ความมั่นคงทางอาหาร 4

อ่าน: 2539

หลังจากได้รับแจ้งนัดหมายให้มีการประชุมวุฒิอาสาธนาคารสมอง จ.นครราชสีมา ในบ่ายของวันที่ 27 มค. 2554 ณ.ศาลากลางจังหวัด

หลินฮุ่ยก็เตรียมงานความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ กับชุมชนที่หลินฮุ่ยมีส่วนรับผิดชอบ โดยได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(เทคโนธานี) เป็นอย่างดียิ่งตลอดมา สิ่งสำคัญอันดับแรกที่หลินฮุ่ยให้ความสำคัญ คือความมั่นคงทางด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของอีสาน ที่ดีต่อสุขภาพ จึงได้เลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดงจากสุรินทร์ ถิ่นขึ้นชื่อด้านเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารเคมี  นำมาขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดนี้ ให้เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มข้าวอินทรีย์ และกลุ่มเกษตรกรปลอดสารเคมีในชุมชน

หลังจากที่ประสานงานกับคุณจินดาผู้นำชุมชน ต.บ้านใหม่อุดม อ.หนองบุญมาก  ในคราวประชุมวุฒิอาสาฯ เมื่อ 25 ธค. 2553 ให้คัดเลือกกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ หรือกลุ่มปลูกข้าวปลอดสารพิษ มารับพันธุ์ข้าวไปปลูกเพื่อ ขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง ให้ได้ปริมาณที่เพียงพอไว้ใช้ทำนาข้าวคุณภาพ เพื่อความั่นคงทางด้านอาหาร และเพื่อสุขภาพ สำหรับการปลูกนั้นสามารถปลูกได้ทั้งนาปรังและนาปี เพียงแต่ต้องใช้เทคนิคการปลูก วิธีแบบข้าวต้นเดี่ยว ของมทส.  เพราะจะได้เมล็ดข้าวสมบูรณ์  เป็นการลดต้นทุน (นา1ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 1 กก.) เพิ่มผลผลิตได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

สำหรับการฝึกอบรมวิธีปลูกข้าวต้นเดียว ตลอกจนการดูแล ฯลฯ. ทางมทส.จะเป็นผู้จัดให้ จึงเป็นความคาดหวัง ในการสร้างความั่นคงทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ที่มั่นคงและพอเพียงต่อความต้องการของชุมชน จนถึงการผลิตมากพอที่จะ สามารถขายให้กับแหล่งที่ต้องการข้าวหอมมะลิแดงเพื่อสุขภาพ อย่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ สถานพยาบาล และกลุ่มคนที่รักษาสุขภาพ  ซึ่งหลินฮุ่ยได้เกริ่นเรื่องนี้ให้รับทราบเป็นการภายใน ระดับหนึ่งแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญของข้าวชนิดนี้ มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานบริโภค

ข้าวหอมมะลิแดงกับศักยภาพในการป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวาน

ข้าว เป็นอาหารหลักของคนไทย และปัจจุบันคนไทยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องเสาะแสวงหาพันธุ์ข้าวโดยเฉพาะข้าวพื้นเมืองที่มี ปริมาณดัชนีน้ำตาลต่ำ จากการทดสอบในระดับหลอดทดลองที่สามารถใช้ในการทำนายผลระดับน้ำตาลในเลือดได้ เพื่อเป็นการคัดกรองในระดับแรก ก่อนนำผลที่ได้ไปทดสอบในมนุษย์ต่อไป

จากการทดสอบพบว่า ข้าวหอมมะลิแดงที่หุงสุกแล้วมีการเพิ่มขึ้นของระดับของน้ำตาลกลูโคสในช่วง เวลา 20 นาทีแรกค่อนข้างช้า คือ 10.60 กรัมต่อ 100 กรัม และปริมาณน้ำตาลกลูโคสหลังจากย่อยผ่านไป 120 นาที มีค่าเพียง 8.59 กรัมต่อ 100 กรัม แสดงให้เห็นว่าข้าวหอมมะลิแดงน่าจะเป็นข้าวพื้นเมืองที่มีดัชนีน้ำตาลที่ เหมาะกับการส่งเสริมให้ผู้บริโภคที่อยู่ในภาวะปกติ หรือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทาน เพราะเมื่อรับประทานข้าวชนิดนี้เข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสเพิ่มสูงขึ้นช้ากว่าข้าวเจ้าทั่วไป

ข้าวพื้นบ้านมีสารแอนติออกซิแดนท์มากกว่าข้าวทั่วไป

แอนติออกซิแด้นท์ (antioxidant) คือสารที่สามารถขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ในข้าวพื้นบ้านมีสารทองแดง สังกะสี เบต้าแคโรทีน วิตามินอี ซึ่งมีความสามารถดังกล่าว การบริโภคอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนท์จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคความจำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ แก่เร็ว เป็นต้น

ในอดีต ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านนับหมื่นนับแสนสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ข้าวท้องถิ่นเหล่านั้นกำลังสูญหายไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ข้าวหน่วยเขือ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงนั้นมีการปลูกน้อยมากในปัจจุบัน การตระหนักในคุณค่าของข้าวพื้นบ้านซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ทุกฝ่ายหันมาร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ให้กลับมางอกงามแพร่หลาย และหลากหลายยิ่งๆขึ้นไป

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวกล้องพื้นบ้านเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป
(วิเคราะห์โดยสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล)

ชื่อพันธุ์
คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย :มิลลิกรัม/100 กรัม)
เหล็ก
ทองแดง
เบต้าแคโรทีน
ลูทีน
วิตามินอี
ค่าเฉลี่ยข้าวทั่วไป 0.42 0.1 ไม่พบ ไม่พบ 0.03
หน่วยเขือ - นครศรีธรรมราช 1.22 0.5 0.0052 0.0144 0.7873
ก่ำเปลือกดำ - ยโสธร 0.95 0.08 0.0118 0.2401 0.1946
หอมมะลิแดง - ยโสธร 1.2 0.43 0.003 0.0091 0.3366
หอมมะลิ - ทุ่งกุลาร้องไห้ 1.02 ไม่พบ 0.0031 0.0095 0.3766
เล้าแตก - กาฬสินธุ์ 0.91 0.06 0.0049 0.0085 0.3092
หอมทุ่ง* - อุบลราชธานี 0.26 0.38 ไม่พบ ไม่พบ 0.0118
ป้องแอ๊ว* - มหาสารคาม 0.24 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ 0.0089
ช่อขิง - สงขลา 0.8 ไม่พบ 0.0041 0.0103 0.1788
มันเป็ด* - อุบล 0.2 ไม่พบ ไม่พบ 0.0045 0.026
ปกาอำปึล* - สุรินทร์ 0.46 ไม่พบ ไม่พบ 0.0036 0.0226

หมายเหตุ: *ข้าวขัดขาว


แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ที่มา http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=889

จะเอาเมล็ดถั่วครกไปให้จินดาไปปลูกที่ ต.บ้านใหม่อุดม  เพื่อขยายพันธุ์ถั่วครก เป็นการเพิ่มโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ในอนาคตค่ะ

หน้าตาถั่วครกฝักสด และที่ต้มสุก ดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ

Large_bean
Large_bean4

« « Prev : อาหารคือพลัง(ของหมอจอมป่วน)

Next : ความมั่นคงทางอาหาร 5 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ความมั่นคงทางอาหาร 4"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.059591054916382 sec
Sidebar: 0.056746006011963 sec