๔. ทางเลือก:ความขัดแย้ง..สันติวิธี ในสังคมไทย
อ่าน: 2604“ไม่มีสังคมใดไม่มีความขัดแย้ง ดังนั้นจงอย่ากลัวความขัดแย้ง” เริ่มต้นจากคำบรรยายของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เริ่มต้นก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมพี่น้อง….อิอิ ผมพยายามจะนำมาเล่าสู่กันฟังอย่างไม่ให้ยาวเกินไปนะครับ
ท่านอาจารย์บอกว่าสมัยก่อนผู้คนในหมู่บ้านใช้ทรัพยากรร่วมกัน ประกอบอาชีพไปในทางเดียวกัน เช่น ทำนา ก็ต่างทำนาด้วยกัน การใช้น้ำก็เพื่อทำนา จึงเกิดถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะมีความขัดแย้งก็น้อย ปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนแปลงทุกอย่างจะเป็นทรัพยากรที่คนอยากจะใช้กันทั้งนั้น แม้ของที่เป็นสาธารณะก็อยากจะใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น ทางเท้าที่ผู้คนใช้เดินไปทำงาน แม่ค้าก็อยากใช้ขายของ คนอื่นก็อยากใช้เพื่อทำงานบ้าง ก็จะเริ่มเกิดความขัดแย้ง เพราะบางครั้งเราไม่อยากใกล้ชิดแต่ความสมัยใหม่มันทำให้เราใกล้ชิด เช่น เราไม่อยากใกล้ชิดสมัคร(คนละคนกับท่านนายกนะครับ อิอิ) แต่วันดีคืนดีสมัครไปออกรายการโทรทัศน์เราก็ได้เห็นเขาอย่างใกล้ชิดเห็นรูจมูก (อันนี้ผมเติมเอง อิอิ)
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัฒน์ จะเห็นได้ว่ามันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งลอง มาดูวันนี้ ข้าวแพง เกษตรกรว่าดี แต่ผู้ใช้แรงงานบอกว่าผมแย่…แสดงความเกิดความขัดแย้งกับคนในแต่ละฐานะ ทุกวันนี้เราฝันอยากได้สังคมในอุดมคติ อยากได้สังคมแบบมีความสัมพันธ์ในหมู่บ้าน แต่โทษทีเลิกฝันได้แล้ว เพราะเราเป็นสังคมเมืองไม่ใช่สังคมชนบท มันคนละรูปแบบกัน
มาตรฐานเดียวก่อให้เกิดความขัดแย้ง
ในแต่ละสังคมมีมาตรฐาน คนเราอาจจะมีจินตนาการได้แต่เรามักจะมีจินตนาการถึงมาตรฐานเดียว เช่น สังคมคนพูดกลาง พอใครพูดไม่เหมือนก็ว่าเขาพูดเหน่อ เหมือน อ.ขจิต คนเมืองกาญจน์ กับน้องจิ สาวสุพรรณ อิอิ….ผมเพิ่งรู้ว่าภาษาไทยอย่างเดียวมีความแตกต่างกันถึง ๗๐ ภาษา ภาษาใต้ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน ฯลฯ มันเต็มไปด้วยความหลากหลาย แล้วใครนะที่เป็นคนบอกว่าคนภาคอื่นพูดไม่ชัด ดีไม่ดีคนพูดกลางนั่นแหละที่พูดไม่ชัด….ฮา…มาตรฐานที่เรากำหนดเป็นหนึ่ง เดียวแต่ในความเป็นจริงมันไม่ใช่ แล้วเราจะมาทะเลาะกันเพื่อมาตรฐานเดียวกระนั้นหรือ
พื้นที่ต่อรอง
อาจารย์เน้นว่า ความขัดแย้งต่างๆในสังคมมันเกิดขึ้นได้ แต่ที่สำคัญต้องเปิดพื้นที่ให้มีการต่อรอง ถ้าไม่มีพื้นที่ต่อรองให้เพียงพอมันก็จะเกิดการใช้พื้นที่อื่น เช่น พันธมิตรเรียกร้องให้จัดการอย่างโน้นอย่างนี้ แต่รัฐบาลปิดประตูที่จะพูดด้วย เขาไม่มีพื้นที่ต่อรอง จึงต้องออกมาหาพื้นที่ต่อรองบนถนน เช่นนี้เป็นต้น เข้าใจหรือยังครับ รัฐบาล….แฮ่……
ประเทศของเราในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมแบบสมัยก่อนแล้ว ไม่ใช่ประเทศชาวนา แต่เป็นประเทศของแรงงาน จึงมีคำถามว่าเมื่อเขาเกิดปัญหาเขาไปต่อรองที่ไหน คำตอบคือสหภาพ แล้วถามต่อไปว่า แล้วเขารู้หรือเปล่าล่ะ….ว่าเรามีสหภาพแรงงานไว้ต่อรองได้
ความรุนแรง
“เกาตุง” บอกว่าความรุนแรงมี ๒ อย่าง คือ ความรุนแรงเชิงกายภาพ กับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่ อาจารย์บอกว่าความรุนแรงเชิงโครงสร้าง นั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของใครคนใดคนหนึ่งแต่มันแฝงอยู่ในโครงสร้างทาง เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ยกตัวอย่าง เช่น
ผู้ชายใช้กำลังบังคับร่วมประเวณีกับภรรยา เพราะวัฒนธรรมเรายอมรับการกระทำที่ผู้ชายกระทำต่อภรรยาของตนเอง (นี่หมายถึงตอนที่ยังไม่แก้กฎหมาย) เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ฟังแล้วทำท่าจะงง แต่ผมเข้าใจว่าคงจะหมายถึงว่าวัฒนธรรมไทยที่ให้ผู้ชายมีอำนาจเหนือหญิง เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง แต่การใช้กำลังบังคับน่าจะเป็นความรุนแรงเชิงกายภาพ ซึ่งหลังจากที่อาจารย์เปิดโอกาสให้ซักถาม คำถามเกี่ยวกับเรื่องบังคับเมียนี่กระจาย…อิอิ
หรือกรณีเด็กไทยขาดสารอาหารเป็นล้านคน ทั้งๆที่เมืองไทยมีอาหารอุดมสมบูรณ์ เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ผมตีความว่าอาจารย์หมายถึง การที่ผู้คนในสังคมปล่อยปละละเลยให้มีเด็กขาดสารอาหารถึงขนาดนั้น มันเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (ใครเห็นไม่เหมือนผมช่วยกันออกความเห็นนะครับ..)
หรือกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ การใช้ที่ดินในที่ของรัฐไปละเมิดสิทธิชุมชน แต่รัฐบ่ายเบี่ยงไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ แฝงเข้ามาในวัฒนธรรมแบบไม่รู้ตัว
หรือในกรณีเกิดเหตุในภาคใต้ มีการกระทำต่อชาวมุสลิมด้วยความไม่เป็นธรรมในเชิงโครงสร้างตลอดเวลา นายอำเภอ ผู้ว่าฯ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะโครงสร้างมันใหญ่กว่า ยิ่งในอดีตรัฐบาลไม่จัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดที่ไม่มีผู้แทนของตนให้ เพียงพอ ผมก็เห็นว่าเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างเพราะไม่เป็นธรรม (ไม่รู้เข้าใจผิดไหม อิอิ)
หากมามองในความรุนแรงเชิงกายภาพเราไม่สามารถแยกความรุนแรงทางกายภาพออกจากความ รุนแรงเชิงโครงสร้างได้อย่างเด็ดขาดเพราะความรุนแรงทางกายภาพเกิดจากความ รุนแรงเชิงโครงสร้าง จะเห็นว่าสังคมไทยเราเหลื่อมล้ำมากเกินไป ทั้งในทางเศรษฐกิจและทางอำนาจ มันก็เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างครับ
ในทางเศรษฐกิจการเมือง ก็ต้องวางแนวทางการพัฒนาใหม่ ต้องกำหนดว่าใครต้องใช้ทรัพยากรก่อนจัดสรรให้ก่อน(เป็นเรื่องการเมือง) แต่ทุกคนต้องมีสิทธิเท่ากัน,ต้องขยายสวัสดิการของรัฐให้ทั่วถึง เช่น ให้เด็กได้เรียนทั่วถึง (แต่อย่าออกหวยใต้ดินมาเป็นทุนการศึกษา….อิอิ),ต้องปรับฐานภาษีเพื่อให้ เกิดความเท่าเทียมกัน (ไม่ใช่ข้าราชการต้องจ่ายภาษีเต็มทุกบาททุกสตางค์ แต่เขียนกฎหมายให้นายทุนขายหุ้นมีกำไรไม่ต้องเสียภาษี..อันนี้ผมว่าเอง.. จริงๆ อิอิ)
ในทางอำนาจก็ต้องลดการรวมศูนย์ให้ท้องถิ่นมีอำนาจจัดการทรัพยากรของตนเองให้ มากขึ้น รัฐจะต้องถอยออกไปอย่าไปตัดสินทำโน่นทำนี่เอง เช่น จะสร้างโรงถลุงเหล็ก ต้องหาข้อมูลทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดี และอย่าให้แต่ข้อมูลของฝ่ายที่ต้องการสร้าง(ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลด้านดี) ข้อมูลปัญหาที่จะเกิดตามมาก็ต้องบอกให้ชาวบ้านรู้
อาจารย์ได้สรุปสุดท้ายว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ต้องเปิดพื้นที่ต่อรองให้มาก การมีพื้นที่เยอะความรุนแรงจะน้อย ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีการเปิดพื้นที่ต่อรองให้มากและฝากพวกเราอย่าไปยึดติดกับเทคนิคการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะปัญหาเชิงโครงสร้างมันยังอยู่ไม่ได้รับการแก้ไข อย่าลืมว่าความขัดแย้งเชิงโครงสร้างไม่มีทางออก คนจึงใช้ความรุนแรงมาแก้ปัญหา
ผมนั่งฟังอย่างไม่ง่วงเลยแม้แต่น้อย ถึงเวลาอาหารเย็น พ่อครูบารู้ว่าผมอยากกินขาหมูนางรอง อุตส่าห์หนีเรียนกลับบ้านแล้วกลับมาแวะซื้อขาหมูนางรองมาฝากผม หิ้วถุงขาหมูเข้ามาในงานเลี้ยง ที่ถุงเขียนให้ระวังอย่าเข้าผิดร้านซะด้วย และอร่อยจริงๆ ถึงเวลาลุงเอกเชิญผมขึ้นไปเป็นพิธีกร ผมก็ไปพูดว่า เมื้อกี้กินขาหมู พอเห็นขาหมูแล้วทำให้นึกถึงชาติพันธุ์ ผมเห็นอาจารย์ศรีศักร หัวเราะหันมามองผม ผมก็เลยต่อว่าอร่อยก็อร่อย แต่กินมากไม่ได้เพราะมันจะขัดแย้งเชิงโครงสร้าง ฮากันทั้งงาน…..
« « Prev : ๓. การศึกษาชาติพันธุ์
Next : ๕. ปาฐกถาพิเศษของราษฎรอาวุโส » »
ความคิดเห็นสำหรับ "๔. ทางเลือก:ความขัดแย้ง..สันติวิธี ในสังคมไทย"