ฮูบแต้มแคมของ : ตัวเลขกับศิลปะ
ความจริงค่ายฮูบแต้มแคมของไม่ได้สมบูรณ์แบบเลย ด้วยความด้อยปัญญาของคนประสานในการจัดค่าย การออกแบบหลักสูตรและการบ่มเพาะความคิดให้ออกมาเป็นค่ายที่สมบูรณ์ ดูเอาแต่เรื่องการตัดมิติสัมพันธ์ของศิลปะ วัฒนธรรม ออกจากตัวเลขเอาเถิด
ศิลปะกับตัวเลข ศิลปะกับการวัด ดูเหมือนเป็นเรื่องคนละโลกสำหรับศิลปินอย่างผม(ไม่สามารถเหมารวมศิลปินทั้งหมด) เพราะมันเป็นเหมือนไม้เบื่อไม้เมาเข้าขั้นตัดญาติขาดมิตรเอากันไปโน้นเลย
แม้แต่การบริหารเงินทองงบประมาณในค่ายทั้งหมด ผมต้องขอยืมตัวเจ้าหน้าที่การเงินของศูนย์วิจัยฯมาทำหน้าที่แทน ด้วยไม่อยากเอาสมองไปยุ่งอยู่กับตัวเลขที่แสนน่าเบื่อ
เราเหล่าศิลปินและคนทำงานศิลปะส่วนใหญ่จะงดใช้ตัวเลขแต่หันมาให้คำว่าเล็ก กลาง ใหญ่ ที่สุด แทนเช่นสิมหลังนี้เล็กมาก(เล็กมากหมายถึงเล็กขนาดไหน? ถามแบบนี้คนทำงานศิลปะตกม้าตาย) พระในวิหารใหญ่ที่สุดในตำบลนี้(ใหญ่ขนาดไหน กว้างยาวเท่าไหร่? ถามแบบนี้คนทำงานศิลปะตกม้าตาย) ขันหมากเบ็งที่เห็นที่วัดสัดส่วนดีมาก(ดีมากที่ว่า มันขนาดเท่าไหร่? ถามแบบนี้ก็ตกม้าตายอีกเช่นกัน) สรุปรวม ๆ คือเราไม่ค่อยจะใส่ใจกับตัวเลขจริง ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่มันจะช่วยให้เราใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
ดังนั้นค่ายฮูบแต้มแคมของเพิ่งมาตาสว่างเอาตอนที่ อาม่า ช่วยเติมเต็มเรื่องวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้ให้แก่เรา ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นบุญของผมแต่ยังไม่ใช่บุญของเด็ก ๆ เพราะกว่าผมจะยอมรับเรื่องตัวเลขกับวัฒนธรรมได้ ก็ต้องใช้เวลาสักพักดังนั้นจึงไม่มีเวลาบรรจุเรื่องนี้ให้กับเด็ก ๆ ในค่าย(เอาไว้ค่ายหน้านะน้อง)
อาม่าสอนผมในเรื่องการเอาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เข้าไปบูรณาการร่วมกับศิลปวัฒนธรรม งานนี้จะช่วยให้เราเห็นมิติที่ทั้งสองสิ่งสัมพันธ์กันอยู่ในตัวและยังก้าวล่วงไปสัมพันธ์กับมิติอื่น ๆ ได้รวมทั้งความสัมพันธ์กับจักรวาลซึ่งมีสถานะแห่งจุดร่วมทุกสรรพสิ่ง(ร่ายซะเป็นนิยาย)
ผมเริ่มฝึกการเอาตัวเลขเข้ามาใช้ในค่ายตอนที่ผมรู้สึกชอบขันหมากเบ็งของชาวบ้าน ผมชอบที่รูปทรงสัดส่วนมันช่างสวยงามเสียเหลือเกิน งามจนหากผมเอาไปทำใช้ที่ขอนแก่นคงต้องไม่ยากแน่ ๆ
แต่เชื่อเถอะมาถึงขอนแก่นผมก็จะลืมสัดส่วนที่งดงามนั้นไป ดังนั้นการวัดจึงเกิดขึ้นกับผมในกิจกรรมการชื่นชนขันหมากเบ็งแบบพื้นบ้าน เมื่อวัดแล้วทำให้เราต้องมาแยกรายละเอียดออกไป เรื่องนี้ทำให้ผมคิดแบบละเอียดละออเข้าไปอีกเพราะขันหมากเบ็งมีส่วนฐาน ส่วนตัวขัน และส่วนยอดขัน งานนี้สัดส่วนที่งดงามนั้นจึงถูกผมบันทึกด้วยตัวเลขเรียบร้อยพร้อมภาพประกอบ
(เงอะ ๆงะ ๆ กับตัวเลข เขียนผิดเขียนถูก วัดแล้ววัดอีก แบบไมค่อยแน่ใจ)
สัดส่วนของความสูงที่งดงามของขันหมากเบ็ง ตัวฐาน/ตัวขัน/ยอดขัน เท่ากับ 1: 2 : 2.5
สัดส่วนที่งดงาม ความสูงของขัน/ความกว้างของขัน เท่ากับ 2 : 5.5
ทำตัวเลขแบบนี้ไม่ว่าถูกไหมคุณครูครับ
ดีใจเป็นที่สุด ที่ออตใช้ตัวเลขให้เกิดประโยชน์กับงานของออต ถ้าออต ทำได้ละเอียดเท่าไหร่ เท่ากับ ออตสามารถจำลองงานศิลปะนั้นได้อย่างครบถ้วน ชนิดที่ไม่ลืมเลย เพราะเราจดแล้วจำ(ย่อไว้ในสมุด) คิดจะนำมาสร้างใหม่ หรือทำงานนั้นเมื่อไหร่ก็จะทำได้อย่างถูกต้องได้สัดส่วน เหมือต้นแบบตลอดค่ะ งานขันหมากเบ็ง ที่ออตจำลองออกมา ให้เห็นครั้งนี้ อาม่าให้ คะแแน 8 .5 จากคะแนนเต็ม 10 ค่ะ ถ้าออต เอาภาพถ่ายมาเปรียบเทียบ จะเห็นใบตองที่ม้วนๆ แล้วนำนำมาเรียงต่อเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกัน ไม่แน่ใจว่าเรียกนมแมวหรือเปล่า ในที่นี้ เจ็ดชั้นทั้งหมดมี สี่ชุด จัดเรียง สี่ทิศ นั้น ต้องสับหว่างด้วยนมแมวห้าชั้นอีกสีชุด จึงจะทำให้ขันหมากเบ็งสมบูรณ์ค่ะ แก้ไขเพียงเล็กน้อยแล้วตรวจสอบความถูกต้องจากน้องมดอีกครั้ง เอาไปเลย 10 คะแนนเต็มค่ะ ออตนำไปใช้ออกแบบลวดลายผ้าได้ด้วนค่ะ
ดีใจจริงๆค่ะออต อาม่าภูมิใจในตัวออตมากค่ะ
ความคิดเห็น โดย Lin Hui — กันยายน 12, 2009 @ 20:56
ขอบพระคุณครับครู
ความคิดเห็น โดย ออต — กันยายน 15, 2009 @ 12:13