๑๒. วันปฐมนิเทศ ศ.ดร.บวรศักดิ์

โดย อัยการชาวเกาะ เมื่อ 10 กรกฏาคม 2008 เวลา 7:14 ในหมวดหมู่ เสริมสร้างสังคมสันติสุข #
อ่าน: 17185

หัวข้อที่ท่านรับเชิญบรรยายคือสถาบันพระปกเกล้า(และท่านทั้งหลายและหน่วยงานของท่าน)กับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย หัวข้อที่เชิญไม่มีวงเล็บ ส่วนที่วงเล็บท่านเติมเข้าไปเพื่อให้พวกเรานักศึกษาที่เข้าเรียนได้ตระหนัก และคิดถึงการช่วยจัดการความขัดแย้งในสังคมเพราะเป็นความคาดหวังของสถาบัน

เป็นที่ทราบกันว่าความขัดแย้งเป็นธรรมดาของมนุษย์ ขัดแย้งในครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ทำงาน กลุ่ม ฯลฯ

การแก้ไขปัญหาในอดีตจะใช้อำนาจที่เหนือกว่ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งเช่นผู้บังคับ บัญชา แก้ปัญหาความขัดแย้งของลูกน้อง สั่งให้คืนดีกันและสงบทั้งสองข้าง

จัง จาค รุซโซ บอกว่าการปกครองเกิดจากการแย่งผลประโยชน์สาลีเกษตรจึงต้องมีผู้มาตัดสินแบ่ง ผลประโยชน์ ยกให้ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จึงเป็นการปกครองโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า การออกกฎหมายจึงเขียนขึ้นมาเพื่อยุติความขัดแย้ง ศีลจึงถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนขัดแย้งกันในสังคม

ฐานคิดนี้มาจากตะวันตก เริ่มมาตั้งแต่อาณาจักรโรมัน มีการปราบปรามเผ่าต่างๆเพื่อรวมเข้ามาในจักรวรรดิ์ เมื่อรวมเข้ามาอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนจึงเกิดสันติภาพ เรียกว่า Roman Peace  ต่อ มาอาณาจักรโรมันก็ถูกพวกบาบาเรียนทำลาย และก็พัฒนามาเรื่อย จนเกิดทฤษฎี อำนาจรัฐเป็นอำนาจสูงสุด แล้วก็พัฒนาความคิดจนเกิดความคิดอย่ากมีรัฐบาลโลกหรือสันนิบาตโลก แล้วพัฒนามาเป็นสหประชาชาติ แต่ก็ยังทำให้โลกสงบอยู่กันอย่างสันติไม่ได้

เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน หรือที่เรียกว่า ๙๑๑ เกิดขึ้นก็เพราะตอบโต้อำนาจรัฐ

ในปัจจุบันมีคดีขึ้นสู่ศาลมากขึ้น ก็ย่อมแสดงว่าความขัดแย้งยังคงเพิ่มขึ้น การจัดการความขัดแย้งควรจัดการด้วยการมีส่วนร่วมของคนที่เสมอภาคกัน หันมาดูในพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์สวดระงับอธิกรณ์ ภิกษุที่สวดอธิกรณ์จะต้องเป็นภิกษุที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของทั้ง สองฝ่ายเป็นผู้ทำหน้าที่ ทางตะวันตกเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งแก้ไขไม่ได้ก็มาเอาแนวคิดทางตะวันออกไป ใช้ มีการนำแนวความคิดป้องกันความขัดแย้ง แต่เดิมรัฐจะทำอะไรก็สั่งไป แต่เดี่ยวนี้ต้องลงไปฟังความเห็นของประชาชนก่อน ที่เรียกว่า Public Hearing

ในศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นยุคประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมากแต่เคารพเสียงข้างน้อย Majority Rule Minority Right แต่ในยุคปัจจุบันพัฒนามาเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participation ซึ่งเชื่อว่ามันจะเป็นเครื่องมือป้องกันความขัดแย้งในอนาคต การจัดสรรทรัพยากรจึงสมดุลย์และเป็นธรรม และที่สุดก็จะยั่งยืน

ในประเทศไทย ปี ๒๕๔๙ คนรวย ๒๐ % ของประเทศไทย เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ ๕๘ % เศษ ส่วนคนจนมีรายได้เพียง ๓.๘% ความ ขัดแย้งยิ่งมากขึ้นเมื่อรัฐบาลเอาคนจนมาเป็นฐานทำประชานิยม ชนชั้นกลางเกิดความรู้สึกว่าถูกกีดกันออกจึงวิพากย์วิจารณ์แต่กลับถูกปิด ช่องการวิพากย์วิจารณ์ จึงก่อให้เกิดรัฐประหารเมื่อ ๑๙ กันยายน มันไม่ใช่เรื่องเอานายกคนเก่าหรือไม่ แต่มันเป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็จะยังไม่จบ…ครับพี่น้อง….

ความขัดแย้งที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังไม่รู้อนาคต

การแก้ปัญหาความขัดแย้งของไทยเปราะบางมาก เพราะรัฐบาลได้มาโดยการ….เสียง อิอิ อาจารย์บรรยายมาหลายวันแล้ว ผมเพิ่งมาเขียนบันทึกวันนี้ เมื่อวานก็ถูกใบแดงอีกใบหนึ่งแล้ว กรรมการบริหารพรรคปั่นป่วนอีกแล้วครับท่าน….

กลไกการมีส่วนร่วมก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีผลจริงจัง กลไกทางกฎหมายก็ยังมีการเลือกข้าง ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหม่มีการสนับสนุน แต่ไม่ได้เหลียวแลชาวนา คนจน คนขายขายข้าวได้ราคาแต่ชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคาเพราะการกำหนดราคามาจากที่ อื่น

คนไทยรู้จักพลิกแพลงให้ตัวเองได้ประโยชน์ เพราะจะเข้าหาผู้ใหญ่(ข้าราชการ อิอิ)ผู้ใช้กฎหมายเพื่อขอความช่วยเหลือไม่ให้บังคับเอากับตน

สิ่งเหล่านี้อาจารย์บอกว่าอย่าไปท้อแท้ เพราะมันยังมีสัญญาณที่ดี คือการที่ชุมชนต่างๆแก้ปัญหากันเองอย่างได้ผล

ศาลก็ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์

สถาบันการศึกษาก็ให้ความสนใจกับการจัดการความขัดแย้ง เช่น สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น โดยเฉพาะหลักสูตรที่พวกเราเรียนกันอยู่นี้ได้รับความสนใจมาก

หน้าที่ของเรา

๑.Identified ความ ขัดแย้งและสาเหตุ ศึกษาทั่วประเทศว่าขัดแย้งเรื่องอะไร สาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง กรณีศึกษาของจริงทั้งที่แก้ไขปัญหาสำเร็จและล้มเหลวโดยสถาบันฯต้องสร้าง เครือข่าย

๒. มีหน้าที่ต้องเผยแพร่สิ่งที่เรารู้เห็นร่วมกัน รวมทั้งเทคโนโลยีแก้ปัญหาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตอนนี้สถาบันพระปกเกล้าหันมาดูเรื่องการเมืองภาคพลเมือง

หลักสูตรที่เราเรียนต่างจากหลักสูตรอื่นอย่างไร

-ต้องการให้ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้การแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน

-สถานที่เรียนจะไม่ใช่ห้องเรียนเหมือนหลักสูตรอื่น จะอยู่ในรถ ในโรงแรม ในพื้นที่ ฯลฯ

-ไม่ได้ต้องการให้ทำเอกสารส่วนบุคคล แต่จะเน้นเอกสารกลุ่มที่ได้จากการคิดร่วมกัน

-มีหน้าที่ร่วมกันนำสิ่งที่ค้นพบเอาไปเผยแพร่ใช้แก้ปัญหาในสังคมและประชาสัมพันธ์ ให้เป็นที่รับรู้ในสังคม ถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่ขัดแย้งและไม่ขัดแย้ง

-หลักสูตรนี้ไม่คิดเงิน แต่หลักสูตรอื่นคิดเงินเพื่อต้องการให้นักศึกษาเป็นภาคีช่วยกันทำงาน และทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยมีทางออก

ผมฟังอาจารย์บรรยาย โน้มน้าว จิตใจทำให้เคลิบเคลิ้ม มุ่งมั่นที่จะนำความรู้ที่เรียนมาไปช่วยแก้ปัญหาสังคมเท่าที่คนไทยคนหนึ่ง และข้าราชการคนหนึ่งอย่างผมจะพึงมี  ผมจึงตั้งใจ บันทึกย่อวิชาที่เรียนมาเพื่อให้ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบันทึกนี้ได้ ประโยชน์ไปด้วย และหากท่านทั้งหลายได้ศึกษาและมีความตั้งมั่นที่จะช่วยกันในการที่จะทำให้ สังคมของเราอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข นั่นก็ถือว่าผมได้ใช้ทุนคืนสถาบันไปมั่งแล้ว อิอิ

« « Prev : ๑๑. การสร้างสังคมสันติสุข ๒

Next : ๑๓. การวิเคราะห์ความขัดแย้ง ๑ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2883 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 6.6829028129578 sec
Sidebar: 0.14121103286743 sec