ความมั่นคงทางอาหาร 32(จำลองนา)

อ่าน: 2574

จำลองนาข้าวที่บ้าน ทดสอบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินที่ย์ชีวภาพ ในภาชนะแบบต่าง หาความเหมาะสมปริมาณดิน/ต้นกล้าข้าวหนึ่งต้น และการแตกกอของกล้าข้าวหนึ่งต้นในพื้นที่จำกัด ดูแลการเจริญเติบโต ศึกษาระบบนิเวศเล็กๆ ดูห่วงโซ่อาหาร ทำความรู้จักกับกองทัพพิทักษ์ต้นข้าว ทับบก ทับเรือและทับอากาศ โอ้ย…มีอะไรมากมายให้เรียนรู้ ทดลองใช้สมุนไพรไล่แมลง และกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเป็นอาหารให้ต้นข้าว เอาใจต้นข้าวแต่ละสายพันธุ์ ว่าจะชอบแบบไหน ….แล้วสังเกตุว่าเขาชอบอาหารจานด่วน หรืออาหารไทยปรุงเองกับมือ…อิอิอิ…ชักสนุกแล้วซิ เอาเป็นว่าถ้าอยากรู้ว่าอาม่าปลูกข้าวอย่างไร

โปรดติดตามจากภาพค่ะ โดยดูจากภาพล่างสุด แล้วค่อยๆ เลื่อนขึ้นมาดูภาพบนที่ถัดมาที่ละภาพๆ จนถึงรูปแรก จากนั้นห็เชิญทำตามอัธยาศัยค่ะ

ปัญหาเกิดขึ้นแล้วกับนางเอกของเราเริ่มมีอาการไม่ยอมแตกกอ และใบเริ่มเหลืองค่ะ มาถึงบางอ้อ ก็หนูเป็นสาวแล้วนี่ค่ะ ต้องการที่อยู่ที่ให้มีขนาดใหญ่หนูจะได้แตกกอเพิ่มได้ อยู่ในกาละมังเก่ามันคับแคบไปแล้วค่ะ….อาม่าขอโทษนะที่ย้ายหนูช้าไป… โอ๋ๆๆอย่าประชดหนือประท้วงอาม่านะคะ

พอ ๖๓ วัน มีคนมาเยี่ยมถึงกับพูดไม่ออก ไม่ถามอะไรเลยประเภท…..

พออายุได้ ๕๘ วัน ข้าวหอมดอกมะลิเริ่มออกรวง และพากันตั้งท้องอย่างสบายใจแล้วค่ะ…ดีจังเลยที่เธอพากันรักษาสุขภาพอย่างดีเยี่ยม

พออายุได้ ๔๑ วันเจอเพลี๊ยมากัดกินน้ำเลี้ยงช่อรวงข้าวหอมดอกมะลิ ดังภาพที่เห็น อาม่ากำจัดด้วยชีวะ วิธี เอามือรูดทิ้งค่ะ…อิอิ นี่ถ้าเป็นแปลงนาใหญ่ๆ ใช้วิธีอาม่าไม่ได้แน่ๆ ก็ดอกข้าวมันหอมชวนเชิญแมลงมาตอมช่วยผสมพันธุ์นี่ค่ะ แต่เพลี๊ยมาได้ไงนี่….อย่างนี้ต้องเอาออกๆๆๆๆๆ

เอาลองเข้ามาดูใกล้ซิค่ะ รวงข้าวยังอยู่และข้าวก็แตกกอแตกใบสวยงามค่ะ แต่ท่อซีเมนต์นี้เก็บขังน้ำไม่อยู่ เลยสมมติให้เป็นนาดอนค่ะ โดยให้น้ำทุกวัน แล้วก็แห้งทุกวันเช่นกัน เหมือนปลูกไม้ดอกไม้ประก็แล้วกัน

ผ่านไป ๒๓ วัน ทุกอย่างก็คลี่คลายพากันเจริญเติบโต แตกกอแบบสบายใจ…โดยมีพี่เลี้ยงเป็นนางฟ้าผู้ใจดีก็พี่แหนแดงไงค่ะ

สังเกตุการเจริญเติบโตของต้นข้าวหอมมะลิแดงสี่ต้นในกาละมังสีชมพูปลูกได้ ๒๓ วันแตกกอเป็นต้นละสามกอ

ปลูกข้าวหอมดอกมะลิในท่อซีเมนต์ได้เพียง ๕ วัน เห็นข้าวตั้งท้องรีบออกรวงเล็ก เป็นลักษณะอาการกลัวตายรีบออกรวงให้ ให้มีลูกสืบสกุลค่ะ ตอนแรกก็ตกใจเหมือนกัน เกรงว่าจะเลี้ยงลูกไม่ได้พาลจะตายทั้งต้นแม่…….

เริ่มปักดำข้าวในภาชนะต่างๆ แถวหน้าจากซ้ายไปขวาถัดจากถุงพลาสติกเลี้ยงแหนแดงสองถุง เป็นตระเกรง ปลูกข้าวหอมนิลสองต้น(กล้าถอนจากแปลงนาอายุประมาณเดือนกว่า)ใช้ตระแกรงที่แตกชำรุดใช้การไม่ได้ ใช้ถุงพลาสติกหนาหุ้มตระแกรงให้ใส่น้ำแล้วไม่รั่ว ใส่ดินใส่น้ำทำเทือกเพื่อปลูกข้าวหอมนิลสองต้น ถัดมาปลูกในกระถางดำที่ใช้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับธรรมดาหุ้มด้วยถุงพลาสติกด้วยเหตุผลต้องขังน้ำได้ปลูกข้าวนิลหนึ่งต้น มาถึงกาละมังสี่เหลี่ยมสีชมพูนางเอ้กนางเอก ปลูกข้าวหอมมะลิแดงอายุต้นกล้า๗วัน ถัดไเป็นกาละมังเก่าสีฟ้าที่ยังใช้การได้ดีปลูกข้าวหอมนิลสี่ต้น

สำหรับท่อซีเมนต์สองท่อ ใช้ปลูกข้าวหอมดอกมะลิ กล้าที่ใช้ถอนจากแปลงนาสาธิตอายุเดือนกว่าๆ อาม่าตัดใบออกครึ่งหนึ่งลงปลูกในท่อๆ ละ ห้าต้นเผื่อมีอันเป็นไปต้องจากไปในเวลาต่อมาโดยไม่คาดคิด เพราะไม่กล้าข้าวสำรองมาใช้ปลูกแซม ในที่สุดถูกหอยกัดขาดไปกระถางละสองต้น จึงเหลือเพียงสามต้น/ท่อค่ะ


ไม่รู้-ไม่ชี้ ดี ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ

อ่าน: 2816

เมื่อวาน ๑ มิย. ๒๕๕๔ อาม่าได้หนังสีอ เิชิญประชุมและร่วมกิจกรรมของวุฒิอาสาฯ ในโครงการตามป้ายข้างล่าง ในวันที่ ๒ มิย. ๒๕๕๔ ณ วัดอาศรมธรรมทายาท(วัดหลวงตาแชร์) บ้านมอจะบก อ.สีคิ้ว ประธานฯ ได้เชิญเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้นำสื่อมาถ่ายวีดิทัศน์กิจกรรมของวุฒิฯ ในวันนี้พร้อมทั้งขอเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย เป็นค่ารถ ค่าเบี้ยเลี้ยงและ ค่าอาหาร ค่าประชุมในการทำกิจกรรม อาม่าเพิ่งทราบจากที่ประชุมในวันนี้เอง ..งงมากๆ

และได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ตามป้ายข้างล่าง เพื่อให้มีคนมาเยอะๆ แต่ที่เห็นใจมากๆ คือ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต ๕ จ.นครราชสีมา ที่อาม่าคุ้นเคย  และโรงพยาบาลสีคิ้ว ที่มาในวันนี้ เพราะไม่ได้รับความสนใจจาก ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เพราะไม่มีชาวบ้าน และเกษตรกรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงมาเลย คงมีแต่แขกที่ได้รับเชิญมาตามป้าย หนักหน่อยก็ ว.เกษตรและเทคโนโลยีสีคิ้ว ที่รับจ้างปลูกข้าวในท่อซีเมนต์วันนี้ แล้วก็ทำโดยที่ไม่มีการศึกษาการปลูกข้าวไร้สารพิษต้นเดี่ยวในท่อซีเมนต์ ความชัดเจนเรื่องตรวจวิเคราะห์ดิน ทั้งวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยวเต็มท่อซีเมนต์ การดูแลรักษาต่อไป

ปลูกข้าวไร้สารพิษในท่อซีเมนต์ด้วยเหตุผลเพราะสามารถดูแลให้ปลอดสารพิษได้สะดวก และสามารถปลูกได้แม้ไม่มีดินที่จะปลูก โดยอ้างว่าใช้วิธีปลูกในท่อซีเมนต์แบบอาม่า ที่วุฒิอาสาหลายท่านเคยมาดูที่บ้าน และเคยเข้ารับฝึกอบรมการปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่อาม่าจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก และจัดฝึกอยรมอีกหลายหลักสูตรตามความต้องการของชุมชน เนื่องจากการทำงานของอาม่า คือการทำงานแบบจิตอาสา ทำแล้วมีความสุข โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการ จากเทคโนธานี มาโดยตลอด อาม่าแค่จัดหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่คุณค่าทางอาหารสูง มีดัชนีน้ำตาลต่ำเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนทั่วไป คือข้าวหอมมะลิแดง ที่อาม่าศึกษาค้นคว้ามานาน และเคยไปออกรายการไทยมุง ถ้าใครติดตามงานอาม่าก็คงรู้ว่า อาม่าสนใจเรื่องข้าวมานานแล้ว เมื่อวุฒิอาสาฯ จะทำโครงการฯ ที่วัดอาศรมธรรมทายาท และอยากได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ไปปลูกเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไร้สารพิษในวงบ่อซีเมนต์ อาม่าก็ให้ไป พร้อมทั้งแนะนำวิธีการปลูกข้าวต้นเดี่ยว และการดูแล อย่างละเอียด แก่วุฒิฯ กลุ่มที่มารับพัันธุ์ข้าวและมาดูงานที่บ้านอาม่าแล้ว ไปเพาะกล้าเตรียมการเพื่อปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ ที่ไปจ้างให้วิทยาลัยเกษตรฯ ไปดำเนินการ รวมค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุปลูกข้าว และท่อซีเมนต์ เ็้ป็นเงิน หนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยห้าสิบบาท โดยขอเก็บจากวุฒิอาสาฯทุกคนที่มาวันนี้ บางคนไม่ทราบมาก่อนว่าต้องสมทบทุนในครั้งนี้สร้างความอึดอัดใจให้กับหลายๆ คนมาก หลายคนบ่นบอกอาม่าว่าที่มาวันนี้ ต้องการมาพบอาม่า เพราะอยากเจอ อยากเรียนรู้เรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยว อาม่าก็บอกว่าอยากเรียนรู้ก็มาได้เสมอ บ้านอาม่าเป็นบ้านซ่อนความรู้ไว้เยอะแยะมาค้นหาได้ตลอด เหมือนเกษตรกรจากทั่วสารทิศเขามาหา มาแรกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ แหนแดง พันธุ์ข้าว สมุนไพร ผลไม้ติดไม้ติดมือกลับไปทุกคน และทุกครั้ง เพราะยิ่งให้ยิ่งมีมากค่ะ

ผู้รับผิดชอบในการสอนปลูกข้าว……ว.เกษตร ฯสีคิ้ว ท่านบอกว่าเป็นลูกชาวนาไม่เคยดำนา วันนี้จะมาสอนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว นำกล้าที่เพาะในแผงดึงออกมา แล้วบอกว่ากล้าต้องเพาะ ๒๐ วัน เมื่อเอาดินน้ำใส่ท่อ ที่เตรียมไว้แล้ว ให้้แยกต้นกล้าเป็นต้นเดี่ยว จับแล้วปักดำให้ลึกสองนิ้ว ปลูกเป็นรูปสามเหลี่ยมเรื่อยๆ ให้ห่างหนึ่งคืบจนเต็มท่อเป็นอันเสร็จ ดังภาพและมีการถ่ายทำวิดิทัศน์วิธีปลูกไว้เผยแพร่ต่อไป ประธานวุฒิฯ มอบหมายให้ ว.เกษตรฯ เป็นคนดูแล ได้ยินเสียงตามหลังมาว่าดูแลอย่างไร?….ไม่เสียงตอบจากเจ้าของโครงการ หลังจากนั้นภาคบ่ายมีการประชุมต่อ ทางสภาพัฒน์ ถามว่าทางวุฒิฯ มีการลงไปช่วยชาวบ้านอย่างไร ทำอย่างไร และสร้างเครือข่ายเศรษฐกิบพอเพียงอย่างไร คุณหมอเจ้าของโครงการก็ลุกขึ้นตอบ พูดเรื่องสุขภาพ ของตัวเองแล้วการดูสุขภาพตัวเองแล้วสอนให้กินข้าวกล้อง หมอเป็นมะเร็งตอนนี้ดูแลรักษาโรคมะเร็งด้วยข้าวกล้อง และพืชผักปลอดสารพิษปลูกเอง(สั่งให้คนปลูกในที่ห่างไกล) ถามอย่างตอบอย่าง คนฟังก็ต้องฟัง ในที่สุดก็จบลงปิดประชุม แล้วเดินทางกลับคุณถนอมศรี ประธานวุฒิฯ ถามว่างานวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อถามอ่าม่าก็บอกความจริง เสียงสะท้อนที่แท้จริง และการอ้างอิงวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยว ที่ไม่เคยศึกษาค้นคว้า แถมอ้างอิงว่าเป็นวิธีกาแบบอาม่า อ้างผิดๆแบบนี้ อาม่าก็แย่ซิ ต่อไปใครเขาจะเชื่อถืออาม่า ถ้าประธานวุฒิอาสาฯ อยากรู้ว่าการปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ เป็นอย่างไร เวลามาส่งอาม่าก็แวะดูข้าวต้นเดี่ยวที่บ้านก็ได้ (เพราะท่านไม่ถนัดอ่านเวปบล็อก หรือใช้เฟสบุค )สำหรับเครือข่ายอาม่ามีทั่วประเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในโลกไซเบอร์ตลอดอยู่แล้ว ไม่รู้แล้วชี้ทีหลังอย่าทำ มันหมดสมัยแล้ว คนสูงวัยที่เขามีคุณภาพมีเยอะค่ะ แต่มักไม่ออกนอกหน้าชอบทำงานติดทองหลังพระ เด็กรุ่นใหม่ก็มีทั้งคุณภาพและมีจิตอาสามากมาย อาม่าไม่ห่วง กลุ่มจิตอาสาของอาม่ามีเยอะ มีทั้งปราชญ์ชาวบ้านเป็นเพื่อนเป็นพวกพ้องกันทำงานช่วยเหลือกันมาตลอด มีนักวิชาการจิตอาสาสูงอีกเยอะที่อาสามาช่วยงานอาม่า ถึงเวลาเมื่อไหร่ได้ช่วยแน่ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 12 (ทริปเปิลด็อกส์..)

อ่าน: 3150

วันมาฆบูชา สวดมนต์ไหว้พระ แล้วก็ทำบุญด้วยเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง

สืบเนื่องจากการสร้างเครือข่าย เกษตรอินทรีย์ เกษตรประณีตปลูกข้าวต้นเดี่ยว ฯ วันนี้ถึงคิวไปเยี่ยม คุณ ไพสิษฐ์ นาคำ แห่งศูนย์เรียนรู้การเกษตรและสมุนไพรอินทรีย์   ผู้ที่ตั้งใจจะขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ให้เข้มแข็งและยั้งยืน อาม่าจึงนำเมล็ดพันธุ์ข้าวฯ มาให้ในวันมงคล เพื่อให้ความมั่นคงทางอาหารเจริญงอกงามในหัวใจเกษตรอินทรีย์ หลังจากไปดูสวนเกษตรผสมผสาน(ตัวอย่าง)ที่ ไร่สุขนิรันดร ถนนมหาวิทยาลัย ไม่ไกลจากบ้านอาม่า ก็มองเห็นวิสัยทัศน์ของคุณพิสิษฐ์ ที่ทำเกษตรอินทรีย์ ครบวงจร รวมถึงการตลาด ต่างประเทศ และมีประสบการณ์สูง ผ่านวิกฤติมามากมาย เห็นทางรอดความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีการเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ และมีออร์เดอร์พืชอยู่ในมืออยู่แล้ว จึงเห็นสอดคล้องกันว่าเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง นำพาความมั่นคงทางอาหาร เกษตรผู้ผลิตอาหารที่ปลอดภัย จะเป็นเกษตรที่พอเพียงทั้งความรู้ ทั้งความเข้าใจระบบเกษตรอินทรีย์ที่ปลอยภัยและมั่นคงทางอาหารและชีวิต อาม่าเริ่มจะมองเห็นแสงที่ปลายอุโมงค์.แล้วค่ะ ต้องเพียรต่อไป…..

วันนี้ได้ยินเสียงนกกระรางหัวหัวขวาน ร้องต้อนรับ เป็นนกที่สวยมากซึ่งไม่เคยมาก่อนกลับมาหารูปในหนังสือนก จึงรู้ว่าเป็นนกกระรางหัวขวาน แต่ตัวที่เห็นหงอนที่หัวยาวกว่าปกติ และสีออกขาวๆ ปลายแต้มสีดำนิดหน่อย แต่ในหนังเป็นสีน้ำตาล กล้องมีปัญหาอีกแล้วถ่ายรูปไม่ได้ เลยจับภาพนกไม่ได้เบลอไปหมด กล้องมีเสียงร้องปี๊ปๆๆๆ แล้วค้างทำอะไรต่อไปไม่ได้ เป็นอันว่าตวรหารูปมาให้ดู จึงเข้าไปค้นในอินเตอร์เน็ต  เจอนกกระรางหัวขวาน แต่ก็สีหงอนที่หัวทั้งสั้น และสีต่างกับ ตัวที่อาม่าเจอที่มีหงอนสีออกขาวๆ  และยาวคล้ายนกกระกาตั้วของอินโดนิเซีย


จึงนำภาพมาให้ดูหน้านกกระรางหัวขวานทั่วๆไป  ขอ ขอบคณเจ้าของภาพไว้ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

เพื่อความั่นคงทางอาหารเพราะเป็นเวลาเที่ยง หมียักษ์แนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวด็อกเตอร์ ที่แถวการเคหะ จึงไปฝากความมั่นคงทางอาหารที่นั่น เจออาจารย์มทส. ที่นั่นอีกคน เลยกลายเป็นทริปเปิลด็อกส์(เตอร์)โดยไม่นัดหมาย ในวันมาฆบูชาค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 8 (การปรับเปลี่ยน…)

อ่าน: 2701

โครงการความมั่นคงทางอาหาร มีขั้นมีตอนของวิธีการ….ควรมีความมุ่งมั่นและอดทน ทำที่ละขั้นทีละตอน พร้อมน้อมรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากผู้มีประสบการ์ทุกท่าน เพื่อปรับแผนให้สอดคล้องและ ทำได้ในแต่ละพื้นที่ค่ะ การปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบเดิมๆ …ไม่ง่าย และยากอย่างที่หลายคนคิด..ควรให้เวลา…และความเชื่อมั่นว่าทำได้ การสร้างกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำ ในการปรับเปลี่ยนวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ เพื่อทำแปลงสาธิตในพื้นที่นั้น จำเป็นที่ต้องลงไปดูพื้นที่จริงว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด พร้อมให้ความเขื่อมั่น ให้คำแนะนำช่วยเหลือ… เพื่อให้บรรลุผล เป้าหมายต่อไป เกษตรกรเหล่านี้ ก็จะช่วยขยายผล…วิธีขยายพันธุ์ข้าวฯ ด้วยวิธีปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ  ต่อไป…ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง และสามารถทำเองได้ทุกขั้นตอน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เกิดการเรียนรู้จริง ด้วยการลงมือทำ….

ออมดิน ออมน้ำ ออมต้นไม้ ออมสัตว์ ความความรู้ ออมน้ำใจ เพื่อขยายองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนของตัวเอง  แล้วแบ่งปันปัญญาสร้างเครือข่าย สู่ชุมชนใกล้เคียง แบบค่อยเป็นค่อยไป ก้าวย่างอย่างมั่นคง…มีนักวิชาการเป็นเพื่อนคอยให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา ที่เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพราะจำเป็นต้องค้องพึ่งความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทางวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา ก็ได้สร้างเครือข่ายร่วมด้วยช่วยกัน กับหน่วยงาน ที่มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำงานสอดคล้องกัน  โดยน้อมนำหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริ  โดยปรับแปลงเป็น “เกษตรพอเพียง” ลงไปสู่พื้นที่ให้เหมาะสม และปฏิบัติได้จริง ภายใต้โครงการ “ความมั่นคงทางอาหาร” กิจกรรมอันดับแรกที่ทำ คือให้ความรักก่อนให้ความรู้ เพื่อรู้เขารู้เรา จะทำการสิ่งใดย่อมมีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง ตรงกับหลัก เข้าใจ เข้าถึง จึงพัฒนา

อันดับแรกที่วุฒิอาสาฯ ลงมือทำ คือ ออมดิน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้น โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องดิน เรื่องการบำรุงดิน วิธีทำปุ๋ย อินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับพื้นที่  เพื่อออมดินไว้ใช้อย่างมั่นคง เพื่อผลิตอาหาให้พอเพียง และมั่นคงในที่สุด  ซึ่งได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือ จากฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนาีรี มาจัดฝึกอบรมปฏิบัติการ ในพื้นที่ของตำบล บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก เมื่อ ๙ กพ. ๒๕๕๔ และจะมีการมาฝึกอบรม อีกสามหลักสูตรสามครั้ง ตามความต้องการของคนในชุมชนแห่งนี้ค่ะ

เกษตรผสมผสานคืองานที่จะเกิดขึ้นตามมาติดๆ  เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การทำการเกษตรครบวงจรจะค่อยปรับให้เหมาะกับพื้นที่แต่ละแปลง ปลูกทุกอย่างที่ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่รอบๆ ที่นา ผลพลอยได้จากพืชและสัตว์ นอกจากมีอาหารที่เพียงแล้ว ซากพืชมูลสัตว์ ยังนำมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อบำรุงดินให้มีคุณภาพ และยั่งยืน นั่นคือ การออมดินที่ฉลาด และยั่งยืน และมีอาหารกินอย่างเพียงพอครบทุกหมู่และมีพลังงานใช้


ความมั่นคงทางอาหาร 5

129 ความคิดเห็น โดย Lin Hui เมื่อ มกราคม 27, 2011 เวลา 22:12 ในหมวดหมู่ ข้าวหอมมะลิแดง, ความพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง #
อ่าน: 2448

ในฐานะเป็นวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ. นครราชสีมา อาม่าได้พยายามช่วยเหลืองานวุฒิอาสาธนาคารสมองมาตลอดหนึ่งปีเต็มๆ

ในปีแรกที่เข้ามาเป็นวุฒิอาสาฯ ยังมองไม่เห็นทิศทางการทำงานที่ชัดเจน อย่ากระนั้นเลย อาม่ามองเห็นปัญหาช่องว่างด้าน เทคโนโลยี ไอซีที ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เข้าใจลูกหลาน พ่อแม่-ลูก ปู่ย่า-ตายาย กับลูกหลานนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่ม และอาชกรรมที่ตามมาติดๆ กับเทคโนโลยีฯ สมัยๆ จึงหาทางลดช่องว่าง ด้วยการทำโครงการ “รู้ทันชีวิต ในยุคไอที” เพื่อเป็นการฝึกอบรมปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์ และให้รู้ทันเทคโนโลยี ไอซีที และสามารถใช้เทคโนโลยี ได้อย่างมีความสุข เพื่อปรับตัวลดช่องว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ จะได้พูดคุยกับลูกหลานรู้เรื่องในยุคนี้  นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลูกหลานค้นหาข้อมูล ช่วยงานกราฟฟิค ทำรูปได้อย่างสวยงาม ช่วยด้านการเรียนของลูกหลาน สร้างสัมพันธภาพที่ดี สามารถติดต่อพูดคุยกับลูกหลานที่อยู่ห่างไกล โดยมีเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง

ในการทำโครงการนี้ อาม่า และหมียักษ์เหนื่อยมากค่ะขอบอก การฝึกอบรมผู้สูงอายุให้ใช้คอมพิวเตอร์ อย่างน้อยที่สุด ใช้อินเตอร์เน็ตได้ ใช้อีเมล์เป็น ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ ทำงานกราฟฟิคทำรูปเป็น เขียนบล็อกได้ สมัครใช้โซเชี่ยนเน็ตเวิร์คเป็น มันเกินความคาดหมาย เพราะผู้สูงวัยสนใจและขยัยมาก ไม่ยอมเลิกแม้หมดเวลา จนแลปคอมพิวเตอร์ปิดจึงยอมกลับ ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถจัดฝึกอบรมได้สองรุ่น รวม 47 ท่าน เมื่อปลายเมษายน- กลางพฤษภาคม 2553 ตอนนี้หลายคนเป็นบล็อกเกอร์ที่โด่งดัง หลายคนอยู่ในโซเชี่ยนเน็ตเวิร์ค หลายคนไปพัฒนาต่อยอดอีกมากมาย ผู้สูงวัยไม่กลัวคอมพิวเตอร์แล้ว  แต่สิ่งที่เกินความคาดหมาย คือปู่ย่าตายายเป็นเพื่อนกับลูกหลานได้อย่างเหลือเชื่อค่ะ

ในปีที่สอง(2554) อาม่ามีตั้งใจทำโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน 4 ชุมชน ใน4 อำเภอของ จังหวัด นครราชสีมา ชุมชนแรกที่อาม่าทำโครงการนี้ให้คือ บ้านใหม่อุดม ต.บ้านใหม่  อ.หนองบุญมาก ซึ่งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นหญิงแกร่ง ทำงานแบบจิตอาสาเป็นที่ประทับใจอาม่ามาก คุณจินดา บุษสระเกศ ที่อาม่าตั้งให้เป็นด็อกเตอร์ในดวงใจอาม่า ทำงานรวดเร็ว มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เข้าใจกลไกการทำงาน ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน ได้ใจคนในชุมชน เพราะการทำงานที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พัฒนาชุมชนจนเป็นที่กล่าวขานทั้งในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ นอกจากทำงานเก่งแล้วยังนำเสนองานได้อย่างไม่มีที่ติ หาไม่ได้ง่ายๆ เลยค่ะ

วันนี้อาม่ามอบพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้คุณจินดาไปสองถุง  เพื่อนำไปปลูกขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว ให้เพียงพอต่อการทำนาข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงในชุมชน พร้อมทั้งจัดฝึกอบรม การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต       ( Azolla & BOF - System of Rice Tntensification, SRI) โดยทีมงานจากเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มี ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด เป็นผู้ลงมาฝึกอบรมให้ถึงพื้นที่เลยค่ะ

จัดการฝึกอบรมที่ อบต.บ้านใหม่อุดม ในวันที่ 9 กพ. 2554 เวลา 9.00 น.เป็นต้นไป  หลังการฝึกอบรมจะลงพื้นที่ เพื่อเลือกแปลงปลูก และปฏิบัติการทันที่ค่ะ วันนี้วุฒิอาสาฯ ประมาณ 15 ท่าน ขอสมัครเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วยค่ะ

นอกจากอม่าให้ข้าว (คาร์โบไฮเดรต) ที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการแล้วยังเสริม โปรตีน จากถั่วไปด้วยค่ะ คือถั่วครกค่ะโดยมอบ เมล็ดถั่วครกไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ให้พอเพียงต่อชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารค่ะ

สรุปข้อดีของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวร่วมกับการใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

1.ใช้เมล็ดพันธุ์น้อย คือ อัตรา 1 กิโลกรัม/ไร่

2.สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยการใช้แหนแดงแทน

3.สามารถเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และแหนแดง

4.เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์โดยเฉพาะจุลินทรีย์กลุ่มส่งเสริมการเจริญเติบโต

5.ประหยัดน้ำเพราะใช้น้ำปริมาณน้อยในการเพาะปลูก(ระดับน้ำลึก 2-5 เซนติเมตร)

6.สามารถกำจัดวัชพืชได้ง่ายและทั่วถึงในระหว่างแถวปลูก และลดปริมาณวัชพืชจากการใช้แหนแดง

7.อายุการเก็บเกี่ยวเร็วกว่าปกติ 10-15 วัน

8.จำนวนการแตกกอ(รวง/กอ) สูงกว่าวิธีปรกติ 2-3 เท่า

9.เปอร์เซนต์การสูญเสียจากข้าวลีบน้อยกว่าวิธีการผลิตแบบปรกติ

10.ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70%

กรณีมีวัชพืชเกิดขึ้นในแปลงให้รีบกำจัดภายใน 15วัน หลังปักดำข้าว

(ข้อมูลจากคลินิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)



Main: 0.06961989402771 sec
Sidebar: 0.081877946853638 sec