๑๗. แผนที่ความคิด ๒

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 17 กรกฏาคม 2008 เวลา 8:06 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 46689

พอจบแบบทดสอบที่ ๑ เราก็มาต่อแบบทดสอบที่สอง คราวนี้เป็นการใช้สมองซีกขวา ส่วนของความคิดสร้างสรรค์ สมองซีกนี้จะเป็น ART เคยฟังโน้ต อุดม พูดเรื่อง ART ใน เดี่ยว ๗ บ้างไหม สุดยอด….(ยกตัวอย่างปลากะพง ๑ ตัว คนไทยเอามาทอดทำปลาราดพริก ขายตัวละ ๓๐๐ บาท ญี่ปุ่นเอามาแล่สดๆ ๔ ชิ้น ไม่ต้องปรุงอะไร ใส่จานกระเบื้อง จานใหญ่ มีผักประดับบนจาน มีหัวไชเท้าฝอยๆ ผักชี แครอทให้มีสีสัน ขายจานละ ๑,๒๐๐ บาท Art ไหมครับ เพราะ ART นี่แหละที่ทำให้มันแพง…อิอิ)  เรามาต่อที่บทเรียนคำสั่งมีว่า “ให้คุณลองคิดว่า ไม้แขวนเสื้อใช้ทำอะไรได้บ้างนอกจากแขวนเสื้อผ้า เขียนสั้นๆไม่ต้องอธิบาย พยายามนึกให้ได้หลากหลายที่สุด ใน ๓ นาที

คราวนี้คำถามไม่สับสน แต่คิดไม่ค่อยออก อิอิ (ไม่มีข้อแก้ตัว)  ผม ตอบว่า ใช้ทำที่เขี่ยสิ่งของตกอยู่ในซอก,คล้องประตู,มัดต้นไม้,ไล่แมว,เกาหลัง, เหล็กแหลม,สะกิดสาว,ทำของเล่น,แกนของหมุนๆ,วงเวียน,ไม้บรรทัด,อา..ใช้คนไข่ ….อิอิ (พอดีจะทำไข่เจียว หาที่คนไม่ได้ก็เลยเอาไม้แขวนผ้าคน อ๊ะ..ใช้ได้…).ได้ตั้ง ๑๒ แน่ะ พออาจารย์อิ้งเฉลย กลับบอกว่าค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ ๓๓ ฮ่าๆ น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานตั้งเยอะ คราวนี้พี่อิ้ง ไม่ถามผมแล้ว คงประมาณการได้ว่าไอ้นี่ ท่าดีทีเหลว ฮา…..

แล้วอาจารย์อิ้งก็บรรยายต่อ ในเรื่อง “แผนที่ความคิด” MIND MAP คือเครื่องมือในการจัดระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพสูงและเรียบง่ายที่สุด นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ระดับโลกหลายๆท่านใช้ MIND MAP เช่น ไอสไตน์,คุณหมอประเวศ วะสี เป็นต้น

ลักษณะของ MIND MAP ก็เหมือนแผนที่ของเมือง ที่มีถนนสายหลัก สายรอง วิ่งออกมาจากในเมือง เหมือนกับความคิดหลักกับความคิดรองลดหลั่นกันลงมาและโยงใยต่อไปเรื่อย อาจจะมีรูปภาพหรือสัญญลักษณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ เป็นพิเศษก็ได้  เพราะการทำ MIND MAP นี้จะช่วยให้เกิดการจดจำที่ดี และนำทางวิธีคิดและปฏิบัติอย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ

การทำ MIND MAP จะ ทำให้เห็นภาพรวมและกว้าง มีหัวข้อใหญ่ มีขอบเขตของเรื่อง ทำให้สามารถวางแผนเส้นทาง ตัดสินใจอย่างมีสติ รู้ว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด จะไปที่ไหน ผ่านอะไรมาบ้าง ทั้งยังเป็นการเอาข้อมูลที่มีมากมายมาลงกระดาษแผ่นเดียว การทำอย่างนี้จะกระตุ้นให้เกิดการคิดแก้ปัญหาเปิดโอกาสให้มีทางเลือกใหม่ๆ อ่านง่าย จำง่าย ปลดปล่อยความคิดและจินตนาการให้โลดแล่นได้มากที่สุด ประหยัดเวลา จัดระเบียบความคิดคน ใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน

พอเรารู้ว่า MIND MAP มีประโยชน์อย่างไร คราวนี้ก็มาถึงการเขียน MIND MAP อาจารย์ติ้งก็บอกแนวทางการเขียนไว้ ๗ ขั้นตอน คือ

๑.ให้เริ่มต้นจากกลางกระดาษ

๒.ใช้รูปภาพและสัญญลักษณ์แทนหัวข้อใหญ่ เป็นแก่นแกน ให้มีสีสัน และไม่ควรล้อมกรอบ

๓.ใช้สีที่โดนใจ เร้าอารมณ์

๔. เชื่อมโยงกิ่งแก้ว (ประเด็นสำคัญ) เข้ากับแก่นแกน ให้เหมือนแตกแขนงจากแก่นแกน เชื่อมกิ่งก้อยเข้ากับกิ่งแก้ว(ประเด็นรอง) ใช้สีเดียวกับกิ่งแก้ว

๕.วาดกิ่งแก้วเป็นเส้นโค้งเหมือนกับกิ่งไม้ รากไม้ ส่วนกิ่งก้อยก็เขียนให้โค้งลื่นไหลเป็นธรรมชาติ อย่าเขียนเป็นเส้นตรง

๖.ใช้คำมูลเพียงสั้นๆสะท้อนประเด็นบนกิ่งเดียว

๗.ใช้รูปภาพประกอบให้มากกว่าคำ

เริ่มต้นก็ให้เราเขียน MIND MAP เกี่ยวกับตัวเราเอง  ก็สนุกดี  จากนั้นก็เป็นงานกลุ่มโดยเอากลุ่มที่เราจะไปลงพื้นที่ที่ระยองมาหัดลองการทำงานร่วมกันโดยเขียน MIND MAP ชื่อ “แห่งความขัดแย้งอันงดงาม” อันเป็นผลงานของ ดร.โสรีย์ โพธิแก้ว

บทความนี้ ยาว ๒ หน้ากว่าๆ เอามาให้เราเขียนกัน ผมมีหน้าที่เป็นเลขากลุ่ม ต้องเขียนภาพตามที่เพื่อนร่วมกลุ่มบอก   ซึ่งเขียนแล้วผมว่าถูกมั่งไม่ถูกมั่ง ว่ากันตามเสียงส่วนใหญ่ อิอิ ผมกลับมาถึงภูเก็ต บังเอิญไปได้โปรแกรม MINDMAP 5.4 PRO มา ก็เลยเอามาลองทำเรื่องนี้ดู แล้วก็ออกมาเป็นอย่างนี้แหละครับ ถูกผิดไม่ทราบ ช่วยกันเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ โหลดไปดูชัดๆที่นี่ครับ

การให้ทำmind map เหมือนกับจะบอกกับพวกเราว่า เห็นไหมทั้งหมดทั้งปวงนี่ข้อมูลเยอะเกือบสามหน้าแต่มาย่อสรุปให้เหลือกระดาษแผ่นเดียว  อ้อ..ไม่ต้องเกรงใจว่าผมจะอย่างโน้นอย่างนี้ ผมรับฟังความจริงได้ครับ ถ้า MIND MAP ผม ผิดก็บอกได้ตรงๆเลยครับว่าท่านเห็นว่าผิดเพราะอะไร เราจะได้มีการแลกเปลี่ยนกันครับ อ้อ..กลุ่มของผมมีสาวๆอยู่ ๒ สาว เลยตั้งชื่อกลุ่มว่า “สองสาวสวย” อิอิ

แต่กลุ่มที่อาจารย์ชมมากคือกลุ่ม “ข้าฯมากับพระ” ไม่ บอกก็รู้ว่ามากับหลวงพี่ติ๊ก..อิอิ มีการนำเสนอแฝงธรรมะเข้ามาด้วย คนนำเสนอคือพี่อั้ม หรือคุณอมรา เจ้าแม่แตงโม เห็นยิ้มๆ เงียบๆ แต่นำเสนอได้สุดยอด คล่องมาก น่าชื่นชม…..

เป็นการเรียนที่สนุก แถมบรรยากาศการเรียนที่เอาผู้เรียนขึ้นไปผลัดเปลี่ยนกันสอน มันจะช่วยให้ความสนใจมีมากขึ้น ยิ่งได้วิทยากรเก่งๆก็ยิ่งมัน บันทึกต่อไปจะเล่าให้ฟังการเรียนกับพี่แจ๋ หรืออาจารย์จิราพร บุนนาค ซึ่งเป็นวิทยากรที่ผมบันทึกข้อมูลได้มากที่สุดเท่าที่ฟังบรรยายมา..และพี่ แจ๋ก็เล่นเชิญคุณพิภพ ธงไชย ขึ้นบนเวทีบรรยายด้วย เสียดายที่วันที่เรียนฝ่ายรัฐบาลติดธุระไม่ได้มาร่วมด้วย ไม่งั้นมันส์สะแด่ว..แน่ๆ…อิอิ

« « Prev : ๑๖. แผนที่ความคิด ๑

Next : ๑๘. สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6236 ความคิดเห็น