ความมั่นคงทางอาหาร 11 (ดอกยอเก้า )

อ่าน: 2384

สืบเนื่องจากการไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมพวง ของพ่อจันทร์ที ประทุมภา บ้านโนนรัง ต. ตลาดไทร อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา เมื่อ วันที่ ๑๒ กพ. ที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่อาม่าเป็นเครื่อข่ายผู้ก่อการดีของที่นี่ มีการแบ่งปันความรักความรู้เสมอมา มาคราวนี้ก็เจอสมุนไพร ที่ต้องไปศึกษาต่อ สมุนไพรตัวที่สองที่ พ่อบอกว่าชื่อ “ยอเก้า” และให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากินไม่ได้ หน้าที่ผู้ก่อการดีก็แค่หาทางรู้ให้ได้ว่า ยอเก้า มีชื่อว่าอะไร และมีสรรพคุณ มีประโยชน์ทางยา อย่างไรบ้าง อาม่ามีเพื่อนเป็นปราชญ์(กูรู)หลายด้าน จึงใช้วิธีคุยกับปราชญ์ (คุยกับปราชญ์หนึ่งเพลา ดีกว่าไปท่องตำราเป็นสิบปี)
สมุนไพร

หลังจากปรึกษา คุณ Shinobi Sakka (สัมปชัญญบรรพ)ผู้ที่เคยเป็นลูกศิษย์หมียักษ์ในสมัยมาเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ที่ มทส.ตอนเป็นนักเรียนระดับมัธยมค่ะ เป็นเพื่อนอาม่าในเฟสบุ๊ค มีความสนใจเรื่องของต้นไม้สมุนไพร เหมือนอาม่าเราเป็นเพื่อนกันนานพอสมควร จึงรู้ว่าอาม่าใช้นามสกุลของหมียักษ์ ก็ยิ่งมีความรักความผูกพันธ์แน่นแฟ้นกลายเป็นศิษย์อาจารย์กัน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สร้างความมั่นคงทางปัญญาเพิ่มขึ้น ก็ช่วยกันค้นหาข้อมูล จนในที่สุด เราก็ใช้บริการของ แมกโนเลียไทยแลนด์ แหล่งรวมกูรูผู้รู้เรื่องพืชระดับเทพ(รวดเร็วเหมือนเทพ) อาม่าจึงมีเครื่อข่ายเทพด้วยค่ะ อยากรู้อะไรก็ต้องหาเครื่อข่ายที่เป็นกูรูเรื่องนั้นๆ มาช่วยเติมเต็มความรู้ผ่านครือข่าย สังคมออนไลน์ ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาม่าขอขอบคุณ กูรู ทุกๆคนที่ช่วยค้นหาและให้คำตอบ ที่รวดเร็วดุจเทพค่ะ
หลังจากนั้นอาม่าก็ตามไปหาความจริงของเส้นทางชี้แนะของกูรู

ข้อมูลจาก
http://www.thaiherb.most.go.th/
เสนียด

ชื่อวิทยาศาสตร์:

Justicia adhatoda L.

วงศ์:

ACANTHACEAE

ชื่อพ้อง:

Adhatoda vasica (L.)

ชื่อสามัญ:

Adhatoda;Malabar Nut Tree;Vassica

ชื่ออื่น:

กระเหนียด (ภาคใต้);กุลาขาว;บัวลาขาว;บัวฮาขาว (ภาคเหนือ);โบราขาว (เชียงใหม่);โมรา;เสนียดโมรา (ภาคกลาง);หูรา (นครปฐม);หูหา (เลย)

ลักษณะทางพฤกศาสตร์

ลำต้น:

เป็นไม้พุ่มใหญ่ แตกกิ่งก้านก้านสาขามากมายรอบๆ ต้น ลำต้นสูงประมาณ 3 เมตร

ใบ:

เป็นไม้ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ ลักษณะใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม โคนใบแหลมสอบ ขอบใบเรียบ พื้นใบเป็นสีเขียว และมีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5- 2.5 นิ้ว ยาว3.5-7 นิ้ว

ดอก:

ออกเป็นช่ออยู่ตรงง่ามใบ ส่วนยอดของต้น ช่อดอกจะรวมกันเป็นแท่ง ใบเลี้ยงที่รองรับดอกมีสีเขียวเรียงกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกแยกออกเป็นปาก ด้านบนมี 2 แฉกสีขาว ส่วนด้านล่างมี 3 แฉกสีขาวประม่วง เกสรมี 2 อัน

สรรพคุณตามตำรับยาไทย

ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ:

ใบ : ใช้ห้ามเลือด หรือเข้ายาหลายอย่างที่เกี่ยวกับเลือดเช่น บำรุงเลือด ฯลฯ แก้ฝี แก้หืด แก้ไอและขับเสหมะ

วิธีทำ/วิธีใช้:
นำเอาน้ำคั้นจากใบสดประมาณ 15 มิลลิลิตร ผลมกับน้ำผึ้งหรือน้ำขิงสดกิน

« « Prev : ความมั่นคงทางอาหาร 10 (ดีปลากั้ง)

Next : ความมั่นคงทางอาหาร 12 (ทริปเปิลด็อกส์..) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.090252876281738 sec
Sidebar: 0.064957141876221 sec