ความมั่นคงทางอาหาร 11 (ดอกยอเก้า )

อ่าน: 2393

สืบเนื่องจากการไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมพวง ของพ่อจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา เมื่อ วันที่ ๑๒ กพ. ที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่อาม่าเป็นเครื่อข่ายผู้ก่อการดีของที่นี่ มีการแบ่งปันความรักความรู้เสมอมา มาคราวนี้ก็เจอสมุนไพร ที่ต้องไปศึกษาต่อ สมุนไพรตัวที่สองที่ พ่อบอกว่าชื่อ “ยอเก้า” และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากินไม่ได้ หน้าที่ผู้ก่อการดีก็แค่หาทางรู้ให้ได้ว่า ยอเก้า มีชื่อว่าอะไร และมีสรรพคุณ มีประโยชน์ทางยา อย่างไรบ้าง อาม่ามีเพื่อนเป็นปราชญ์(กูรู)หลายด้าน จึงใช้วิธีคุยกับปราชญ์ (คุยกับปราชญ์หนึ่งเพลา ดีกว่าไปท่องตำราเป็นสิบปี)
สมุนไพร

หลังจากปรึกษา คุณ Shinobi Sakka (สัมปชัญญบรรพ)ผู้ที่เคยเป็นลูกศิษย์หมียักษ์ในสมัยมาเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ที่ มทส.ตอนเป็นนักเรียนระดับมัธยมค่ะ เป็นเพื่อนอาม่าในเฟสบุ๊ค มีความสนใจเรื่องของต้นไม้สมุนไพร เหมือนอาม่าเราเป็นเพื่อนกันนานพอสมควร จึงรู้ว่าอาม่าใช้นามสกุลของหมียักษ์ ก็ยิ่งมีความรักความผูกพันธ์แน่นแฟ้นกลายเป็นศิษย์อาจารย์กัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สร้างความมั่นคงทางปัญญาเพิ่มขึ้น ก็ช่วยกันค้นหาข้อมูล จนในที่สุด เราก็ใช้บริการของ แมกโนเลียไทยแลนด์ แหล่งรวมกูรูผู้รู้เรื่องพืชระดับเทพ(รวดเร็วเหมือนเทพ) อาม่าจึงมีเครื่อข่ายเทพด้วยค่ะ อยากรู้อะไรก็ต้องหาเครื่อข่ายที่เป็นกูรูเรื่องนั้นๆ มาช่วยเติมเต็มความรู้ผ่านครือข่าย สังคมออนไลน์ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาม่าขอขอบคุณ กูรู ทุกๆคนที่ช่วยค้นหาและให้คำตอบ ที่รวดเร็วดุจเทพค่ะ
หลังจากนั้นอาม่าก็ตามไปหาความจริงของเส้นทางชี้แนะของกูรู

ข้อมูลจาก
http://www.thaiherb.most.go.th/
เสนียด

ชื่อวิทยาศาสตร์:

Justicia adhatoda L.

วงศ์:

ACANTHACEAE

ชื่อพ้อง:

Adhatoda vasica (L.)

ชื่อสามัญ:

Adhatoda;Malabar Nut Tree;Vassica

ชื่ออื่น:

กระเหนียด (ภาคใต้);กุลาขาว;บัวลาขาว;บัวฮาขาว (ภาคเหนือ);โบราขาว (เชียงใหม่);โมรา;เสนียดโมรา (ภาคกลาง);หูรา (นครปฐม);หูหา (เลย)

ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ลำต้น:

เป็นไม้พุ่มใหญ่ แตกกิ่งก้านก้านสาขามากมายรอบๆ ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร

ใบ:

เป็นไม้ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียว และมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5- 2.5 นิ้ว ยาว3.5-7 นิ้ว

ดอก:

ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบ ส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ใบเลี้ยงที่รองรับดอกมีสีเขียวเรียงกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกแยกออกเป็นปาก ด้านบนมี 2 แฉกสีขาว ส่วนด้านล่างมี 3 แฉกสีขาวประม่วง เกสรมี 2 อัน

สรรพคุณตามตำรับยาไทย

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:

ใบ : ใช้ห้ามเลือด หรือเข้ายาหลายอย่างที่เกี่ยวกับเลือดเช่น บำรุงเลือด ฯลฯ แก้ฝี แก้หืด แก้ไอและขับเสหมะ

วิธีทำ/วิธีใช้:
นำเอาน้ำคั้นจากใบสดประมาณ 15 มิลลิลิตร ผลมกับน้ำผึ้งหรือน้ำขิงสดกิน


ความมั่นคงทางอาหาร 10 (ดีปลากั้ง)

อ่าน: 2692

อาม่าเป็นเครื่อข่าย ของกลุ่มผู้ก่อการดี ครือข่ายการเกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีตฯ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง

เป้าหมายผู้ก่อการดี คือ ร่วมมือร่วมใจใฝ่รู้ ไม่จำกัดความรู้ ไม่จำกัดเพศ และวัย ล้วนมีใจที่มีความเพียรเป็นที่ตั้ง มีสติ มีธรรมนำชีวิต เป็นหลักของการดำเนินชีวิต ของเครื่อข่าย ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน สร้างนวตกรรมทางการเกษตร ที่ผสมผสาน ทดลองทดสอบในพื้นที่อีสาน ดินแดนที่ทุกคนว่าแห้งแล้ง จนได้นวกรรมที่ใหม่ที่ปฏิบัติ แล้วเห็นผล ตือ เกษตรประณีต ๑ไร่ สามารถนำมาขยายผล ให้สอดคล้องกับภูมิสังคม ของแต่ละภูมิภาค ให้เหมาะกับพื้นที่ และวิถีชีวิต สามารถแก้จนเกษตร คนอีสานได้ แค่นั้นเอง

เริ่มต้นด้วยการ ออมน้ำ ออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ออมความรู้ ออมน้ำใจ แล้วแบ่งปั้นความรู้ กันด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และลงมือทำอย่างมีความเพียร  หากเกิดปัญหาที่แก้ได้เองก็ช่วยกันเองได้ แต่ถ้าต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีี เราก็สร้างเครือข่ายกัยสถาบันการศึกษา ในจังหวัดนั้น เพื่อขอความช่วยเหลือ ปราชญ์ชาวบ้านเองก็ช่วยขยายองค์ความรู้ร่วมกับสถาบันกาศึกษานั้นๆ  แบบร่วมด้วยช่วยกัน เป็นขบวนการก่อการดี  เครือข่ายเราได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก ฝ่ายปรับแปลงถ่ายทอดเทตโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ. นครราชสีมา

เมื่อออมน้ำพอเพียงแล้วก็ สามารถออมดิน ออมต้นไม้ ออมสัตว์ เพื่อสร้างความั่นคงทางด้านอาหารครบทุกหมวดหมู่ ออมไม้ใช้สอย ออมไม้มีค่าเป็นทรัพย์ ให้ลูกหลานและออมพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับบริโภคในรูปของอาหาร และเยียวยาตัวเองในรูปของสมุนไพรที่เป็นองค์ความรู้ของการเยียวยาตัวเอง ตามแนวทางวิถึชีวิตที่บรรพบุรุษสั่งสมมา ในที่สุดก็เกิด องค์ความรู้ใหม่ จากการผสมผสานร่วมมือกันระหว่างนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน ทำการศึกษาทดลองจนบังเกิดผลประจักษ์อย่างชัดเจน จากระบบระเบียบการศึกษาวิจัย มีการสังเกตุุ จดบันทึก รวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  ศึกษาวิจัยร่วมกับนักวิชาการ อย่างเป็นระบบ จนปราชญ์ชาวบ้านกลายเป็นนักวิจัยที่สอดคล้องกับที่ตรงกับความต้อง จนมีความรู้ความเข้าใจที่พอเพียง เพื่อทำ การเกษตรพอเพียง

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้ของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ ๑๒ ถึง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องอรพิม โรงแรมสีมาธานี    จ. นครราชสีมา

สิ่งที่อาม่าได้มาเต็มๆ ในการไปศึกษดูงานร่วมกับกลุ่มที่ ๒ คือสมุนไพรสองตัวค่ะ

ตัวแรกคือ ดีปลากั้ง จึงไปค้นคว้าหาความรู้มาเพิ่มเติมต่อยอดจาก http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=1687.0 ซึ่งอาม่าใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และอ้างอิงได้อย่างใจค่ะ เป็นกูรูทางต้นไม้ ฝีมืถ่ายภาพขั้นเทพค่ะ ขอนำมาให้ชมเป็นแค่น้ำจิ้ม เพื่อกระตุกต่อมอยากรู้ค่ะ

อาม่าเองก็จะเก็บภาพมาเช่นกันแค่เป็นหลักฐานว่าได้เจอสมุนไพร ตัวนี้ที่บ้านพ่อจันทร์ที ประทุมภา เพื่อไปค้นคว้าศึกษาต่อไปค่ะ


ร่วมใจพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง

อ่าน: 2600

บ้านใหม่อุดม ต.บ้านใหม่ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา
30 สค. 2553 อาม่า-หมียักษ์นำทีมเทคโนธานีลงพื้นที่ บ้านใหม่อุดม พร้อมวุฒิอาสาธนาคารสมอง และสภาพัฒน์ฯ เพื่อทำประชาคมระดมการแก้ปัญหาของชุมชนของคน ในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ พร้อมนำความช่วยเหลือต่างๆ ที่เป็นความต้องการของชุมชนมาช่วยค่ะ เด็กนักเรียนมาแสดงกลองยาวต้อนรับ และมีพิธีสู่ขวัญด้วยค่ะ

หลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ก็เปิดโอกาสให้ทุกคนในชุมชนเล่าถึงปัญา และต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้าง เพื่อทางวุฒิอาสาฯ สภาพัฒน์ และมทส.ระดมกำลังช่วยกันแนะนำ แก้ไขช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการ ตลอดร่วมกันทำแผนพัฒนาชุมชนร่วมกัน งานนี้มทส.โดยเทคโนธานี จะเข้ามาสร้างความเข้มแข็งให้ชุม จะมาร่วมสร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรประณีตต่อไปค่ะ

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ชุมชนแห่งนี้ อาม่าได้นำต้นขนุนไพศาลทักษิณ มามอบให้บ้านใหม่อุดมได้ปลูกในแผ่นดินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงนี้ นอกจากนั้นก็มอบคู่มืออาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงวัย ตามหลัก 3 อ. ของกรมอนามัย จัดทำโดยศูนยือนามัยที่ 5 จ.นครราชสีมา ที่อาม่าเป็นประธานชมโครงการ 9 สัปดาห์สู่สุขภาพดีด้วยค่ะ

Photo 8 of 8 Back to Album · My Photos


การแลกเปลี่ยนเรียรู้นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่

อ่าน: 110769

จากการทำงานร่วมกับสว. วุฒิอาสาธนาคารสมอง 8 เดือนนี้ เดือนที่แปดนี้ อาม่าได้มีโอกาสเจาะใจสว.บางท่านเต็มๆ เลยค่ะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือโอกาสทองที่จะทำให้เราเข้าใจ เข้าถึง จึงดึงศักยภาพท่านออกมา เพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชน เท่านั้นยังไม่พอ อาม่าจะดึงองค์ความรู้ภูมิปัญญา เข้าสู่การศึกษาวิจัยในระดับมือโปรของมหาวิทยลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ครบวงจร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นมหาวิทนยาลัยด้านเทคโนโลยีโดยตรง มีความพร้อมในการ พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำลงไปสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกเหนือจากนี้มหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาล มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษาที่ดูเหมือนจะมีความพร้อมมากในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่พัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อใช้แก้ปัญหาเกือบทุกด้าน  ทุกมิติ

อาม่าจะหมั่นนำปัญหาของชาวบ้าน + ความรู้ภูมิปัญญาของท้องถิ่น มาปรึกษากับทาง มทส. เป็นระยะๆ เพื่อมร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาปรับแผนให้การพัฒนาท้องถิ่นให้ตรงกัน แบบชนิดที่เรียกเกาให้ถูกที่คัน แล้วหาองค์ความรู้ มาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาที่มันตรงกับความต้องการ เมื่อเราทำให้ทุกคนมีความสุขได้ เราก็ยิ่งมีความสุขมิใช่หรือ


มารู้จักและ รักไอทีกันเถอะ

อ่าน: 1775

ห่างหายไปจากลานทับทิม(อาม่า) เพราะข้อจำกัดที่เป็นผู้เขียนลานนี้มาเป็นเวลานาน พื้นที่อัพโหลดภาพเต็มไปนานแล้ว และท่านเทพกรุณาขยายพื้นที่ให้อีก แต่ด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ กลับเหมือนเดิม จึงต้องหาวิธีไปฝากรูปไว้ที่อื่นก่อนแล้วค่อยกอปปี้มาใส่ที่หลัง เลยทำให้ไม่ค่อยได้เขียนในลานนี้ อย่างไรก็ตามก็เปิดบล็อกใหม่ชื่อเดียวกันเพียงใส่ตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็น “ลานทับทิม ๒๕๕๓” แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักกัน

หลังจากไปเป็นวุฒิอาสาธนาคารสมองของจ. นครราชสีมา ก็มีเรื่องราวมากมายหลายเรื่องที่ได้ช่วยผู้สูงวัย ให้เกิดมีความตื่นตัว ให้ความสนใจเกียวความรู้ด้านไอที เพื่อเข้าใจ เข้าถึงจึงกล้าใช้เทคโนโลยี่ไอที

อาม่าเลยทำวิดิทัศน์เพื่อใช้ประกอบการบรรยาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “รู้ทันชีวิตในยุคไอที” จึงนำมาฝากให้ชาวลานปัญญาได้ช่วยกัน(ติ)ชมค่ะ ใช้เพลง รักยุคไฮเทค ของสวีทนุช ที่ป้าหวานกรุณาช่วยหา mp3 มาให้ ใช้เป็นเพลงประกอบวิดีทัศน์นี้ ขอบคุณค่ะป้าหวาน เชิญหาความรำคาญจาก วิดีทัศน์ได้แล้วค่ะ



Main: 0.044820785522461 sec
Sidebar: 0.066780090332031 sec