๒๑. สันติวิธีในสังคมไทยการรับรู้และความเข้าใจ ๑

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 24 กรกฏาคม 2008 เวลา 23:25 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 755436

ก่อน ที่ รศ.ดร.มารค ตามไท บรรยายต่อในวันนี้ มีการอ่านบทกลอนผิวสี เป็นภาษาอังกฤษโดยคุณโสภณ องค์การ และหญิงเล็ก ศิริบูรณ์ อ่านเป็นภาษาไทย เป็นบทกลอนเรื่องผิวสีที่น่าสนใจที่เด็กผิวดำเขียน ว่าเมื่อเขาเกิดมาเขาผิวดำ โตขึ้นเขาก็มีสีผิวเหมือนเดิม ป่วย แก่ เขาก็เหมือนเดิม พวกเขาตายผิวก็ยังเหมือนเดิม  คุณเกิดมาผิวขาว เล็กๆผิวชมพู พอคุณป่วยผิวคุณเป็นสีน้ำเงิน พอตายผิวคุณก็เป็นสีเทา แล้วคุณยังมาเรียกฉันว่าพวกผิวสี…..

จาก นั้นเราก็มาวิพากย์ บทกลอนผิวสีกัน หลวงพี่ติ๊กถูกนิมนต์ขึ้นมาวิพากย์ เนื่องจากคราวที่แล้วเคยยกมือขึ้นพูดแต่มีการแย่งหลวงพี่ติ๊กพูด อิอิ หลวงพี่บอกว่า  เห็นอคติทางชาติพันธุ์ ข้างนอกจะเป็นสีอะไรขอหัวใจเป็นสีขาวก็พอ…..นี่…..เฉียบไหม หลวงพี่ติ๊กของผม

บังยุบบอกว่า บทกลอนนี้สะท้อนให้เห็นว่า “เราว่าคนอื่นผิวสี แต่เราไม่เคยดูตัวเราเอง”

คุณ อังคณา นีละไพจิตร วิพากย์ว่า บทกลอนนี้ชี้ให้เห็นว่าในโลกนี้ยังแยกพวกเราพวกเขาอยู่ ที่ลาว เขาไม่แยกคนนั้นนุ่งซิ่น คนนั้นนุ่งกระโปรง ถือว่าเท่าเทียมกัน

แล้วก็มาถึง รศ.ดร.มารค มาพูดให้พวกเราฟังเรื่อง “สันติวิธีในสังคมไทย การรับรู้และความเข้าใจ” อาจารย์ทบทวนการเรียนรู้ของพวกเราในแบบ Elicitive และบอกว่าถ้าเรื่องที่พูดคุยกันรับลูกกันมันก็ดี และก็จะพูด ๓ หัวข้อย่อย

-ความเข้าใจในสันติวิธีของกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ

-สันติวิธีในแง่การแก้ไขความขัดแย้ง

-สันติวิธีในแง่การต่อสู้เรียกร้อง

อาจารย์บอกว่าจบแต่ละหัวข้อแล้วมาพูดคุยกัน อาจารย์จึงเริ่มจาก..

ความเข้าใจในสันติวิธีของกลุ่มคนจากภาคส่วนต่างๆ

เวลาถูกเชิญไปบรรยาย อ.มักจะถูกเชิญไปบรรยายหัวข้อ

-วิธีจัดการกับม๊อบอย่างนิ่มนวล (มิติ ทางวัฒนธรรมของความนิ่มนวล) ถ้ามีฝูงชนมา มีการกั้น ตำรวจขี่ม้าชน เพื่อเคลื่อนไหวฝูงชน เอาน้ำฉีด อุ้มใส่รถไปขัง นิ่มนวลหรือไม่ สันติวิธีหรือไม่

สังคมไทยตอบอย่างไร  ความ เข้าใจของคำว่าสันติวิธียังสับสน จึงไม่รู้ว่าทำอย่างนั้นอย่างนี้เป็นสันติวิธีหรือไม่ บางประเทศแตะตัวถือเป็นความรุนแรง บางที่ไม่

-วิธีจัดการกับความขัดแย้งในเบื้องต้น ถ้าไม่ได้ผลก็ใช้ความรุนแรง  (มองสันติวิธีเป็นวิธีการ)

-วิธีที่ให้ความชอบธรรมกับกลุ่มผู้ใช้   ตัววิธีให้ความชอบธรรมกับผู้ใช้

อาจารย์ให้มองคำสองคำ สันติวิธี  กับ ความสามัคคี มีลักษณะคล้ายกันอย่างไร คำสองคำนี้มีคุณค่าเป็นกลาง เรานำสันติวิธีหรือความสามัคคี ไปสู่ความไม่ดีก็ได้  ถ้ากลุ่มโจรสามัคคีก็จะบรรลุเป้าหมายของกลุ่มโจรนั้น ถ้ามีการพูดถึงสามัคคี ต้องถามทันทีว่า สามัคคีเพื่อจะทำอะไร  สันติวิธีจะใช้เพื่อความชอบธรรมในการล้มล้างรัฐบาลที่ชอบธรรมโดยคนที่ไม่ชอบธรรม  สันติวิธีจะดีหรือไม่อยู่กับบริบทของสังคมในขณะนั้น

เป้าหมาย กับ สันติวิธี แตกต่างกัน เป้าหมายคือเป้าหมาย แต่การไปสู่เป้าหมายอาจใช้สันติวิธี

คุณสายสวรรค์ เห็นว่า จากการกระทำที่เห็นอยู่ว่าเป็นการกระทำที่ทำได้ แต่พอลดความรุนแรงลงก็กลายเป็นความนิ่มนวล

อาจารย์ถามว่า เอาม้าพุ่งชนฝูงชน กับ เอาน้ำแรงอัดฉีดแรงฉีดเข้าใส่ เป็นสันติวิธีหรือไม่ อาจารย์ถามแล้วไม่มีใครตอบ อิอิ

แต่มีคนถามเรื่อง peace enforcement ใช้กำลังบังคับเพื่อให้เกิดสันติวิธี โดยวิธีการดังกล่าวของอาจารย์เป็นการใช้กำลังบังคับเพื่อให้เกิดสันติวิธี

อาจารย์อธิบายเรื่องสันติวิธีเพื่อรัฐจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “สันติวิธี”เข้าไปจัดการ กับประชาชนเข้าใจเรื่องการต่อสู้โดยสันติวิธี ว่าหากคนส่วนใหญ่ยอมรับก็ถือว่าเป็นสันติวิธี  อาจารย์บอกว่าบอกไว้เพื่อเป็นข้อสังเกตว่าเราไม่มีใครให้คำจำกัดความของคำว่า “สันติวิธี” พลัง ของสันติวิธีมันถูกสลายเพราะการใช้คำสันติวิธีเพื่อความชอบธรรมของตัวเอง (ตรงนี้ผมว่าน่าสนใจนะ เพราะทุกวันนี้เราพูดกันถึงสันติวิธีแต่พอหาคำจำกัดความ งงทุกที อิอิ) อาจารย์เลยแยกคำว่าสันติวิธีให้พวกเราดูความหมายในแง่มุมต่างๆ

สันติวิธีในแง่การแก้ไขความขัดแย้ง

เราอยากแก้ไขความขัดแย้ง Conflict Resulotion  ทำให้ความขัดแย้งหายไป  ถ้าเราใช้ C R ความ ขัดแย้งหายไปไหน จริงๆมันยังอยู่แต่ถูกใช้เวลาให้หันไปทำอย่างอื่นแทน แต่มันไม่ยั่งยืน การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างพ่อ แม่ กับลูก วิธีทำให้หายไปขึ้นอยู่ว่าใครมีปัญหากับใคร แล้วมันจะพัฒนากลายเป็นเทคนิค

เหตุ ที่คนตั้งข้อสงสัย มีคำถามว่าเมื่อความขัดแย้งมันก็เป็นเรื่องดีทำไมจึงต้องทำให้ความขัดแย้ง มันหายไป (ก็น่าสนใจดีนะ..อิอิ ก็บอกว่าดีที่มีการขัดแย้งเพราะมันจะเกิดการพัฒนา….)

Conflict Management บริหารความขัดแย้งตามความต้องการ ต้องถามว่าต้องตายเท่าไหร่จึงจะยอมรับได้ ที่สเปนขัดแย้งกัน ๓๐ ปี ตายไป ๖๐๐ คนเศษ มากไหม  ถ้าดูตัวเลขแล้วน้อยมาก แต่เขาเห็นว่ามากแล้ว  พอ มามองที่ภาคใต้เราหนักกว่า แต่พอไปดูศรีลังกาตายเป็นหมื่น มากกว่าเรา บริหารให้อยู่ในกรอบที่รับได้ ต้องระวังว่าถ้าบริหาร บริหารอยู่ในกรอบได้หรือเปล่า

Conflict Transformation แปลเปลี่ยนรากเหง้าของความขัดแย้งเพื่อแก้ไขความขัดแย้งอย่างยั่งยืน คือไปศึกษารากเหง้าก่อน  เป็นการTransform สังคม ส่วนนี้เป็นศิลป์มาก มันเป็นส่วนความอ่อนไหวในความรู้สึกของคน รู้สึกทุกข์ก่อนจึงรู้จักทุกข์

อ.อิศราถามว่าการเกลี่ยผลประโยชน์จะถือว่าเป็นConflict Transformation ได้หรือไม่

อ.มารค ตอบว่ามันขึ้นอยู่  Conflict เรื่องอะไร ถ้า Conflict เรื่องทรัพยากร ก็ทำได้ แต่เกลี่ยเรื่องอัตลักษณ์ทำไม่ได้

ในสังคมหาวิธีที่ผิดหาได้ง่าย แต่หาวิธีที่ถูกไม่ค่อยได้

มัน ชักจะยาวอีกแล้ว ขอจบแค่นี้ก่อนดีกว่า เหลืออีกตอนเดียวก็จะจบบทเรียนที่ผ่านมาทั้งหมดทุกวิชาแล้ว ใครที่ยังไม่ได้ทบทวนบทเรียนตามมาทบทวนและเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปเพื่อให้ สมบูรณ์นะครับ  ใครที่ตามเรียนในบันทึกจะตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหัวข้อที่อาจารย์สอนก็น่าจะสนุกดีนะครับ ขอเชิญร่วมบรรเลงได้เลยครับ….

« « Prev : ๒๐. สันติวิธีกับความมั่นคงแห่งชาติในมิติใหม่ ๓

Next : ๒๒. สันติวิธีในสังคมไทยการรับรู้และความเข้าใจ ๒ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

21522 ความคิดเห็น