ทำอย่างไรให้สว.ใช้ไอทีได้

อ่าน: 1990

สว. ส่วนใหญ่ใจร้อน การวางแผนส่งผ่านความรู้(อบรม ฝึกปฏิบัติการ) คงใช้รูปแบบทั่วไปไม่ได้เสียแล้วกระมัง ได้คิดรูปแบบการแลกเปรียนเรียนรู้ แทนการฝึกอบรม ทั่วๆไป ไม่ให้ผู้ใหญ่(สว.)มีความรู้สึก ถูกสอนเหมือนแบบนักเรียนโค่ง แต่อยากให้ เป็นความรู้สึกร่วมว่า อยากรู้อะไร อยากทำอะไร อยากใช้อะไรเป็น ฯลฯ. ควรได้รู้ ควรได้ทำ ควรได้ใช้ ฯลฯ. คงสนุกไม่เบาเลยค่ะ คิดว่าจับปูตัวใหญ่ใส่กระดง คงมีอะไรที่น่าเรียนรู้จากงานนี้มากเอาการค่ะ เป็นการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ที่ท้าทายมากค่ะ อันดับแรกผู้จัดควรทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน จนเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยการทำ บาร์ (BAR) รูปแบบคร่าวๆ พอสรุปได้ดังนี้

การจัดห้องส่งผ่านความรู้(ห้องอบรมคอมพิวเตอร์) การจัดโต๊ะคอมฯ. เป็น กลุ่มๆ ละลายห้องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะละลายพฤติกรรม(ความกลัวเทคโนโลยี)…..นี่คือโจทย์ข้อที่หนึ่ง(สร้าง บรรยกาศ ให้มีการเคลื่อนไหว เดินออกจากโต๊ะคอม มายืนมุง วิทยการผู้ ทำหน้าที่เหมือนคนเล่านิทานที่สนุกเร้าใจ จนเกิดอาการอยากรู้ อยากเห็นอยากลอง เมื่อเกิดความพร้อมที่จะรับรู้องค์ความรู้ ที่ผู้จัด เตรียมไว้ให้ เป็นขั้นเป็นตอน แต่มิควรลืมว่า สว.ใจร้อน ไม่ต่างกับเด็ก วิทยากร จึงควรเตรียมการที่แยบยลเท่านั้น ที่จะทำให้ปูตัวใหญ่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ …..
- ทำอย่างไรให้ สว.ลดความเครียด(ความกลัว )เรื่องเทคโนโลยี ไอที วิธีแก้ คือ คลายความเครีดด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองเน้น สนุกกับการ มาทำความรู้จักกับ ไอที ที่มีทั้งภาพ และเสียง(เพลง) และกลิ่นหอมจากมวลดอกไม้หรือน้ำมันหอมละเหยที่ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำความรู้จักกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
- การจัดกลุ่ม มีเพื่อนร่วมรุ่นที่เหมือนกับตัวเอง(อายุ และความไม่คุ้นเคยกับ ไอที) จะช่วยให้ บรรยากาศสร้างความคุ้นเคยกับเครืองมือสมองกล(คอมพิวเตอร์)จะสะดวกขึ้น ให้ความรู้ความเข้าใจถึงความสามารถ ประสิทธิภาพ ที่ มันทำอะไรได้สารพัดอย่าง
จนเกิดความเข้าใจ กล้าลอง กล้าจับ กล้าเล่น กล้าลองผิดลองจนถูก จนสามารถสร้างความคุนชินกับเครื่องคอมพิวเตอร์(ละลายความกลัวคอมพิวเตอร์ ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น อย่างมีความสุข)
- ทำอย่างไรที่ให้ท่าน สว.กล้าคิดกล้าถาม เพราะแสดงให้เห็นถึงภาวะ ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สำหรับตัวเอง เพื่อนำไปใช้ในเรื่องใดบ้างอะไร? เป็น หน้าที่ของทีมวิทยากร เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน กระจายกัยดูแล สว.ทุกกลุ่มให้ทั่วถึง เริ่มลงมือทำการเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ ด้วยการลงมือปฏิบัติการ การใช้จริง โดยจะมีวิทยากรหลัก หนึ่งคนที่จะบอกถึงกระบวนการเรียนรู้ คือขั้นตอนการทำงานของเครื่อง แล้วให้สว.ทุกท่านทดลองทำตาม โดยมีทีมงานวิทยากรคอยช่วยเหลือ หรือ แม้สว.ในกลุ่มที่เข้าใจแล้ว รู้แล้ว ทำได้แล้วช่วยเหลือเพื่อนร่วมกลุ่ม อีกแรงหนึ่งด้วยยิ่งทำให้เกิดความสนิทสนมในกลุ่มมากขึ้น เป็นการผ่อนแรงทีมงานวิทยากร หรืออาจจะเกิดดาวดวงใหม่มาช่วยเสริมทีมวิทยากร ก็เป็นได้ ทุกขั้นตอนเน้นความสนุกสนานเป็นหลัก ยึดหลักการ “ไม่ลองไม่รู้”
ทำได้ ได้ทำ ทำอย่างมีความสุข น่าจะบรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้นค่ะ
ส่วนรายละเอียดคงต้องเข้าบาร์กันบ่อยๆค่ะ…..อิอิอิ


มาสนุกกันเถอะ

อ่าน: 2789

มาสนุกกันเถอะ อายุเป็นเพียงตัวเลข

โครงการ การให้บริการของธนาคารสมอง ของ วุฒิอาสาธนาครสมองของ จ.นครราชสีมา

เป็นโครการฝึกอบรม คอมพิวเตอร์ แก่ผู้สูงวัย ชื่อโครงการ รู้ทันชีวิต(ผู้สูงอายุ)ในยุคไอที

จะเป็นโครงการใ้ห้บริการ อันดับแรกของปี พศ.2553

ด้วยเหตุผล ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ ทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จนประเทศไทยกำลังก้าวสู้ประเทศผู้สูงวัยในอนาคตอันใกล้ ประกอบกับการเสียชีวิตของคนวัยกำลังทำงาน และวัยวัยรุ่น อย่างมากมายของแต่และปี ในช่วงเทศกาลต่าง เช่นช่วงหยุดเทศกาล ปีใหม่ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และช่วงหยุดยาวของบางเดือน  ยิ่งตอกย้ำสัดส่วนประชากรให้เด่นชัดในส่วนผู้สูงวัย

ในฐานะผู้สูงวัยคนหนึ่ง ที่เข้าใจ เข้าถึง ความเปลี่ยนแปลงของสังคมเรียนรู้อย่าง ไม่มีวันสิ้นสุด เห็นช่องว่างในการการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ในยุคสังคม ข่าวสารข้อมูล อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ไหลทะลักเข้าสู่ทุกครัวเรือน ชนิดที่ผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยตั้งรับไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารพูดคุย กับคนในครอบครัว และเิกิดช่องว่างของการใช้เทคโนโลยี ไอที ห่างกันขึ้นทุกวัน

จึงเกิดความคิดลดช่องว่างนี้ด้วยการ จัดการบริหาร การจัดการองค์องความรู้ ด้านไอทีเบื้องต้นแก่ผู้สูงวัย โดยตั้งเป้าไว้ว่า ขจัดความไม่รู้ ด้วยการ เรียน รู้ และ ใช้ ให้เป็น ตามศักยภาพของผู้สูงวัย เน้น เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา การใช้ให้เหมาะกับตัวเอง อย่างมีความสุข เป็นหลัก


การบริหาร การเปลียนแปลง (ตอนสุดท้าย)

อ่าน: 2200

การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง ที่ดีที่สุด คือการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงตัวเอง

เราครอบครัวหมีแพนด้า  มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือ สังคมที่เราอยู่  โดยเฉพาะสังคมผู้สูงวัย เพื่อแบ่งปันความรู้ความสามารถ และประสบการที่สั่งสมมายาวนาน ประกอบกับการที่ เราเรียนรู้ไม่รู้จบ  จึงพัฒนาตัวเองอยู่ตลอด เมื่อเรารับภาระหน้าที่เรื่องการ พัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้สูงวัย ในยุคไฮเทค  ในนามของวุฒิอาสาธนาคารสมองของ จ.นครราชสีมา ให้กับผู้สูงวัยใน จ.นครราชสีมา

เรามองเห็นปัญหา ช่องว่างทางด้านองค์ความรู้ การใช้เครื่องมือสมองกล (คอมพิวเตอร์)  และการสื่อสารไฮเทค ในยุคปัจจุบัน ที่พัฒนาไม่หยุดยั้ง ทำให้ช่องว่างระหว่างคนต่างวัยยิ่งห่างมากขึ้น จนถึงขั้นพูดจากับคนยุคนี้ หรือแม้แต่ในครอบครัวแทบไม่รู้เรื่อง เกิดปัญหาตามมาอย่างยากที่จะแก้ไข หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป

ผู้สูงวัยเกือบทุกสาขาอาชีพ หากไม่สนใจ ใส่ใจที่จะทำความเข้าใจ และรู้จักใช้ เครื่องมือสมองกล(คอมพิวเตอร์) ในยุคไฮเทค ก็รังแต่จะถูกทิ้งห่าง ทั้งที่ประชากรส่วนนี้กำลัจะเป็น ประชากรที่มีมากที่สุดในประเทศไทย เหมือนประเทศที่เจริญแล้วหลายๆ ประเทศเช่นประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น การใช้ชีวิตจะสะดวกสบาย และมีความสุขหากมีความเข้าใจ เรื่องราวใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถใช้เครื่องมือ ในยุคไฮเทได้ระดับหนึ่ง ซึ่งผู้สูงวัยทุกคนทำได้อยู่แล้ว เหมือนการเปิดทีวี รุ่นใหม่ ตั้งโปรแกรมได้ตามความสามารถของเครื่องที่หลากหลาย เหมือนการดูหนังฟังเพลงจาก ทีวี เหมือแอร์ ทำความความเย็นที่เราสั่งให้ร้อนเย็นเท่าที่ต้องการได้ ตั้งเวลาเปิดปิดได้เป็นต้น ให้เข้าใจว่า เครื่องสมองกลเป็นเครื่องมือที่ทำอะไร ได้มากมายเหลือเกินค่อยๆ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และหัดใช้ให้เป็น ก็แค่นั้นเอง ติดขัดอย่างไรสามารถพูดคุญถามลูกหลานได้ เผลอๆ อาจช่วยลูกหลานเรียนได้อีกต่างหาก จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะสร้างความเข้าอกเข้าใจ กันในครอบครัว บางอย่างก็เรียนรู้จากลูกหลาน บางอย่างผู้สูงวัยมีประสบการณ์มาก่อน ย่อมสอนลูกหลานได้ ครอบครัวก็จะเกิดปกติสุข

สังคมผู้สูงวัย จึงมีความจำเป็น ต้องมีการบริหารจัดการ การเปลียนแปลง ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่กับลูกหลาน และครอบครัว อย่างมีความสุข

การสร้างองค์ความรู้ ที่เหมาะสมกับวัย และให้เกิดความเชื่อมั่น ว่าผู้สูงวัยก็สารถเรียนรู้ และใช้เครื่องสมองกลได้ และสามารถสื่อสารกับลูกหลานได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลกใบนี้ หรือแม้แต่การสร้างกลุ่มเครือข่ายผู้สูงวัย พบปะ แรกเปลียนเรียนรู้นผ่านเครือข่ายเครื่องสมองกลได้ เป็นการเปิดโลกใหม่ให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตอย่างมีความสุข อยากรู้อะไร ก็สามารถค้นหาด้วยตัวเองได้ แล้วยังช่วยค้นหาสิ่งที่ลูกหลานต้องการได้ เป็นการสร้างความรัก ความสามัคคีภายในครอบครัวได้

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ท่านผู้สูงวัยกล้าที่จะปรับเปลียน ตัวเอง เปิดโลกกว้างให้กับตัวเองหรือไม่ เรียนรู้อย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์มากนัก หากแต่รู้แล้วต้องใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมีความสุข แล้วจะพบกับความสุขที่เหลือเชื่อค่ะ


การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง- 4

อ่าน: 25685

เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง เป็นหัวใจสำคัญ ในการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายค่ะ

เราควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ที่เป็นรูปธรรม นั่นคือคำตอบ ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน จากเปรียบเทียบ ที่ได้ ก่อนได้รับการ การจัดการบริหารองค์ความรู้ กับ หลังการได้รับการจัดการบริหารองค์ความรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิมอย่างไร ทำแล้วสนุก มีความสุขหรือไม่ ?

อันดับแรกที่ควรพิจารณาคือ

…..โจทย์ที่ต้องการ ที่ต้องหาวิธีตอบโจทย์ โดยถอดออกมา เป็นการวิธีการให้ได้คำำตอบ ในที่นี่คือ โจทย์ข้อที่หนึ่ง ใคร ที่ไหน เท่าไร ทำอย่างไร

ใครคือกลุ่มที่ต้องการ เป็น เป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง ในครั้งนี้

ขั้นตอนต่อไป คือตั้งโจทย์ข้อต่อไป

…..โจทย์ต่อไป ทำอย่างไร จึงจะรู้ว่า เขามีความเข้าใจ มีความรู้ ฯลฯ พอเพียง ต่อการปรับเปลี่ยนตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ หาวิธีการให้ได้คำตอบ

แปลงเบญจมาศ

โปรดติดตามตอนต่อไป


การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง-3

1 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ กุมภาพันธ 25, 2010 เวลา 13:12 ในหมวดหมู่ การบริหารการจัด การจัดการองค์ความรู้ #
อ่าน: 2263

การบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าระดับผู้บริหารองค์กรมีวิ.สั้น(วิสัยทัศน์จำกัด)

ตรงกันข้ามหน่วยงานไหน องค์กรไหน ที่มีผู้บริหารสูงสุด มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ย่อมเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่การพัฒนาบุคคลากรขององค์กร  เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ด้วยความร่วมมือร่วมใจ ไม่มีการแบ่งแยก เพราะทุกคนมีความสำคัญ รับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นฟันเฟืองไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ ตำแหน่งฟันเฟื่องอยู่ส่วนไหน ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร ให้ไปสู่เป้าหมายที่ ผู้บริหารและบุคลากรเห็นพ้องต้องกัน ก็เกิดความร่วมแรงแข็งขยัน ร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนองค์กร ด้วยการทำหน้าอย่างมีความสุข เพราะมีความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ และมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนเจนร่วมกัน การเปลียนแปลงจึงบังเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายของงาน แต่ละงาน คือหัวใจสำคัญ คือโจทย์ที่ท้าทาย ที่จะก่อให้เกิดการระดมความรู้ ความสามารถของคนในองค์กร นำมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อเกิดการเรียนรู้เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แบบสหเฮด สหฮาร์ต สหแฮนด์ และสหขา เพื่อความเปลี่ยนแปลงที่เจริญมั่นคงและยังยืน ขององค์กร

เพื่อเป็นการทำความเข้าใจ กับเครื่องมือที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง รูปแบบหนึ่งคือการจัดการความรู้ จึงขอหยิบยก

การจัดการความรู้(Knowledge Management-KM) ของสคส

มาทำความเข้าใจในเบื้องต้น ก่อนจะถึงวิธีการที่ใช้ ในแต่ละองค์กร ที่กล่าวในบันทึกหน้า

มาทำความเข้าใจในเบื้องต้น ก่อนจะถึงวิธีการที่ใช้ ในแต่ละองค์กร ที่กล่าวในบันทึกหน้า



Main: 0.045288801193237 sec
Sidebar: 0.055825233459473 sec