ระวังหลงทางกับฉลากอย.เน้อ
วันนี้นำบทความมาให้อ่าน เพื่อให้ช่วยกันสร้างนิสัยทั้งของตนเองและเด็กๆให้เข้าใจตรงความจริงที่เป็นอยู่ค่ะ
“ข่าวการร้องเรียนของพ่อแม่ต่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 ว่าลูกไปซื้อของจากร้านขายขนม แต่เมื่อเปิดออกมามันเป็นอะไรที่กินไม่ได้และอันตรายด้วย ข่าวที่ว่ามีรูปการ์ตูนมีแต่ภาษาจีนคนขายก็คิดว่าเป็นขนม ดีว่าแม่เอะใจลองชิมจึงรู้ว่ามันไม่ใช่เพราะแตะนิดเดียวก็ลิ้นชา ตามข่าวสืบต่อไปว่ามันเป็นผงที่ให้ความร้อนเมื่อละลายน้ำ”
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สอนใจว่าไม่มีใครอ่านตัวอักษรเหล่านั้น โดยเฉพาะผู้นำมาขายก็อ้างได้ว่าอ่านภาษาจีนไม่ออก
คำถามก็คือ ผลิตภัณฑ์แบบนี้เข้ามาได้อย่างไร ทางไหน จึงมาวางขายเหมือนขนมเด็กได้
เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องสุดวิสัยที่พ่อแม่จะดูแลลูก แต่ไม่ควรละความพยายามที่จะสอนต่อไปให้เด็กรู้จักอ่านฉลากจนเป็น
นิสัย
การสอนเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียนก็ใช้วิธีแทรกซึมให้ฝึกได้จากการอ่านแทนที่จะอ่านจากตำราเรียนเพียง
อย่างเดียว
หาป้ายฉลากมาให้เด็กได้หัดอ่านด้วย เด็กก็จะได้เรียนรู้จากชีวิตจริง สภาพจริง แล้วก็ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงด้วย
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องแก้ความเข้าใจผิด คือ เด็กเข้าใจว่าถ้ามีป้าย อย. แปลว่ากินได้ ปลอดภัย
ในความเป็นจริงฉลาก อย. มีหลายประเภท เพราะมีหลายผลิตภัณฑ์เพื่อการอุปโภคบริโภค
ในความเป็นจริงหน้าตาและรายละเีอียดของฉลากผลิตภัณฑ์ก็มีความหลากหลาย เรื่องรายละเอียดก่อนเข้าตลาดก็มีหน่วยราชการเข้ามาเกี่ยวข้องตามกฏหมายถึง ๔ กระทรวงทีเดียว ไม่น่าเชื่อเลย
ชวนไปอ่านเรื่องฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยกันนำไปใช้และสอนเด็กต่อให้ช่างสังเกต ชวนไปอ่านเรื่องฉลากอาหารใหม่เพื่อประกอบความเข้าใจด้วยค่ะ
ให้เกิดความเข้าใจที่ถูกกว่าว่า ” เห็นฉลาก อย. แล้วไม่ใช่เรื่องกินได้ทุกอย่างไป” ได้นิสัยเตือนใจตัวให้อ่านฉลากก่อนลงมือใช้งาน ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดกรณีที่ไม่คาดคิดมาก่อนได้ค่ะ
ความคิดเห็นสำหรับ "ระวังหลงทางกับฉลากอย.เน้อ"