ความมั่นคงทางอาหาร30 (ความร่วมมือสามฝ่าย )

อ่าน: 2698

๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ มีการประชุมร่วมกันสามฝ่าย ที่บ้านอาม่า ตั้งแต่ ๙ โมงเช้า ส่วนบ่ายนี้มีประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ที่ศาลากลางจังหวัด อาม่าแบ่งภาคไม่ได้  เลยแบ่งกันทำงาน อ.แพนด้า(หมียักษ์)ไปประชุมวุฒิอาสาฯ

อาม่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เติมเต็มความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามฝ่าย ระหว่างฝ่ายเกษตรกร ที่มีคุณพิสิษฐ์ นาคำกรรมการฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียง หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เป็นตัวแทน เกษตรกร ตามโครงการ เกษตรพอเพียง ๑ไร่ ๑ แสน ฝ่ายเอกชน(บริษัทคูโบต้า) มีคุณธึระพัฒน์ วรรณารักษ์และคุณกิตติพงษ์ บุญประการเป็นตัวแทน ฝ่ายวิชาการ มี อ.แพนด้า และอาม่าเป็นตัวแทน แต่อาม่าเป็นตัวแทนเกษตรบ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมากอีกด้วยค่ะ

เป้าหมายสูงสุดคือยกระดับเกษตร ให้เหมือนเกษตรของญี่ปุ่น และเกาหลี เกษตรกรคุณภาพ(ในความคาดหวังของน้องต้นกล้าและอาม่า) คือการทำเกษตรอินทรีย์ ที่มีคุณภาพ แบบผสมผสาน แบบประณีต  ทำเกษตรพอเพียง ๑ ไร่ ๑ แสน เพื่อสนองพระราชดำริ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉลิมฉลองในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวามคม ๒๕๕๔

จึงเกิดความร่วมมือสามฝ่าย คือเอกชนเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนและให้ความรู้และการใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะ สมกับพื้นที่ ไม่เกินความจำ ผสมผสานการร่วมแรงร่วมใจของเกษตรกร ที่ร่วมมือกันวางแผนและลงแรงด้วยกัน โดยมีนักวิชาการคอยเป็นตัวกลางประสานและย่อยองค์ความรู้ให้เหมาะกับเกษตรที่ สามารถปรับใช้ได้อย่างแท้จริง ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงคอยให้ความช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาที่เกินกำลังของเกษตรกรจะแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ก็นำนักวิชาการผู้เชี่ยวแต่ด้านจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เข้ามาช่วยแก้ไขให้ทันท่วงทีค่ะ เป็นการทำการเกษตรพอเพียง เป็นการสร้างความมั่นคงให้อาชีพเกษตรอย่างภาคภูมิใจค่ะ

ทุกคนควรมีความฝัน แล้วทำฝันให้เป็นจริงให้ได้ค่ะ ขอให้มีความมุ่งมันและมีความเพียรเป็นเข็มทิศ นำพาไปสู่เป้าหมายฝันนั้นย่อมเป็นจริงได้ค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 23(ความกตัญญู)

อ่าน: 1636

๑๑ เมษายน ๒๕๕๔

เดือนเมษายน เป็นเดือนที่วาสนาอาม่า พุ่งปรีดมีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น งานเข้าอีกตะหาก มีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แทบทุกวัน สิ่งสำคัญคือมาด้วยหัวใจที่เปิดรับประดุจแก้วน้ำที่หงายพร้อบรับน้ำ แม้แก้วนั้นอาจจะมีน้ำอยู่เต็มแล้ว ยังอุตส่าห์เทน้ำเก่าออก เพื่อรับน้ำใหม่ด้วยใจเบิกบาน มาด้วยความรักแผ่นดินเกิด มาเพราะอยากเรียนรู้ ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่อาม่าทำแค่เป็นเรื่องเล็กๆ  เป็นการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ แค่รู้จักตัวเองรู้จักธรรมชาติ ดัดแปลงธรรมชาติรอบตัวให้เกิดประโยชน์ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ค่ะ ต้องปฏิบัติลงมือทำให้เกิดผล และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองให้ได้ ทำจนเป็นเรื่องปกติ จนเป็นความเคยชิน แต่กลายเป็นว่าโดนใจคนทั้งในเมืองและชนบท  อาม่าเป็นครูเป็นอาจารย์ จะสอนอะไรใครต้องย้อนถามตัวเองเสมอว่า รู้พอหรือยัง ทำได้เพียงไหน พอที่สอนใครๆ ได้หรือยัง ต้องทบทวนปรับการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ผลเชื่อถือได้แค่ไหน หากพูดแล้วไปแล้วสอนไปแล้ว ไม่ทำมันก็ไม่เกิดผล หากทำแล้วเกิดมีปัญหา ก็จะเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เพราะเป็นเรื่องถ้าทายให้ใช้สติปัญญามาแก้ไข ก่อให้เกิองค์ความรู้ใหม่ จากการลงมือปฏิบัติจริง

อาม่าตั้งใจจะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชนบท ที่มีอาชีพเป็นเกษตรส่วนใหญ๋ และพูดให้เห็นภาพรวมของความสำคัญทางด้านอาหาร ชี้ให้เห็นว่า เราอยู่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เรามีธรรมชาติที่เหมาะแก่การทำการเกษตรเราอยู่ในเขตร้อนชื้น มีน้ำ มีแสงแดดทุกเดือน.. หากเราเข้าใจธรรมชาติ เคารพธรรมชาติ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ต่อธรรมชาติ ธรรมชาติก็ตอบแทนเราด้วยผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ อย่าว่าแต่พอเพียงเลย ถึงขั้นเหลือกินเหลือใช้ด้วยซ้ำ  ด้วยวิถีชีวิตดั้งเดิมที่งดงามสอดคล้องกับธรรมชาติ ก็จะมีกินมีใช้อย่างสุขสมบูรณ์ มีน้ำใจเอื้ออารี แบ่งปัน นั่นคือรางวัลสำหรับคนกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน

แต่การพัฒนาประเทศที่ขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ ก่อให้เกิดภัยธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง ผลที่ปฏิบัติมิชอบต่อธรรมชาติตัด เผา ทำร้าย ทำลายธรรมชาติ ใช้สารเคมีเกินความจำเป็น ใช้สารพิษทำลายชีวิตพืชสัตว์ ของคนส่วนน้อย แต่ผลร้ายถูกธรรมชาติลงโทษ เนื่องจากธรรมชาติสูญเสียดุลภาพ ความพินาทก็เกิดขึ้น เดือนร้อนกันสาหาสากันกับคนเป็นจำนวนมากมาย ไม่ว่าภัยพิบัติจากความแห้งแล้ง- น้ำท่วม ล้วนเป็นบทเรียนที่น่ากลัว ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์มหาศาล

เราต้องหันมาใส่ใจและฟื้นฟูธรรมชาติอย่างจริงจัง  เริ่มจากจุดเล็กๆ อาม่าทำในจุดเล็กๆ ระดับหมู่บ้านตำบล ซึ่งอาม่าได้ทำมาได้ระดับหนึ่งแล้ว และคนในชุมชนเขาพร้อมเรียนรู้พร้อมลงมือทำ เขาอยากเรียนรู้อะไร อาม่าก็จะจัดหามาให้ เมื่อนเรียนรู้แล้วเข้าใจแล้ว เกษตรกรลงมือทำทันที อาม่าก็ชื่นใจ แล้วสร้างความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร อันดับแรกเราต้องมีพันธุ์ข้าวที่เพียงพอ ต้องมีเมล็ดพันธุ์พืช-สัตว์ทุกชนิดที่เรากิน  สำรวจและเข้าใจธรรมมชาติจุดอ่อนจุดแข็งของธรรมชาติ พยายามแก้ไขฟื้นคืนธรรมชาติให้ดินให้น้ำหากขาดความรู้ความเข้าใจ อาม่าก็หาเครือข่ายจากสถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ให้พอเพียงเพื่อปรับฟื้นดินให้มีชีวิต ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ บำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณด้วยวิธีทางธรรมชาติ ที่ยั่งยืนด้วยความกตัญญูรู้คุณแผ่นดิน ด้วยวิถีเกษตรพอเพียง โดยน้อมนำและปรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างสมเหตุสมผล เหมาะกับภูมิสังคมของชุมชนนั้นๆ ด้วยการทำการเกษตรประณีต อย่างมีความสุขที่ยั่งยืน

เราไม่อดตายหากหันมาใส่ใจกู้แผ่นดินให้ฟื้นคืนสู่สภาพสมดุลย์ ทำให้ดินมีชีวิต เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยและยั้งยืนตลอดไปด้วยการลงมือทำค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร17 (ปลูกข้าว)

อ่าน: 3089

๑ เมษยน ๒๕๕๔ ได้ฤกษ์ ถ่ายรูป การปลูกข้าวในท่อซีเมนต์ ในกระถาง ในกาละมัง และในตะกร้า ข้อสำคัญคือเราสามารถควบคุมทุกอย่างด้วยตัวเราเองได้ หลายคนสงสัยว่าปลูกข้าวในตะกร้าได้ หรือไม่ยากค่ะ กาละมังถังแตกหรือรั่วใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแต่ทำให้ภาชนะดังกล่าวขังน้ำได้ คงไม่เกินความสามารถใช่ไหมต่ะ แล้วใช้ทดสอบเลี้ยงแหนแดงก่อน พอจะปลูกข้าวก็เอา แหนแดงออกไปก่อน แล้วเอาดินเหนียวใส่ลงไปก่อน เทดินปลูกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ปุ๋ยอินทีย์ลงไปด้วย เพื่อเลี้ยงแหนแดง ให้เลี้ยงต้นข้าวค่ะ เติมน้ำลงไปให้สูงเหนือผิวดินประมาณ สองเซนต์ ใช้น้ำไม่มากค่ะ แค่นี้ก็สบายใจแล้วค่ะ มีคนถามอาม่าว่า แล้วจะพอกินหรือ อาม่าตอบแบบสิ้นคิดว่า เหลือกินค่ะ หลายคนคงขำกลิ้ง คงกินข้าววันละเมล็ดซินะ ปลูกแค่นี้เหลือกิน…อิอิ

กาละมังพลาสติกแตก กล่องโฟม ถุงพลาสติกที่บรรจุอาหารหมาแมว ล้วนเป็นขยะแห้ง ที่นำมาใช้ประโยชน์ เพื่อประหยัดเงิน และลดภาวะโลกร้อน เอามขยายแหนแดง เพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยพี่เลี้ยงต้นข้าวค่ะ

ไม่เว้นอ่างบัวก็ต้องใช้เลี้ยงแหนแดงด้วย แหนแดงขยายตัวเร็วมาก ยิ่งให้ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณ  ใครมาที่บ้านจะได้แหนแดงติดไม้ติดมือไปทดลองปลูกเลี้ยงค่ะ ตอนนี้แหนแดงของอาม่ายึดพิ้นที่ไปหลายอำเภอแล้วค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 16(นาผสมผสานเทคโนโลยี)

อ่าน: 2870

เมื่อคืน หมอหยกมาดูแลน้องแมวที่อึไม่ออกโดนสวนก้น…อิอิ

ขณะเดียวกันพาเกษตรกรอินทรีย์มาขอคำแนะเรื่องปลูกข้าวต้นเดี่ยวโดยใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่เลย สำหรับเรื่องเทคนิคปลูกข้าวต้นเดี่ยว หลักการเหมือนกันคือสะดวกต่อการดูแลนาข้าวให้ การเจริญเติบโตและแตกกอได้เต็มที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงต้นทุนต่ำ ประเทศจีนทำมานานแล้ว เกษตรกรท่านนี้เคยเดินทางไปดูการทำนาที่ประเทศจีน และมีคำถามมากมายพออธิบายฟัง ถึงกับร้องอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง เพราะเห็นต้นข้าวเป็นระเบียบ เหมือนใช้เครื่องจักรดำนา แต่ไม่ได้รู้ขั้นตอนก่อนหน้านี้  เป็นคำตอบว่าทำไมคนจีนเขาดำนาได้เหมือนเครื่องจักร…..การดูแลนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาวางแผนตั้งแต่เพาะกล้า วางแผนระเบียบแถวและแนว ด้วยเครื่องมือง่ายๆที่ผลิตขึ้นเอง ใช้ในการตีตารางพิกัดบนผืนนา แล้วปลูกตามพิกัดกัดที่เตรียมไว้บนแปลงนา ทุกอย่างต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ปริมาณน้ำก็ใช้ให้น้อยที่สุดแต่มีประสิทธิที่สุด เมื่อต้นข้าวโตอย่างเป็นระเบียบ การกำจัดวัชพืชในแปลงนาก็ทำได้สะดวก ชาวนาก็รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทุนแรง โรตารีวีดเดอร์ กำจัดวัชพืชพร้อมๆ กับเป็นการพรวนดินเพิ่มออกซิเจนให้กับรากต้นข้าว ลดก๊าซมีเทน ทำให้ต้นข้าวแข็งแรงเจริญเติบโตเต็มที่ และการให้ปุ๋ยก็พิจราณา ว่าข้าวต้องการธาตุอาหารอะไรในแต่ละช่วงเวลาทีเจริญเติมโต จึงให้ปุ๋ยตรงกับความต้องการของข้าว ข้าวเป็นธัณญพืช ย่อมต้องปุ๋ยที่ต่าง จากพืชหัวเช่นมันสำปะหลัง หรือพืชลำต้นเช่นอ้อย ฯลฯ. ต้องเข้าใจเรื่องปุ๋ยคืออาหารของข้าว เมื่อจัดให้ตรงใจข้าว ข้าวก็ตอบแทนชาวนาด้วยผลผลิตอย่างเต็มอกเต็มใจ ต้นข้าวแข็งแรงก็สามารถต้านทานแมลง และห่างไกลจากโรค เพราะเป็นทำการเกษตรประณีต ใช้ระบบห่วงโซ่อาหารจัดการสัตรูต้นข้าวค่ะ ทุกขั้นตอนจะปลอดภัยต่อข้าวและชาวนา

เนื่องจากการปลูกข้าวอินทรีย์ เป็นอาหารคุณภาพ ปราศจากสารพิษ ทำอย่างไรจึงจะมีความเชื่อมั่นว่าปลอดสารพิษ อันดับแรกต้องตรวจคุณภาพ ดิน และน้ำ ทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางด้านเคมี และตรวจโลหะหนัก สารตกค้างในดิน ไม่ว่าจะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและแมลงในพื้นที่ ที่จะทำนา  หากปลอดจากสารพิษ ก็ลงมือปลูกได้ตามวิธีการที่แนะนำให้ปลูกข้าวต้นเดี่ยว ด้วยใช้แหนแดง และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่เหมาะกับข้าว ขอเน้นว่าปุ๋ย ที่มีธาตุอาหารตรงกับข้าวที่เป็นธัณญพืช  การเตรียมดินครั้งแรกต้องใส่ธาตุอาหาที่จำเป็นกับพืช จะเป็นขี้วัวขี้ควาย หรือขี้หมูเสียก่อน ให้กับข้าวและแหนแดง เป็นเบื้องต้น การใช้แหนแดงใส่ลงในแปลงนาที่มีระดับน้ำสูงแค่ ๒ เซนติเมตร  เมือปักดำเสร็จ ก็หว่านแหนแดง แหนแดงก็จะเจริญเติมโต ขยายปริมาณที่รวดเร็วมาก ก็จะคุมเต็มพื้นที่ ทำให้วัชพืชขึ้นลำบาก ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงดูแลต้นข้าวต้นข้าวในระยะแรกที่ต้องสร้างใบสร้างลำต้นให้แข็งแรงและแตกกอได้มาก แหนแดงทำหน้าดึงไนโตรเจนจากอากาศมาเลี้ยงต้นข้าวค่ะ และเลี้ยงตัวเองด้วย แหนแดงเจริญเติบโตสร้างโปรตีนและมีธาตุอาหารที่ครบถ้วนเมือตายไปก็เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จึงนับว่าแหนแดงมีพระคุณต่อชาวนามากค่ะ


ความมั่นคงทางอาหาร 14 (ความฝันของอาม่า)

อ่าน: 2406

โครงการความมั่นคงทางอาหารของอาม่า เป็นความฝันที่อาม่ามีมานานพอสมควร และไม่เคยท้อเลยค่ะแม้จะอายุมากแล้ว  แต่ด้วยความเพียรที่เห็นเพื่อนๆ ปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์เดินดิน เกษตรกรในท้องถิ่นในภาคอีสาน กระจายกันอยู่ทั่วไป แต่ยังไม่สามารถรวมกลุ่มให้เป็นปึกแผ่น ทั้งในระดับหมูบ้าน หรือ ตำบลได้ ถึงแม้มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก็เป็นส่วนน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกรทั้งหมด สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรที่ปราชญ์ชาวบ้านหันมาฟื้นวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพราะล้วนเจอความล้มเหลวแบบเศรษฐกิจตาโต ….ผ่านความทุกข์มามากโข ด้วยขาดความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ “รู้เขารู้เรา” อย่างแท้จริง อาม่าก็พยายามที่จะสร้างชุมชนเกษตรคุณภาพ สิ่งแรกที่อาม่าพยายามกระตุ้นให้ชุมชนเข้าใจคือ รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ของทรัพยกรที่มีอยู่ภายในชุมชน ไม่ว่าทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และองค์ความรู้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แท้ที่จริงก็คือการนำกาลามสูตรมาใช้ แค่รู้อย่างเดียวไม่เกิดอะไรค่ะ ต้องนำมาใช้จะเกิดผล เราชาวพุทธส่วนใหญ่ก็รู้กันอยู่แล้ว ขาดแค่การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นธรรมชาติของเรา  อาม่าเชื่อมั่นว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนที่มีเหตุผลใช้ธรรมนำการเกษจร อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นสุข มั่นคงและยั่งยืน ลำพังอาม่าคนเดียวไม่มีพลังมากพอที่จะช่วยสร้างเกษตรกรคุณภาพได้ แต่มีเครื่อข่ายที่ให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่ง คือฝ่ายปรับแปลงและถ่ายทอดเทคโนโลยี เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีุรนารี และเริ่มมีหลายหน่วยงานความสำคัญในงานที่อาม่าลงไปช่วยชุมชน และพร้อมร่วมด้วยกันอีกหน่วยงาน คือ ศูนย์อามัยที่๕ นครราชสีมา ผ่านทางชมรม สว.๙ ศูนย์อนามัยที่๕

นับเป็นวาสนาของอาม่าได้ มีโอกาสรู้จัก และเป็นเพื่อนกับคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสา และล้วนแต่เป็นคนคุณภาพเป็นเกษตรกรคุณภาพยืนบนขาตัวเองอย่างมั่นคงแล้วยังมีจิตอาสาแบ่งปันความรู้ช่วยเหลือเกษตรกรและสังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยมีความสามารถทางด้าน ไอที และใช้โอเพ่นซอร์ดพัฒนาโปรมแกรมเองใช้เองตามความต้องการ ดูแลปรับปรุงได้เอง และลงไปช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพสามารถใช้ ไอที อย่างเข้มแข็งยืนบนขาตัวเองได้ พัฒนาโปรแกรมม เพื่อใข้ให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง เขาผู้นี้คือน้องโสทร อาม่าได้เรียนรู้อะอีกมากมายจากน้องโสทร แล้วนำมาปรับใช้ถ่ายทอดสู่เกษตรกร

คนหนุ่มรุ่นใหม่อีกคนที่อาม่า่ประทับใจมาก คือน้องต้นกล้า ที่เข้าใจชีวิตและอาชีพเกษตรกร มีความฝันเหมือนอาม่า ที่จะช่วยกันพ้ฒนาอาชีพเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืน เป็นเกษตรกรคุณภาพ แบบเกษตรญี่ปุ่น น้องต้นกล้ากำลังส่งทีมงานมาช่วยอาม่าอีกแรงหนึ่งค่ะ

ฝันนี้เป็นจริงได้ หากมีความร่วมมือ ร่วมใจหลายภาคส่วน ลงมาช่วยกัน สร้างเกษตรกรยุคข่าวสารข้อมูล ภายใต้สังคมไทยที่เป็นยุคก้าวย่างสู่สังคมผู้สูงวัย เราไม่ปฏิติเสธเครื่องมือทุนแรง แต่เราจะรวมแรงแบ่งปันแรง(ลงแขก) ฟื้นคือวิถีชีวิตที่งดงามของชนบท สร้างความเป็นปึกแผ่น ทำเกษตรที่มีแผนชัดเจนผสมผสานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ที่สำคัญคือเกษตรอินทรีย์ ลดภาวะโลกร้อน ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต  เป็นเกษตรคุณภาพที่มีตลาดรองรับ เกษตรกรต้องมีอาหารที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงสำหรับครอบครัว มีพลังงานเหลือมาลงแรงทำการเกษตรที่สร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงยั่งยืน เป็นการยกระดับเกษตรกร เป็นธุรกิจการเกษตรที่มีคุณภาพและยั่งยืน



Main: 0.064586877822876 sec
Sidebar: 0.043306112289429 sec