ฮูบแต้มแคมของ : บายศรีกับทุนทางวัฒนธรรม
เด็กที่เข้าค่ายฮูบแต้มแคมของนั้นมีหลากหลายวัย เหตุผลหนึ่งคือต้องการเครือข่ายของสถานศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลหว้านใหญ่ที่จะมาร่วมมือ หรือเกิดแรงกระตุ้นบางอย่างให้โรงเรียนโดยเฉพาะหัวน้าสถานศึกษาและครูผู้สอน หันกลับมามองการใช้ประโยชน์จากงานศิลปกรรมพื้นถิ่นในการเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ
เด็ก ๆ ที่มาร่วมค่ายของเราในคราวนี้จึงมีเด็กในช่วงชั้นที่ 2 – 4 จำนวน 50 คนโดยผมพยายามจัดสรรโควต้าให้เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน โดยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตตำบลนี้มี 5 โรงเรียนดังนั้นจึงเฉลี่ยให้โรงเรียนละ 6 คน ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมประจำอำเภอมีแห่งเดียวดังนั้นจึงให้โควต้ามากหน่อย
ผลที่ออกมาคือห้องเรียนของเราจึงเป็นห้องเรียนของเด็กหลายวัย จุดดีของการจัดกิจกรรมค่ายแบบนี้คือเด็กโตจะคอยดูแลเด็กเล็กแทนพี่เลี้ยงประจำกลุ่มได้ในหลายกิจกรรม(ในภาวะที่เรามีพี่เลี้ยงประจำกลุ่มไม่มากและบางกิจกรรมพี่เลี้ยงต่างเพศก็ดูแลลำบากเช่น การอาบน้ำและภารกิจส่วนตัว) นอกจากนั้นเด็กโตยังช่วยสอนเด็กเล็ก ๆในบางกิจกรรม
แต่ด้วยความเป็นเด็กแม้จะหลายช่วงชั้น แต่เมื่อมาร่วมกันความเป็นเด็กก็คือความเป็นเด็ก ย่อมต้องการการ้รียนรู้ที่สนุกเพลิดเพลินและเสรี แถมความซนมาด้วยซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดคะเนเอาไว้ ว่าเรามาจับปูใส่กระด้งแน่นอน
แล้วความดื้อความซน ความไม่อยู่นิ่ง การพูดคุยกันเซ็งแซ่จะขัดเกลาด้วยกิจกรรมอะไรดี นี่เป็นโจทย์สำคัญประการหนึ่งที่เราในฐานะผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบค่ายต้องเอามาคิดและออกแบบ
ความจริงหลายกิจกรรมเป็นการออกแบบกิจกรรมบนสมมติฐานคือการคาดคะเนว่าจะได้กระบวนการและผลลัพท์ออกมาอย่างไร เช่นเดียวกกับการตอบโจทย์การขัดเกล่าให้เด็กนิ่ง มีสติ มีสมาธิและหยุดนิ่งเพื่อการสงบลงได้บ้าง ผมมองหากิจกรรมการเรียนรู้บางสิ่งเพื่อจัดการเรียนรู้นี้จนกระทั่งคิดถึง การบายศรีสู่ขวัญ
กลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวรู้จักกิจกรรมนี้ในชื่อ “การสู่ขวัญ” โดยมีหัวใจของพิธีกรรมอยู่ที่การให้กำลังใจและเกิดสวัสดิมงคลแก่ผู้ถูกสู่ขวัญในการดำเนินชีวิตต่อไป ดังนั้นผู้ที่เข้าพิธีและถูกผูกแขนจึงถือว่าเกิดสิริมงคลแก่ตัวมีภูมิคุ้มกันภยันตรายต่าง ๆ ที่จะมารบกวนดังนั้นในค่ายการเรียนรู้เราได้จัดกิจกรรมสู่ขวัญให้แก่เด็ก ๆ ที่ร่วมค่ายเพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่เด็ก ๆ และให้เด็กเรียนรู้ประเพณีของตนเองโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
เราได้จัดเตรียมบายศรีขนาดพอเหมาะโดยมีช่างชาวบ้านหว้านใหญ่และพี่เลี้ยงของเรานั่งทำกันที่ศาลาการเปรียญ โดยเป็นบายศรีใบตองสามชั้น กิจกรรมนี้เนื่องจากต้องการให้บายศรีเสร็จทันการสู่ขวัญในตอนบ่ายและเด็ก ๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้อื่น ๆ ต้องทำดังนั้นเด็ก ๆ จึงไม่ได้ร่วมทำด้วย ด้วยข้อจำกัดอย่างที่เล่าไปแล้ว ประกอบกับเมื่อวันก่อนเด็ก ๆ ได้ลงมือทำขันหมากเบ็งแล้ว
การสู่ขวัญในคราวนี้ เราได้หมดสูดหรือพ่อพราหม์จากปราชญ์ชาวบ้านในท้องที่เป็นผู้ทำพิธีให้แก่เรา ในการสู่ขวัญเพื่อให้เหมาะสมกับสมาธิของเด็ก ๆ ดังนั้นรูปแบบการสู่ขวัญจึงย่อย่นลงมาเพื่อให้เสร็จทันเวลา แต่ก็ไม่ลืมบทสู่ขวัญที่ครบกระบวนความตามแก่นสารของบทสู่ขวัญ
เที่ยงวันนี้เป็นอาหารมื้อสุดท้ายในค่ายวัฒนธรรมแห่งนี้ เด็กๆ ได้กินส้มตำที่แสนอร่อยจนสังเกตว่าอาหารหลายกลุ่มหมดเกลี้ยง อาจจะด้วยความแซบนัว หลังท้องอิ่ม ลานที่หน้าพระใหญ่ในวิหารถูกวางพานบายศรีที่สวยงามโดยช่างชาวบ้านและพี่เลี้ยงของเรา งามจนอยากจะเก็บเอาไว้ไม่อยากให้มันเหี่ยวเฉา
เด็ก ๆ ที่เจี้ยวจ้าวถูกเชิญให้มานั่งล้อมพ่อพราหม์ที่ตรงกลางลาน สิ่งที่ผมคาดคะเนไว้กำลังจะได้คำตอบอีกไม่กี่วินาที เด็ก ๆ ที่คุยกันหลอกล้อกันนิ่งเงียบเมื่อเทียนชัยถูกจุดที่ยอดของบายศรี บรรยากาศหลังจากนี้เราพบว่าเด็ก ๆ นิ่ง เงียบและสดับโสตฟังเสียงการสู่ขวัญของปราชญ์ผู้ที่เราเคารพ สายตาจับจ้องมองที่พ่อใหญ่และแสงเทียนที่ยอดบายศรี หลายคนสังเกตเพื่อนที่อยู่ข้าง ๆ เมื่อเห็นเพื่อนนิ่งก็หันกลับไปนิ่งมองไปที่จุดเดียว
แม้ไม่ได้เห็นเหล่าเทวดาตัวเป็น ๆ มาชุมชนตามตำเชิญของหมดสูดที่เชิญเทวดามาชุมชน แต่ในบรรยากาศนั้นเราได้เห็นเทวดาน้อย ๆ ของเราชาวค่ายสงบนิ่ง เงียบ มีสมาธิตลอดการสู่ขวัญ เมื่อได้ยินการเอิ้นขวัญเด็ก ๆ ต่างเรียกขวัญกันตามเสียงนำของพ่อพราหม์ว่า “มาเด้อขวัญเอ๊ย” ดังสนั่น และนิ่งสงบฟังการสูดขวัญต่อไปเป็นเช่นนี้จนจบกระบวน
หลังจากสูดขวัญเสร็จพิธีกรรมต่อไปคือการผูกขวัญหรือผูกข้อต่อแขน เด็ก ๆ นำฝ้ายผูกแขนมาให้พี่เลี้ยงและวิทยากรของเราผูกแขนให้เพื่อเป็นสิริมงคล พี่ ๆ ทุกคนให้พรเด็ก ๆ กันคนละมุมตามสะดวก ในขณะที่เด็ก ๆ เวียนกันให้พี่ ๆ ผูกแขนเอาชัยเอาพร
มนต์แห่งพิธีให้คำตอบที่ผมคาดคะเนเอาไว้ได้ดีที่เดียวทั้งความสงบ นิ่ง สติและความผูกพันของคนกับคนและคนกับสิ่งที่เราคาดวังในค่าย จาก”ตัวของเด็ก ๆ” ไปสู่ “เรา” และนำไปสู่ “พวกเรา” ที่จะสร้างความมั่นคงของศิลปกรรมพื้นบ้านร่วมกัน แม้เพียงมือน้อย ๆ ของเรา
อาม่าประทับใจเด็กๆมาก รู้สึกได้เลยจากการพูดคุยการแสดงออกการกอด เป็นห่วงเป็นใยถามถึงตลอด เมื่อคืนอาม่านอนที่ไหน เช้ามาสอดส่ายสายตาหาอาม่า พอเห็นแล้วดีใจ ส่งรอยยิ้มและสายตาที่แสนจะประทับใจยิ่ง โดยเฉพาะน้องเก้งเด็กชานตัวเล็กๆคนหนึ่ง ที่มีความผูกพันธ์กับอามามากที่สุด อาม่าสังเกตุว่าเขาไม่กินข้าวเหนียวเลย เกิดความสงสัยมาก เนื้อวัวก็ไม่กิน พอดีมื้อเที้ยงของวันที่ 2 กย.เด็กกลุ่มนี้มีกิจกรรมไปวาดรูปจิตกรรมฝาผนังโบสถ์ที่สิม วัดศรีมหาโพธิ์อาม่าถูกจัดให้อยู่กับกลุ่มนี้ ตามที่วิทยากรจัดไว้ ให้เด็กๆวาดภาพสีดินสอกับสีน้ำ ตามแความสมัครใจ มื้อเที้ยงได้รับอาหารกล่องเป็นข้าวเหนียวกับเนื้อทอด แถมไข่ไก่ต้มหนึ่งฟอง อาม่ากินไข่ไปหนึ่งฟองยกทุกอย่างที่ไม่กินให้เป็นกองกลาง มาสังเกตุเห็นเก้งก็ไม่กินอาหาร อาม่าเลยบอกว่าอาม่าไก็ม่กินเนื้อ แต่ขอให้เก้งกินไข่ต้มไปก่อน แล้วอามาไปเอาไข่ต้มจากกล่องอาหารที่เหลือมาแกะให้กิน เก้งเลยได้กินไข่ต้มสองฟอง คนอื่นวาดรูปเสร็จก่อนกินมื้อเที้ยง อาม่าขอให้เก้งกินให้เสร็จแล้วค่อยวาดต่อให้เสร็จ อาม่าเห็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่นั่งอยู่ตรงหน้า อาม่าเห็นเขาวาดรูปราณีตมากละเอียดละออทุกกระเบียดนิ้ว เขาเสียเวลากับการเหลาดินสอสีเป็นระยะๆ อาม่าขออนุญาตครูพี่เลี้ยงว่า ถ้าอาม่าจะช่วยเก้งเหลาดินสอผิดกติกาไหม ครูพี่เลี้ยงและเด็กๆ พร้อมใจกันตอบว่าไม่ผิดกติกา อาม่าดีใจมากรีบขอยืมดินสอสีเหลือง จากเด็กๆที่วาดรูปเสร็จแล้วมาเหลาให้เก้งระบายสี พื้นหลัง ซึ่งเด็กคนอื่นๆเขาไม่ระบายสีพื้นหลังกัน ในที่สุดก็เสร็จทั้งภาพ เก้งตรวจดูความเรียบร้อยจนสมบูรณ์ จึงส่งภาพเป็นคนสุดท้ายจากนั้นก็ช่วยเก็บดินสอสีลงกล่องตามที่ยืมมา พอดีมีไอติมมา อาม่าเหมาไอติมเลี้ยงเด็กๆ และพี่เลี้ยงเป็นที่สนุกสนาน ตอนหลังเก้งเล่าให้ฟังว่าเขาไม่แข็งแรงเป็นโรคไตไข่ข่าวรั่วจากไต กินข้าวเหนียวไม่ได้กินเนื้อไม่ได้ และอาหารอีกหลายชนิดไม่ได้ค่ะ แต่เก้งมีอะไรที่พิเศษกว่าคนอื่น เขาจะมีสยตาที่มองอาม่าด้วยความรักและพูกพันมาก ทั้งๆที่เขาไม่ใช่เด็กเล็กที่สุดของค่าย ถ้าตัวเล็กที่สุดเห็นที่จะเป็นแบ็คที่ปล่อยโฮกอดอาม่า จนต้องดึงตัวมากอดปลอบโยนเช็ดน้ำตาให้ ไม่มีเสียงเล็ดรอดออกจากปากเก้งเห็นน้ำตาไหลพลากออกจากตาเก้ง ทำให้สงสารจับใจ อาม่าต้องดึงตัวมากอดไว้อีกตน คนอื่นๆมารุมกอดอาม่ามตาแดงๆ เหมือนกอดพี่เลี้ยง และวิทยายกรทุกคนค่ะ
ความคิดเห็น โดย Lin Hui — กันยายน 9, 2009 @ 9:00