายสนับสนุน

หลังจากพิจารณาเอกสารเสร็จ ก็จะเป็นกิจกรรมนำเสนอผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ ๙ กย. ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมมรกตอีสาน ชั้น ๕ อาคารสำนักงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.อีสาน จ.นครราชสีมา มีบรรยากาศที่สบายๆ แบบไม่เครียด ไม่เป็นการแข่งขัน แต่แบ่งปันความรู้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบเรียนลัด ไม่มีลับถามกันได้ช่วยกันทำให้ดีๆ ขึ้นไปค่ะ


การจัดห้องประชุมเป็นรูปตัว U โต๊ะกรรมการอยู่ตรงกลาง ผู้นำเสนอผลงานนั่งด้านข้างทั้งสองข้าง ผู้ที่ยังไม่เสนอผลงานนั่งด้านหลังเพื่อร่วมฟังการเสนอผลงานที่มีเทคนิดหลากหลายเป็นการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันค่ะ บรรยากาศแบบสบายๆ จะลุกเดินได้สะดวกในการจะเดินไปดูโปสเตอร์ทีจัดไว้ด้านหลัง

หลังเสร็จสิ้นการเสนอผลงานของทุกกลุ่ม คณะกรรมการทั้สามท่าน มี รศ.ดร.อรรณพ วราอัศวปติ , ผศ.ดร.พรรณี วราอัศวปติ และ อ.สถาพร ซ้อนสุข ได้ร่วมกันพิจารณา และตัดสินรางวัล ผลการตัดสินมอบให้มหาวิทยาลัยฯ จากนั้นประกาศผล และแจกรางวัล ตามประเด็นความรู้ ๗ ประเภทค่ะ รางวัลที่ ๑ เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท รองอันดับหนึ่ง ๒,๐๐๐ บาท รองอันดับสอง ๑,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชยเป็นเกียรติบัตร ค่ะ

อาม่า มอบรางวัลให้กับหัวหน้าทีมงานที่ได้รับรางวัลที่หนึ่ง จากอีกหลายๆรางวัล ที่กรรมการแต่ละท่านจะเป็นผู้มอบให้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ให้กับผลของการทำดีค่ะ ผู้ที่ไม่ได้รับรางวัลในคราวนี้ แต่ได้รับความรู้ไปแบบเต็มๆ ไปเลย ….พรุ่งนี้เราจะทำให้ดีกว่าวันนี้ค่ะ วลีที่เป็นพลังและกำลังใจให้ทุกกลุ่มค่ะ

ถ่ายภาพร่วมกัน ทุกคนพกพารอยยิ้มกลับภูมิลำเนาหลังงานเลิกค่ะ


บูรณาการองค์​ความรู้สากลสู่แปลงนา

อ่าน: 4148

เครือข่ายชาวนาวันหยุด และชาวนามืออาชีพ ที่ใช้ระบบมิติทางสังคมมาปรับใช้ ให้เข้ากับยุตสมัย จึงเกิดนวัตกรรมลงแขกดำนาแบบร่วมสมัย ดังที่รายละเอียดมีอยู่ในวิดิโอที่ ในบันทึกก่อหน้านี้ ชื่อบันทึก ยกมาทั้งหน้าให้อ่านกัน ส่วนเวที่เสวนาภาคบ่าย “บูรณาการองค์​ความรู้สากลสู่แปลงนา” นั้นฝ่ายจัดทำวิดิทัศน์ กำลังตัดต่อแทรกภาพ อาจใช้เวลาบ้างค่ะ รออีกสักนิด คงได้เห็นวิดีโอการเสวนาภาคบ่าย เพื่อให้สบายใจกัน อาม่าจัดภาพเวที่เสวนาภาคบ่ายวันที่ ๒ สค.มาให้ค่ะ

คุณสุภชัย ปิติวุฒิ กำลังแนะนำการดูแลแปลงนาหลังปัก​ดำ โดยใช้วิธีการแกล้งข้าว กำจัดวัชพืชด้วยระบบแกล้งข้าว(แ​ห้งสลับเปียก) แล้วใช้ โรตารีวีดเดอร์ แถกหญ้าในนาสบายๆ คลุมนาด้วยแหนแดงนางฟ้าผู้รักษา​ต้นข้าว ไล่เป็ดทุ่งหนุ่มสาวลงนาช่วยกำจ​ัดแมลง หอย ปู สัตรูพืช ไซ้ตามซอกกอข้าวสะอาดเรี่ยมเร้เ​รไร …และแถมแหนแดงอาหารโปรดในนาเป​็นรางวัล นาข้าวสะอาด ลดแกสมีเทน สภาพแวดล้อมสะอาด คนทำนาก็สะอาดปราศจากพิษภัยของส​ารเคมี ชีวีก็เป็นสุข
ชาวนามืออาชีพของเราพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ แถวหน้าจากซ้ายไปขวา คือคุณฉับพัณณ์ จิรเศรษฐ์พงศ์ ชาวนามืออาชีพจากกำแพงเพชร คนที่สอง คุณประยูร แดงทรัพย์ ชาวนามืออาชีพ จากนครสวรรค์ คนที่สามตคือ คุณสมปอง จุดมี ชื่อเล่น”ต่อ” เป็นชาวนามืออาชีพ และเป็นผู้พัฒนาโรตารี่วีดเดอร์ ไว้ให้ชาวนามืออาชีพได้ใช้กันมาถึง แปดรุ่นแล้วค่ะ เป็นลูกชายลุงมี (เฝ้านามาไม่ได้กำลังจะเกี่ยวข้าววันอาทิตย์ที่๑๔ สค.นี้) ชาวนามืออาชีพนครสวรรค์ คนนี้แหละที่อาม่าสับสน ตอนแนะนำตัวบนเวที่เสวนาภาคเช้า “นวัตกรรมลงแขกดำนาแบร่วมสมัย”อาม่าเข้าใจว่าเป็นลูกชายลุงวี แล้วก็นั่งติดกันเสียด้วย ชื่อเล่นชื่อ ต่อ เหมือนกันอีก ร้อนถึง ลุงทวี คุ้มรักษา ชาวนามืออาชีพต้องชี้แจงปรับความเข้าใจเล็กน้อยค่ะ ลูกชายลุงวี ชื่อจริง คุณธำรงค์ศักดิ์ คุ้มรักษา มาไม่ได้ต้องเฝ้านาที่ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี ที่จะเก็บเกี่ยวข้าวสิ้นเดือนนี้
ลุงทวี คือคนที่ใส่เสื้อสีฟ้า แถวแรกคนที่สองค่ะ ส่วนขวัญใจชาวนามืออาชีพ อายุน้อนที่สุด เพิ่งจะมีอายุครบ ๒๘ ปี หุ่นดี หน้าตาหลอเหลาเอาการขนาดพระเอกเกาหลีตกขอบไปเลย คือน้องตั้ม คุณอรุณ ศรีเทพ เป็นชาวนาฝีมือระดับเทวดา เป็นที่อิจฉาของหนุ่มๆ ปริญญารุ่นเดียวกันค่ะ หนุ่มรูปงามนามเล่นว่าตั้ม คือคนทียืนแถวหน้าสุดด้านซ้านมือในภาพค่ะ
เวทีเสวนาช่วงบ่าย
“บูรณาการองค์​ความรู้สากลสู่แปลงนา” เวทีนี้ไม่เคยมีก่อนในประเทศไทย​ น่าเสียดายจริงๆสำหรับชาวนาไทย ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการทำ​นาอย่างท่องแท้ จึงทำแบบเดิมๆ ปัญญาหาก็เป็นแบบเดิม ผลลัพท์ ก็เป็นเหมือนเดิม อาม่านำชาวนาที่ปรับเปลี่ยนวิธี​คิด ปรับองค์ความรู้ใหม่ที่ผสมสผานเ​ทคโนโลย๊ ปรับรูปแบบการทำนาแบบใส่ใจกับธร​รมชาติ ลดต้นทุนเพิ่มผลิต พร้อมที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ชาวนาทุกคนทำได้ค่ะ


เหตุผลที่ไม่ให้เผาฟางข้าว

อ่าน: 88648

ทำไมชาวนาถึงถูก ต่อว่าเและถูกห้ามไม่ให้เผาฟางข้าวทั้งในนา และนอกนา

หลายครั้งหลายหนที่ชาวนาได้ยินได้ฟัง แต่ไม่ทำตามนั้นต้องเข้าใจและเห็นใจเขานะคะ เพราะสังคมทุนนิยมเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว ชาวนาทิ้งไร่นาไปสู่แรงงานภาคอุตสากรรม ทำคนให้เป็นเครื่องจักร จึงทำให้ขาดแรงงานภาคเกษตรกรรมรุนแรงขึ้นทุกวัน ทำอะไรที่ต้องพึ่งการซื้อแรงงานจากคน จะพบเห็นการพึ่งพาแรงแบบลงแขกที่เป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่มีคุณค่ายิ่งหายไปจากไร่นา เพราะถูกวิถีชีวิตเร่งรีบครอบงำด้วยวัตถุนิยม จนลืมความงดงามของสังคมชนบทที่พึ่งอาศัยแบ่งปันกัน มาเป็นสังคมชาวนาที่ต้องจ่ายค่าจ้างเป็นค่าแรงงานเพิ่มขึ้น นับวันแรงงานยิ่งหายากมากขึ้น จนชาวนาท้อ เพราะถึงแม้มีแรงแต่ขาดทักษะการทำนา จ้างค่าแรงงาน จบแล้วจบเลยไม่มีความพูกพันแบบดั้งเดิม เงินมิอาจซื้อความงดงามของวัฒนธรรมความมีน้ำใจได้ค่ะ  ความจำเป็นที่จะลดค่าแรงงานในการไถกลบหมักฟางในนา กว่าฟางเปื่อยก็ใช้เวลาไม่ทันใจ จึงอาศัยการเผาฟาง อาศัยยาฆ่าหญ้า อาศัยสารเคมีกำจัดแมลงแลพศัตรูพืช ทั้งที่รู้ถึงอันตรายจากสารเคมี แต่จะอ้างว่าไม่มีทางเลือก อาม่าจึงพยายามไปเสาะทางเลือกมาให้ค่ะ บันทึกนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาให้พิจารณาค่ะ ในการตอบโจทย์ว่าทำำไมไม่ให้เผาฟาง

ทำนาปลูกข้าวแบบไม่ต้องฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบ ประหยัดค่าแรง ลดต้นทุน
ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน

ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตัน
จะมีไจนโตรเจน 7.6 กก., ฟอสฟอรัส 1.1 กก., โพแทสเซียม 28.4 กก., แมกนีเซียม 2.3
กก., แคลเซียม 3.8 กก. กำมะถัน 0.34 กก. เหล็ก 150 กรัม. สังกะสี 20 กรัม ทองแดง 2
กรัม โบรอน 16 กรัม. ซิลิก้า 41.9 กิโลกรัม คลอรีน 55 กิโลกรัม (สถาบันข้าวนานาชาติ
IRRI, Manila, Philippines (1987)) จากตัวเลขดังกล่าว
สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของฟาง
ถ้าไม่เผาฟางก็สามารถประหยัดปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนอาหารเสริมได้มาก

ต้นข้าวต้องการปุ๋ยธาตุอาหารหลักเพื่อให้ได้เมล็ดข้าวเปลือก
100 ถังหรือหนึ่งตันโดยต้องการ ไนโตรเจน 22.2 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว 7.6 กก.
ต้องการเพิ่มอีก 14.6 กก. ฟอสฟอรัส 7.1 ก.ก. มีอยู่ในฟางแล้ว 1.1 ต้องการเพิ่มอีก
6.0 กก. โพแทสเซียม 31.6 กก. มีอยู่ในฟางแล้ว
28.4 ต้องการเพิ่มอีก 3.2 กก.
จะสังเกตุเห็นได้ว่าในส่วนที่ขาดหายไปนั้นก็คือออกไปในรูปของแกลบหรือเปลือกข้าว
จึงควรต้องเพิ่มเข้ามาให้เกิดความสมดุลกัน ธาตุอาหารหลักทั้งสามตัวถ้าสังเกตให้ดี
ไนโตรเจน 7.6 กิโลกรัมจากฟางข้าว เทียบเท่าได้กับ ปุ๋ยเคมี 16-20-0 หนึ่งกระสอบ
คือมีไนโตรเจนตัวหน้าร้อยละ 16 ปุ๋ยหนัก
50 กิโลกรัมต่อกระสอบ ก็เท่ากับมีไนโตรเจนอยู่ 8 กิโลกรัม ในฟางข้าวขาดเพียง 0.4
กิโลกรัมเท่านั้นเอง ส่วนโพแทสเซียมในฟางข้าวมีอยู่ 28.4 กิโลกรัม
เทียบเท่าได้กับปุ๋ย 0-0-60 หนึ่งกระสอบ เทียบเปอร์เซ็นต์เหมือนกับปุ๋ยไนโตรเจนในข้างต้น

ถ้าเกษตรกรกระทำการเผาตอซังฟางข้าว
ก็เท่ากับว่าได้เผาปุ๋ยทิ้งไป 2 กระสอบ เป็นเงินก็เกือบ 2,000 บาทสูญเสียรายได้หรือกำไรไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ลงมือปลูก
แต่ถ้าเราไม่เผาฟางเท่ากับเราได้สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินโดยเพิ่มปุ๋ยให้กับดินไปอีก
2 กระสอบ แถมยังได้ธาตุอาหารเสริมจุลธาตุต่างๆ
ช่วยให้ข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง โดยอาจจะเติมปุ๋ยลงไปบ้างเพียงเล็กน้อยตามปริมาณที่ต้นข้าวต้องการจากผลการวิจัย
IRRI ด้านบน

อีกทางเลือกหนึ่งเราสามารถใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟที่ชื่อว่า
“ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์” ซึ่งมีแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ มากมาย ทั้งฟอสฟอรัส,
แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, เหล็ก, ทองแดง แมงกานีส , สังกะสี, โบรอน,
มิลิบดินัม ฯลฯ และที่สำคัญคือแร่ซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิด (H4Sio4) ที่ช่วยให้ข้าวใบตั้งชูสู้แสง
ไม่ล้มง่ายปลอดภัยในช่วงเก็บเกี่ยวที่มีพายุฟ้าฝนลมแรง ช่วยเพิ่มน้ำหนัก
เมล็ดแกร่ง โดยทำการหว่านเตรียมดินตอนทำเทือกเพียง 1 – 2 กระสอบต่อไร่
จะช่วยลดทดแทนการฉีดพ่นปุ๋ยยาฮอร์โมนและธาตุอาหารเสริมทางใบ ช่วยลดต้นทุนไม่ต้องสิ้นเปลืองเรื่องแรงงานในการฉีดพ่น
อันนี้ก็ฝากพี่น้องเกษตรกรให้ช่วยเลือกพิจารณากันสักนิดนะครับ หากเลือกพรรค เลือก
ส.ส. ยังตัดสินใจไม่ได้ ก็ลองเลือกใช้
“ซีโอ-พูมิซซัลเฟอร์” กันดูก่อนนะครับ

มนตรี
บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ http://www.thaigreenagro.com


ความมั่นคงทางอาหาร 26(เกษตรกรใหม่)

อ่าน: 2467

๑๔ เมษายน ๒๕๕๔

ลูกศิษย์เกษตรพอเพียง มารดน้ำดำหัวขอพรวันปีใหม่ อาม่าอัญเชิญพระพุทธรูป ภปร.ปางประทานพร ซึ่งเป็นพระประธานจากห้องพระบนบ้านลงมาไว้ที่ห้องรับแขกชั้นล่าง ให้ลูกศิษย์ได้สรงน้ำพระในเทศกาลสงกรานต์ เพื่อความเป็นศิริมงคลในวันปีใหม่ไทย

สำหรับลูกศิษย์เกษตรพอเพียงผู้มีความมุ่งมันหันมาทำเกษตรอินทรีย์ กลุ่มนี้มีอาชีพ เป็นสัตวบาลสองคน และเป็นเจ้าของธุระกิจสองคน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำการเกษตรแนวใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ คือการทำการเกษตรประณีต ที่ต้องใส่ใจ ทำเองได้ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องดิน-น้ำ ก็จะต้องรู้ให้ได้ว่าดิน-น้ำที่จะใช้ทำการเกษตร มีโลหะหนักอันตราย และสารพิษตกค้างหรือไม่ต้องเก็บตัวอย่างน้ำ-ดิน ส่งไปวิเคราะห์ ยังหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง อย่างกรมพัฒนาที่ดิน หรือสถาบันการศึกษาที่มีห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม ฯลฯ.

การทำการเกษตร อาจเริ่มลงมือทำเกษตรประณีตในพื้นที่เล็กๆ ก่อนก็ได้ หากแต่ ต้องมีความเข้าใจการบริหารจัดการ ตั้งแต่เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องปุ๋ยเรื่องการกำจัด โรค แมลงศัตรูทั้งของพืช และสัตว์  ในการทำการเกษตรผสมผสาน ด้วยแรงงานจากทุกคนในครอบครัว สำหรับในพื้นที่หนึ่งไร่ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และเลี้ยงสัตว์ที่ต้องกินต้องใช้ ต้องมีข้าวกินตลอดทั้งปี มีเนื้อสัตว์ และพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรไว้ใช้ยามจำเป็น เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง และอย่างมั่นคง โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจ มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่และความสามารถของแต่และครอบครัว เพื่อลดรายจ่าย แล้วค่อยๆเพิ่มรายได้ จากผลผลิตที่เหลือกินเหลือใช้ที่แจกจ่ายเพื่อนบ้าน ก็ขายในท้องถิ่น เช่นพืชผัก ผลไม้ ปลา เป็ดไก่ ไข่ ฯลฯ.ที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ คุณภาพปลอดสารพิษ ทั้งผู้ปลูกและผู้กินย่อมปลอดภัย แล้วยค่อยๆ ขยายเท่าที่ทำได้ ทำแล้วมีความสุข ทำแล้วมีผลผลิตที่เก็บได้เป็นรายวัน รายอาทิตย์ รายเดือน รายไตรมาส รายหกเดือน รายปี เหลือใกินเหลือใช้ ย่อมเกิดรายได้หมุนเวียนให้เก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี กลายเป็นเงินเก็บ สร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างสมบูรณ์ และความมั่นคงในชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกร

ข้าวนั้นจะปลูกด้วยวิธี ปลูกข้าวต้นเดียวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตอนนี้ทุกคนได้แหนแดงไปขยายให้เพียงพอต่อการใช้ การทำปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ การทำไว้ใช้เอง จากมูลสัตว์ จากการหมักเศษอาหารพืชผักผักเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อใช้ปรับปรุงดินและคืนชีวิตเล็กๆ ให้กลับไปสู่ดิน เพื่อฟื้นฟูสภาพดินให้คืนสู่ธรรมชาติที่สมดุลย์ พร้อมที่จะรองรับการเพาะปลูกที่ฉลาด มีการบริหารจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่ และการปลูกพืชหลายๆชั้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน เหมือนคอนโดพืชค่ะ

ทุกคนมีความพร้อม วันนี้จึงมาหาเพื่อแสดงความพร้อมที่จะเป็นเกษตรอินทรีย์ ที่พอเพียงในยุคข่าวสารข้อมูลค่ะ

ทุกคนมีรอยยิ้มสู้ที่จะเป็นเกษตรกร รุ่นปลุกเสกของอาม่าค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 16(นาผสมผสานเทคโนโลยี)

อ่าน: 2880

เมื่อคืน หมอหยกมาดูแลน้องแมวที่อึไม่ออกโดนสวนก้น…อิอิ

ขณะเดียวกันพาเกษตรกรอินทรีย์มาขอคำแนะเรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลย สำหรับเรื่องเทคนิคปลูกข้าวต้นเดี่ยว หลักการเหมือนกันคือสะดวกต่อการดูแลนาข้าวให้ การเจริญเติบโตและแตกกอได้เต็มที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ ประเทศจีนทำมานานแล้ว เกษตรกรท่านนี้เคยเดินทางไปดูการทำนาที่ประเทศจีน และมีคำถามมากมายพออธิบายฟัง ถึงกับร้องอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะเห็นต้นข้าวเป็นระเบียบ เหมือนใช้เครื่องจักรดำนา แต่ไม่ได้รู้ขั้นตอนก่อนหน้านี้  เป็นคำตอบว่าทำไมคนจีนเขาดำนาได้เหมือนเครื่องจักร…..การดูแลนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาวางแผนตั้งแต่เพาะกล้า วางแผนระเบียบแถวและแนว ด้วยเครื่องมือง่ายๆที่ผลิตขึ้นเอง ใช้ในการตีตารางพิกัดบนผืนนา แล้วปลูกตามพิกัดกัดที่เตรียมไว้บนแปลงนา ทุกอย่างต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ปริมาณน้ำก็ใช้ให้น้อยที่สุดแต่มีประสิทธิที่สุด เมื่อต้นข้าวโตอย่างเป็นระเบียบ การกำจัดวัชพืชในแปลงนาก็ทำได้สะดวก ชาวนาก็รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทุนแรง โรตารีวีดเดอร์ กำจัดวัชพืชพร้อมๆ กับเป็นการพรวนดินเพิ่มออกซิเจนให้กับรากต้นข้าว ลดก๊าซมีเทน ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตเต็มที่ และการให้ปุ๋ยก็พิจราณา ว่าข้าวต้องการธาตุอาหารอะไรในแต่ละช่วงเวลาทีเจริญเติมโต จึงให้ปุ๋ยตรงกับความต้องการของข้าว ข้าวเป็นธัณญพืช ย่อมต้องปุ๋ยที่ต่าง จากพืชหัวเช่นมันสำปะหลัง หรือพืชลำต้นเช่นอ้อย ฯลฯ. ต้องเข้าใจเรื่องปุ๋ยคืออาหารของข้าว เมื่อจัดให้ตรงใจข้าว ข้าวก็ตอบแทนชาวนาด้วยผลผลิตอย่างเต็มอกเต็มใจ ต้นข้าวแข็งแรงก็สามารถต้านทานแมลง และห่างไกลจากโรค เพราะเป็นทำการเกษตรประณีต ใช้ระบบห่วงโซ่อาหารจัดการสัตรูต้นข้าวค่ะ ทุกขั้นตอนจะปลอดภัยต่อข้าวและชาวนา

เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นอาหารคุณภาพ ปราศจากสารพิษ ทำอย่างไรจึงจะมีความเชื่อมั่นว่าปลอดสารพิษ อันดับแรกต้องตรวจคุณภาพ ดิน และน้ำ ทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางด้านเคมี และตรวจโลหะหนัก สารตกค้างในดิน ไม่ว่าจะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลงในพื้นที่ ที่จะทำนา  หากปลอดจากสารพิษ ก็ลงมือปลูกได้ตามวิธีการที่แนะนำให้ปลูกข้าวต้นเดี่ยว ด้วยใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่เหมาะกับข้าว ขอเน้นว่าปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารตรงกับข้าวที่เป็นธัณญพืช  การเตรียมดินครั้งแรกต้องใส่ธาตุอาหาที่จำเป็นกับพืช จะเป็นขี้วัวขี้ควาย หรือขี้หมูเสียก่อน ให้กับข้าวและแหนแดง เป็นเบื้องต้น การใช้แหนแดงใส่ลงในแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงแค่ ๒ เซนติเมตร  เมือปักดำเสร็จ ก็หว่านแหนแดง แหนแดงก็จะเจริญเติมโต ขยายปริมาณที่รวดเร็วมาก ก็จะคุมเต็มพื้นที่ ทำให้วัชพืชขึ้นลำบาก ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลต้นข้าวต้นข้าวในระยะแรกที่ต้องสร้างใบสร้างลำต้นให้แข็งแรงและแตกกอได้มาก แหนแดงทำหน้าดึงไนโตรเจนจากอากาศมาเลี้ยงต้นข้าวค่ะ และเลี้ยงตัวเองด้วย แหนแดงเจริญเติบโตสร้างโปรตีนและมีธาตุอาหารที่ครบถ้วนเมือตายไปก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จึงนับว่าแหนแดงมีพระคุณต่อชาวนามากค่ะ



Main: 0.068933963775635 sec
Sidebar: 0.04607892036438 sec